ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
อิอิ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก''' นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมกองกำลังของ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|เจ้าตาก]] เพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ใน[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยา]] ภายหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] อันส่งผลให้เกิด[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|สภาพจลาจลโดยทั่วไป]] ราชอาณาจักรอยุธยาเดิมจึงถูกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกัน
'''อิอิการกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก''' นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมกองกำลังของ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|เจ้าตาก]] เพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ใน[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยา]] ภายหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] อันส่งผลให้เกิด[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|สภาพจลาจลโดยทั่วไป]] ราชอาณาจักรอยุธยาเดิมจึงถูกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกัน


ราวปี พ.ศ. 2309 ก่อนเสียกรุง พระยาตากได้นำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าไปทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อรวบรวมผู้คนและยุทธปัจจัยต่าง ๆ มาสู้รบกับกองทัพพม่าอีกครั้ง ในระหว่างนั้นยังได้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองระยอง เมื่อ ''เจ้าตาก'' เตรียมกำลังรบจนพร้อมสรรพแล้ว จึงได้เคลื่อนพลกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] เพื่อทำการขับไล่ทหารพม่าที่ยังคงเหลืออยู่ออกไปได้สำเร็จ
ราวปี พ.ศ. 2309 ก่อนเสียกรุง พระยาตากได้นำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าไปทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อรวบรวมผู้คนและยุทธปัจจัยต่าง ๆ มาสู้รบกับกองทัพพม่าอีกครั้ง ในระหว่างนั้นยังได้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองระยอง เมื่อ ''เจ้าตาก'' เตรียมกำลังรบจนพร้อมสรรพแล้ว จึงได้เคลื่อนพลกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] เพื่อทำการขับไล่ทหารพม่าที่ยังคงเหลืออยู่ออกไปได้สำเร็จ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:56, 2 ธันวาคม 2562

อิอิการกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมกองกำลังของเจ้าตาก เพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง อันส่งผลให้เกิดสภาพจลาจลโดยทั่วไป ราชอาณาจักรอยุธยาเดิมจึงถูกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกัน

ราวปี พ.ศ. 2309 ก่อนเสียกรุง พระยาตากได้นำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าไปทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อรวบรวมผู้คนและยุทธปัจจัยต่าง ๆ มาสู้รบกับกองทัพพม่าอีกครั้ง ในระหว่างนั้นยังได้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองระยอง เมื่อ เจ้าตาก เตรียมกำลังรบจนพร้อมสรรพแล้ว จึงได้เคลื่อนพลกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อทำการขับไล่ทหารพม่าที่ยังคงเหลืออยู่ออกไปได้สำเร็จ

เบื้องหลัง

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310[I] เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง[1]

หลังจากกรุงแตกแล้ว กองทัพพม่าได้พักอยู่ถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310[2] ก่อนจะรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติแล้วยกทัพกลับ ในบรรดาเชลยนั้นมีสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้สุกี้เป็นนายทัพ คุมพล 3,000 คน ตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินตามกลับไปภายหลัง

หลังจากนั้นทำให้เกิดชุมนุมทางการเมืองในระดับต่าง ๆ ซึ่งเป็น "รัฐบาลธรรมชาติ" ขึ้นมาในท้องถิ่นทันที ส่วนรัฐบาลธรรมชาติซึ่งมีขนาดใหญ่เกิดจากการที่บรรดาเจ้าเมืองขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนักได้ตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน เรียกว่า "ชุมนุม" หรือ "ก๊ก" ซึ่งมีจำนวน 4-6 แห่งทีเดียว นับเป็นมหันตภัยร้ายแรงเมื่อไม่มีชุมนุมทางการเมืองใดที่จะกอบกู้เอกราชหรือฟื้นฟูชาติให้กลับคืนดังเดิม

นโยบายทางการเมือง

พระยาตากได้ประกาศนโยบายรื้อฟื้นราชอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความแตกต่างจากชุมนุมอื่น ๆ ที่เป็นเพียงแต่กลุ่มโจรปล้นสะดมเพื่อรักษาความอยู่รอดท่านั้น กิตติศัพท์ดังกล่าวทำให้มีตระกูลขุนนางบางส่วนจากกรุงศรีอยุธยามาสวามิภักดิ์ด้วย[3]

อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวยังอาจมองได้ในอีกแง่หนึ่ง คือ พระยาตากได้ประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินนับตั้งแต่ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ทำให้กองกำลังของพระยาตากเป็น "กลุ่มการเมืองติดอาวุธ"[4] จึงแตกต่างไปจากชุมนุมอื่น การกระทำเช่นนี้ทำให้ขุนนางระดับผู้น้อยเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระยาตากจำนวนหนึ่ง ส่วนขุนนางระดับสูงยังไม่เข้าร่วมด้วย เพราะมองเห็นว่ากลุ่มขอพระยาตากยังไม่น่าประสบความสำเร็จตามนโยบาย[5]

การตั้งตนเป็นใหญ่

เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก

เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก

ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาตากเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัย พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี พร้อมด้วยทหารกล้าราว 500 คน[6] มีปืนเพียงกระบอกเดียว แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น[7] ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย และตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออก มุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาร[8]

ขณะที่เนื้อความใน คำให้การขุนหลวงหาวัด เอกสารที่ใกล้เคียงกับยุคสมัยมากกว่า ได้ระบุว่ามีราชโองการให้ "พระยาตาก" พระยาเพชรบุรีและหลวงสุรเสนีแต่งทัพเรือไปคอยดักสกัดทัพเรือพม่าที่วัดใหญ่ พระยาเพชรบุรีนำกำลังรุดเข้าตีทหารพม่าก่อนแต่กลับพ่ายแพ้ถูกสังหารในที่รบ "พระยาตาก หลวงสรเสนีถอยมาแอบดู หาช่วยหนุนไม่ แล้วไปตั้งอยู่ ณ วัดพิชัย"[9]

รุ่งเช้า ได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าจนล้มตายและบางส่วนแตกหนีไป ก่อนเดินทางไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ในขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่งซึ่งประกอบด้วยทหารม้าประมาณ 30 คน ทหารเดินเท้าประมาณ 200 คน เดินทางมาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี[10] สวนทางมาพบทหารพระยาตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่ตามมาแต่ถูกกลอุบาย "วงกับดักเสือ"[11]ถูกตีกระหนาบจนแตกหนีไป

พวกราษฎรที่หลบซ่อนอยู่ทราบข่าวพระยาตากรบชนะพม่าก็พากันเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก พระยาตากจึงให้ราษฎรไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ และให้นำช้างม้าพาหนะและเสบียงอาหารมาด้วย นายซ่องทั้งหลายไม่ยอมอ่อนน้อมก็ถูกปราบปรามจนราบคาบริบพาหนะ ผู้คน ช้าง ม้า และศาสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นเจ้าตากจึงยกกองทหารไปทางนาเริง เมืองนครนายก[12] ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ หรือปากน้ำโจ้โล้ เมืองฉะเชิงเทรา[13]

พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมือง นับตั้งแต่ได้ถอนตัวออกจากการป้องกันพระนครนั้น ภายในเวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่เหนือกว่าชุมนุมอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา[14][15]

การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งนาและไพร่พลจำนวนมาก พระยาตากได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล หลังจากนั้นบรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ ต่างพร้อมใจกันยกพระยาตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดินและเรียกพระยาตากว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา[16] ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น

อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจายออกไปขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า[17]

ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด

— พระยาตาก

การยึดจันทบุรี

เจ้าตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ เจ้าตากต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่นเพื่อรวบรวมกำลังมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า "เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว"[18]

ในวันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ครั้นถึงเวลา 19.00 น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน[19] ส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ[20] เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

หลังจากนั้น เจ้าตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ เจ้าตากได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ เจ้าตากจึงนำกองเรือไปล้อมสำเภาจีนเหล่านั้น ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวันเจ้าตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมด ได้ทรัพย์สินสิ่งของมาเป็นจำนวนมาก

แผนการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

เจ้าตากได้เดินทางกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา 3 เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ

เมื่อสิ้นฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว[21] จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาเข้า ยึดค่ายโพธิ์สามต้นปราบพม่าจนราบคาบ สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. ใช้เวลา 7 เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา

ปราบดาภิเษก

ภาพประธานด้านหลังธนบัตร 20 บาท แบบที่ 12 เป็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จำลองจากพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

หลังจากสร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน จุลศักราช 1128 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

เดิมพระองค์ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม[22] แต่หลังจากตรวจดูแล้วยากต่อการฟื้นฟู จึงทรงให้อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้ และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงรับสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรี พระองค์ทรงขุดพระบรมศพของพระเจ้าเอกทัศ ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี[23][24]

อ้างอิง

  1. จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 169.
  2. ขจร สุขพานิช. หน้า 270.
  3. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. หน้า 130.
  4. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. หน้า 126-128.
  5. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. หน้า 128.
  6. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า "ประมาณ 1000 เศษ"
  7. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร : คลังวิทยา,2511) หน้า 60.
  8. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า "บานโพสามหาว โพสาวหาร และโพสังหาร"
  9. คำให้การขุนหลวงหาวัด(กรุงเทพฯ: จดหมายเหตุ,2544) หน้า 243-4
  10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สภาพทั่วไปและข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรของจังหวัดปราจีนบุรี
  11. ประกอบ โชประการ, มหาราชชาติไทย (กรุงเทพฯ : รวมการพิมพ์ 2523) หน้า 434.
  12. กรมตำรากระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144. พิมพ์ครั้งที่ 4 ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472. หน้า 8.
  13. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ไทยรับพม่า ฉบับรวมเล่ม หน้า 385 ว่า "ปากน้ำเจ้าโล้ ข้างใต้เมืองปราจีนบุรี"
  14. กรมศิลปากร,ประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระนคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์ พ.ศ. 2480 (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก)
  15. ศิลปวัฒนธรรม, เส้นทางเดินทัพ พระเจ้าตาก เลียบทะเลตะวันออก 1 สิงหาคม 2546
  16. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2546). บรรพบุรุษไทย: สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5
  17. กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา วันที่ 4 กันยายน 2511) หน้า 603-604
  18. ศรรวริศา เมฆไพบูลย์,ศิริโชค เลิศยะใส. NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับที่ 77 ธันวาคม 2550. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),หน้า 51.ISSN 1513-9840
  19. จังหวัดตาก, ตากสินมหาราชานุสรณ์ งานฉลองวันขึ้นปีใหม่ ปีที่ 22 พ.ศ. 2515 (พระนคร : มิตรสยาม 2514) หน้า 113.
  20. กรมตำรากระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144. พิมพ์ครั้งที่ 4 ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472. หน้า 20-26.
  21. พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร:คลังวิทยา 2511) หน้า 98.
  22. พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร:คลังวิทยา 2511) หน้า 98.
  23. กรมตำรากระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144. พิมพ์ครั้งที่ 4 ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472. หน้า 23.
  24. สุนทรภู่, นิราศสุนทรภู่ ตอนนิราศพระบาท (พระนคร:คุรุสภา 2519) หน้า 123-124.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น