ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำบีอาส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล แม่น้ำ | river_name = แม่น้ำบีอัส | image_name = 1_Beas_River_Himachal_Pradesh_India.jpg...
 
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* {{commons category-inline|Beas River|แม่น้ำบีอัส}}
* {{commons category-inline|Beas River|แม่น้ำบีอัส}}

{{แม่น้ำห้าสายแห่งปัญจาบ}}


[[หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศอินเดีย]]
[[หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศอินเดีย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:47, 5 พฤศจิกายน 2558

แม่น้ำบีอาส
ลักษณะทางกายภาพ
ปากน้ำแม่น้ำสัตเลช
ความยาว470 กิโลเมตร (290 ไมล์)

แม่น้ำบีอัส (อังกฤษ: Beas River; ฮินดี: ब्यास; ปัญจาบ: ਬਿਆਸ) เป็นแม่น้ำทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 470 กิโลเมตร (290 ไมล์) มีพื้นที่ลุ่มน้ำกว้างถึง 20,303 ตารางกิโลเมตร (7,839 ตารางไมล์)[1] แม่น้ำบีอัสมีต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้ของช่องเขาโรห์ตัง (Rohtang Pass) ในเทือกเขาหิมาลัย รัฐหิมาจัลประเทศ ตัดผ่านเขตแมนดี (Mandi) และเข้าเขตกังกรา (Kangra) ก่อนจะอ้อมเนินเขาซิวาลิกในเมืองฮอชิอาปูร์ (Hoshiarpur) และไหลผ่านเป็นพรมแดนระหว่างเมืองอมฤตสาร์และคาปูร์ธาลา (Kapurthala) ไปบรรจบกับแม่น้ำสัตเลชที่พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองคาปูร์ธาลา[2] แม่น้ำบีอัสเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำของอินเดียและปากีสถาน[3]

ในพระเวทเรียกแม่น้ำบีอัสว่า "อาร์จิคูจา" (Arjikuja) อินเดียโบราณเรียก "วิภาษา" (Vipasa) และกรีกโบราณเรียก "ไฮฟาซิส" (Hyphasis)[4] ในปีที่ 326 ก่อนคริสตศักราช หลังการต่อต้านของกองทหาร พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงโปรดให้แม่น้ำสายนี้เป็นพรมแดนด้านตะวันออกสุดของจักรวรรดิของพระองค์ และให้สร้างแท่นบูชาสิบสองแห่งเพื่อระลึกถึงการขยายพระราชอำนาจ[5][6] ช่วงศตวรรษที่ 20 แม่น้ำบีอัสมีบทบาทในด้านการชลประทานและการผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำ มีการสร้างเขื่อนสองแห่งคือเขื่อนพอง (Pong Dam) และเขื่อนแพนโดห์ (Pandoh Dam) เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้[7][8]

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2014 เกิดเหตุกลุ่มนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันแห่งหนึ่งในไฮเดอราบาดและผู้นำเที่ยวถูกกระแสน้ำในแม่น้ำบีอัสพัดพา จนมีผู้เสียชีวิต 25 ราย คาดว่าสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนลาร์จิ (Larji Dam) โดยไม่ได้มีการประกาศเตือน[9]

อ้างอิง

  1. Jain, Sharad K.; Agarwal, Pushpendra K.; Singh, Vijay P. (5 March 2007). Hydrology and water resources of India. Springer. p. 481. ISBN 978-1-4020-5179-1. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  2. Beas River | river, India | Britannica.com
  3. The Indus Water Treaty - transboundarywaters
  4. Beas The Imperial Gazetteer of India, v. 7, p. 138..
  5. Travels into Bokhara, Lieut. Alex. Burnes FRS, London, John Murray, 1834, page 6
  6. "The Empire and Expeditions of Alexander the Great". World Digital Library. 1833. สืบค้นเมื่อ 2013-07-26.
  7. "Developmental History of Beas Project". Bhakra Beas Management Board. สืบค้นเมื่อ 27 November 2011.
  8. "India: National Register of Large Dams 2009" (PDF). Central Water Commission. สืบค้นเมื่อ 22 November 2011.
  9. http://www.hindustantimes.com/punjab/chandigarh/silent-river-beas-turned-into-watery-grave-within-seconds/article1-1227660.aspx

แหล่งข้อมูลอื่น