พูดคุย:บันเทิงคดีพยากรณ์และหลังพยากรณ์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชื่อบทความ[แก้]

ชื่อ "บันเทิงคดีพยากรณ์และหลังพยากรณ์" อาศัยหลักดังนี้:

  • "fiction" ถอดเป็น "บันเทิงคดี" เป็นศัพท์บัญญัติ
  • "apocalyptic" ไม่มีศัพท์บัญญัติ แต่มีคำว่า "apocalyptic literature" (ถอดเป็น วรรณกรรมพยากรณ์) จึงถอดเป็น "พยากรณ์"
  • "post-apocalyptic" อาศัยหลักข้างต้น แต่เพิ่มคำอุปสรรค "หลัง-" เข้าไป

--Horus | พูดคุย 13:04, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

ไม่เห็นด้วย apocalyptic เป็นรูปคุณศัพท์ของ apocalypse ซึ่งแปลว่า เปิดเผย ค้นพบ มิได้แปลว่าพยากรณ์ จึงไม่สนับสนุนให้ใช้คำดังกล่าว มีที่มาจาก Apocalypsis บันทึกทางศาสนาของยิวหรือคริสเตียนพบระหว่างปี 200 B.C. - A.D. 350 เป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายในพันธสัญญาใหม่ ภาษาไทยใช้ว่า หนังสือวิวรณ์ มีเนื้อหากล่าวถึงจุดจบของโลก วันสิ้นโลก ทำนองนี้ ดังนั้นผมจึงเห็นว่า ใช้ศัพท์ว่า "โลกล่มสลาย" จะเข้ากันมากกว่า "พยากรณ์" เพราะบันเทิงคดีทำนองนี้ไม่ได้มีการพยากรณ์แต่อย่างใด--浓宝努 13:29, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

ไม่เห็นด้วย ยอมรับเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนคำว่า "เรื่องแต่ง" เป็น "บันเทิงคดี" ตามศัพท์บัญญัติ ครับ ส่วนการใช้คำว่า พยากรณ์ หลังพยากรณ์ คิดว่าไม่สื่อถึงความหมายของเรื่องแต่งแนวนี้ครับ --MuanN (พูดคุย) 19:07, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

ผมคงไม่มีหลักอย่างอื่นเพิ่มเติม แต่อยากชี้ให้เห็นว่า apocalyptic/post-apocalyptic fiction ต่างเป็นสับเซตของ apocalyptic literature จึงน่าจะใช้คำแปลร่วมกันได้ ส่วนคำว่า "วันสิ้นโลก" หรือ "โลกล่มสลาย" ต่างไม่มีศัพท์บัญญัติหรือคำแปลในพจนานุกรมเลย (มีระบุเพียงว่า เป็นคัมภีร์ทางศาสนาเท่านั้น) --Horus | พูดคุย 00:06, 6 ธันวาคม 2555 (ICT)