ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สลิลทิพย์ สุขวัฒน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสมุทรปราการ]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสมุทรปราการ]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองสตรีชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองสตรีชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ]]
[[หมวดหมู่:พรรคไทยรักไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคไทยรักไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคเพื่อไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคเพื่อไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:24, 1 กรกฎาคม 2563

สลิลทิพย์ สุขวัฒน์
ไฟล์:สลิลทิพย์ สุขวัฒน์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 (60 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต 5 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

สลิลทิพย์ สุขวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนายประเสริฐ สุขวัฒน์ อดีต ส.ส. สมุทรปราการ และนางยุพพงค์ มีพี่น้อง 3 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสและหย่า มีบุตร 1 คน

งานการเมือง

ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 โดยเอาชนะนายมั่น พัธโนทัย จากพรรคมหาชน หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบ นางสลิลทิพย์ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย และลงเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 5 (มี ส.ส. ได้ 2 คน)

วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ส.ส. สมุทรปราการ ซึ่งสังกัดพรรคเพื่อไทย 2 คน คือ นายกรุง ศรีวิไล และนายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ ได้แถลงย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย อย่างเป็นทางการ[1] ในวันเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยจึงมีการแถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคแทนทันที คือ นางสลิลทิพย์ และนายวรชัย เหมะ[2]

เมื่อมีการยุบสภา นางสลิลทิพย์ซึ่งสังกัดพรรคเพื่อไทย สามารถเอาชนะนายกรุง ศรีวิไล จากพรรคภูมิใจไทย กลับมาเป็น ส.ส. อีกครั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 สลิลทิพย์ลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันกับนายกรุง ศรีวิไล อีกครั้งแต่ฝ่ายนายกรุง ศรีวิไล เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สลิลทิพย์ สุขวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคเพื่อไทย

สรุปการเลือกตั้ง ในรอบ 10 ปีหลังสุด นางสลิลทิพย์ลงสมัคร 5 ครั้ง ได้รับเลือกตั้ง 3 ครั้ง ไม่ได้รับเลือก 2 ครั้ง (พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2562)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น