พูดคุย:ไทยพีบีเอส เอชดี

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยพีบีเอส เอชดี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ไทยพีบีเอส เอชดี หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ไทยพีบีเอส เอชดี เป็นส่วนหนึ่งของ สถานีย่อยโทรทัศน์ เพื่อรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับโทรทัศน์ และสถานีโทรทัศน์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ ไทยพีบีเอส เอชดี หรือแวะไปที่สถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

รายชื่อผู้ประกาศล่าสุด[แก้]

ตามข่าวจากสื่อบางแห่ง ทราบว่า ภัทร จึงกานต์กุล ได้ลาออกจากทีวีไทยไปร่วมงานกับช่อง 7 แล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.9.196.186 (พูดคุย | ตรวจ) 13:32, 21 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ระดับของบทความ[แก้]

บทความนี้ควรได้รับระดับการเขียนบทความในระดับดี หรือยังสมควรอยู่ในระดับพอใช้ต่อไป เนื่องจากบทความได้มีการปรับปรุง แต่ไม่ทราบว่าในปัจจุบันนี้ ถือว่าครอบคลุมทุกเรื่องรึยัง --xViStA 20:34, 2 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • ผู้ใช้ทุกคนสามารถร่วมจัดระดับบทความได้ตามความเหมาะสมค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 21:55, 2 ตุลาคม 2551 (ICT)

ชื่อ[แก้]

ชื่อต้องมีเว้นวรรคหรือไม่[แก้]

ไม่ทราบว่า ชื่อ"องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย" ต้องมีเว้นวรรคระหว่าง "องค์การกระจายเสียง" และ "และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย" หรือเปล่าครับ เพราะเข้าไปดูในเว็บไซต์องค์การแล้ว ไม่มีเว้นวรรค แต่เห็นในหน้าบทความในวิกิพีเดียยังมีเว้นวรรคอยู่ --Kie 22:51, 18 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ชื่อบทความ[แก้]

ตอนนี้มีเปลี่ยนชื่อไปมาจาก

ฝากรบกวนตกลงกันด้วยครับ ว่าชื่อไหนเหมาะสมสุด และบทความนี้เกี่ยวกับ "หน่วยงาน" หรือว่า "สถานี" หรือไม่ก็แยกเป็นสองบทความเลย --Manop | พูดคุย 20:30, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)


ต้องมีคำว่า "ทีวีสาธารณะ" ห้อยท้ายด้วยรึเปล่าครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.130.31 (พูดคุย | ตรวจ) 16:38, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)

ตอนนี้ไม่ต้องมีแล้วครับ เพราะเปลี่ยนชื่อไปพร้อมกับตราสัญลักษณ์ใหม่ที่เป็นนกทั้งตัวเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีของสถานีนี้ครับ จึงเห็นได้ว่าเว็บไซต์ของสถานีตอนนี้ใช้คำว่า "สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย" ครับ --AkAiBaRa 22:38, 17 กรกฎาคม 2552 (ICT)

เสนอแบ่งเป็นสองบทความ องค์กรกำกับ และ สถานีโทรทัศน์[แก้]

บทความองค์กรกำกับ ไปเน้นเรื่องโครงสร้างองค์กร ความเป็นมา

บทความสถานีโทรทัศน์ ไปเน้นสัดส่วนผังรายการ ผู้ประกาศ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.130.31 (พูดคุย | ตรวจ) 16:42, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)

ทำไมต้องเน้นผู้ประกาศด้วยจ๊ะ ที่จริงไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ผู้ประกาศน่ะ ถ้าจะมีก็น่าจะแยกในเป็นหน้ารายชื่อเอาดีกว่านะ

สมควรแยกเป็นสองบทความอยู่แล้วค่ะ คือ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ๑ และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ๑ เนื่องจากสองส่วนนี้คนละเรื่องกันเลย องค์การฯ เป็นหน่วยงานที่กฎหมายตั้งขึ้น ส่วนสถานีฯ เป็นผลการดำเนินอย่างหนึ่งขององค์การฯ แต่ในเมื่อทั้งสองมีเนื้อหากว้างใหญ่ ก็ควรจัดเป็นสองบทความได้ อีกอย่าง ในอนาคตเห็นว่าองค์การฯ ก็จะผลิตสถานีอื่น ๆ หรือการแพร่ภาพกระจายเสียงอย่างอื่นด้วยหนิ

แต่ไม่เห็นด้วยที่ให้เน้นผังรายการ ให้เน้นว่ามีรายการอะไรบ้าง วันพฤหัสฯ-ศุกร์ออกคุณหมอหัวใจเหล็ก เสาร์-อาทิตย์ออกสนทนาประสาสมัคร เป็นต้น อย่างนั้นหรอคะ ลักษณะนี้ไม่น่าเป็นสาระที่ควรใส่นะ

บทความว่าด้วยสถานีฯ น่าจะเกี่ยวกับ ๑. ประวัติความเป็นมา ๒. ผลงาน ๓. การดำเนินงาน ๔. การบริหารจัดการ ๕. รายชื่อผู้อำนวยการสถานีฯ (ถ้ามี) เป็นต้นค่ะ

ส่วนบทความว่าด้วยองค์การฯ น่าจะเกี่ยวกับ ๑. ประวัติความเป็นมา ๒. อำนาจหน้าที่ ๓. วัตถุประสงค์ (วัตถุประสงค์นี่มีบางคนบอกไม่น่าใส่ แต่เค้าเห็นว่าน่าใส่นะ เพราะกฎหมายบอกว่าการดำเนินการขององค์การฯ ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น ควรเป็นส่วนสำคัญระดับหนึ่ง) ๔. ทุนขององค์การฯ ๕. การบริหารจัดการ ๖. การกำกับดูแล ๗. รายชื่อผู้อำนวยการองค์การฯ เป็นอย่างน้อยนะ

ที่สำคัญน่าจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การฯ กะไอทีวีและทีไอทีวีด้วย ให้เห็นลำดับว่าเป็นมาอย่างไร แต่ในบทความปัจจุบันยังไม่เห็นมีเลยค่ะ

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๐:๒๖ นาฬิกา (GMT+7)

นั่นสินะ นี่สารานุกรมหนิ ไม่ใช่ ทีวีไกด์นี่นา เนอะ

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 00:27, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

จาก en:Wikipedia:WikiProject Television Stations

  • a good introduction
  • history of the station
  • what kind of programming the station airs
    • are there any original shows that the station shows?
  • original shows that the station formerly broadcasted
  • interesting facts about the station
  • information on its personalities, past and present
  • a link to the station's website

จึงควรพูดถึงรายการครับ

ผมพยายามดูโครงสร้างจาก [1] เกี่ยวกับคณะบริหาร แล้ว ในเว็บไซต์ดูไม่เหมือนพูดถึงคณะบริหารสถานีเลยมีแต่ขององค์การ จึงคิดว่าการบริหารสถานีคือคณะบริหารองค์การ รึเปล่า? ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ

ส่วนวัตถุประสงค์ ทุนขององค์การฯ การบริหารจัดการ การกำกับดูแล เนื้อหาดูไม่เป็นสารานุกรม ดูเหมือนอยู่ในวิกิซอร์สบางส่วน จึงลบออกไป--Sry85 01:06, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

ไม่ได้หมายความว่าไม่พูดถึงรายการเลยค่ะ พูดถึงในลักษณะตามที่พี่ Sry85 อ้างจากแนวทางของวิกิฯ นั้นชอบแล้ว แต่หมายความว่าไม่ควรพูดอย่างเป็นผังรายการ (คือ เวลานี้ฉายอะไรบ้าง วันจันทรฺ์ เก้าโมงเช้าข่าวเช้า สิบโมงเช้าข่าวสาย สิบเอ็ดโมงข่าวก่อนเที่ยง สิบสองโมงข่าวเที่ยง ฯลฯ เป็นต้น)

ส่วนเรื่องสถานีฯ ทีวีไทยฯ นั้น เค้าไม่ทราบเกี่ยวกับสำนักงานหลักอะไรค่ะ แต่คิดว่าสำนักงานหลักขององค์การฯ เป็นที่เดียวกะสำนักงานหลักของทีวีไทยฯ อะนะ กับทั้งผู้บริหารและทีมงานต่าง ๆ ด้วย (ในอนาคตถ้าเขาตั้งช่องใหม่ ก็อาจจะมีทีมงานเฉพาะก็ได้มั้งคะ) อย่างไรก็ดี ช่องทีวีไทยฯ เป็นกิจการขององค์การฯ ถ้าไม่แยกบทความ บทความนี้ก็น่าจะชื่อ "องคฺ์การแพร่..." มากกว่า แล้วกล่าวถึงทีวีไทยเป็นลำดับรองในบทความนั้น

ส่วนเรื่องวัตถุประสงค์ ทุนขององค์การฯ การบริหารจัดการ การกำกับดูแล เป็นต้น หมายความว่าเราน่าจะเขียนแบบคร่าว ๆ ให้พอทราบ ซึ่งน่าจะดีกว่าลบออกไปโดยไม่กล่าวถึงเลย

ป.ล. เค้ากำลังอ่านอีกทีว่าเขียนอะไรไป ง่วง ๆ อะ... เห็นจอคอมฯ ตรงหน้ามีสิบจอแล้ว 55+ ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจโปรดบอกและให้อภัยด้วย 55+

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๒๖ นาฬิกา (GMT+7)

ป.ฮ. เพิ่งสังเกตว่าบทความนี้จัดอยู่ในระดับดีด้วย ทั้ง ๆ ที่มีส่วนไม่เป็นกลางนะเนี่ย 55+

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๒๙ นาฬิกา (GMT+7)
ลดระดับเป็น พอใช้ แล้ว --Octra Dagostino 11:47, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

ส่วนตัวคิดว่า ณ ตอนนี้ บทความน่าจะชื่อว่า องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เนื่องจากคณะบริหารยังน่าจะเป็นทีมเดียวกัน ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับสถานีก็อยู่ในบทความ --Sry85 10:49, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

สงสัยทีวีไทยต้องประกาศอย่างชัดเจน ว่า จะใช้ชื่อไหนกันแน่เนี่ย เพราะประชาชนสับสน อย่างมากว่า จะเรียกชื่อไหนดีเนี่ย hhoohofhof--Thaimanun 19:02, 25 ตุลาคม 2551 (ICT)

อย่าอ้างประชาชน อย่าก่อภาวะเหมารวม

ไม่มีใครสับสนนอกจากตัวคุณเอง โปรดอ่านกฎหมายให้ชัดแจ้งว่ากฎหมายจัดตั้งอะไรขึ้นมา และสิ่งที่กฎหมายจัดตั้งนั้นดำเนินงานอะไร

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๙:๐๕ นาฬิกา (GMT+7)
  • โดยส่วนตัวแล้ว คำว่า "ไทยพีบีเอส", "ทีพีบีเอส", "ทีวีไทย", "ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ" ก็หมายถึง ตัวองค์กรที่เรียกว่า "องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย" หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "สสท." ทั้งนั้นแหละครับ เพียงแต่ถ้าจะเน้นถึงสถานีโทรทัศน์ เขาก็เพิ่มคำว่า "สถานีโทรทัศน์..." ลงหน้าทั้งสี่คำข้างต้นนั่นแหละ ผมดูช่องนี้มาตั้งแต่ตอนจอทีไอทีวีดำมืดมาจนถึงเดี๋ยวนี้ก็ไม่เห็นว่าจะสับสนตรงไหน แล้วประวัติขององค์กรนี้มันสัมพันธ์กับความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์อย่างแยกไม่ออกเสียด้วย --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 21:43, 26 ตุลาคม 2551 (ICT)
  • ควรแยก สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ออกจาก องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ให้ได้ เพราะในขณะนี้ ทีวีไทย เป็นแค่องค์กรหนึ่งของ ส.ส.ท. เท่านั้น ในปัจจุบันนี้ยังมีสถานีวิทยุไทย เพื่อเด็กและครอบครัว ซึ่งเป็นองค์กรของ ส.ส.ท. เช่นกัน ดังนั้น ควรเรียกให้ถูกต้องด้วย --Tatthep_sk 16:24, 30 สิงหาคม 2552

ไทยพีบีเอส และ ทีวีไทย[แก้]

ไทยพีบีเอส น่าจะเป็นชื่อองค์กรดูแล (ส.ส.ท.) ส่วน ทีวีไทย นั้นเป็นชื่อช่อง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.136.52.140 (พูดคุย | ตรวจ) 16:15, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ในอนาคตเมื่อไทยพีบีเอสมีช่องใหม่ ๆ เช่นช่องสามจังหวัดชายแดน ช่องท้องถิ่น ก็จะมีชื่อช่องอื่น ๆ แต่ยังมีคำว่าไทยพีบีเอสพ่วงติดอยู่เหมือนกัน ทำนองเดียวกับ True Visions ที่มีคำว่า True แปะไปกับชื่อช่องต่าง ๆ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.136.52.140 (พูดคุย | ตรวจ) 16:18, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ชื่อองค์กรตามพ.ร.บ.คือ TPBS (พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑)

มาตรา ๕ ใหจัดตั้งองคการกระจายเสียงและแพรภาพสาธารณะแหงประเทศไทยเปน
นิติบุคคล เรียกโดยยอวา “ส.ส.ท.” และใหใชชื่อเปนภาษาอังกฤษวา “Thai Public Broadcasting
Service” เรียกโดยยอวา “TPBS” ทําหนาที่เปนองคการสื่อสาธารณะดานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ
โทรทัศน มีฐานะเปนหนวยงานของรัฐ ที่ไมใชสวนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวาดวยวิธีการ
งบประมาณ แตดําเนินการภายใตทุน ทรัพยสิน และรายไดขององคการ

นอกจากแพร่ภาพโทรทัศน์แล้ว ตามพ.ร.บ.ดังกล่าว TPBS ยังมีระบุว่าให้มีวิทยุหรือสื่ออื่น ๆ ได้

มาตรา ๘ เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคตามที่กําหนดไวในมาตรา ๗ ใหองคการมีอํานาจ
หนาที่หลัก ดังตอไปนี้
(๑) จัดใหมีสถานีวทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน หรือเผยแพรรายการในระบบอื่น
หรือเทคโนโลยีทันสมัยอื่น โดยมีเครือข่ายให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศหรือใหมีสถานี
วิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศนเพิ่มเติมเปนเครือขาย ไมเก็บคาสมาชิกและไมหารายไดจาก
การโฆษณา เวนแตเปนการสนับสนุนจากผูสนับสนุนองคการ

จะเห็นว่า ไทยพีบีเอส นั้นเป็นมากกว่า ทีวีไทย ครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.136.52.140 (พูดคุย | ตรวจ) 16:31, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

คนไทยเกือบทั้งหมดยังเรียกว่า ThaiPBS อยู่ครับ

ภาพพักออกอากาศ[แก้]

ในช่วงปิดสถานี ผมยังสงสัยเลยว่า คำว่า MCR แปลล่าอะไรครับ --Film-DekPakChong 17:47, 19 มกราคม 2552 (ICT)

MCR ย่อมาจาก Master Control Room ห้องควบคุมการออกอากาศ --Nakare† 11:20, 22 ตุลาคม 2554 (ICT)

สัญลักษณ์ของสถานี(เพิ่มเติม)[แก้]

สัญลักษณ์สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยที่อยู่มุมขาวบนของหน้าจอลักษณะพิเศษคือหมุนได้180องศา นั้นเป็นการเอาความคิดมาจากสถานีโทรทัศน์จากประเทศอินโดนีเซีย--เจ้ากระต่ายเหลืองน้อย 00:11, 25 สิงหาคม 2552 (ICT)

สัญลักษณ์สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยที่อยู่มุมขาวบนของหน้าจอลักษณะพิเศษคือหมุนได้180องศา ไม่ได้มาจากของอินโดนีเซียอย่างเดียว ทีวีของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มใช้ลักษณะนี้มาตั้งแต่ยุค 90 แล้ว และทีวีไทยได้เริ่มใช้ครั้งแรก ตอนรายงานผลการเลือกตั้งต้นปี พ.ศ.2552 แล้ว--ผู้ใช้:Kankawee 19:02, 25 สิงหาคม 2552 (ICT)

ข้อมูลดิบที่ซ่อนไว้ในหน้าบทความ[แก้]

ขออนุญาตยกข้อมูลดิบที่มีผู้เขียนซ่อนไว้ในหน้าบทความออกมาเสียก่อนนะครับ หากมีการปรับปรุงเนื้อหาส่วนนี้ให้เป็นสารานุกรมเรียบร้อยแล้ว ค่อยนำกลับไปลงในบทความอีกครั้งน่าจะดีกว่านะครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร 16:21, 10 กันยายน 2552 (ICT)

เทคโนโลยีประกอบการนำเสนอรายการข่าว[แก้]

หลังการย้ายที่ทำการมายังที่ทำการถาวรของไทยพีบีเอสในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ไทยพีบีเอสได้นำเทคโนโลยีใหม่มาประกอบการนำเสนอรายการข่าวภาคต่างๆของสถานี ดังนี้

  • Video Wall - ปรากฏอยู่ในฉากร่วมของข่าวทุกช่วง เริ่มใช้พร้อมกับการย้ายที่ทำการของสถานีและการใช้ฉากรายการข่าวรูปแบบใหม่ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยใช้ประกอบการนำเสนอข่าวช่วงต่างๆ ได้แก่ ข่าวเด่นที่เป็นที่สนใจ (ในช่วงข่าวค่ำ) , ข่าวศิลปวัฒนธรรมและบันเทิง (ช่วงข่าวเที่ยง และข่าวค่ำ) , ข่าวกีฬา (ข่าวเช้า ข่าวเที่ยง และทันข่าวเด่น 17.00 น.) รวมถึงใช้ประกอบการนำเสนอรายการประเภทข่าวที่ไม่ใช่ข่าวภาคหลักของทางสถานี ได้แก่ รายการทันโลก , รายการพิเศษ "ตอบโจทย์เลือกตั้ง'54" เป็นต้น รวมทั้งในช่วงที่ทางสถานีจัดรายการพิเศษ "เลือกตั้ง'54 เลือกอนาคตประเทศไทย" ก็ได้มีการติดตั้ง video wall เพิ่มเติมในสตูดิโอชั่วคราวที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับการจัดรายการในช่วงเลือกตั้งด้วย
  • Virtual Touch Studio - ได้มีการนำมาใช้ครั้งแรกในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ในข่าวค่ำช่วงข่าวเลือกตั้ง เรื่อยมาจนถึงรายการพิเศษ "เลือกตั้ง'54 เลือกอนาคตประเทศไทย" ที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานและวิเคราะห์สถานการณ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปของประเทศไทยในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และใช้เพื่อรายงานข้อมูลและข่าวการเลือกตั้งมาจนถึงช่วงสุดท้ายในช่วงข่าวเช้า วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีลักษณะเป็นฉากแบบสตูดิโอที่สามารถจำลองพื้นหลังแบบ 3 มิติและบรรยากาศให้เป็นไปตามต้องการได้อย่างเสมือนจริง สามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆด้วยกราฟิกระบบ 3 มิติได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ตาราง กล่องข้อความ กราฟ แผนภูมิ แผนที่ เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลที่ปรากฏบนสตูดิโอยังสามารถขยับตำแหน่งได้การลากข้อมูลไปมาโดยผู้ประกาศในสตูดิโอนั้นเอง เทคโนโลยีนี้ติดตั้งอยู่ในสตูดิโอชั่วคราวที่จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการนำเสนอรายการ "เลือกตั้ง'54 เลือกอนาคตประเทศไทย" โดยเฉพาะ และมีประวีณมัย บ่ายคล้อย เป็นผู้ประกาศข่าวหลักของสถานีที่มีหน้าที่รายงานข่าวและนำเสนอข้อมูลในสตูดิโอแบบ Virtual Touch นี้

เพลงประกอบรายการข่าว[แก้]

  • 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ใช้เพลงประกอบ ชุด extreme ของ stephen arnold
  • 15 มกราคม พ.ศ. 2552 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 ใช้เพลงประกอบ ชุด Signature ของ stephen arnold (แต่ในบางรายการ เช่น สถานีประชาชน ยังคงใช้เพลงประกอบชุด extreme ของ stephen arnold และ ช่วง นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย และ พยากรณ์อากาศในข่าวเช้าทีวีไทย ใช้เพลงประกอบชุด U - phonix ของ stephen arnold)
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน ใช้เพลงที่ทางสถานีฯ ร่วมกับ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะเพื่อใช้ใน โอกาสเปิดอาคารสำนักงานใหม่ และเพื่อใช้ในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ องค์การต่อไปในอนาคต เพลงที่ประพันธ์ขึ้นนี้สะท้อนแนวคิด เรื่องอิสรภาพ เสรีภาพ การต่อสู้และความหวังอันสดใส โดยจะมีทำนองหลัก ที่ประกอบด้วยโน้ต 4 ตัวอยู่บนกระสวนจังหวะที่ตื่นเต้นเร้าใจ อันเป็นตัวแทน ของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงและความดีงาม ทำนอง ดังกล่าวจะกลายสภาพ และลอยสูงขึ้น ในขณะที่ กระสวนจังหวะในแนวล่างก็ค่อย ๆ สดใสขึ้น ทำนองอันเปรียบเสมือน "นก" ที่ลอยสูงขึ้นนี้เป็น ตัวแทนของอิสรภาพอันงดงาม วงดนตรีที่เลือกใช้ในการบรรเลงบทเพลงนี้ เป็นวงดุริยางค์ซิมโฟนีขนาดใหญ่เป็นหลัก ผสมผสานกับเครื่อง ดนตรีไทยเพื่อคงเอกลักษณ์ไทย และเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มความ "นำสมัย" และ "ทันโลก" [1]

สีประจำสถานี[แก้]

แถบแม่สี พื้นหลัง และตัวอักษร[แก้]

  • 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ทีวีไทยใช้พื้นหลัง ███ สีส้มอมเหลืองในการระบุชื่อของผู้ถูกสัมภาษณ์และหัวข้อข่าว และใช้พื้นหลัง ███ สีดำ ในการระบุตำแหน่งผู้สัมภาษณ์ สถานที่ในการถ่ายทอดสดนอกสถานที่ โดยทั้งหมดนี้ไม่มีแถบแม่สีขั้น และใช้ตัวอักษรทั้งหมดเป็นสีขาว
  • 15 มกราคม พ.ศ. 2552 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2552 ทีวีไทยใช้พื้นหลัง ███ สีส้มอมเหลืองในการระบุชื่อของผู้ถูกสัมภาษณ์ และใช้พื้นหลัง ███ สีดำ ในการระบุตำแหน่งผู้สัมภาษณ์ สถานที่ในการถ่ายทอดสดนอกสถานที่ โดยใช้ตัวอักษรสีขาว ส่วนหัวข้อข่าวใช้พื้นหลัง ███ สีดำ โดยใช้ตัวอักษร ███ สีเหลือง โดยได้มีการเพิ่มแถบแม่สีที่ขั้นสีส้มอมเหลืองโดยใช้เป็น ███ สีดำ และใช้แถบแม่สีที่ขั้นสีดำเป็น ███ สีเทา เพื่อให้เทียบเท่ากับสถานีโทรทัศน์ของต่างประเทศ
  • 18 มีนาคม พ.ศ. 2552 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ทีวีไทยใช้พื้นหลัง ███ สีส้มอมแดงในการระบุชื่อของผู้ถูกสัมภาษณ์ และใช้พื้นหลัง ███ สีดำ ในการระบุตำแหน่งผู้สัมภาษณ์ สถานที่ในการถ่ายทอดสดนอกสถานที่ โดยใช้ตัวอักษรสีขาว ส่วนหัวข้อข่าวใช้พื้นหลัง ███ สีน้ำตาลแดง โดยใช้ตัวอักษร ███ สีเหลือง โดยใช้แถบแม่สีขั้นสีส้มอมแดงเป็น ███ สีดำ และใช้แถบแม่สีที่ขั้นสีดำและหัวข้อข่าวเป็น ███ สีเทา ส่วนที่มีการรายงานสดจากนอกสถานที่ ใช้แถบแม่สีขั้นสีดำเป็น ███ สีเทาแก่ และสถานที่การรายงานข่าวใช้ ███ สีดำ ซึ่งทีวีไทย ได้ใช้รูปแบบตัวอักษร "DSN LardPhrao" มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว หรือการประชาสัมพันธ์ต่างๆ

-

  • 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554 หลังจากมีการปรับอัตลักษณ์และย้ายที่ทำการใหม่ ไทยพีบีเอสได้นำเทคโนโลยีการทำพื้นหลังต่างๆ ในแบบ 3 มิติมาใช้ โดยไทยพีบีเอสใช้พื้นหลัง ███ สีส้มอมแดง (แบบนูน 3 มิติ มีแสงที่ขอบกล่องวิ่งไล่จากซ้ายไปขวา) ในการระบุชื่อของผู้ถูกสัมภาษณ์ โดยใช้สีอักษรสีขาว และใช้พื้นหลัง ███ สีขาว (แบบ 3 มิติ โปร่งแสงบางส่วน มีแสงที่ขอบกล่องวิ่งไล่จากขวาไปซ้าย) ในการระบุตำแหน่งผู้สัมภาษณ์ สถานที่ในการถ่ายทอดสดนอกสถานที่ โดยใช้ตัวอักษรสีส้มอมแดง ส่วนหัวข้อข่าวใช้พื้นหลังแบบ 2 มิติ ███ สีดำ (มีแสงที่ขอบกล่องวิ่งไล่จากซ้ายไปขวาที่ขอบบน และจากขวาไปซ้ายที่ขอบล่าง) โดยใช้ตัวอักษร ███ สีเหลือง และมีการเพิ่มสัญลักษณ์รูปโทรศัพท์สีดำบนพื้นหลังสีขาวจางไล่ระดับ (ไล่สีเข้ม-จางจากมุมบนด้านขวาของสัญลักษณ์) ไว้ด้านซ้ายข้างกล่องพื้นหลังสีส้มแดงซึ่งบอกชื่อของผู้ให้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เมื่อมีการสัมภาษณ์และรายงานข่าวต่างๆทางโทรศัพท์ด้วย โดยยกเลิกไม่ใช้แถบแม่สีขั้นพื้นหลังเหมือนเช่นในอดีต ซึ่งยังคงใช้รูปแบบตัวอักษร "DSN LardPhrao" กับทุกการนำเสนอชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสัมภาษณ์ในรายการข่าว ส่วนพื้นหลังกราฟิกเมื่อมีการรายงานสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือมีการรายงานสดนอกสถานที่ ที่ต้องใช้ภาพ 2 แหล่งมาอยู่ร่วมในเฟรมเดียวกัน ใช้พื้นหลังสีดำแดงเข้ม มีรูปลูกโลกหมุนและมีปีกนกสีส้มโปร่งแสงจากสัญลักษณ์ของสถานีฯ มาครอบลูกโลกไว้อีกหนึ่งชั้น และกรอบภาพแต่ละเฟรมใช้สีขาวไล่ระดับสลับเข้มและจาง และส่วนกราฟิกบอกข้อมูลต่างๆ บนหน้าจอ ไทยพีบีเอสใช้รูปแบบตัวอักษร "PSL Kittithada" เป็นส่วนใหญ่ สลับกับรูปแบบตัวอักษร "DSN LardPhrao" ในบางครั้ง

ภาษามือ[แก้]

  • ไทยพีบีเอสมีภาษามือที่ด้านขวาล่างของจอโดยใช้พื้นหลังสีเทาในช่วงรายการทันข่าวเด่น (ตั้งแต่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552) และเริ่มใช้ในช่วงรายการข่าวเที่ยง วันเสาร์ - อาทิตย์ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552) และเริ่มใช้ในช่วงรายการข่าวเที่ยง วันจันทร์ - ศุกร์ ในเวลาต่อมา เพื่อเพิ่มช่องทางการรับข่าวสารของผู้พิการ

ข่าวบริการเพื่อสาธารณะ[แก้]

  • ไทยพีบีเอสมีข่าวบริการเพื่อสาธารณประโยชน์เพื่อสนองเจตนารมณ์ของไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นทีวีสาธารณะในปัจจุบัน (ตั้งแต่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552)

คำขวัญ[แก้]

  • ไทยพีบีเอส โทรทัศน์สาธารณะของทุกคน เพื่อทุกคน (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน พ.ศ. 2551)
  • จินตนาการ สร้างสรรค์แรงบันดาลใจ ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ (1 พฤษภาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2551; เป็นแท็กไลน์ในโฆษณาก่อนข่าวทุกช่วงของสถานี)
  • ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ สร้างสรรค์สังคมคุณภาพและคุณธรรม (1 ตุลาคม 2551 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552; เป็นแท็กไลน์ในโฆษณาก่อนข่าวทุกช่วงของสถานี)
  • ทีวีไทย มุ่งมั่นสร้างสรรค์ สังคมคุณภาพและคุณธรรม (15 มกราคม พ.ศ. 2552 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554)
  • ไทยพีบีเอส ทีวี...ที่คุณวางใจ (9 เมษายน พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)



=[แก้]

สีประจำสถานี[แก้]

เห็นแก้กันอยู่หลายรอบนะครับ ตอนแรกก็มีคนจะเอา สีส้ม/สีส้มเข้ม ผมก็ได้ให้เหตุผลไปแล้วว่าคำว่าเข้มไม่เพียงพอต่อการอธิบายลักษณะของสี จึงเปลี่ยนไปใช้ สีส้มอมเหลือง/สีส้มอมแดง คราวนี้มีปัญหาต่อมาอีกคือ มีคนเพิ่มแถบสีลงไป แล้วก็แก้รหัสสีกันไปมา ผมจึงอาศัยการดูดสีจากภาพเพื่อให้ได้สีที่แน่นอน (ตามภาพ แน่นอนผมทำได้ครับ) เพื่อหวังว่าจะได้ข้อยุติ แต่ก็ยังมีการเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นอีก ไม่ทราบว่าเพราะอะไรครับ สีมันไม่ถูกใจเหรอครับ ถ้าจะเอาให้ชัวร์กว่านี้นะครับ ขอทีมงานกราฟิกของทีวีไทย หรือผู้ออกแบบโลโก้มาใส่รหัสสีเลยดีไหมครับ --octahedron80 19:28, 10 กันยายน 2552 (ICT)

  • โค้ดที่ใช้ต้องเป็นสี #FF8000 (สีส้มอมเหลือง) #FF3000 (สีส้มอมแดง) เมื่อผมถ่ายรูปลงไปในโลโก้ทีวีไทย(บนทีวี) ในปัจจุบัน สีจะตรงกับโค้ดที่ได้ให้ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Teeneemanun (พูดคุยหน้าที่เขียน) 18:05, 11 กันยายน 2552 (ICT)
ส่วนตัวผมเห็นว่า ควรเป็นสีจากไฟล์ภาพสัญลักษณ์จริง ไม่ใช่จากหน้าจอโทรทัศน์ ซ้ำร้ายเป็นการดึงมาจากภาพถ่าย ซึ่งเป็นผลสำคัญให้เกิดความผิดเพี้ยนในสีได้มาก ทางออกที่ดีอย่างหนึ่งคือ ดูดสีมาจากภาพสัญลักษณ์ในเว็บไซต์ ส.ส.ท.น่าจะช่วยได้ครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 18:18, 11 กันยายน 2552 (ICT)

Ident หรือ Interlude[แก้]

Ident กับ Interlude มันต่างกันไหมครับ และควรจะใช้คำว่าอะไรในบทความ --Tatthep sk 12:23, 14 ตุลาคม 2552 (ICT)

Ident เป็นคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ และหลายภาษา แต่ถ้า Interlude เป็น slang ของ ident ของเวียดนาม และคนไทยก็ใช้บ้าง มันมีหลายชื่อ เช่น nameshow ของพม่า มันก็ตาม ident ของสถานีแห่งแรก ของประเทศนั้น เช่นของยุโรป อเมริกา จะมีแอนิเมชั่น ตามด้วยโลโก้ของช่อง ของเวียดนาม แบบเก่า จะมีหน้าจอ เป็นชื่อสถานี และวันที่ พร้อมกับเสียงเพลง (Interlude = พัก) แต่จะต่างกับของพม่า จะเป็นแค่ชื่อสถานี ทำให้พม่าใช้ Nameshow (แสดงชื่อ)125.25.10.75

2551[แก้]

ทีวีไทย ไม่เคยเปิดสถานีตลอด 24 ชั่วโมงจนถึงพันธมิตรชุมนุม สิงหาคม 2551--125.25.43.39 18:55, 27 มิถุนายน 2553 (ICT)

เลิกก่อกวนได้แล้วมั้งครับ -- 'SaRiiNN' 22:08, 27 มิถุนายน 2553 (ICT)
เอาไปอ่าน!!--125.25.240.158 13:07, 28 มิถุนายน 2553 (ICT)

ถกเรื่องเก่าตอน ปี 2551 กันทำไม[แก้]

  • ที่คุณ 125.25.43.39 บอกว่า ทีวีไทย ไม่เคยเปิดสถานีตลอด 24 ชั่วโมงจนถึงพันธมิตรชุมนุม สิงหาคม 2551 เป็นความจริงครับ แต่แค่ครึ่งเดียว
  • จริง ๆ ทีวีไทยก็เคยเปิดสถานีตลอด 24 ชั่วโมงจนถึงพันธมิตรชุมนุม สิงหาคม 2551 แต่ไม่ใช่รายการที่ผลิตเอง และไม่ใช่การออกอากาศอย่างเป็นทางการครับ เพราะตอนแรก
  • ก่อนจะเปิด พอมีพรบ.ของทีวีไทย ออกมา ทีไอทีวีต้องยุติการออกอากาศ เนื่องจากห้ามมีโฆษณา และยังไม่มีการรับพนักงานของทีวีไทย และคณะกรรมการยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง แต่ถ้าไม่มีการออกอากาศ จอจะดับ ทีวีไทยในตอนนั้นคือ ทีพีบีเอส จำเป็นต้องออกอากาศ จึงได้นำวัตถุประสงค์ขององค์กร ภาพที่เกี่ยวพระ ราชสำนัก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพลงแสงหนึ่งคือรุ้งงาม รวมถึงสารคดีต่างๆ ทั้งที่เคยออกอาอากศทางฟรีทีวีและทรูมาฉาย โดยวนไปวนมาตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง เพราะเป็นเวลาที่ทีไอทีวีเคยออกากาศ
  • แต่พอออกอากาศอย่างเป็นทางการ จึงได้ออกอากาศเวลา 05.00 - 24.00 น. แต่จริง ๆ แล้ว ช่วงนั้นออกอากาศ 18.00 น. - 24.00 น. ยังไม่มีข่าว และเวลา 05.00 น. -18.00 น.ออกอากาศ ซ้ำนะจ๊ะ
  • ไม่ต้องแก้ชื่อนะ ชื่อถูกแล้วนะ
  • อย่าก่อกวนนะ
  • มีอะไรสงสัยอีกมั๊ย - คุยกับผู้ใช้:Googleorange

จำได้:ในวันแรก หลังจาก TITV ปิดสถานีเวลา 00.00 น. เป็นหน้าจอดำ และหลังจากนั้นประมาณ 10 นาที ออกอากาศภาพทดสอบ EBU ในวันแรกเปิดสถานีเวลา 06.05 น.

ในเดือน ก.พ. เปิดสถานีเวลา 06.00 และผมจำได้ว่าเป็นถึงวันที่ 31 พ.ค. 2551

ในช่วงแรก ไม่ได้ออกอากาศ rerun --- ออกอากาศ rerun เริ่มเดือน มิ.ย. 2551. เวลา 05.00-06.00.--125.25.224.216


  • ที่พูดมาจริงครับ จริง ๆ แล้ว จะว่าเป็นทดลองออกอากาศก็ได้หรือไม่ก็ได้ครับ เพราะจริง ๆ แล้วเป็นแค่ภาพที่คั่นระหว่าง การเปลี่ยนผ่านเท่านั้น (ตอนนั้นคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวเพิ่งเริ่มทำงานเ. นะครับ โดยตอนนั้น วันแรกจำลาง ๆ ได้ว่าออกช้ากว่ากำหนด ไป 30 - 45 นาที ใครรู้ช่วยตอบด้วย และ ก็จำได้ เมื่อก่อนฮั่นจือกง ออกทุกวัน องนะ ยังไม่มีพนักงานเลย ตอนนั้นเพิ่งรับบุคคลมาเป็นพนักงานชั่วคราวใช่มั๊ยนะ) ส่วนในเดือน ก.พ. ออกอากาศตั้งเวลา 05.00 น ฮั่นจือกง แต่สมัยแรก ๆ ออกอากาศ 2ช่วง ประมาณ 05.54 และ 22.54 ละมั่ง ไปไปมามา เหลือแค่ช่วงเดียว 05.54-06.00 และในที่สุดในปี 53 ก็เปลี่ยนไปเป็น วันเสาร์-อาทิตย์ ผมพูดจะบรรยายก็คงบรรยายไม่ถูก นั้นคุณดาวโหลดไปดูมั่งในเดือน ก.พ. 51 ครับ

ผังรายการสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ส่วนการรีรัน มีการรีรันก่อน มิ.ย. 2551 ครับ แต่เป็นรายการจากสถานีช่องอื่น(เช่น ขบวนการนักอ่าน CANDY KIDS เพื่อนภาษา ENGLISH - มาจาก อีทีวี สารคดีส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย สารคดีต่างประเทศจากเคเบิลทีวี) และ บางรายการก็ฉายต่อจาก ไอทีวี (นะโม ฮีโร่ผู้น่ารัก BAINBANK) เนื่องจากช่วงแรกที่เพิ่งก่อตั้ง ทีวีไทยยังไม่ีมีพนักงาน ผู้ผลิต จึงจำเป็นที่ต้องนำรายการวัสดุเทปรายการมาฉายพรางไปก่อน แต่ในปัจจุบันคุณยังพบเห็น รายการรีรันที่เป็นรายการที่่เป็นของทีวีไทยในผังเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553ได้ใน เวลา 05.30 น.-05.45 น. (จ.-ศ.) ,05.00 น. - 05.54น.(ส.-อา.) ,10.05 - 11.57 น.(จ.-ศ. ยกเว้น จ. ,อ. และศ. ช่วง 11.05 น. -11.57น.) 11.05 น. -11.57 น. (อา.) ,15.00 น. -15.53 น. (อา.) 16.05 น. - 17.00น. (จ.-ศ.) และ 01.30 น. -02.00 น.(ทุกวัน) และช่วงนั้นที่ทีวีไทยมี TVTHAIHILIGHT ที่ปัจจุบันกลายเป็นบริการ sms ไม่รู้ว่าหายไปตั้งแต่เมื่อไรนะที่ทาสรุปข่าวที่ฉายทางทีวีไทยทั้งวันตอนนั้นรู้สึกหลังข่าวดึก--ผู้ใช้:125.24.55.47

  • ผม confirm กับจขกท. และคุณ 125.25.224.216. ผังรายการ 1-14 ก.พ. 2551 ในการออกอากาศจริงใช้ถึง 29 กุมภาพันธ์ ในช่วงนั้นเปิดสถานีเวลา 7-8โมงเช้า ไม่ใช่ 5.00 ถ้าคุณเห็นเส้นแดงระหว่าง 13.00-18.00 คือการปิดสถานีช่วงบ่าย (ในการออกอากาศจริงปิดสถานีเวบา 11.00-16.30). รายการข่าวเช้าเริ่มออกอากาศครั้งแรกในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม 2551.--125.27.48.143 00:08, 11 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  • แต่ผมจำได้ว่า เปิดตอนตี 5 นะครับ ส่วนรายการข่าวตอนนั้นผมก็ได้ชมอยู่ครับ ก็มา 15 กุมภาพันธ์ 2551ครับ เริ่มมีรายการของทีวีไทยน่าจะประมาณมีนาคมปีนั้น และก็จำได้ว่า สถานีนี้ได้เปลี่ยนชื่อและโลโก้ที่ได้มาจากประกวด เพื่อให้คนไทยจำได้ง่ายขึ้นเป็นสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ เนื่องประชาชนบางคนยังพูดสับสนกัน และจำได้ยาก แต่พอครบครอง 1 ปี ในวันที่ 15 มกราคม 2552 มั่ง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เนื่องจากคนไทยเริ่มคุ้นเคยว่าเป็นทีวีสาธารณะแล้ว และเพื่อให้ชื่อจำได้ง่ายขึ้นและเปลี่ยนโลโก้ใหม่ พร้อมกับมีการปรับปรุงเว็บไซด์ใหม่ เพราะฉะนั้น จึงควรเรียกสถานีนี้ว่าสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย และการออกอากาศควรยึดตามความเป็นจริง การประชุมของคณะกรรมการนโยบาย ผังรายการ และรายงานปฏิบัติประจำปี ของสสท. ซึ่งมีในเว็บของทีวีไทย แล้ว และเรื่องจะถูกต้องหรือไม่ ต้องถามตัวองค์กร หรือเว็บขององค์กรที่ชัวร์มากกว่า ซึ่งวิกิเปรียบเป็นสื่อทางเลือกเท่านั้น คงเข้าใจแล้ว แล้วคุณจขกท.คือใครและconfirm คืออะไรครับ --ผู้ใช้:125.24.55.47
  • ผมจำได้ว่าคืนแรก 14 มกราคม 2551 เริ่มออกอากาศภาพทดสอบ EBU แต่ผมไม่แน่ใจว่าเป็น ทีวีไทย หรือ สทล.3 ของลาว หรือ ช่องบายนทีวีของเขมร (ผมดูทีวีในแบบ ทีวีดีเอกซ์ คือ ดูทีวีต่างประเทศโดยไม่ต้องใช้ดาวเทียม ทำให้ช่องต่างประเทศร่วมได้ (ช่องต่างประเทศต้องออกอากาศในความถี่เดียวกันถึงจะร่วมกันได้)) แต่ถ้าเป็น สทล. หรือบายนทีวี = ช่อง ทีวีไทย ปิดสถานี (ตัดสัญญาณ) แล้ว เพราะว่าสถานีของไทยอยู่ใกล้กว่าสถานีของลาวและเขมร ยกเว้นผมต้องการจะรับช่องนั้น.
  • จขกท. = เจ้าของกระทู้ คือคุณ Googleorange - คุณต้องเรียนภาษาอังกฤษ เป็นคำยืม confirm = ยืนยัน--118.172.188.102 21:40, 12 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  • ผมไม่ได้เคยยืนยันกับคุณ 118.172.188.102 และผมคงไม่ใช่จขกท.และผมก็เรียนภาษาอังกฤษ ควรถ่ายทอดเป็นตัวอักษรไทยครับ และผมก็ได้ติดตามทีวีไทยมาโดยตลอด ยกเว้นช่วงดึก เพราะไม่ตอนนี้ หรือ ตอนนั้น ผมก็ต้องเรียนหนังสือ แต่ตอนนั้นผมก็เห็นมีการออกอากาศ ภายใต้ ทีพีบีเอส ครับ ตอนนั้นจำได้ว่ามีสารคดีสนุก ๆ น่าชน ไม่วาจะเป็น การท่องเที่ยว อาหาร สัตว์ และอาวากาศครับ และผมไม่รู้ที่อื่นออกอากาศหรือยัง แต่ที่กรุงเทพ ฯ มีการออกอากาศแล้ว และตอนนั้นมีรายการพิเศษ นับหนึ่งทีวีสาธารณะละมั่ง ฉายในวันที่ 17 มกราคม 2551 เวลาประมาณ 15.40 น. ประมาณ 1ชั่วโมง จะมีการนำมารีรันหลายครั้ง เพื่อความชัวร์ก็ไปถาม องค์กร เว็บขององค์กร และสื่อสังคมขององค์กรครับ และของยืนยันนี้เป็นพูดคุย ไม่ใช่กระทู้ มาคุยกันเพื่อข้อตกลงกัน เพื่อจะอยู่ร่วมกัน โดยจะใช้เป็นข้อตกลงในการร่วมกันเขียนบทความที่เกี่ยวกับองค์กรแห่งต่อไปครับ Googleorange
  • ผมขอยืนยันอีกครั้งGoogleorange 10:14, 2 สิงหาคม 2553 (ICT)

ข้อสรุปสำคัญคือควรตัดคำว่า "ออกกาศ 24 ชั่วโมงในช่วงทดลองออกอากาศ" และใช้คำว่าทดลองอากาศแทน เนื่องจากในช่วงนั้น ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าทดลองออกอากาศ 24 ชั่วโมงจริงหรือ ไม่มีผังรายการ เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากทีไอทีวีเป็นที่พีบิเอส(ชื่อที่เรียกในสมัยแรก) เพียงทราบว่ามีการทดลองอากาศเท่านั้น จึงควรตัดทอดเหลือเพียงมีการทดลองออกอากาศ หรือควรตัดเหลือเพียงว่ามีการเปลี่ยนผ่านเท่านั้น มีความคิดเห็ฯว่าอย่างไรกันบ้างครับ--Googleorange - กูเกิล ออเรนจ์ 21:15, 10 มิถุนายน 2555 (ICT) จริง ๆ แล้ว ไม่จำเป็นที่เราต้องใส่เวลาเปิด-ปิดสถานี ลงในบทความ --Googleorange - กูเกิล ออเรนจ์ 21:19, 10 มิถุนายน 2555 (ICT)

มาร่วมกันพัฒนาบทความ[แก้]

เนื่องด้วยบทความมีปัญหาอยู่หลาย ๆ ครั้ง จนมีครั้งหนึ่งถึงขนาดถูกบล็อกการเขียน และก็ข้อถกเถียงกัน มาหลาย ๆ ครั้ง และอาจจะไม่เข้าใจ มีการก่อกวนกันบ้าง จึงขอเรียนให้ทุกท่านมาร่วมกันตั้งข้อตกลงเพื่อการพัฒนาบทความให้มีประสิทธิภาพและมีถูกต้อง ซึ่งจะนำมารวบรวมและเขียนเป็นของตกลงเพื่อการพัฒนาบทความที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อสาธารณะในประเทศไทยทั้งหมดในวิก๊พิเดียแห่งนี้ และขอเชญเข้าร่วมในกลุ่มวิก๊พิเดียสื่อสาธารณะไทย ด้วยครับ เพื่อบทความถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและมีรูปแบบเดียวกัน202.28.54.175 09:13, 17 สิงหาคม 2553 (ICT)

เพลงไตเติ้ลรายการข่าวทีวีไทย[แก้]

ทั้งปีแรก กันปัจจุบัน อยากรู้ว่าเพลงไตเติ้ล (เพลงประกอบ) ของข่าวทีวีไทย มีชื่อว่าอะไรครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.19.202.171 (พูดคุย | ตรวจ) 16:39, 30 ธันวาคม 2010 (ICT)

โปรดทราบ[แก้]

ล็อกบทความนี้สิ บทความนี้มีการโตเถียงบ่อยมาก--Admins 19:19, 29 กรกฎาคม 2554 (ICT)

ล็อกทำไมครับ การแสดงความคิดเห็นเป็นหนทางสู่พัฒนาการและการปรับปรุง อีกประการหนึ่ง การล็อกบทความก็ไม่ทำให้การโต้เถียงยุติ วิกิพีเดียคือสารานุกรมที่ทุกคนแก้ไขได้ การล็อกโดยไม่มีเหตุผลก็คือการทำลายวัตถุประสงค์นี้ --Aristitleism 19:26, 29 กรกฎาคม 2554 (ICT)

ความผิดพลาดในการออกอากาศ[แก้]

ความผิดพลาดในการออกอากาศ[แก้]

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ระหว่างการถ่ายทอดสดรายการพิเศษ งานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันฉัตรมงคล เข้าสู่ปีที่ 60 แห่งการบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2553 ซึ่งสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย รับสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยในช่วงระหว่างการถวายราชสดุดี และถวายพระพรชัยมงคล ได้เกิดเหตุอันมิบังควรขึ้น กับการออกอากาศของทีวีไทย เนื่องจากมีเสียงบรรยายสารคดีประวัติของ นายจิตร ภูมิศักดิ์ นักคิดนักเขียนฝ่ายซ้ายเก่าที่มีชื่อเสียง และเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา ที่นายจิตรเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง แทรกเข้ามาในขณะนั้น

ต่อมา ฝ่ายบริหาร ส.ส.ท.ดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที ตามรายงานเบื้องต้นพบว่า เป็นความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทคนิค ซึ่งควบคุมการออกอากาศในเวลานั้น จึงมีคำสั่งลงโทษเบื้องต้น โดยออกคำสั่งให้พักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราว ในระหว่างการสอบสวน เพื่อพิจารณาลงโทษ และจะแจ้งผลการสอบสวนโดยละเอียดครบถ้วนให้สาธารณชนทราบโดยเร็ว[2]

- -

สาเหตุของความผิดพลาด[แก้]

  1. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่ทราบว่า สัญญาณการถ่ายทอดสดที่ส่งมาจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจมีสองภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทำให้ช่วงแรกของการถ่ายทอดสด มีสัญญาณทั้งสองภาษาออกอากาศพร้อมกัน
  2. เมื่อได้ยินเสียงออกอากาศเป็นสองภาษา เจ้าหน้าที่ได้รีบแก้ไขโดยดึงสายสัญญาณเสียงภาษาอังกฤษออก ทำให้เสียงภาษาอังกฤษหายไป เหลือเพียงเสียงภาษาไทยเท่านั้นที่ออกอากาศ
  3. เมื่อเหลือเพียงเสียงบรรยายภาษาไทย เจ้าหน้าที่ได้พยายามจะนำเสียงภาษาอังกฤษกลับมาออกอากาศในระบบเสียงสองภาษา (ระบบ NICAM) เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกรับฟังภาษาอังกฤษได้จากเครื่องรับ
  4. แต่ปรากฏว่าในระหว่างการดำเนินการแก้ไขระบบสองภาษาอยู่นั้น ในที่สุด เจ้าหน้าที่ได้ตัดสินใจดึงเสียงจากช่องสัญญาณหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นช่องเสียง ภาษาอังกฤษมาออกอากาศ โดยไม่ได้ตรวจสอบก่อน และมาทราบความผิดพลาดต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ห้องควบคุมการออกอากาศวิ่งมาแจ้ง ให้ทราบว่าเสียงที่ออกอากาศไปนั้นไม่ใช่เสียงภาษาอังกฤษ จึงได้ดึงช่องสัญญาณเสียงดังกล่าวออก แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นเสียงที่ออกอากาศไปนาน 1 นาทีเศษนั้นเป็นเสียงจากช่องสัญญาณใด เนื่องจากปิดลำโพงของช่องสัญญาณดังกล่าว
  1. เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวยืนยันว่าไม่ทราบมาก่อนว่าในระหว่างการถ่ายทอดสดงาน สโมสรสันนิบาตฯ ได้มีการส่งสัญญาณรายการพิเศษเกี่ยวกับ จิตร ภูมิศักดิ์ มาจากศูนย์ข่าวขอนแก่นของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เพื่อออกอากาศในรายการ ที่นี่..ทีวีไทย ในเวลา 22.00 น.ของคืนนั้น และมาทราบหลังจากนั้นนานพอสมควรว่า ช่องสัญญาณเสียงที่ดึงออกอากาศไป เป็นรายงานพิเศษเกี่ยวกับ จิตร ภูมิศักดิ์
  1. โดยปกติของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย จะมีการส่งสัญญาณภาพและรายงานข่าวผ่านดาวเทียมจากศูนย์ข่าวต่าง ๆ เข้ามายังส่วนกลางที่กรุงเทพมหานครอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อเตรียมนำออกอากาศในรายการต่าง ๆ ของทางสถานี แม้จะอยู่ในระหว่างการถ่ายทอดสด

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ในระดับผู้ปฏิบัติงานจำนวน 2 ราย และเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแล จำนวน 3 ราย ซึ่งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการลงโทษทางวินัยตามระเบียบขององค์การฯ ต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้ผู้บริหารองค์การฯ ที่เกี่ยวข้องยังได้แสดงความรับผิดชอบต่อความบกพร่องที่เกิดขึ้นตามระเบียบ ขององค์การฯ เช่นกัน

องค์กร vs สถานี[แก้]

องค์การกับสถานีโทรทัศน์เป็นเรื่องคนละประเด็นกันนะครับ สถานีโทรทัศน์เป็นหน่วยงานย่อยขององค์การเท่านั้น ซึ่งองค์การหนึ่งอาจจะมีสถานีหลายสถานีก็ได้ นอกจากนี้เนื้อหาของสถานีก็มีมากพอที่จะแยกบทความ จึงไม่สนับสนุนให้รวมครับ --octahedron80 19:17, 15 สิงหาคม 2554 (ICT)

ทิศทางการปรับปรุงบทความ[แก้]

เนื่องจากมีปัญหาในการบทความมาก มีปัญหาที่ค้อนข้างจะขัดแย้งกันสูง มาช่วยพัฒนาบทความให้คุณภาพยิ่งขึ้น ส่วนใดที่เป็นเพียงข่าวหรือเป็นเรื่องเพียงชั่วคราว ควรตัดทิ้งจะดีกว่าไหมครับ ไม่ควรให้ความคิดเห็นส่วนตัวลงไป ไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ใด ๆ มาร่วมพัฒนาข้อมูลไปพร้อมกัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ไปด้วยกัน ดีกว่าไหมครับ

เรื่องการออกอากาศ[แก้]

ในเรื่องการออกอากาศกับการแพร่ภาพ เป็นเพียงเรื่องที่เกี่ยวกับระบบการออกกาศเพียงอย่างเดียวดีกว่าไหมครับ

เวลาเปิด - ปิดสถานี ควรมีใส่ไว้หรือไม่[แก้]

เวลาเปิด - ปิดสถานี โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออ

  • 15 - 31 มกราคม พ.ศ. 2551 ทดลองออกอากาศโดยเชื่อมสัญญาณมาจากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่[12][13]
  • 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.00 น.
  • สิงหาคม พ.ศ. 2551 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.30 น. (จันทร์ - ศุกร์) ระหว่างเวลา 01.00 น. และ 02.00 น. (เสาร์ - อาทิตย์) การปิดสถานีวันเสาร์ขึ้นอยู่กับความยาวภาพยนตร์ที่ออกอากาศในรายการโกลเด้นฟิล์มสัปดาห์นั้น ๆ
  • สิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2551 และ ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2551 เปิดสถานี 24 ชั่วโมง เพื่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
  • กันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2551 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.45 (จันทร์ - ศุกร์) เวลา 00.15 น. (เสาร์ - อาทิตย์)
  • 1 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.45 น. (จันทร์ - ศุกร์) เวลา 00.15 น. (เสาร์ - อาทิตย์)
  • 15 มกราคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2552 และ 1 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.30 น.
  • มีนาคม - เมษายน 2552 เปิดสถานี 24 ชั่วโมง เพื่อรายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 31 มกราคม พ.ศ. 2553 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.30 น. (จันทร์ - เสาร์) เวลา 00.10 น. (อาทิตย์)
  • 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เปิดสถานี 24 ชั่วโมง โดยช่วงเวลา 00.30 น. - 05.00 น. ได้นำรายการที่ยุติการออกอากาศไปแล้ว หรือ รายการที่ออกอากาศอยู่ปัจจุบัน มาฉายซ้ำ
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 02.00 น. โดยช่วงเวลา 00.30 น. - 02.00 น. ได้นำรายการที่ยุติการออกอากาศไปแล้ว สารคดี หรือรายการที่ออกอากาศอยู่ปัจจุบันมาฉายซ้ำ
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2554 ถึงปัจจุบัน เปิดสถานี 24 ชั่วโมง โดยช่วงเวลา 00.30 น. - 05.00 น. ได้นำรายการที่ยุติการออกอากาศไปแล้วหรือรายการที่ออกอากาศอยู่ปัจจุบันมาฉายซ้ำ

ข้อความเหล่านี่้จำเป็นที่ต้องยังอยู่ในบทความนี้หรือไม่ ช่วยกันพิจารณาหน่อยนะครับ --Googleorange - กูเกิล ออเรนจ์ 21:03, 10 มิถุนายน 2555 (ICT) เพราะมีถกเถียงกันมาก --Googleorange - กูเกิล ออเรนจ์ 21:04, 10 มิถุนายน 2555 (ICT)

แก้ไขในส่วนนี้ไหม[แก้]

การเปิดสถานี

  • ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - เมื่อถึงเวลาประมาณ 04:50 น. สิ้นสุดภาพทดสอบและเริ่มแพร่ภาพโลโก้ของสถานี ระยะเวลา 7 นาที จากนั้นเวลาประมาณ 04:57 น. จะมีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี และเริ่มรายการแรก{
  • 1 มิถุนายน 2553 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 - เวลา 05:00 น. เริ่มที่ภาพสุดท้ายของไอเดนท์สถานีฯ มีข้อความ อรุณสวัสดิ์ท่านผู้ชม ขณะนี้เวลา 5 นาฬิกา ตามด้วย ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการรับชมรายการต่าง ๆ ของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย อยู่เหนือ 'ทีวีไทย' และสัญลักษณ์ของสถานีฯ ต่อด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี และเริ่มรายการแรก

การปิดสถานี

  • ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - เมื่อรายการสุดท้ายจบเวลาประมาณ 00.30 น. สถานีฯ เริ่มออกอากาศ ident ของสถานี ต่อด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อด้วยแพร่ภาพโลโก้ของสถานี และเริ่มออกอากาศภาพทดสอบ
  • 1 มิถุนายน 2553 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 - เวลาประมาณ 01.50 น. เริ่มที่ภาพสุดท้ายของไอเดนท์สถานีฯ มีข้อความ "ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยขอยุติการออกอากาศ ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตามชม" ตามด้วย "ขอให้ทุกท่านนอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์" อยู่เหนือ 'ทีวีไทย' และสัญลักษณ์ของสถานีฯ ต่อด้วยเพลง สรรเสริญพระบารมี ต่อด้วยแพร่ภาพโลโก้ของสถานี และเริ่มออกอากาศภาพทดสอบ


เนืองจากข้อความด้านบนไม่มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน จึงอยากถามความคิดเห็น --Googleorange - กูเกิล ออเรนจ์ 21:04, 10 มิถุนายน 2555 (ICT)

ยูเอชเอฟ[แก้]

ใช้ 29 ไม่ได้เพราะว่าที่บ้านของผมที่ ส.น. อยู่ที่ช่อง 27 และบ้านของพี่สาวผมที่ ข.ก. อยู่ที่ช่อง 34

และช่อง 27 ก็ใช้ได้แค่อำเภอเมือง เพราะว่าอย่างเช่นผมไปที่ อำเภอสว่างแดนดิน ใช้ความถี่ 30 ให้ใช้ "ช่อง 29 (UHF) ในกรุงเทพและปริมณฑล" ดีกว่า--110.49.249.103 23:59, 14 มีนาคม 2556 (ICT)

  1. http://www.thaipbs.or.th/rebranding/ แนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างอัตลักษณ์องค์การ (ระยะที่ 1)
  2. ทีวีไทยโผล่แจง!!โบ้ยผิดพลาดเทคนิค ปล่อยคลื่นแทรกถ่ายสดวันฉัตรมงคล จากเว็บไซต์ประชาทรรศน์ออนไลน์