ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สตริงคอมโบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{โปร}}
'''สตริงคอมโบ''' String combo เป็น[[วงดนตรี]]เครื่องสายอย่าง[[ตะวันตก]]ขนาดเล็ก เกิดใหม่จากการดัดแปลงและรวมวงวงคอมโบเข้ากับวงชาโดว์
*'''วงคอมโบ''' (Combo Band) หมายถึงวงดนตรีขนาดเล็ก ผสมผสานระหว่าง[[ดนตรีไทย]]และสากล มุ่งประกอบการขับร้อง มีจำนวนเครื่องดนตรีไม่แน่นอน แล้วแต่ความสะดวก แต่หลักๆ มักประกอบด้วย ระนาดเอก, [[จะเข้]], [[ซออู้]], [[ซอด้วง]], ฆ้องวง, ฉิ่ง, ฉาบ, กีตาร์, เปียโน, เบส, ฟรุต, กลองชุด, [[เครื่องกระทบ|เครื่องประกอบจังหวะ]]อื่นๆ
*'''วงชาโดว์''' (Shadow Band) เป็นวงขนาดเล็กเช่นกันมี กีตาร์ลีด, กีตาร์คอร์ด, [[กีตาร์เบส]], [[กลองชุด]]

== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
=== ประวัติวงสตริงคอมโบฝั่งตะวันตก ===
=== ประวัติวงสตริงคอมโบฝั่งตะวันตก ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:48, 16 ตุลาคม 2563

ประวัติ

ประวัติวงสตริงคอมโบฝั่งตะวันตก

วงสตริงฝั่งตะวันตกแบ่งวิวัฒนาการออกได้เป็น 2 สมัย สมัยแรกคือดนตรีต้นตำรับตั้งแต่ร็อกยังไม่เกิด ได้แก่ บลูส์, คันทรี และดนตรีโฟล์ก สมัยที่สองเป็นร็อกยุคแรกอันเป็นต้นฉบับให้กับร็อกรุ่นหลังถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษร็อกนี้เรียกว่าคลาสสิกร็อก, ป็อป, ริทึมแอนด์บลูส์ R&B

ประวัติวงสตริงคอมโบของไทย

วงการดนตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเนื่องจากอิทธิพลของดนตรีตะวันตก ที่หลั่งไหลเข้ามาโดนใจวัยโจ๋ในสมัยนั้นไม่ขาดสายได้แก่วง เดอะบิทเทิลส์, เดอะชาโดว์ของ คลิฟฟ์ ริชาร์ด, เอลวิส เพรสลีย์ ฯลฯ แทบทุกวงดนตรีมากับกีตาร์ 3 ตัว กลองชุด พร้อมๆ กันนั้นวงดนตรีของไทยก็เริ่มหันมาเล่นเพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน เมื่อสหรัฐอเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยสมัย สงครามเวียดนาม เพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน วงดนตรีของไทยที่เล่นเพลงสากลในสมัยนั้นเช่น วงซิลเวอแซนด์, วงรอยัลสไปรท์ส ฯลฯ ร้องและเล่นตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่

พ.ศ. 2512 ได้จัดการประกวดวงสตริงคอมโบแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีกติกาการแข่งขันว่า เล่นเพลงสากล 1 เพลง เพลงไทยสากล 1 เพลง เพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง วงที่ชนะเลิศคือ วงดิอิมพอสซิเบิ้ล ซึ่งเดิมเป็นวงอาชีพเล่นอยู่แถบถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ในนามวงจอยท์รีแอคชั่นหรือ เจ-ทรี (ฮอลิเดย์ เจ-ทรี ตามชื่อสถานบันเทิงที่เล่น) ชื่อดิอิมพอสซิเบิ้ลซึ่งเปลี่ยนก่อนแข่งได้มาจากการ์ตูนในโทรทัศน์ยุคนั้น ดิอิมพอสซิเบิ้ลโด่งดังเหลือหลาย นักดนตรีประกอบด้วย เศรษฐา ศิระฉายา, วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สิทธิพร อมรพันธ์ และพิชัย คงเนียม ครองรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อน

ประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทยต้องบันทึกไว้ในฐานะวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบ้วงแรกที่สร้างความรู้สึกเป็นสากลและเป็นวงแรกอีกเช่นกันเปิดทางให้วัยรุ่นฟังเพลงไทยแนวใหม่ ความสำเร็จขั้นสูงสุดทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ตลอดจนผู้ประพันธ์เพลงให้ความสนใจกับวงดนตรีประเภทนี้มากขึ้น เวลาเดียวกันวงดนตรีวงอื่นๆ ได้รับความนิยมตามมาเช่น P.M.5, แฟนตาซี, แกรนด์เอ็กซ์, ชาตรี, ดิ อินโนเซ้นท์ ฯลฯ จากนั้นเข้าสู่ยุดแฟนฉัน (ชาตรี) ทำให้สตริงคอมโบโด่งดังเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น