ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษามคธ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
ภาษามคธเคยใช้พูดในบริเวณที่เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมคธ เช่น [[ปัตนา]] [[นาลันทา]] [[คยา]] และนวทา เป็นต้น นอกจากนั้น มีผู้พูดบ้างใน[[รัฐเบงกอลตะวันตก]] [[มุมไบ]] และ[[เดลฮี]]
ภาษามคธเคยใช้พูดในบริเวณที่เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมคธ เช่น [[ปัตนา]] [[นาลันทา]] [[คยา]] และนวทา เป็นต้น นอกจากนั้น มีผู้พูดบ้างใน[[รัฐเบงกอลตะวันตก]] [[มุมไบ]] และ[[เดลฮี]]
== อักษรและวรรณกรรมพื้นบ้าน ==
== อักษรและวรรณกรรมพื้นบ้าน ==
ภาษามคธโดยทั่วไป เขียนด้วย[[อักษรเทวนาครี]] อักษรที่เคยใช้เขียนภาษานี้คือ[[อักษรไกถิ]] แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน วรรณกรรมพื้นบ้านภาษามคธ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้านและมีวรรณกรรมในรูปแบบปัจจุบันอยู่บ้าง นิตยสารภาษามคธ Magadhi เริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Bihan หมายถึง วันพรุ่งนี้
ภาษามคธโดยทั่วไป เขียนด้วย[[อักษรเทวนาครี]] อักษรที่เคยใช้เขียนภาษานี้คือ[[อักษรไกถี|อักษรไกถิ]] แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน วรรณกรรมพื้นบ้านภาษามคธ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้านและมีวรรณกรรมในรูปแบบปัจจุบันอยู่บ้าง นิตยสารภาษามคธ Magadhi เริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Bihan หมายถึง วันพรุ่งนี้
[[หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอินเดีย|มคธ]]
[[หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอินเดีย|มคธ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:35, 19 เมษายน 2561

ภาษามคธ
मगही magahī
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาครัฐพิหาร
จำนวนผู้พูด11,362,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรเทวนาครี, อักษรไกถิ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการรัฐพิหาร ใน อินเดีย
รหัสภาษา
ISO 639-3mag

ภาษามคธ (อ่านว่า มะ-คด บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี

ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี

ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร

ประวัติ

บรรพบุรุษของภาษามคธคือภาษาปรากฤตมคธที่เคยใช้พูดในอินเดียตะวันออก ซึ่งปัจจุบันคือภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย บังกลาเทศและเนปาล บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมคธ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐพิหาร และเชื่อว่าเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า รวมทั้งภาษาราชการในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

พัฒนาการของภาษามคธมาสู่รูปแบบปัจจุบันยังไม่ทราบดีนัก นักวิชาการด้านภาษามักจะสรุปว่าภาษามคธ ภาษาไมถิลี ภาษาโภชปุรี ภาษาเบงกาลี ภาษาอัสสัม และภาษาโอริยา พัฒนามาจากภาษาปรากฤตมคธหรือภาษาอรธมาคธีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-16 แต่อาจจะไม่ถูกต้องแน่นอนนัก เพราะจุดเริ่มต้นของภาษาสมัยใหม่ในอินเดียปัจจุบันยังไม่ชัดเจน ภาษาคุชราต ภาษาไมถิลี ภาษาเบงกาลี ภาษาอัสสัม ภาษาโอริยา ภาษามราฐี เริ่มมีรูปแบบของวรรณกรรมในราวพุทธศตวรรษที่ 19 แม้ว่าภาษามคธเคยเป็นภาษาราชการในอาณาจักรมคธและมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากแต่ไม่เป็นที่สืบเนื่องในอินเดีย ในรัฐพิหาร ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่ใช้ทางราชการและการศึกษา ภาษามคธนั้นถูกแทนที่ด้วยภาษาฮินดีเมื่อ พ.ศ. 2504

ภาษาฮินดีได้แพร่หลายเข้ามาในรัฐพิหาร และเข้ามาแทนที่ภาษาอูรดูในการเป็นภาษาราชการของรัฐ มีการต่อสู้เพื่อแย่งชิงการเป็นภาษาราชการของรัฐระหว่างภาษาฮินดีกับภาษาอูรดู แต่ไม่มีการพูดถึงภาษาแม่ในบริเวณนั้น อีก 3 ภาษาคือ ภาษามคธ ภาษาโภชปุรี และภาษาไมถิลี หลังจากได้รับเอกราช ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของรัฐพิหาร ตามข้อตกลงภาษาราชการของพิหาร พ.ศ. 2493

บริเวณที่มีการใช้ภาษามคธ

ภาษามคธเคยใช้พูดในบริเวณที่เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมคธ เช่น ปัตนา นาลันทา คยา และนวทา เป็นต้น นอกจากนั้น มีผู้พูดบ้างในรัฐเบงกอลตะวันตก มุมไบ และเดลฮี

อักษรและวรรณกรรมพื้นบ้าน

ภาษามคธโดยทั่วไป เขียนด้วยอักษรเทวนาครี อักษรที่เคยใช้เขียนภาษานี้คืออักษรไกถิ แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน วรรณกรรมพื้นบ้านภาษามคธ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้านและมีวรรณกรรมในรูปแบบปัจจุบันอยู่บ้าง นิตยสารภาษามคธ Magadhi เริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Bihan หมายถึง วันพรุ่งนี้