ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อดุลย์ เหลืองบริบูรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทยพัฒนา]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทยพัฒนา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:31, 9 เมษายน 2556

นายอดุลย์ เหลืองบริบูรณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2511 (55 ปี) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี 3 สมัย และประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี

ประวัติการทำงาน

  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี 3 สมัย
  • ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี
  • รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี
  • ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส.ชาดา ไทยเศรษฐ์
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี
  • กรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร

งานการเมือง

ภายหลังจากที่นายนพดล พลเสน อดีต ส.ส.อุทัยธานีคนเดิม ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการยุบพรรคชาติไทย นายอดุลย์ ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมในนามพรรคชาติไทยพัฒนา ต่อมา กกต. ได้ตัดสิทธิ์นายอดุลย์ เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบ 90 วัน แต่ภายหลังศาลได้ตัดสินแล้วว่า นายอดุลย์ มีคุณสมบัติครบถ้วน จึงให้เป็นผู้สมัครต่อไป ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 นายอดุลย์ ได้รับการเลือกตั้ง ด้วยคะแนน 84,940 คะแนน

ในการเลือกตั้งปี 2554 นายอดุลย์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 ในสังกัดพรรคเดิม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ กุลเดช พัวพัฒนกุล ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[1]

ต่อมานายอดุลย์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง