ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเมืองฝ่ายขวา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DragonBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ug:ئوڭچى
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: kn:ಬಲಪಂಥೀಯ ರಾಜಕೀಯ ลบ: ug:ئوڭچى
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[it:Destra (politica)]]
[[it:Destra (politica)]]
[[ja:右翼]]
[[ja:右翼]]
[[kn:ಬಲಪಂಥೀಯ ರಾಜಕೀಯ]]
[[ko:우익]]
[[ko:우익]]
[[ku:Milê rastê]]
[[ku:Milê rastê]]
บรรทัด 64: บรรทัด 65:
[[ta:வலது சாரி அரசியல்]]
[[ta:வலது சாரி அரசியல்]]
[[tr:Sağcılık]]
[[tr:Sağcılık]]
[[ug:ئوڭچى]]
[[uk:Права партія]]
[[uk:Права партія]]
[[zh:右派]]
[[zh:右派]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:19, 16 ตุลาคม 2552

คำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา ในทางการเมือง เริ่มใช้มาตั้งแต่ยุคการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่มีการแบ่งพื้นที่การนั่งประชุมในสภาสมัชชาแห่งชาติ โดยตัวแทนของกลุ่มชนชั้นกรรมกร ชาวนา ชาวไร่ จะนั่งอยู่ทางซ้ายของประธานสมัชชา และฝ่ายตัวแทนของขุนนาง ทหาร นักบวช จะนั่งทางขวามือของประธานฯ ทำให้เป็นธรรมเนียมเรียกฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา ตั้งแต่นั้นมา

ความหมาย

ฝ่ายขวา ในความหมายโดยรวม อาจอธิบายได้ว่า คือ กลุ่มอนุรักษนิยม และอาจกล่าวได้อีกว่า ฝ่ายขวา คือ กลุ่มที่มีแนวคิดว่าการปกครองโดยการกระจายอำนาจแบบเท่าเทียมจะไม่สามารถทำได้ เป็นกลุ่มที่เชื่อว่าการปกครองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ หรืออภิสิทธิ์ชนเท่านั้น และยังเป็นพวกต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ เป็นแนวคิดอำนาจนิยม ซึ่งแนวคิดนี้จะตรงข้ามกับฝ่ายซ้าย

แนวคิดทางเศรษฐกิจของฝ่ายขวา คือ ไม่ต้องการให้มีการตั้งสหภาพแรงงาน เพราะคิดว่าเป็นภัยทำให้แรงงานมีอำนาจต่อรองกับบริษัท ซึ่งฝ่ายขวาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยฝ่ายซ้าย มองว่าในการตั้งสหภาพแรงงานนั้น เป็นการสร้างเศรษฐกิจที่ทุกคนมีส่วนร่วม

ฝ่ายขวาในแต่ละประเทศ

ในประเทศต่างๆ ฝ่ายขวา คือคนที่สนับสนุนไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครอง เช่น ในสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช กองทัพ และนักธุรกิจส่วนใหญ่ ถือเป็นตัวแทน ฝ่ายขวา หรือพรรคนาซีของประเทศเยอรมัน หรือพรรคอนุรักษนิยมในประเทศอังกฤษ เป็นต้น

สำหรับในประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ เช่นประเทศไทย ฝ่ายขวา หมายรวมถึง กลุ่มนิยมกษัตริย์ ด้วย

ฝ่ายขวากับเหตุการณ์ในประเทศไทย

เมื่อครั้ง เหตุการณ์ 6 ตุลา กลุ่มอนุรักษนิยม ฝ่ายขวา ได้ชูประเด็นเรื่องนักศึกษาหมิ่นราชวงศ์ จนเป็นชนวนไปสู่การใช้กำลังสลายและสังหารนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กลุ่มกระบวนการทางการเมืองฝ่ายขวา ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่เป็นรูปธรรมคือ กลุ่มทหาร (กลุ่มนวพล) ลูกเสือชาวบ้าน ชมรมวิทยุเสรี ชมรมแม่บ้าน กลุ่มกระทิงแดง เป็นต้น

ข้อมูลอื่น