พุงออ-ปัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พุงออ-ปัง
มื้อขนม
แหล่งกำเนิดประเทศเกาหลี
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ส่วนผสมหลักแป้งสาลี, ถั่วแดงกวน
ข้อมูลอื่นขนมที่มีลักษณะใกล้เคียง

พุงออ-ปัง (เกาหลี붕어빵; อาร์อาร์bungeo-ppang; เอ็มอาร์pungŏ-ppang) เป็นขนมเกาหลีชนิดหนึ่ง เป็นเค้กรูปปลาสอดไส้ถั่วแดงกวน[1] มักพบตามร้านข้างถนนหรือแผงลอยในประเทศเกาหลี[2][3] ประกอบอาหารในเตาลักษณะคล้ายเตาวาฟเฟิลที่มีเบ้ารูปปลา โดยมากจะสอดไส้ถั่วแดงกวน แต่ปัจจุบันหลาย ๆ ร้านได้ดัดแปลงสอดไส้ต่าง ๆ เช่น คัสตาร์ด (เกาหลีเรียกชูแครม), เครื่องโรยหน้าพิซซา, ช็อกโกแลต และอื่น ๆ

ศัทพมูลวิทยา[แก้]

ชื่อของพุงออ-ปัง ประกอบด้วยคำว่า "พุงออ" (붕어) แปลว่าปลาทอง กับคำว่า "ปัง" () คือขนมปัง รวมกันมีความหมายว่า "ขนมปัง (รูป) ปลาทอง" ตามลักษณะของขนม[4]

ประวัติ[แก้]

พุงออ-ปังตั้งพร้อมขาย

พุงออ-ปังเป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายกับขนม ไทยากิ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเข้าสู่ประเทศเกาหลีช่วงปี ค.ศ. 1930 อันเป็นช่วงที่เกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น[5] ใน ลำดับสาแหรกของพุงออ-ปัง เมื่อปี ค.ศ. 2011 ระบุว่านี่คือจุดเริ่มต้นของการนำวาฟเฟิลของตะวันตกกับเกี๊ยวของตะวันออกมาผสมผสานกัน โดยไทยากิเป็นขนมญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากวาฟเฟิลตั้งแต่ศตวรรษที่ 18.[5][6] เดิมไทยากิมีลักษณะเป็นรูปปลาจาน แล้วกลายเป็นปลาทองในประเทศเกาหลี[1]

ก่อนหน้านี้ความนิยมในพุงออ-ปังจะมิได้อยู่ยั่งยืนยงนัก จนถึงช่วงปี ค.ศ. 1990 ขนมนี้มีแนวโน้มที่จะกลับมานิยมอีกครั้งอันเกิดจากการนิยมย้อนยุคในประเทศเกาหลีใต้[7] และจะขายดีเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาว[8]

วัตถุดิบและวิธีทำ[แก้]

แป้งของพุงออ-ปังทำจากแป้งสาลี, ผงฟู, น้ำหรือนม, และไข่ เทลงในพิมพ์ลักษณะเดียวกับเตาวาฟเฟิลแต่ต่างตรงที่เบ้าจะเป็นรูปปลาทอง แล้วจึงใส่ไส้ถั่วแดงกวนหรืออื่น ๆ ลงไป จากนั้นเทแป้งให้เคลือบถั่วแดงกวนแล้วปิดพิมพ์ลง รอจนกว่าแป้งจะสุกกรอบมีสีเหลืองทอง[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "bungeo-ppang" 붕어빵. Standard Korean Language Dictionary (ภาษาเกาหลี). National Institute of Korean Language. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-15. สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.
  2. Carruth, David (28 November 2016). "10 Korean Winter Street Foods To Bear The Cold For". 10 Magazine. สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.
  3. Vis, Karin-Marijke (14 June 2016). "6 Traditional Vegetarian Snacks in South Korea". Paste. สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.
  4. บัวน้อย. "พุงออปัง (붕어빵) ปลาทองหม่ำได้". Hello Miki. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 Lee, Woo-young (23 April 2014). "[Uniquely Korean] Street food evolves". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ 28 April 2017.
  6. Yoon, Deok-no (2011). Bungeoppangedo jokboga itda 붕어빵에도 족보가 있다 [Bungeoppang Has a Family Tree] (ภาษาเกาหลี). Jeonju, Korea: Cheongbori. pp. 18–25. ISBN 978-89-965021-2-8.
  7. 박, 정도 (25 November 2012). "추운 겨울 붕어빵으로 온정 느껴 보세요". The Kookje Daily News (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 28 April 2017.
  8. "พุงออปัง ขนมปังปลาถั่วแดง". Chill Out Korea. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Goldberg, Lina (22 February 2013). "Asia's 10 greatest street food cities". CNN. สืบค้นเมื่อ 11 April 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พุงออ-ปัง