ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตี๋ ชิง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
Aristitleism ย้ายหน้า ตี้ ชิง ไปยัง ตี๋ ชิง ทับหน้าเปลี่ยนทาง
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


{{เปาบุ้นจิ้น}}
[[หมวดหมู่:ขุนนางสมัยราชวงศ์ซ่ง]]

{{เกิดปี|1551}}
{{เกิดปี|1551}}
{{ตายปี|1600}}
{{ตายปี|1600}}
[[หมวดหมู่:ขุนนางสมัยราชวงศ์ซ่ง]]
[[หมวดหมู่:เปาบุ้นจิ้น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:21, 17 มิถุนายน 2557

ภาพวาดตี๋ ชิง

ตี๋ ชิง ตามสำเนียงกลาง หรือ เต็กเช็ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 狄青; พินอิน: Dí Qīng; เวด-ไจลส์: Ti2 Ching1; ค.ศ. 1008–1057) เป็นแม่ทัพในยุคราชวงศ์ซ้องที่มีชื่อเสียงปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์และพงศาวดารของจีน

ตี๋ ชิง เกิดในครอบครัวที่ยากจน ณ บริเวณซึ่งปัจจุบันคือ เมืองเฟิงหยาง มณฑลซานซี ไต่เต้าจนกระทั่งได้มาเป็นแม่ทัพใหญ่ในยุคของเหรินจง

เรื่องราวของตี๋ ชิง ปรากฏอยู่ในพงศาวดารจีนชื่อว่า 萬花樓 แต่เป็นการเอาประวัติศาสตร์จริง ๆ มาแต่งเติมว่า เป็นขุนทหารที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์อย่างสูง แม้เป็นแม่ทัพ แต่เมื่อออกรบ จะอยู่แนวหน้าพร้อมทหารเลว จึงเป็นที่เคารพของไพร่พล และเมื่อออกรบจะใส่หน้ากากปิศาจเพื่อปกปิดใบหน้าตน เพราะเคยกระทำผิดจนถูกสักที่ใบหน้า และเพื่อข่มขวัญข้าศึกด้วย ต่อมา ตี๋ ชิง ถูกใส่ความ และได้เปาบุ้นจิ้น ชำระคดีให้ ทั้งยังระบุว่า ตี๋ ชิง เป็นดาวทหารจุติมาคู่กับเปาบุ้นจิ้นซึ่งเป็นดาวพลเรือน [1]

เรื่องราวของตี๋ ชิง ได้รับความนิยมในวัฒนธรรมจีนเช่นเดียวกับหลายบุคคลร่วมสมัย เช่น เปาบุ้นจิ้น, ขุนศึกตระกูลหยาง และได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อย่างน้อย 3 ครั้ง คือ The Legend of Dik Ching นำแสดงโดย เหมียว เฉียวเหว่ย เมื่อ ค.ศ. 1986 The Great General นำแสดงโดย หลิว สงเหยิน เมื่อ ค.ศ. 1994 และ Justice Pao ตอนที่ 176-180 เมื่อ ค.ศ. 1993[2]

อ้างอิง