เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม
สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม (จีน: 三俠五義; พินอิน: Sān Xiá Wǔ Yì; อังกฤษ: The Three Heroes and Five Gallants) เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนแนวสืบสวนสอบสวนและกำลังภายใน ฉือ ยฺวี่คุน (石玉昆; Shí Yùkūn) แต่งขึ้น และได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเผยแพร่เมื่อปลายศตวรรษที่ 19[1] นิยายเรื่องนี้ได้รับความนิยมมาก ต่อมา หยู เยฺว่ (俞樾; Yú Yuè) ปรับปรุงจนเป็นวรรณกรรมชั้นสูง เรียกชื่อเสียใหม่ว่า เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม (七俠五義; Qī Xiá Wǔ Yì; The Seven Heroes and Five Gallants) เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1889[2]
ประวัติ
[แก้]ในราชวงศ์ชิง รัชสมัยเสียนเฟิงถึงถงจื้อ ซึ่งเป็นช่วงที่พระพันปีฉือสี่เถลิงอำนาจ ฉือ ยฺวี่คุน บัณฑิตจากเมืองเทียนจิน มีชื่อเสียงมากจากการเล่าเรื่องราวของเปา เจิ่ง ข้าราชการจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง เขาเล่าเรื่องไปด้วย เล่นซอสามสายไปด้วย ทำให้แต่ละครั้งมีผู้ชมหลายพัน ร้านหนังสือจึงเริ่มบันทึกเรื่องเล่าของเขาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยตัดเพลงและถ้อยคำที่ไม่เป็นภาษาออก กลายเป็นหนังสือชื่อว่า หลงถูเอ่อร์ลู่ (龍圖耳錄; Lóngtú Ěr Lù) แปลว่า "บันทึกเรื่องหลงถูที่ฟังมา" (Aural Record of Longtu) ทั้งนี้ "หลงถู" เป็นฉายาของเปา เจิ่ง แปลว่า มังกรให้วาดขึ้น เพราะเนื้อเรื่องตอนหนึ่งว่า พระเจ้าแผ่นดินสุบินว่า จะมีเทพยดามาจุติเป็นข้าราชการ และรับสั่งให้วาดรูปข้าราชการผู้นั้นตามพระสุบินแล้วออกติดตามหา[3]
ครั้นถึงรัชสมัยกวังซวี่ มีผู้หนึ่งใช้นามแฝงว่า "เวิ่นจู๋จู่เหริน" (問竹主人; Wèn Zhú Zhǔrén) แปลว่า "อาจารย์สอบไผ่" (Master Bamboo Questioner) ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นฉือ ยฺวี่คุน นั้นเอง ได้ปรับปรุงหนังสือข้างต้นโดยตัดเรื่องภูตผีออกบางส่วน แล้วประมวลเนื้อหาเข้าเป็นหนังสือเล่มใหม่ มีหนึ่งร้อยยี่สิบบท ชื่อ จงเลี่ยเสียอี้ฉวน (忠烈俠義傳; Zhōngliè Xiáyì Chuán) แปลว่า "เรื่องราวเหล่าทแกล้วทกล้าผู้จงรักและใจหาญ" (Biographies of Loyal, Courageous Heroes and Gallants)[3][4]
ภายหลัง หนังสือนั้นมีผู้ใช้นามแฝงว่า "รู่หมีเต้าเหริน" (入迷道人; Rùmí Dàorén) แปลว่า "นักพรตมีสุข" (Captivated Taoist) ปรับปรุง และอีกบุคคลซึ่งใช้นามแฝงว่า "ทุ่ยซือจู่เหริน" (退思主人; Tuìsī Zhǔrén) แปลว่า "อาจารย์ใฝ่วิเวก" (Master of Retiring Thought) ปรับปรุงอีกชั้นหนึ่ง เรียกชื่อว่า สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม ที่ว่า "สามผู้กล้า" นี้ความจริงแล้วหมายถึงบุคคลสี่คน คือ จั่น เจา จอมยุทธใต้ โอวหยาง ชุน จอมยุทธเหนือ กับติง เจ้าหลัน และติง เจ้าฮุ่ย จอมยุทธแฝด ต่อมา ร้านขุมทรัพย์ (聚珍堂; Jùzhēn Táng) ร้านหนังสือในกรุงปักกิ่ง จัดพิมพ์ สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1879 หนังสือเป็นที่นิยมในกรุงทันที[3]
ราวสิบปีให้หลัง หยู เยฺว่ ข้าราชการซึ่งชำนาญภาษาศาสตร์ ปรับปรุงหนังสือนั้นอีก แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม ร้านกวั๋งไป่ซ่งไจ (廣百宋齋; Guǎng Bǎi Sòng Zhāi) ในเซี่ยงไฮ้ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1889 และในไม่ช้าก็ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศจีน[3]
ตัวละคร
[แก้]ชื่อ | หมายเหตุ | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไทย | จีน | พินอิน | |||||||||||||||||||||||||||
ศาลไคเฟิง | |||||||||||||||||||||||||||||
เปา เจิ่ง | 包拯 | Bāo Zhěng | เจ้าเมืองไคเฟิง | ||||||||||||||||||||||||||
กงซุน เช่อ | 公孫策 | Gōngsūn Cè | ผู้ช่วยของเปา เจิ่ง | ||||||||||||||||||||||||||
เปา ซิ่ง | 包興 | Bāo Xìng | คนรับใช้ของเปา เจิ่ง | ||||||||||||||||||||||||||
หวัง เฉา | 王朝 | Wáng Cháo | สี่พี่น้องร่วมสาบาน นายตำรวจของเปา เจิ่ง | ||||||||||||||||||||||||||
หม่า ฮั่น | 馬漢 | Mǎ Hàn | |||||||||||||||||||||||||||
จาง หลง | 張龍 | Zhāng Lóng | |||||||||||||||||||||||||||
จ้าว หู่ | 趙虎 | Zhào Hǔ | |||||||||||||||||||||||||||
เจ็ดผู้กล้า | |||||||||||||||||||||||||||||
จั่น เจา | 展昭 | Zhǎn Zhāo | ฉายาสามัญ "จอมยุทธ์ใต้" (南俠; Nán Xiá; Southern Hero) ฉายาพระราชทาน "แมวหลวง" (御貓; Yù Māo; Royal Cat) | ||||||||||||||||||||||||||
โอวหยาง ชุน | 歐陽春 | Ōuyáng Chūn | ฉายา "จอมยุทธ์เหนือ" (北俠; Běi Xiá; Northern Hero) | ||||||||||||||||||||||||||
ติง จ้าวหลาน | 丁兆蘭 | Dīng Zhàolán | ฉายา "จอมยุทธ์แฝด" (双侠; Shuāng Xiá; Twin Heroes) | ||||||||||||||||||||||||||
ติง จ้าวฮุ่ย | 丁兆蕙 | Dīng Zhàohuì | |||||||||||||||||||||||||||
จื้อ ฮว่า | 智化 | Zhì Huà | ฉายา "จิ้งจอกดำ" (黑狐妖; Hēi Hú Yāo; Black Demon Fox) | ||||||||||||||||||||||||||
เฉิน จ้ง-ยฺเหวียน | 沈仲元 | Chén Zhòngyuán | ฉายา "ขงเบ้งน้อย" (小诸葛; Xiǎo Zhūgé; Little Zhuge) | ||||||||||||||||||||||||||
อ้าย หู่ | 艾虎 | Ài Hǔ | ฉายา "จอมยุทธ์น้อย" (小侠; Xiǎo Xiá; Little Hero) | ||||||||||||||||||||||||||
ห้าผู้ทรงธรรม | |||||||||||||||||||||||||||||
หลู ฟาง | 盧方 | Lú Fāng | ฉายา "หนูทะลวงฟ้า" (鑽天鼠; Zuān Tiān Shǔ; Sky-Penetrating Rat) หัวหน้ากลุ่มห้าหนูแห่งเกาะสุญญตา (陷空島五鼠; Five Rats of the Hollow Island) | ||||||||||||||||||||||||||
หาน จาง | 韓彰 | Hán Zhāng | ฉายา "หนูดำดิน" (徹地鼠; Chè Dì Shǔ; Earth-Piercing Rat) | ||||||||||||||||||||||||||
สฺหวี ชิ่ง | 徐慶 | Xú Qìng | ฉายา "หนูทลายผา" (穿山鼠; Chuān Shān Shǔ; Mountain-Boring Rat) | ||||||||||||||||||||||||||
เจี่ยง ผิง | 蔣平 | Jiǎng Píng | ฉายา "หนูตะลุยบาดาล" (翻江鼠; Fān Jiāng Shǔ; River-Overturning Rat) | ||||||||||||||||||||||||||
ไป๋ อฺวี้ถัง | 白玉堂 | Bái Yùtáng | ฉายา "หนูขนแพร" (錦毛鼠; Jǐn Máo Shǔ; Brocade-Coated Rat) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lu Hsun; Yang Hsien-yi (trans.); Gladys Yang (trans.) (1964). A Brief History of Chinese Fiction (2nd ed.). Beijing: Foreign Languages Press. ISBN 1135430608.
- ↑ Blader, Susan (1998). Tales of Magistrate Bao and His Valiant Lieutenants: Selections from Sanxia Wuyi. Chinese University Press. ISBN 9622017754.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Deng Shaoji; Wang Jun; Wen Jingen (trans.) (1996). Preface to The Seven Heroes and Five Gallants. In Shi Yukun; Yu Yue; Song Shouquan (trans.) (2005). The Seven Heroes and Five Gallants. Esther Samson (ed.), Lance Samson (ed.). Beijing: Foreign Languages Press. ISBN 7507103587.
- ↑ Blader, Susan (1997). Tales of Magistrate Bao and His Valiant Lieutenants: Selections from Sanxia Wuyi. Hong Kong: The Chinese University Press. ISBN 9622017754.