ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซินเดอเรลล่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
== ซินเดอเรลล่าในวัฒนธรรมต่าง ๆ ==
== ซินเดอเรลล่าในวัฒนธรรมต่าง ๆ ==
[[ไฟล์:Aschenputtel Maerchenbrunnen1.JPG|thumb|right|200px|รูปปั้นซินเดอเรลล่าให้อาหารนก จากเทพนิยายกริมม์ ตั้งอยู่ที่สวน Schulenburgpark ในกรุงเบอร์ลิน สร้างขึ้นในโอกาสก่อสร้าง "น้ำพุเทพนิยาย" ในปี ค.ศ. 1970]]
[[ไฟล์:Aschenputtel Maerchenbrunnen1.JPG|thumb|right|200px|รูปปั้นซินเดอเรลล่าให้อาหารนก จากเทพนิยายกริมม์ ตั้งอยู่ที่สวน Schulenburgpark ในกรุงเบอร์ลิน สร้างขึ้นในโอกาสก่อสร้าง "น้ำพุเทพนิยาย" ในปี ค.ศ. 1970]]

Today I don't feel like doing anything

I just wanna lay in my bed

Don't feel like picking up my phone

So leave a message at the tone

'Cause today I swear I'm not doing anything

Uh I'm gonna kick my feet up and stare at the fan

Turn the t.v. on

Throw my hand in my pants

Nobody's gon' tell me I cant, no

I'll be loungin' on the couch just chillin' in my snuggie

Flip to MTV so they can teach me how to Dougie

'Cause in my castle I'm the freakin' man

Oh

Yes I said it

I said it

I said it 'cause I can

Today I don't feel like doing anything

I just wanna lay in my bed

Don't feel like picking up my phone

So leave a message at the tone

'Cause today I swear I'm not doing anything

Nothing at all

Ooh hoo ooh hoo

Hoo ooh ooh

Nothing at all

Ooh hoo ooh hoo

Hoo ooh ooh

Tomorrow I'll wake up do some p90x

Meet a really nice girl have some really nice sex

And she's gonna scream out this is great

I might mess around and get my college degree

I bet my old man will be so proud of me

But sorry pops you'll just have to wait

Oh

Yes I said it

I said it

I said it 'cause I can

Today I don't feel like doing anything

I just wanna lay in my bed

Don't feel like picking up my phone

So leave a message at the tone

'Cause today I swear I'm not doing anything

No I ain't gonna comb my hair

'Cause I ain't goin' anywhere

No no no no no no no no no oh

I'll just strut in my birthday suit

And let everything hang loose

Yeah yeah yeah yeah yeah yeah yeah yeah yeah yeah

Oh, today I don't feel like doing anything

I just wanna lay in my bed

Don't feel like picking up my phone

So leave a message at the tone

'Cause today I swear I'm not doing anything

Nothing at all

Ooh hoo ooh hoo

Hoo ooh ooh

Nothing at all

Ooh hoo ooh hoo

Hoo ooh ooh

Nothing at all

Songwriters: Philip Lawrence / Ari Levine / Bruno Mars / Keinan Warsame

The Lazy Song lyrics © Sony/ATV Music Publishing LLC, Warner/Chappell Music, Inc, Round Hill Music Big Loud Songs, BMG Rights Management US, LLC


== เนื้อเรื่องย่อ (จากฉบับของแปร์โรลต์) ==
== เนื้อเรื่องย่อ (จากฉบับของแปร์โรลต์) ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:24, 16 สิงหาคม 2561

ภาพเขียนของกุสตาฟ โดเร เรื่อง Cendrillon

ซินเดอเรลล่า (อังกฤษ: Cinderella; ฝรั่งเศส: Cendrillon) เป็นเทพนิยายปรัมปราที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงทั่วทั้งโลก มีการดัดแปลงเป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมายกว่าพันครั้ง[1] เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็กสาวกำพร้าผู้หนึ่งที่อยู่ในอุปถัมภ์ของแม่เลี้ยงกับพี่สาวบุญธรรมสองคน แต่ถูกทารุณและใช้งานเยี่ยงทาส ต่อภายหลังจึงได้พบรักกับเจ้าเมืองหรือเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ตำนานซินเดอเรลล่ามีปรากฏในเทพนิยายหรือนิทานพื้นบ้านประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งโลกโดยมีชื่อของตัวเอกแตกต่างกันออกไป ทว่าฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นของนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ล แปโร ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งอิงมาจากวรรณกรรมของ จิอัมบัตติสตา เบซิล เรื่อง La Gatta Cenerentola ในปี ค.ศ. 1634 ในเรื่องนี้ตัวเอกมีชื่อว่า เอลลา (Ella) แต่แม่เลี้ยงกับพี่สาวใจร้ายของเธอพากันเรียกเธอว่า ซินเดอเรลล่า (Cinderella) อันหมายถึง "เอลลาผู้มอมแมม" ซึ่งกลายเป็นชื่อเรียกเทพนิยายในโครงเรื่องนี้โดยทั่วไป

ซินเดอเรลล่า ได้รับการโหวตจากเด็ก ๆ กว่า 1,200 คนจากการสำรวจโดย cinema chain UCI เป็นเทพนิยายยอดนิยมอันดับหนึ่งในดวงใจ เมื่อปี ค.ศ. 2004[2] ผลสำรวจจากกูเกิล เทรนดส์ เมื่อปี ค.ศ. 2008 ก็พบว่า ซินเดอเรลล่า เป็นเทพนิยายที่ได้รับความนิยมและกล่าวถึงมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต[3]

ประวัติ

โครงเรื่องของซินเดอเรลล่าน่าจะมีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยคลาสสิก นักประวัติศาสตร์กรีกชื่อ สตราโบ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ จีโอกราฟิกา เล่ม 17 ตั้งแต่ราวหนึ่งร้อยปีก่อนคริสตกาล ถึงเรื่องราวของเด็กสาวลูกครึ่งกรีก-อียิปต์ผู้หนึ่งชื่อ โรโดพิส (Rhodopis) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเนื้อเรื่องที่เก่าแก่ที่สุดของซินเดอเรลล่า[4] โรโดพิส (ชื่อมีความหมายว่า "แก้มกุหลาบ") ต้องอยู่ซักเสื้อผ้ามากมายขณะที่เหล่าเพื่อนหญิงรับใช้พากันไปเที่ยวงานเต้นรำเลือกคู่ของเจ้าชายซึ่งฟาโรห์อามาซิสทรงจัดขึ้น นกอินทรีย์นำรองเท้าของเธอที่ประดับกุหลาบไปทิ้งไว้ที่เบื้องบาทของฟาโรห์ในนครเมมฟิส พระองค์ตรัสให้สตรีในราชอาณาจักรทดลองสวมรองเท้านี้ทุกคนเพื่อหาผู้สวมได้พอเหมาะ โรโดพิสสวมได้พอดี ฟาโรห์ตกหลุมรักเธอและได้อภิเษกสมรสกับเธอ ต่อมาเนื้อเรื่องนี้ปรากฏอีกครั้งในงานเขียนของเคลาดิอุส ไอเลียนุส (Claudius Aelianus)[5] แสดงให้เห็นว่าโครงเรื่องซินเดอเรลล่าเป็นที่นิยมมาตลอดยุคคลาสสิก บางทีจุดกำเนิดของตัวละครอาจสืบย้อนไปได้ถึงช่วง 600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีสตรีในราชสำนักเธรซคนหนึ่งใช้ชื่อเดียวกันนี้ และเป็นผู้รู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีกับ อีสป นักเล่านิทานยุคโบราณ[6]

ซินเดอเรลล่าในวัฒนธรรมต่าง ๆ

รูปปั้นซินเดอเรลล่าให้อาหารนก จากเทพนิยายกริมม์ ตั้งอยู่ที่สวน Schulenburgpark ในกรุงเบอร์ลิน สร้างขึ้นในโอกาสก่อสร้าง "น้ำพุเทพนิยาย" ในปี ค.ศ. 1970

เนื้อเรื่องย่อ (จากฉบับของแปร์โรลต์)

ซินเดอเรลล่ากับนางฟ้าแม่ทูนหัว ภาพวาดของ โอลิเวอร์ เฮอร์ฟอร์ด อิงจากเทพนิยายของแปร์โรลต์

ซินเดอเรลล่าเดิมมีชื่อว่า เอลล่า (Ella) เป็นบุตรสาวของเศรษฐีผู้มั่งมี มารดาของเธอเสียชีวิตตั้งแต่เธอยังเล็ก เป็นเหตุให้บิดาของเอลล่าจำใจแต่งงานใหม่กับมาดามผู้หนึ่งซึ่งเป็นหม้ายและมีลูกสาวติดมาสองคนเพราะอยากให้เอลล่ามีแม่ ไม่นานนักหลังจากนั้น เศรษฐีผู้เป็นบิดาก็เสียชีวิต ทำให้ธาตุแท้ของแม่เลี้ยงปรากฏขึ้น นางกับลูกสาวใช้งานเอลล่าราวกับเป็นสาวใช้ และใช้จ่ายทรัพย์ที่เป็นของเอลล่าอย่างฟุ่มเฟือย ที่ร้ายกว่านั้น ทั้งสามยังเปลี่ยนชื่อของเอลล่า เป็น ซินเดอเรลล่า ที่แปลว่า สาวน้อยในเถ้าถ่าน เพราะพวกนางใช้งานเอลล่าจนเสื้อผ้าขาดปุปะมอมแมมไปทั้งตัวนั่นเอง

ซินเดอเรลล่ายอมทนลำบากทำงานเรื่อยมาจนกระทั่งวันหนึ่ง มีจดหมายเรียนเชิญหญิงสาวทั่วอาณาจักรให้มาที่พระราชวังเพื่อร่วมงานเต้นรำ แต่ความหมายที่แท้จริงก็คือ พระราชา ต้องการหาคู่ครองให้กับเจ้าชายซึ่งเป็นพระโอรสองค์เดียว จึงใช้งานเต้นรำบังหน้า เมื่อรู้ข่าว ลูกสาวทั้งสองต่างพากันดีใจที่บางทีตนอาจมีโอกาสได้เต้นรำและได้แต่งงานกับเจ้าชายก็เป็นไปได้ เช่นกันกับซินเดอเรลล่า เพราะเธอใฝ่ฝันมาตลอดเวลาว่าจะได้เต้นรำในฟลอร์ที่งดงามและเป็นอิสระจากงานบ้านอันล้นมือเหล่านี้ แต่แน่นอน เมื่อเด็กสาวขอไป แม่เลี้ยงใจร้ายจึงกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานาจนซินเดอเรลล่าไม่มีชุดใส่ไปงานเต้นรำ

ซินเดอเรลล่าเสียใจมาก จึงหนีไปร้องไห้อยู่คนเดียว ทันใดนั้นนางฟ้าแม่ทูนหัวของซินเดอเรลล่าก็ปรากฏตัวขึ้นและบันดาลชุดที่สวยงามที่สุดให้ซินเดอเรลลา พร้อมกับบอกให้เด็กสาวไปงานเต้นรำ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องกลับมาก่อนเที่ยงคืน ไม่เช่นนั้นเวทมนตร์จะเสื่อมลงไปในทันที

ซินเดอเรลล่าได้ทำตามความฝัน แต่ที่ยิ่งกว่านั้นคือ คู่เต้นรำที่เธอก็ไม่ทราบว่าเป็นใครนั้นคือเจ้าชายนั่นเอง ทั้งสองตกหลุมรักกันทั้งที่ยังไม่รู้ชื่อเสียงเรียงนามของอีกฝ่าย แต่เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน ซินเดอเรลล่าก็รีบหนีไปโดยลืมรองเท้าแก้วเอาไว้ เจ้าชายเก็บรองเท้าไว้ได้จึงประกาศว่าจะทรงแต่งงานกับหญิงสาวที่สวมรองเท้าแก้วนี้ได้เท่านั้น

เสนาบดีได้นำรองเท้าแก้วไปตามบ้านต่าง ๆ เพื่อให้หญิงสาวทั่วอาณาจักรได้ลอง จนมาถึงบ้านแม่เลี้ยง เมื่อลูกสาวทั้งสองลองครบแล้ว นางก็โกหกว่าไม่มีหญิงสาวในบ้านอีก พร้อมทำลายรองเท้าแก้วจนแตกละเอียด ทุกคนต่างหมดหวังว่าจะไม่สามารถหาหญิงปริศนาของเจ้าชายพบ แต่สุดท้าย ซินเดอเรลล่าก็หยิบรองเท้าแก้วอีกข้างที่เก็บไว้ขึ้นมาและสวมให้กับเหล่าเสนาได้ดู ทำให้ซินเดอเรลล่าได้แต่งงานกับเจ้าชาย และมีความสุขตราบนานเท่านาน

(ข้อคิดในนิทาน: นารีมีรูปเป็นทรัพย์ แต่ความเมตตากรุณาเป็นสมบัติอันประมาณค่ามิได้ หากปราศจากความเมตตา ย่อมไม่มีสิ่งใดเป็นไปได้ ผู้มีความเมตตาย่อมสามารถทำได้ทุกสิ่ง)[7]

คุณค่าและความนิยม

แม้โครงเรื่องเทพนิยายของซินเดอเรลล่าจะปรากฏในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมาแต่เดิมในชื่อต่าง ๆ กัน แต่ฉบับที่โด่งดังที่สุดคือฉบับของ ชาร์ลส์ แปร์โรลต์ ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อ ซินเดอเรลล่า ขึ้นด้วย ซินเดอเรลล่าได้ตีพิมพ์พร้อมกับเทพนิยายเรื่องอื่น ๆ ของแปร์โรลด์ในปี ค.ศ. 1697 หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายและมีการแปลไปเป็นภาษาอื่น ๆ มาก โดยเฉพาะเรื่อง ซินเดอเรลล่า ถือเป็นเทพนิยายที่มีการนำไปทำซ้ำมากที่สุด[8] นักแปลผู้มีชื่อเสียงผู้หนึ่งคือ แองเจล่า คาร์เตอร์ ผู้ได้รับสมญาว่า "เจ้าแม่แห่งเทพนิยาย"[9] ได้แปลผลงานของแปร์โรลด์ไว้มากมายหลายเรื่อง ซินเดอเรลล่านับเป็นผู้บุกเบิก เรื่องราวของสตรีในเทพนิยาย[10] และพลิกแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในวรรณกรรม รวมถึง "คุณค่า" ของสตรีซึ่งต้องมีกำเนิดมาจาก "ความดีงาม" ของเธอ[11] แม้ว่าในตอนท้าย ความสุขสบายในชีวิตของสตรียังคงต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายชายอยู่ดี (คือการได้แต่งงานกับเจ้าชาย)

ซินเดอเรลล่าในวัฒนธรรมยุคใหม่โด่งดังที่สุดด้วยฝีมือการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนของ วอลท์ ดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1950 และได้รับยกย่องว่าเป็นฉบับดัดแปลงจากฉบับของแปร์โรลต์ที่ดีที่สุด[12] ทำให้ภาพของนางฟ้าแม่ทูนหัว รถฟักทอง หนู และรองเท้าแก้ว กลายเป็นสัญลักษณ์ที่รู้จักในหมู่เด็ก ๆ ทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2004 ซินเดอเรลล่า ได้รับการโหวตจากเด็ก ๆ กว่า 1,200 คนจากการสำรวจโดย cinema chain UCI เป็นเทพนิยายยอดนิยมอันดับหนึ่งในดวงใจ[2] ผลสำรวจจาก google trend เมื่อปี ค.ศ. 2008 ก็พบว่า ซินเดอเรลล่า เป็นเทพนิยายที่ได้รับความนิยมและกล่าวถึงมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต[3]

การดัดแปลง

Cendrillon ของ Jules Massenet
Cinderella (1911)

เรื่องราวของ ซินเดอเรลล่า มีการดัดแปลงไปยังสื่อต่าง ๆ มากมาย ต่อไปนี้เป็นเพียงงานดัดแปลงส่วนหนึ่งที่มีชื่อเสียง

โอเปรา

  • Cendrillon ละครโอเปร่า 4 องก์ ของ Jules Massenet ประพันธ์ในช่วงปี ค.ศ. 1894-95 โดยเปิดการแสดงรอบแรกที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1899

บัลเล่ต์

  • Cinderella (1893) โดย Baron Boris Vietinghoff-Scheel
  • Aschenbrödel (1901) โดย Johann Strauss II, ดัดแปลงต่อและแต่งจนจบโดย Josef Bayer
  • Das Märchen vom Aschenbrödel (1941) โดย Frank Martin
  • Soluschka หรือ Cinderella (1945) โดย Sergei Prokofiev
  • Cinderella (1980) โดย Paul Reade

ละครใบ้

มีการนำ ซินเดอเรลล่า มาแสดงเป็นละครเวทีครั้งแรกที่โรงละคร Drury Lane กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 1904 และโรงละคร Adelphi กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 1905 ในครั้งหลังมี Phyllis Dare อายุ 14 ปี เป็นนักแสดงนำ

บทละครเวทีฉบับดั้งเดิมจะเปิดฉากแรกของเรื่องที่ในป่า อันเป็นที่ซึ่งซินเดอเรลล่าได้พบกับเจ้าชายและสหายคู่หู ชื่อ แดนดินี โดยซินเดอเรลล่าเข้าใจผิดว่าแดนดินีเป็นเจ้าชาย ส่วนเจ้าชายเป็นแดนดินี

พ่อของซินเดอเรลล่าชื่อ บารอน ฮาร์ดอัพ ตกอยู่ใต้อำนาจของลูกเลี้ยงสาวหน้าตาน่าเกลียดสองคนพี่น้อง มีคนรับใช้คนหนึ่งชื่อ บัตตอนส์ ซึ่งเป็นเพื่อนกับซินเดอเรลล่า ตลอดการแสดงละคร บารอนจะถูกนายหน้าเก็บค่าเช่าบ้านคอยดูหมิ่นอยู่เรื่อย ส่วนนางฟ้าแม่ทูนหัวต้องใช้เวทมนตร์เสกรถม้า (จากฟักทอง) คนรถ (จากหนู) คนขับรถ (จากกบ) และชุดราตรีสวยงาม (จากผ้าขี้ริ้ว) สำหรับให้ซินเดอเรลล่าใช้ไปในงานเต้นรำ โดยที่เธอต้องรีบกลับมาก่อนเที่ยงคืน อันเป็นเวลาที่เวทมนตร์จะเสื่อม

ละครเพลง

  • ซินเดอเรลล่า ละครเพลงสร้างโดย ร็อดเจอร์แอนด์แฮมเมอร์สไตน์ ออกฉายทางโทรทัศน์รวม 3 ครั้ง ได้แก่
  • ซินเดอเรลล่า ฉบับของร็อดเจอร์แอนด์แฮมเมอร์สไตน์ ยังได้ขึ้นแสดงสดบนเวทีหลายครั้ง รวมถึงคราว ค.ศ. 2005 ซึ่งได้ เปาโล มอนทัลบัน จากฉบับโทรทัศน์ปี 1997 มาร่วมแสดงด้วย

ภาพยนตร์

ซินเดอเรลล่า กับนางฟ้าแม่ทูนหัว ของ วอลท์ ดิสนีย์

นับเป็นเวลาหลายทศวรรษที่มีการสร้างภาพยนตร์โดยดัดแปลงจากเรื่อง ซินเดอเรลล่า หรือนำโครงเรื่องไปใช้ โดยจะมีอย่างน้อย 1 เรื่องในทุก ๆ ปี ถือได้ว่าเรื่อง ซินเดอเรลล่า เป็นงานวรรณกรรมที่มีการดัดแปลงไปเป็นภาพยนตร์มากที่สุด อาจเป็นรองแต่เพียงเรื่อง แดรกคูล่า ของแบรม สโตรกเกอร์ เท่านั้น

ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง ซินเดอเรลล่า หรือเรื่องที่ใช้โครงเรื่องทำนองเดียวกันนี้ เรียงตามปีต่าง ๆ ดังนี้

  • ค.ศ. 1899 ภาพยนตร์เรื่องแรกของ ซินเดอเรลล่า ในประเทศฝรั่งเศส ผลงานของ ฌอร์ฌ เมเลียส (Georges Méliès)
  • ค.ศ. 1911 ซินเดอเรลล่า ภาพยนตร์เงียบ นำแสดงโดย Florence La Badie
  • ค.ศ. 1914 ซินเดอเรลล่า ภาพยนตร์เงียบ นำแสดงโดย Mary Pickford
  • ค.ศ. 1922 ซินเดอเรลล่า ภาพยนตร์การ์ตูนสั้น ความยาว 7 นาที ของ ลาฟ-โอ-แกรม สตูดิโอของวอลท์ ดิสนีย์ ออกฉายเมื่อ 6 ธันวาคม 1922[13]
  • ค.ศ. 1934 Poor Cinderella (ซินเดอเรลล่าที่น่าสงสาร) การ์ตูนสั้นของ Fleischer Studio นำแสดงโดย เบ็ตตี้ บูป
  • ค.ศ. 1938 Cinderella Meets Fella (ซินเดอเรลล่าพบเฟลลา) ภาพยนตร์การ์ตูนสั้นของ เมอร์รี่เมโลดี้ (Merrie Melodies)
  • ค.ศ. 1947 Cinderella (Зо́лушка) ภาพยนตร์เพลงของ เลนฟิล์มสตูดิโอ ประเทศรัสเซีย นำแสดงโดย อิราสต์ การิน และ ฟายินา ราเนฟสกายา
  • ค.ศ. 1950 ซินเดอเรลล่า ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวของวอลท์ ดิสนีย์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากจนกลบตำนานซินเดอเรลล่าดั้งเดิม มีการสร้างภาคสองในปี ค.ศ. 2002 ชื่อ Cinderella II: Dreams Come True และภาคสามในปี ค.ศ. 2007 ชื่อ Cinderella III: A Twist in Time
  • ค.ศ. 1955 The Glass Slipper (รองเท้าแก้ว) แสดงโดย เลสลี่ แครอน และ ไมเคิล ไวลดิ้ง
  • ค.ศ. 1960 Cinderfella (ซินเดอเฟลล่า) เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงมากเรื่องหนึ่งเพราะตัวละครเอกกลายเป็นผู้ชาย นำแสดงโดย เจอร์รี่ ลิวอิส
  • ค.ศ. 1970 Hey Cinderella (เฮ้ ซินเดอเรลล่า) ภาพยนตร์ตลกของ จิม เฮนสัน ความยาว 60 นาที ใช้นักแสดงเป็นตัวละครหุ่นมือที่มีชื่อเสียงของจิม เฮนสัน (รวมทั้ง กบเคอร์มิท ที่มีบทสั้น ๆ อยู่ด้วย)
  • ค.ศ. 1973 Tři oříšky pro Popelku/Drei Haselnüsse für Aschenbrödel (พรสามประการของซินเดอเรลล่า) ภาพยนตร์เช็ก-เยอรมัน ซึ่งประกอบด้วยผู้แสดงจากทั้งสองประเทศ และต่างพูดภาษาชาติของตน
  • ค.ศ. 1976 The Slipper and the Rose (รองเท้ากับกุหลาบ) ภาพยนตร์เพลงของอังกฤษแสดงโดย เจมมา คราเวิน และ ริชาร์ด แชมเบอร์เลน
  • ค.ศ. 1977 ซินเดอเรลล่า ภาพยนตร์เพลงรักปนตลกของสหรัฐอเมริกา แสดงโดย เชอร์ริล "เรนโบว์" สมิธ, เบรตต์ สไมลี่ย์ และ ไซ ริชาร์ดสัน กำกับการแสดงโดย ไมเคิล พาทาคี
  • ค.ศ. 1978 Cindy (ซินดี้) ภาพยนตร์สร้างสำหรับออกฉายทางโทรทัศน์
  • ค.ศ. 1989 Hello Kitty's Cinderella ภาพยนตร์อะนิเมะอย่างสั้น นำแสดงโดย เฮลโล คิดตี้ ออกฉายในประเทศญี่ปุ่น ต่อมาได้ออกฉายในสหรัฐอเมริกาในชุดซีรีส์ของ เฮลโล คิตตี้ และผองเพื่อน
  • ค.ศ. 1990 If The Shoe Fits ภาพยนตร์ร่วมสมัยสร้างจากโครงเรื่อง ซินเดอเรลล่า ในประเทศฝรั่งเศส แสดงโดย ร็อบ โลว์ และ เจนนิเฟอร์ เกรย์
  • ค.ศ. 1994 ซินเดอเรลล่า สร้างโดย เจ็ตแล็กโปรดักชั่นส์ และจัดจำหน่ายโดย กู้ดไทมส์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ วางจำหน่ายเป็นวิดีโอ
  • ค.ศ. 1997 ซินเดอเรลล่า ภาพยนตร์โทรทัศน์ของ ร็อดเจอร์แอนด์แฮมเมอร์สไตน์ แสดงโดย แบรนดี้ และ วิทนีย์ ฮูสตัน
  • ค.ศ. 1998 Ever After ภาพยนตร์รักโรแมนติกที่อ้างว่า ซินเดอเรลล่าเป็นเรื่องจริงซึ่งพี่น้องกริมม์ได้รู้จักจากบุตรหลาน เหตุการณ์เกิดในประเทศฝรั่งเศสยุคก่อนการปฏิวัติ ในเรื่องนี้ผู้ที่มาช่วยซินเดอเรลล่าจนได้พบกับเจ้าชายคือ ลีโอนาโด ดาวินชี นำแสดงโดย ดรูว์ แบร์รีมอร์ แองเจลิกา ฮูสตัน และ ดักเรย์ สก๊อต
  • ค.ศ. 2000 ซินเดอเรลล่า ภาพยนตร์ประเทศอังกฤษ สร้างให้เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงโดย แคธลีน เทอร์เนอร์
  • ค.ศ. 2004 A Cinderella Story ภาพยนตร์รักวัยรุ่นสมัยใหม่ แสดงโดย ฮิลารี ดัฟฟ์ และ แชด ไมเคิล เมอร์เรย์
  • ค.ศ. 2004 Ella Enchanted ภาพยนตร์แนวตลกขบขันดัดแปลงจากนวนิยายของ เกล คาร์สัน เลไวน์ ที่ใช้ชื่อเดียวกัน โดยมี แอนน์ แฮททาเวย์ แสดงเป็น เอลล่า และ ฮิว แดนซี่ แสดงเป็นเจ้าชายชาร์มองต์
  • ค.ศ. 2007 Happily N'Ever After ภาพยนตร์การ์ตูนล้อเลียนเทพนิยาย เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อแม่เลี้ยงใจร้ายเข้าไปในปราสาทพ่อมดผู้ควบคุมตาชั่งความดี-ความชั่ว ของเทพนิยายทั้งหลาย สร้างโดยแวนการ์ดแอนิเมชั่นโปรดักชั่นส์ กำกับการแสดงโดย พอล เจ. โบลเจอร์

รายการโทรทัศน์

  • ดิอิเล็กทริกคอมพานี สร้างละครล้อเลียนเรื่อง ซินเดอเรลล่า โดยมี จูดี้ เกราบาร์ต แสดงเป็น ซินเดอเรลล่า และ ริต้า โมเรโน แสดงเป็นแม่เลี้ยงใจร้าย
  • รายการ Faerie Tale Theatre สร้างจากเทพนิยายเรื่องต่าง ๆ ออกอากาศระหว่างปี ค.ศ. 1982 - 1987 รวมถึงเรื่อง ซินเดอเรลล่า โดยมี เจนนิเฟอร์ บีลส์ แสดงนำ
  • ราวปี 2004-2005 มีละครโทรทัศน์เรื่อง Floricienta ออกฉายในอาร์เจนตินา โคลัมเบีย และเม็กซิโก กับเรื่อง Floribella ฉายในโปรตุเกส บราซิล และชิลี โดยใช้โครงเรื่อง ซินเดอเรลล่า มาดัดแปลง[14]
  • ต่อมาในปี 2007 ละครโทรทัศน์อีกเรื่องหนึ่งออกฉายในเม็กซิโก ชื่อ Lola...Erase Una Vez เป็นละครวัยรุ่นที่สร้างจากโครงเรื่อง ซินเดอเรลล่า และ Floricienta
  • ซีรีส์การ์ตูนของดิสนีย์ ชุด DuckTales แปลงเรื่อง ซินเดอเรลล่า ไปเป็น Scroogerello (ตัวละครเอกของซีรีส์ชื่อ Scrooge) ออกอากาศเมื่อ 25 กันยายน ค.ศ. 1987
  • Cinderella Monogatari (シンデレラ物語, Shinderera Monogatari?) การ์ตูนชุดหรืออะนิเมะ ความยาว 26 ตอน ออกอากาศในประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1996 สร้างโดย ทัตสึโนโกะ โปรดักชั่น
  • ระหว่างปี 1987-1989 มีรายการทีวีซีรีส์แบบแอนิเมชัน ของประเทศญี่ปุ่น ชุด เทพนิยายคลาสสิกของกริมม์ (Grimm's Fairy Tale Classics) ซึ่งมีเรื่อง ซินเดอเรลล่า รวมอยู่ด้วย
  • ในละครทีวีชุด Coronation Street ซึ่งเป็นละครที่โด่งดังและออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศอังกฤษ มีตอนพิเศษตอนหนึ่งซึ่ง แฟรงกี้ บอลด์วิน แสดงเป็น ซินเดอเรลล่า แดนนี บอลด์วิน แสดงเป็นเจ้าชาย พ่อเลี้ยงใจร้ายแสดงโดยแจ็ค ดัคเวิร์ธ พี่สาวบุญธรรมแสดงโดย รอย ครอปเปอร์ และ นอร์ริส โคล ส่วนนางฟ้าแม่ทูนหัวแสดงโดย เบฟ อันวิน และมี เฟร็ด เอลเลียต เป็นเทวดาพ่อทูนหัว
  • ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ในละครตลก (sitcom) เรื่อง The Charmings มีตอนหนึ่งที่ซินเดอเรลล่ามาเยือน และพยายามแย่งเจ้าชายของสโนว์ไวท์
  • ละครชุด Fairy Tales ของสถานีโทรทัศน์บีบีซี ออกอากาศในปี ค.ศ. 2008 ได้ดัดแปลงเนื้อเรื่อง ซินเดอเรลล่า ให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
  • ปี 2010 สถานีโทรทัศน์ KBS ของประเทศเกาหลีใต้ ได้ผลิตละครโทรทัศน์เรื่อง Cinderella’s Sister โดยนำพี่สาวของซินเดอเรลล่ามาเป็นตัวเอกของเรื่อง เป็นเรื่องราวของซินเดอเรลล่าในยุคสมัยใหม่ พี่สาวซินเดอเรลล่าแสดงโดย มุนกึนยอง ส่วนซินเดอเรลล่าแสดงโดย ซอวู
  • ปี 2013 ละครโทรทัศน์ ซินเดอเรลล่ารองเท้าแตะ (ประเทศไทย) นำแสดงโดย เป้ อารักษ์ มิน พีชญา ณัฏฐวุฒิ อิศรางกูร ณ อยุธยา สเตฟานี เลอร์ช

หนังสือ

ปกหนังสือ Ella Enchanted ของ เกล คาร์สัน เลวีน ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ใช้ชื่อเดียวกัน นำแสดงโดยแอนน์ แฮททาเวย์ และฮิว แดนซี

รายชื่อหนังสือบางส่วนที่เกี่ยวข้องหรืออยู่บนโครงเรื่องของซินเดอเรลล่า

  • Bound โดย Donna Jo Napoli
  • Chinese Cinderella โดย Adeline Yen Mah
  • Cinderalla โดย Junko Mizuno
  • Confessions of an Ugly Stepsister โดย Gregory Maguire
  • Ella Enchanted โดย Gail Carson Levine ในเรื่องนี้ เอลล่าตกอยู่ใต้คำสาปตั้งแต่เกิด ทำให้เธอต้องเชื่อฟังคำสั่งทุกอย่าง เนื้อหาเกี่ยวกับงานเต้นรำเพิ่งปรากฏในช่วงท้าย ๆ ของเรื่อง ส่วนมากจะเกี่ยวกับการที่เอลล่าพยายามหนีให้พ้นคำสาป เจ้าชายในเรื่องนี้ได้พบกับเอลล่าก่อนถึงงานเต้นรำ แต่จำเธอไม่ได้เพราะเธอปลอมตัว
  • Cinderellis and the Glass Hill โดย Gail Carson Levine
  • I was a Rat! or The Scarlet Slippers โดย ฟิลิป พูลแมน
  • Bella at Midnight โดย Diane Stanley
  • Just Ella โดย Margaret Peterson Haddix
  • Ludwig Revolution โดย คาโอริ ยูกิ ในเวอร์ชันนี้ เท้าของซินเดอเรลล่าใหญ่เกินไปใส่รองเท้าไม่ได้ ตัวเอกในเรื่องจึงให้เธอยืมรองเท้าไปใส่แทน (เปรียบเป็นนางฟ้าแม่ทูนหัว) งานเต้นรำในเรื่องไม่ได้จัดขึ้นเพื่อหาหญิงสาวมาเป็นเจ้าสาวของเจ้าชาย แต่จัดขึ้นเพื่อหาตัวหญิงเท้าโตที่ทำให้กิ้งก่าสุดรักของเจ้าชายตาย
  • Nine Coaches Waiting โดย Mary Stewart
  • Politically Correct Bedtime Stories โดย James Garner ในเวอร์ชันนี้ ชุดราตรีของซินเดอเรลล่าเป็นชุดที่ "ทำจากไหมที่ขโมยมาจากหนอนไหมลึกลับ" พวกผู้ชายต่างฆ่าฟันกันเพื่อชิงตัวเธอ ในตอนท้าย ผู้หญิงมีอำนาจเหนือในการปกครอง และออกกฎหมายให้ผู้หญิงได้สวมเสื้อผ้าที่อบอุ่นและเหมาะสมเท่านั้น
  • The Ash Girl โดย Timberlake Wertenbaker
  • The Egyptian Cinderella โดย Shirley Climo (ผสมเรื่องในตำนานอียิปต์เกี่ยวกับ โรโดพิส และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของอียิปต์ลงไปด้วย)
  • The Glass Slipper โดย Eleanor Farjeon
  • The Persian Cinderella โดย Shirley Climo
  • Phoenix and Ashes โดย Mercedes Lackey
  • When Cinderella Falls Down Dead โดย Joshua Gabe และ Grayian Phoenix เวอร์ชันนี้ ซินเดอเรลล่ามาอยู่ในร่างหญิงสาวในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21
  • Witches Abroad โดย Terry Pratchett

เพลง

มีบทเพลงมากมายที่แต่งขึ้นเกี่ยวกับ ซินเดอเรลล่า หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเพลงที่มีชื่อเสียงมีดังนี้

อ้างอิง

  1. แจ็ค ซิปส์, The Great Fairy Tale Tradition: From Straparola and Basile to the Brothers Grimm, น. 444, ISBN 0-393-97636-X
  2. 2.0 2.1 Cinderella named 'top fairytale' จาก BBCnews.co.uk เก็บข้อมูลเมื่อ 2009-01-18
  3. 3.0 3.1 Cinderella Most Popular Fairy Tale on Net, storynory.com, เก็บข้อมูลเมื่อ 2009-01-18
  4. "The Egyptian Cinderella"
  5. ไอเลียน, "Various History", 13.33
  6. Herodot, "The "Histories", 2.134-135
  7. Perrault: Cinderella; or, The Little Glass Slipper
  8. BOOKS, LITERATURE: “Mufaro’s Beautiful Daughters” (Steptoe) and “Cinderella” (Brown)
  9. The Fairy Tales of Charles Perrault by Angela Carter จาก guardian.co.uk, The Observer, เก็บข้อมูลเมื่อ 2009-01-19
  10. "Cinderella" by Charles Perrault ; pictures by Susan Jeffers ; retold by Amy Ehrlich. A Book Reviewed, เก็บข้อมูลเมื่อ 2009-01-19
  11. Perrault's Durable Myth Cinderella: WestCiv Female Role Model Propaganda
  12. "Cinderella" Movies Reviewed by bbc.co.uk เก็บข้อมูลเมื่อ 2009-01-19
  13. วิดีโอการ์ตูนสั้นเรื่อง ซินเดอเรลล่า ของ ลาฟ-โอ-แกรม ดิสนีย์ (1922)
  14. http://www.floricienta.com.ar/

แหล่งข้อมูลอื่น