ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การุณยฆาต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6688761 สร้างโดย 175.115.69.213 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:


'''การุณยฆาต'''<ref name="name">ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). '''ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php]. (เข้าถึงเมื่อ: 10 มิถุนายน 2551).</ref> (ศัพท์นิติศาสตร์) หรือ '''ปรานีฆาต'''<ref name="name"/> (ศัพท์แพทยศาสตร์) ({{Lang-en|Euthanasia}} หรือ Mercy Killing) หรือ '''แพทยานุเคราะหฆาต'''{{citation needed}} ({{Lang-en|Physician-assisted suicide}}) หมายถึง
'''การุณยฆาต'''<ref name="name">ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). '''ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php]. (เข้าถึงเมื่อ: 10 มิถุนายน 2551).</ref> (ศัพท์นิติศาสตร์) หรือ '''ปรานีฆาต'''<ref name="name"/> (ศัพท์แพทยศาสตร์) ({{Lang-en|Euthanasia}} หรือ Mercy Killing) หรือ '''แพทยานุเคราะหฆาต'''{{citation needed}} ({{Lang-en|Physician-assisted suicide}}) หมายถึง
# [[การฆ่าคน|การทำให้บุคคลตายโดยเจตนา]]ด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ทำให้ตายอย่างสะดวก หรือ
# [[การฆ่าคน|การทำให้บุคคลตายโดยเจตนา]]ด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ทำให้ตายอย่อิอิางสะดวก หรือ
# [[คำสั่งปฏิเสธการกู้ชีพ|การงดเว้นการช่วยเหลือหรือรักษาบุคคล]] โดยปล่อยให้ตายไปเองอย่างสงบ
# [[คำสั่งปฏิเสธการกู้ชีพ|การงดเว้นการช่วยเหลือหรือรักษาบุคคล]] โดยปล่อยให้ตายไปเองอย่างสงบ
ทั้งนี้ เพื่อระงับความเจ็บปวดอย่างสาหัสของบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นป่วยเป็นโรคอันไร้หนทางเยียวยา อย่างไรก็ดี การุณยฆาตยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและเป็นความผิดอาญาอยู่ในบางประเทศ กับทั้งผู้ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าคนชนิดนี้ก็เห็นว่าเป็นการกระทำที่เป็นบาป
ทั้งนี้ เพื่อระงับความเจ็บปวดอย่างสาหัสของบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นป่วยเป็นโรคอันไร้หนทางเยียวยา อย่างไรก็ดี การุณยฆาตยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและเป็นความผิดอาญาอยู่ในบางประเทศ กับทั้งผู้ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าคนชนิดนี้ก็เห็นว่าเป็นการกระทำที่เป็นบาป

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:52, 12 พฤษภาคม 2560

การุณยฆาต[1] (ศัพท์นิติศาสตร์) หรือ ปรานีฆาต[1] (ศัพท์แพทยศาสตร์) (อังกฤษ: Euthanasia หรือ Mercy Killing) หรือ แพทยานุเคราะหฆาต[ต้องการอ้างอิง] (อังกฤษ: Physician-assisted suicide) หมายถึง

  1. การทำให้บุคคลตายโดยเจตนาด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ทำให้ตายอย่อิอิางสะดวก หรือ
  2. การงดเว้นการช่วยเหลือหรือรักษาบุคคล โดยปล่อยให้ตายไปเองอย่างสงบ

ทั้งนี้ เพื่อระงับความเจ็บปวดอย่างสาหัสของบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นป่วยเป็นโรคอันไร้หนทางเยียวยา อย่างไรก็ดี การุณยฆาตยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและเป็นความผิดอาญาอยู่ในบางประเทศ กับทั้งผู้ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าคนชนิดนี้ก็เห็นว่าเป็นการกระทำที่เป็นบาป

อนึ่ง การุณยฆาตยังหมายถึง การทำให้สัตว์ตายโดยวิธีการและในกรณีดังข้างต้นอีกด้วย

ประเภท

การจำแนกประเภทตามเจตนา[2]

1. บุคคลซึ่งเจ็บป่วยสาหัสหรือได้รับทุกขเวทนาจากความเจ็บป่วยเป็นต้นสามารถแสดงเจตนาให้บุคคลอื่นกระทำการุณยฆาตแก่ตนได้ การนี้เรียกว่า "การุณยฆาตโดยด้วยใจสมัคร" หรือ "การุณยฆาตสมัครใจ" หรือ "การุณยฆาตจงใจ" (อังกฤษ: Voluntary Euthanasia)

2. ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะจะแสดงเจตนาเช่นว่า ผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ ทายาทโดยธรรม ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อภิบาลตามกฎหมาย ตลอดจนศาลอาจพิจารณาใช้อำนาจตัดสินใจให้กระทำการุณยฆาตแก่บุคคลนั้นแทนได้ การนี้เรียกว่า "การุณยฆาตโดยไม่เจตนา" หรือ "การุณยฆาตโดยไม่สมัครใจ" (อังกฤษ: Involuntary Euthanasia)

อย่างไรก็ดี การุณยฆาตโดยไม่จำนงยังคงเป็นที่ถกเถียงถึงความชอบธรรมตามกฎหมายอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากไม่มีหนทางที่ทุกฝ่ายจะมั่นใจได้ว่า ผู้เจ็บป่วยต้องการให้กระทำการุณยฆาตแก่ตนเช่นนั้นจริง ๆ

การจำแนกประเภทตามวิธีฆ่า

  1. "การุณยฆาตเชิงรับ" (อังกฤษ: Passive Euthanasia) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการตัดการรักษาให้แก่ผู้ป่วย วิธีนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุดและเป็นที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาลหลายแห่ง
  2. "การุณยฆาตเชิงรุก" (อังกฤษ: Active Euthanasia) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการให้สารหรือวัตถุใด ๆ อันเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน
  3. "การุณยฆาตเชิงสงบ" (อังกฤษ: Non-aggressive Euthanasia) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการหยุดให้ปัจจัยดำรงชีวิตแก่ผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน

การจำแนกแบบอื่น ๆ

ในพจนานุกรมกฎหมายของเฮนรี แคมป์แบล แบล็ก (Black's Law Dictionary) ได้จำแนกประเภทการุณยฆาตไว้คล้ายคลึงกับสองประเภทข้างต้น ดังต่อไปนี้[3]

1. "การุณยฆาตโดยตัดการรักษา" (อังกฤษ: Passive Euthanasia หรือ Negative Euthanasia) คือ การปล่อยให้ผู้ป่วยตายไปเอง (อังกฤษ: Letting the patient go) เป็นวิธีที่ปฏิบัติกันทั่วไปในสถานบริการสาธารณสุข โดยใช้รหัส "90" (เก้าศูนย์) เขียนไว้ในบันทึกการรักษา มีความหมายว่าผู้ป่วยคนนี้ไม่ต้องให้การรักษาอีกต่อไป และไม่ต้องช่วยยืดยื้อชีวิตในวาระสุดท้ายอีก ปล่อยให้นอนตายสบาย

2. "การุณยฆาตโดยเร่งให้ตาย" (อังกฤษ: Active Euthanasia หรือ Positive Euthanasia)

2.1 "การุณยฆาตโดยเจตจำนงและโดยตรง" (อังกฤษ: Voluntary and Direct Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยเลือกปลงชีวิตตนเอง (อังกฤษ: Chosen and Carried out by the patient) เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขวางยาที่มีปริมาณมากเกินขนาดจนทำให้ผู้รับเข้าไปตายได้ หรือยาอันเป็นพิษ ไว้ใกล้ ๆ ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยตัดสินใจหยิบกินเอง

2.2 "การุณยฆาตโดยเจตจำนงแต่โดยอ้อม" (อังกฤษ: Voluntary and Indirect Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตัดสินใจล่วงหน้าแล้วว่าถ้าไม่รอดก็ขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขกระทำการุณยฆาตแก่ตนเสีย โดยอาจแสดงเจตจำนงเช่นว่าเป็นหนังสือ หรือเป็นพินัยกรรมซึ่งเรียกว่าพินัยกรรมชีวิต (อังกฤษ: Living Will) ก็ได้

2.3 "การุณยฆาตโดยไร้เจตจำนงและโดยอ้อม" (อังกฤษ: Involuntary and Indirect Euthanasia) คือ ผู้ป่วยไม่ได้ร้องขอความตาย แต่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขสงเคราะห์ให้เพราะความสงสาร

การุณยฆาตและกฎหมาย

ประเทศไทย

ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองเรื่องการทำการุณยฆาต (Mercy Killing) หรือ Active Euthanasia ที่ถือเป็นการเร่งการตาย การุณยฆาตจึงแตกต่างจากการทำหนังสือแสดงเจตนา (Living Will หรือ Advance Directives) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนาของบุคคลเพื่อที่จะกำหนดวิธีการดูแลรักษาของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นการรับรองสิทธิของผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง (Right to Self-determination) ที่จะขอตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยเครื่องมือต่าง ๆ จากเทคโนโลยีต่าง ๆ กฎหมายหลายประเทศก็ให้การยอมรับในเรื่องนี้ อาทิ กฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สิงคโปร์ ดังนั้น จึงถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงของแพทย์บางกลุ่มที่เห็นว่า การใช้สิทธิตามมาตรา 12 ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นกรณีการุณยฆาต[4]

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแสดงเจตจำนงของผู้ป่วยที่จะไม่รับการรักษาดังต่อไปนี้พร้อมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง[5]

มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"บริการสาธารณสุข" หมายความว่า บริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน

"ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข" หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

แพทยสมาคมโลก

แพทยสมาคมโลก (World Medical Association) ได้จัดทำแนวปฏิบัติในเรื่องการุณยฆาต เรียก "ปฏิญญาแพทยสมาคมว่าด้วยการุณยฆาต" (World Medical Association Declaration on Euthanasia) ความตอนหนึ่งว่า การกระทำโดยตั้งใจที่จะทำลายชีวิตของผู้ป่วย แม้ว่าจะเป็นการทำตามคำร้องขอของผู้ป่วยหรือญาติสนิทก็ตามถือว่าผิดหลักจริยธรรม แต่ไม่รวมถึงการดูแลของแพทย์ที่เคารพต่อความปรารถนาของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตซึ่งประสงค์ที่จะเสียชีวิตตามธรรมชาติ[6]

การุณยฆาตและศาสนา

ศาสนาพุทธ

ตามพุทธศาสนา ฆราวาสถือเบญจศีลข้อหนึ่งเกี่ยวกับปาณาติปาตาคือการห้ามทำลายชีวิตไม่ว่าของผู้อื่นหรือของตนก็ตาม กับทั้งห้ามยินยอมให้ผู้อื่นทำลายชีวิตของตนด้วย

พุทธศาสนายังถือว่าชีวิตเป็นของประเสริฐสุดที่บุคคลพึงรักษาไว้อีกด้วย โดยมีพุทธวัจนะหนึ่งว่า "ให้บุคคลพึงสละทรัพย์สมบัติเพื่อรักษาอวัยวะ ให้บุคคลพึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต" และ "ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ตราบนั้นชีวิตก็ยังมีค่า ไม่ควรที่ใครจะไปตัดรอนแม้ว่าชีวิตนั้นกำลังจะตายก็ตาม หากไปเร่งเวลาตายเร็วขึ้นแม้จะเพียงแค่วินาทีเดียวก็เป็นบาป"[7]

นอกจากนี้ ภิกษุเถรวาทถือวินัยข้อหนึ่งซึ่งปรากฏในปาฏิโมกข์ว่า "ภิกษุทั้งหลายไม่พึงพรากชีวิตไปจากมนุษย์ หรือจ้างวานฆ่าผู้นั้น หรือสรรเสริญคุณแห่งมรณะ หรือยั่วยุผู้ใดให้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ท่านผู้เจริญแล้วเอ๋ย ท่านหาประโยชน์อันใดในชีวิตอันลำเค็ญและน่าสังเวชนี้กัน ความตายอาจมีประโยชน์สำหรับท่านมากกว่าการมีชีวิตอยู่ หรือด้วยมโนทัศน์เช่นนั้น ด้วยวัตถุประสงค์เช่นนั้น ถึงแม้ท่านไม่สรรเสริญคุณแห่งมรณะหรือยั่วยุผู้ใดให้ถึงแก่ความตาย ผู้นั้นก็จักถึงแก่ความตายในเร็ววันอยู่แล้ว"[8] [9]

ด้วยเหตุนี้ ว่าโดยหลักแล้วพุทธศาสนาถือว่าการุณยฆาตเป็นบาป

ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์

ในคัมภีร์ฮีบรูและคัมภีร์ไบเบิล กล่าวว่าลมหายใจของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพระเจ้า ความตอนหนึ่งว่า "วันเวลาของข้าพระองค์อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์"[10] ดังนั้นการุณยฆาตจึงเป็นการขัดพระประสงค์ของพระเจ้า

ทั้งนี้ ตามศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่ให้ยาแก่ผู้ป่วยเกินขนาดจนถึงตายถือว่ามีความผิดและเป็นบาป แต่ในสถานการณ์เดียวกัน หากมีเจตนาเพื่อระงับบรรเทาความเจ็บปวด แม้จะยังผลให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ก็ไม่ถือเป็นผิดและเป็นบาป[11] [12]

ความเห็นเกี่ยวกับการุณยฆาตในประเทศไทย

ความเห็นสนับสนุน

  1. "รัฐธรรมนูญใหม่ (หมายถึงฉบับ พ.ศ. 2540) บัญญัติไว้ว่า ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของบุคคล จึงเกิดความคิดว่า ควรจะให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง ไม่สามารถรักษาได้แล้ว รอวันจบชีวิตอย่างทนทุกข์ทรมาน มีสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีชีวิตอยู่หรือจบชีวิตลง เพราะการเลือกที่จะตายหรือมีชีวิตอยู่นั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ในกรณีที่เขาตัดสินใจเองไม่ได้ เช่น ภาวะจิตใจไม่สมบูรณ์ สมองไม่ทำงาน หรือเป็นผู้เยาว์ ก็ต้องมาพิจารณากันว่า ใครจะเป็นคนตัดสินใจแทน ใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการตัดสิน และควรจะรับผิดอย่างไรในกรณีที่ตัดสินใจผิดพลาด"
  2. "เราต้องเคารพสิทธิของผู้ป่วย เพราะว่าเขาอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แต่การุณยฆาต ต้องใช้กับผู้ป่วยที่สิ้นหวังจริง ๆ ไม่สามารถรักษาได้แล้ว หรืออยู่ไปก็ทรมานมากเท่านั้น ถ้ายังมีโอกาสหายแม้เพียงน้อยนิดก็ไม่ควรทำ"
  3. "แพทย์และนักกฎหมายบางคนคิดว่ากฎหมายน่าจะเปิดโอกาส ให้ทำการุณยฆาตได้ คือ อนุญาตให้ผู้ป่วยมีสิทธิตัดสินใจเมื่อเขาเห็นว่าตัวเองไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ทุกข์ทรมานมากเกินไป ไม่เหลือศักดิ์ศรีความเป็นคนอยู่แล้ว และบางทีการไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาจริง ๆ ถ้าเราเปิดโอกาสให้ทำการุณยฆาตได้บ้างก็น่าจะเป็นประโยชน์"

ความเห็นไม่สนับสนุน

  1. "เราคงไม่ต้องมาถกเถียงกันว่าการุณยฆาตเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่...เรารู้ได้อย่างไรว่า แพทย์ทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำไปด้วยเจตนาดีจริง ไม่ใช่ขี้เกียจทำงาน และเกณฑ์วัดว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ป่วยที่สิ้นหวังแล้วอยู่ตรงไหน รู้ได้อย่างไรว่าคนไข้ไม่มีโอกาสรอดแล้วจริง ๆ หมอวินิจฉัยถูกหรือเปล่า พยายามเต็มที่แล้วหรือยัง มีทางรักษาอื่นอีกหรือไม่ แพทยสภาต้องให้คำจำกัดความของคำว่า "สิ้นหวัง" ให้ชัด ๆ สิ้นหวังเพราะแพทย์หมดทางรักษาจริง หรือสิ้นหวังเพราะแพทย์ทำงานไม่เต็มที่ หรือเป็นเพราะญาติไม่เหลียวแล"
  2. "การทำการุณยฆาตมีช่องโหว่อยู่มากและมีโอกาสถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุตายแล้วเอาอวัยวะไปขาย หรือญาติให้ฆ่าเพื่อเอามรดก เป็นต้น สังคมจึงต้องเข้ามาตรวจสอบในเรื่องนี้ ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องระหว่างแพทย์กับคนไข้เท่านั้น เพราะมันอาจจะเอื้อให้แพทย์ทำสิ่งผิดได้ เหมือนกับการวิสามัญฆาตกรรม ตำรวจเป็นผู้ที่ถืออาวุธมีสิทธิทำให้คนตายในขณะถูกจับกุมโดยที่ไม่มีใครเอาผิดได้ ในทำนองเดียวกัน แพทย์ก็เป็นผู้ที่ถือเข็มฉีดยาจะทำให้ผู้ป่วยตายเมื่อไหร่ก็ได้ Active Euthanasia เท่ากับเป็นการวิสามัญฆาตกรรม หรือการฆ่าในอีกรูปแบบหนึ่ง"
  3. "ถ้าจะมีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้เหมือนในต่างประเทศ หมอคงค้านร้อยเปอร์เซนต์ ไม่ให้เกิดแน่ เพราะว่ามันขัดกับหลักศาสนาพุทธอย่างแรง ถ้าเกิดได้ก็คงเป็นแบบ Passive คือ หยุดให้การรักษาเท่านั้น แต่ถึงจะเป็นแบบ Passive หมอบางคนก็ยังรู้สึกว่าการหยุดการรักษานั้นเป็นบาปอยู่ดี เหมือนกับให้หมอทำแท้งคือเราไปปลิดชีวิตหนึ่งทิ้ง ฟังดูเจตนาเป็นความกรุณา แต่แท้ที่จริงแล้วไม่แน่ใจว่า มันเป็นความกรุณาจริงหรือเปล่า"

อ้างอิงและเชิงอรรถ

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php. (เข้าถึงเมื่อ: 10 มิถุนายน 2551).
  2. Voluntary Euthanasia. (2007, 4 December). Stanford Encyclopedia of Philosophy. [Online]. Available: http://plato.stanford.edu/entries/euthanasia-voluntary/. (Accessed: 9 June 2008).
  3. Black's Law Dictionary by Henry Campbell Black. (1979). (5th Edition). n.p. : St. Paul Minn West Publishing Company. p.p. 497.
  4. ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส, "หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต" บทความในหนังสือ ก่อนวันผลัดใบ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (2554)
  5. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550, 19 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 124, ตอนที่ 16 ก).
  6. คำแปล คำประกาศของแพทยสมาคมโลกเกี่ยวกับ “ยูธานาเซีย” แปลโดย ไพศาล ลิ้มสถิตย์ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  7. สันต์ หัตถีรัตน์. (2521). การดูแลรักษาผู้ป่วยที่หมดหวัง. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์. หน้า 112-118.
  8. แปลจากภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้ "Should any bhikkhu intentionally deprive a human being of life, or search for an assassin for him, or praise the advantages of death, or incite him to die (thus) : 'My good man, what use is this wretched, miserable life to you? Death would be better for you than life, ' or with such an idea in mind, such a purpose in mind, should in various ways praise the advantages of death or incite him to die, he also is defeated and no longer in communion."
  9. Thanissaro Bhikkhu. (1994). Buddhist Monastic Code I: Chapter 4, Parajika. [Online]. Available: [1]. (Accessed: 11 June 2008).
  10. หนังสือสดุดี 31:15 , หนังสือโยบ 12:10 , หนังสือสดุดี 36:9
  11. ประพัฒน์พงศ์ สุคนธ์. (2529). การยกเว้นความรับผิดในการทำให้ผู้ป่วยตายด้วยความสงสาร. วิทยานิพนธ์ในการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 72.
  12. Glanville Williams. (1958). The sanctity of life and the criminal law. London : Faber and Faber. p.p. 286.
  13. 13.0 13.1 กุลธิดา สามะพุทธิ. (2543). การุณยฆาต : ฆ่าด้วยความกรุณา. สารคดี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/vote.shtml. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มิถุนายน 2551).

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น