ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัตว์ป่าสงวน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Triwit (คุย | ส่วนร่วม)
Play
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีมติเห็นชอบเพิ่มสัตว์ 1 ชนิด คือ นกชนหิน ตามข้อเสนอโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช <ref>[https://www.seub.or.th/bloging/news/นกชนหิน-สัตว์ยุคโบราณ/ ภูริช วรรธโนรมณ์, "ลำดับเหตุการณ์ผลักดัน ‘นกชนหิน’ เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของประเทศไทย"] เว็บไซต์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, 9 มีนาคม 2564, สืบค้น 2564-06-26</ref>
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีมติเห็นชอบเพิ่มสัตว์ 1 ชนิด คือ นกชนหิน ตามข้อเสนอโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช <ref>[https://www.seub.or.th/bloging/news/นกชนหิน-สัตว์ยุคโบราณ/ ภูริช วรรธโนรมณ์, "ลำดับเหตุการณ์ผลักดัน ‘นกชนหิน’ เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของประเทศไทย"] เว็บไซต์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, 9 มีนาคม 2564, สืบค้น 2564-06-26</ref>


ABC
== รายชื่อ และการจำแนก ==
สัตว์ป่าสงวน ในปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 19 ชนิด <ref name="Act2562PDF"/>
และจะเพิ่มเป็น 20 ชนิด ได้แก่

{| class="wikitable sortable" style="text-align:center; font-size:small;"
! ชื่อสามัญ !! ชื่อวิทยาศาสตร์ !! ปีที่ประกาศ
|-
| [[แรดชวา|แรด]] || ''Rhinoceros sondaicus'' || 2503
|-
| [[กระซู่]] || ''Dicerorhinus sumatrensis'' || 2503
|-
| [[สมเสร็จมลายู|สมเสร็จ]] || ''Tapirus indicus'' || 2535
|-
| [[กูปรี|กูปรี หรือ โคไพร]] || ''Bos sauveli'' || 2503
|-
| [[ควายป่า]] || ''Bubalus arnee'' || 2503
|-
| [[เลียงผาใต้|เลียงผา หรือ เยือง หรือ กูรำ หรือ โครำ]] || ''Capricornis sumatraensis'' || 2503
|-
| [[กวางผาจีน|กวางผา]] || ''Naemorhedus griseus'' || 2503
|-
| [[สมัน|สมัน หรือ เนื้อสมัน]] หรือ กวางเขาสุ่ม || ''Rucervus schomburki'' || 2503
|-
| [[ละองละมั่ง|ละอง หรือ ละมั่ง]] || ''Rucervus eldi'' || 2503
|-
| [[เก้งหม้อ]] || ''Muntiacus feae'' || 2535
|-
| [[วาฬบรูด้า|วาฬบรูดา]] || ''Balaenoptera edeni'' || 2562
|-
| [[วาฬโอมูระ]] || ''Balaenoptera omurai'' || 2562
|-
| [[พะยูน|พะยูน หรือ หมูน้ำ​]] หรือ วัวทะเล || ''Dugong dugon''|| 2535
|-
| [[แมวลายหินอ่อน]] || ''Pardofelis marmorata'' || 2535
|-
| [[นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร]] || ''Pseudochelidon sirintarae'' || 2535
|-
| [[นกแต้วแร้วท้องดำ]] || ''Pitta gurneyi'' || 2535
|-
| [[นกกระเรียนไทย|นกกระเรียน]] || ''Grus antigone'' || 2535
|-
| [[เต่ามะเฟือง]] || ''Dermochelys coriacea'' || 2562
|-
| [[ฉลามวาฬ]] || ''Rhincodon typus'' || 2562
|-
|}


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:48, 29 พฤศจิกายน 2564

กวางผา (Nemorhaedus griseus) 1 ใน 20 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย

ความหมาย

สัตว์ป่าสงวน

  • ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 หมายถึง สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ [1] [2]
  • ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ และตามที่จะกำหนด โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา [3]
  • ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ [4]

รวมความว่า สัตว์ป่าสงวน คือ สัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย โดยมีรายชื่อตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับนั้น

การครอบคลุมถึง ซากสัตว์ และครอบคลุมถึงสัตว์ที่สูญพันธุ์แล้วนั้น เพื่อเก็บรวบรวมซากไว้ให้ผู้มีหน้าที่โดยตรงได้ศึกษาทางวิชาการ, เพื่อเป็นมรดกของชาติ และเพื่อไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดสะสมเป็นส่วนตัวซึ่งเป็นเหตุให้มีความต้องการล่า หากมีโอกาสหลงเหลือแม้สักตัว

ประวัติการเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อ

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 มีการตรา พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันถัดมา [4]

รายชื่อ สัตว์ป่าสงวน ถูกกำหนดครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 มีจำนวน 9 ชนิด ล้วนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบ ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และ กวางผา [4] (รายชื่อนี้มีการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา)

ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตาม อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า หรือ CITES ซึ่งเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 ประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 มีการตรา พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยปรับปรุงและยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเดิม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 [3]

ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้กำหนดให้สามารถเปลี่ยนแปลงรายชื่อชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องรอแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างเดิมที่ใช้เวลานานกว่า [3]

ทั้งนี้ยังได้เพิ่มชนิดสัตว์ที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ (ในขณะนั้น) 7 ชนิด ได้แก่ สมเสร็จ(มลายู) เก้งหม้อ แมวลายหินอ่อน พะยูน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแร้วท้องดำ และ นกกระเรียนไทย [3]

และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย [3]

วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีมติเห็นชอบให้เพิ่มสัตว์ 4 ชนิด โดยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล 2 ชนิด ได้แก่ วาฬบรูดา วาฬโอมูระ เป็นสัตว์เลื้อยคลาน 1 ชนิด คือ เต่ามะเฟือง และปลาอีก 1 ชนิด คือ ปลาฉลามวาฬ [5]

วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 มีการตรา พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยปรับปรุงและยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเดิม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 [1]

วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีมติเห็นชอบเพิ่มสัตว์ 1 ชนิด คือ นกชนหิน ตามข้อเสนอโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช [6]

ABC

อ้างอิง

  • "Wild Animal Reservation and Protection Act, BE 2535", Royal Thai Government Gazette, vol. 109 no. 15, 28 February 1992 (Unofficial translation เก็บถาวร 2012-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Dan Reik, April 1996).
  • Wildlife Conservation Development and Extension Section, Wildlife Conservation Division, Royal Forest Department, Wildlife Conservation in Thailand (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-29, สืบค้นเมื่อ 2014-12-08{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) shurhare.
  1. 1.0 1.1 PDF "พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562" เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา โดย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ประกาศ 2562-25-29
  2. PDF "พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562" เว็บไซต์ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สืบค้น 2564-06-26
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535" เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ประกาศ 2535-02-28
  4. 4.0 4.1 4.2 PDF "พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503" เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ประกาศ 2503-12-27
  5. "รู้ยัง เพิ่มสัตว์น้ำอีก 4 ชนิดเป็นสัตว์สงวนใหม่" เว็บไซต์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่วนจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล, สืบค้น 2564-06-26
  6. ภูริช วรรธโนรมณ์, "ลำดับเหตุการณ์ผลักดัน ‘นกชนหิน’ เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของประเทศไทย" เว็บไซต์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, 9 มีนาคม 2564, สืบค้น 2564-06-26