ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ"

พิกัด: 14°55′41″N 100°02′51″E / 14.9281°N 100.0476°E / 14.9281; 100.0476
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
[[ไฟล์:บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ.jpg|thumb|รูปภาพบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ]]
[[ไฟล์:บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ.jpg|thumb|รูปภาพบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ]]


<!--ยังไม่ได้ปรับปรุง รอการตรวจสอบก่อน
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่


บึงฉวาก ได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 และในปีพ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1–3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น

ริมบึงฉวากมีบรรยากาศร่มรื่น ลมพัดเย็นสบายตลอด ในบริเวณบึงเต็มไปด้วยดอกบัวสีแดงและชมพู ในช่วงตอนเช้าบัวจะบานสวยงาม นกเป็ดแดงฝูงใหญ่จับกลุ่มอยู่ตามกอบัวในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมและนกจะทยอยกลับในช่วงเดือนเมษายน มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน มีบริการขี่จักรยานน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถขออนุญาตกางเต็นท์พักแรมริมบึง ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาบึงฉวากให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี

มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในความดูแลเช่น

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ภายในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำรวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาสวยงามและพันธุ์ปลาหายากเอาไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา แบ่งเป็น 3 อาคาร
อาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 1 จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม ทั้งพันธุ์ปลาไทย และพันธุ์ปลาต่างประเทศกว่า 50 ชนิดเช่น ปลาบึก ปลากระโห้ ปลาม้า ปลากราย ปลาช่อนงูเห่า ปลาเสือตอ เป็นต้น
อาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่สวยงามบรรจุน้ำได้กว่า 400 ลูกบาศก์เมตร และมีอุโมงค์ความยาวประมาณ 8.5 เมตร ผู้ชมสามารถเดินลอดผ่านใต้ตู้ปลาได้บรรยากาศเหมือนอยู่ใกล้สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย มีนักประดาน้ำหญิงสาธิตการให้อาหารปลา นอกจากนั้นโดยรอบยังมีตู้ปลาน้ำจืดอีก 30 ตู้ และตู้ปลาทะเลสวยงามอีก 7 ตู้
การแสดงตู้ปลาใหญ่มีเฉพาะในวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มี 4 รอบ ตั้งแต่เวลา 10.30-16.00 น. สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เปิดให้เข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
อาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 3 (สวรรค์แห่งโลกใต้ทะเล) จัดแสดงพันธุ์ปลาทะเลมากมายหลายชนิดให้ได้ชมกัน มีตู้ปลาขนาดใหญ่ และตู้ปลารูปทรงแปลกตา เพื่อคอยบริการนักท่องเที่ยวให้ได้ชื่นชมกับความสวยงาม และบรรยากาศของโลกใต้ท้องทะเล รวมทั้งตื่นตาตื่นใจกับอุโมงค์ปลา และบันไดเลื่อน ขนาดความยาว 75 เมตร เพื่อให้ได้ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งบ้านของเจ้าแห่งท้องทะเล หรือ ปลาฉลาม อาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 3 (สวรรค์แห่งโลกใต้ทะเล) เปิดให้เข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 180 บาท เด็ก 50 บาท วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 08.30–17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30–18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 0043-4, 0 3543 0033 โทรสาร 0 3543 9208

เวทีริมบึง มีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของนักเรียน นักศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี นำการแสดงศิลปะพื้นบ้านที่หาดูได้ยากมาให้ชมในช่วงวันหยุดเทศกาล
บ่อจระเข้น้ำจืด เป็นบ่อจระเข้ที่ได้จำลองให้มีสภาพใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ มีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยขนาด 1.5–4.0 เมตร ประมาณ 60 ตัว ซึ่งผู้ชมจะได้เห็นความเป็นอยู่แบบธรรมชาติของจระเข้และสามารถเข้าชมอย่างใกล้ชิด มีการแสดงจระเข้วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รอบ 11.00 น., 12.30 น., 14.00 น. และ 15.30 น.


ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 08.30–17.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30–18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 0043-4, 0 3543 0033 โทรสาร 0 3543 9208
-
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวัน จันทร์-ศุกร์ 08.00–16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ 08.00–18.00 น. โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก โทร. 0 3548 1250

การเดินทาง จากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าไปได้ 2 ทาง คือ เมื่อถึงสี่แยกทางเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงไปจนพบสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน

*********************
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ภายในอุโมงค์แก้วใต้น้ำ แห่งสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ บึงฉวาก คือเสมือนเมืองบาดาลซึ่งเราสามารถเดินอยู่ใต้น้ำได้ ฝูงปลาน้ำจืดหลากชนิดแหวกว่ายอยู่รอบๆ ตัว ปลาเสือตอ ปลาบึก ปลาทรงเครื่อง และอีกมากมายซึ่งล้วนแต่หายาก หากแต่ที่ บึงฉวาก นี้ มนุษย์กับเหล่ามัจฉาเหมือนจะสัมผัสกันได้ชิดใกล้ที่สุด ด้วยความสมบูรณ์ของพรรณไม้น้ำ บึงฉวาก จึงเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำนกทุ้งกว่า 70 ชนิด และปลาหลายชนิด และได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ในปี 2525 และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามสนธิสัญญาแรมซาร์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางเกษตร ที่มีโครงการด้านการศึกษาและวิจัยหลายอย่าง เช่น สวนรวมพันธุ์ไก่ บ่อจระเข้น้ำจืด อุทยานผักพื้นบ้าน สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ฯลฯ ซึ่งสามารถพบเห็นวิถีของชาวบ้านในละแวกพื้นที่ที่ออกมาหาปลาตามบริเวณบึงน้ำด้วยการใช้อุปกรณ์แบบพื้นบ้าน เก็บฝักบัว ไปบริโภค หรือจำหน่าย

อุทยานผักพื้นบ้าน บนเนื้อที่ 26 ไร่ภายใน บึงฉวาก กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเอา ผักพื้นบ้าน ของทุกภาคทั้งที่พบได้ทั่วไป และหายากมาเพาะปลูกเพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ โดยใช้ใช้วิธีการปลูกทางชีวภาพคือ การใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน กบเขียดในการกำจัดแมลง รวมทั้งการใช้สารสะกัดจากสะเดาในการกำจัดแมลงต่างๆ มีการจัดสรรพื้นที่แสดงการประดับสวนด้วย ผักพื้นบ้าน และการปรับสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมของพืชพันธุ์นั้นๆ ทั้งนี้ จะมีเจ้าหน้าที่พาชมพร้อมบรรยาย

สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
จักสานงานไม้ไผ่ เนื่องจากแต่ก่อนรอบรั้วบ้านชาวอำเภอบางปลาม้า แวดล้อมไปด้วยดงไผ่หลากหลายพันธุ์ ชาวบ้านตัดมาทำตอกมัดข้าว สานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยจำพวกงอบ พัด และเครื่องมือดักปลา ประกอบกับฝีมือ และนิสัยช่างคิดช่างดัดแปลง จึงกลายมาเป็นตะกร้า ฝาชี หมวก แจกัน กระเป๋าจักสานไม้ไผ่ลายละเอียดมากคุณค่าน่าใช้ ผลิตกันมากที่บ้านโพธิ์ศรี อำเภอบางปลาม้า
การเดินทาง
จากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) ถึงสี่แยกทางเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงไปจนพบสามแยกตัดกับถนนเลียบคลอง ชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน

ข้อมูลการติดต่อ
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 6030 และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว ( Call Center) 1147 บึงฉวาก อำเภอเดิมบางนางบวช โทรศัพท์ 0 3543 9208-9
ข้อแนะนำ
บึงฉวาก เปิดให้เข้าชมทุกวัน วันธรรมดา 10.00-17.00 นาฬิกา วันหยุด 09.00-18.00 นาฬิกา ค่าผ่านประตู ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท
***************************
----------------------------

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มองข้ามไปไม่ได้เมื่อมีโอกาสมาถึงจังหวัดสุพรรณบุรีก็คือ บึงฉวาก เพราะบึงฉวากมีธรรมชาติที่สวยงามและมีจุดเด่นที่น่าสนใจ ตรงที่มีสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็น Under Water World แห่งแรกของประเทศไทย ตามมานะครับ เรามาเที่ยวบึงฉวากกัน

บึงฉวาก บนพื้นที่กว่า 2,000ไร่ กินเนื้อที่ระหว่างอำเภอเดิมบาง-นางบวชจังหวัดสุพรรณบุรีไปอำเภอหันคา
จังหวัดชัยนาท เป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตร กลางบึงเต็มไปด้วยดอกบัวหลวง ทั้งสีขาวและสีชมพู บึงฉวากนั้นเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของสายน้ำท่าจีน เมื่อผ่านระยะเวลาและการทับถมของตะกอนดินโคลน จึงทำให้ส่วนหนึ่งของแม่น้ำแยกตัวออกมาเป็นบึงรูปโค้ง ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำโครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯทรงครองราชย์เป็นปีที่50 ได้จัดสร้างสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำขึ้นและเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาพฤติกรรมสัตว์น้ำที่สำคัญให้กับ นักวิชาการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจโดยทั่วไป เพื่อปลูกสร้างจิตสำนึกให้รู้จัก และรักษาทรัพยากร อันมีค่ายิ่งของไทย

-->
== บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ==
== บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ==
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติแต่เดิมเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ห้ามล่าเป็นสัตว์จำพวก[[นก]] มีมากกว่า 50 ชนิด<ref>http://www.ontotour.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=335245&Ntype=3</ref>ปัจจุบันได้จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 50 ปี โดยมีการสร้างกรงนกขนาดใหญ่ มีตู้ปลาน้ำจืด ตู้ปลาน้ำเค็ม ตู้ปลาช่อนอเมซ่อน บ่อ[[จระเข้]] และอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ<ref>http://www.suphan.biz/bungchawak.htm</ref><ref>http://www.ontotour.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=335245&Ntype=3</ref>
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติแต่เดิมเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ห้ามล่าเป็นสัตว์จำพวก[[นก]] มีมากกว่า 50 ชนิด<ref>http://www.ontotour.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=335245&Ntype=3</ref>ปัจจุบันได้จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 50 ปี โดยมีการสร้างกรงนกขนาดใหญ่ มีตู้ปลาน้ำจืด ตู้ปลาน้ำเค็ม ตู้ปลาช่อนอเมซ่อน บ่อ[[จระเข้]] และอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ<ref>http://www.suphan.biz/bungchawak.htm</ref><ref>http://www.ontotour.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=335245&Ntype=3</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:06, 9 กรกฎาคม 2560

รูปภาพบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติแต่เดิมเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ห้ามล่าเป็นสัตว์จำพวกนก มีมากกว่า 50 ชนิด[1]ปัจจุบันได้จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 50 ปี โดยมีการสร้างกรงนกขนาดใหญ่ มีตู้ปลาน้ำจืด ตู้ปลาน้ำเค็ม ตู้ปลาช่อนอเมซ่อน บ่อจระเข้ และอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ[2][3]

ประวัติ

  • พ.ศ. 2525[4]
-นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนั้น ได้มีแผนพัฒนาหมู่บ้านรอบบังฉวากเพราะเป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีนกนานาชนิด จึงนำเรื่องเสนอกรมป่าไม้ เพื่อให้เป็นพื้นที่เขตห้ามล้าสัตว์ป่า
-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศเรื่อง กำหนดให้พื้นที่บริเวณบึงฉวาก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และตำบลปากน้ำ ตำบลเดิมบาง ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยกำหนดชนิดสัตว์ป่าที่ห้ามล้าไว้ 59 ชนิด เป็นนก 58 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 1 ชนิด (นากทุกชนิดในวงศ์ย่อย)
  • พ.ศ. 2526
ตามพระราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่าอย่างสมบูรณ์แบบ
  • พ.ศ. 2537
-นายบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโครงการบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539
-เกิดศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สังกัดสำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจค้นคว้าวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ดำรงสายพันธุ์สัตว์ป่า พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ฯลฯ
-ต่อมาได้สร้างกรงนกขนาดใหญ่และสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจ
  • พ.ศ. 2539
ได้จัดสร้างตู้ปลา 30 ตู้ มีปลาน้ำจืดกว่า 50 ชนิด สร้างบ่อจระเข้
  • พ.ศ. 2541
ได้จัดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ เป็นพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีน้ำขังถาวรหรือชั่วคราว ทั้งที่น้ำนิ่ง น้ำไหว ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร
  • พ.ศ. 2542
สร้างอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติ
  • พ.ศ. 2544
ได้ทำการเปิดให้ประชาชนเข้าชมในอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติได้เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2544
วางศิลาฤกษ์อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ภายในอาคารมีตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ ตู้ปลาขนาด 1 ตัน 30 ตู้ มีปลาน้ำจืด 60 ชนิด ปลาทะเลสวยงาม 7 ตู้
  • พ.ศ. 2546

thumbnail อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสร้างแล้วเสร็จ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เปิดให้ประชาชนเข้าชมอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ

รายการอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

14°55′41″N 100°02′51″E / 14.9281°N 100.0476°E / 14.9281; 100.0476