ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีคมุนท์ ฟร็อยท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 47: บรรทัด 47:


=== ฝัน ===
=== ฝัน ===
{{บทความหลัก|ฝัน}}
{{บทความหลัก|ฝัน}}

*
ฟรอยด์เชื่อว่า หน้าที่ของฝันคือ การรักษาการหลับโดยแสดงภาพความปรารถนาที่สมหวัง ซึ่งหาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน<ref>Rycroft, Charles. ''A Critical Dictionary of Psychoanalysis''. London: Penguin Books, 1995, p.41</ref>

=== พัฒนาการความต้องการทางเพศ ===
{{บทความหลัก|พัฒนาการความต้องการทางเพศ}}

ฟรอยด์เชื่อว่า libido หรือความต้องการทางเพศนี้พัฒนาขึ้นในปัจเจกบุคคลโดยการเปลี่ยนแปลงวัตถุ กระบวนการซึ่งประมวลโดยมโนทัศน์[[การเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับ]] (sublimation) เขาแย้งว่า มนุษย์เกิดมา "วิตถารหลายรูปแบบ" หมายความว่า วัตถุใด ๆ ก็เป็นแหล่งความพึงพอใจได้ เขายังแย้งต่อไปว่า เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้น พวกเขาจะติดข้องในวัตถุต่าง ๆ ผ่านขั้นพัฒนาการของเขา ได้แก่ [[ขั้นปาก]] ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของทารกในการเลี้ยงดู [[ขั้นทวารหนัก]] ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของเด็กเล็กในการถ่ายที่กระโถนของตน แล้วมาสู่[[ขั้นอวัยวะเพศ]] ในขั้นอวัยวะเพศนี้ ฟรอยด์ยืนยันว่า ทารกชายจะติดข้องต่อมารดาของตนเป็นวัตถุทางเพศ (รู้จักในชื่อ [[ปมเอดิเพิส]]) ระยะซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการขู่ว่าจะตอน (castration) ซึ่งส่งผลให้เกิด ''ปมการตอน'' อันเป็นแผลที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิตวัยเยาว์ของเขา<ref>Freud, S. ''An Outline of Psychoanalysis'' (1940), ''Standard Edition 23'', pp. 189–192.</ref> ในงานเขียนภายหลังของเขา ฟรอยด์ได้ตั้งสมมุติฐานถึงสถานการณ์ที่เทียบเท่ากับปมเอดิปุสในทารกหญิง โดยเป็นการติดข้องทางเพศอยู่กับบิดาของตน<ref>Freud S. ''An Outline of Psychoanalysis'', pp. 193–194.</ref> เรียกว่า "[[ปมอิเล็กตรา]]" ในบริบทนี้ แม้ว่าฟรอยด์จะมิได้เสนอคำดังกล่าวเองก็ตาม พัฒนาการความต้องการทางเพศ[[ขั้นแฝง]]อยู่ก่อนพัฒนาการความต้องการทางเพศ[[ขั้นสนใจเพศตรงข้าม]] เด็กต้องการได้รับความพึงพอใจในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละขั้นเพื่อที่จะก้าวสู่ขั้นพัฒนาการต่อไปอย่างง่ายดาย แต่การได้รับความพึงพอใจน้อยหรือมากเกินไปอาจนำไปสู่การติดข้องในขั้นนั้น และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมถดถอยกลับไปยังขั้นนั้นในชีวิตภายหลังได้<ref name="Hothersall, D 2004. p. 290">Hothersall, D. 2004. "History of Psychology", 4th ed., Mcgraw-Hill:NY p. 290</ref>

=== อิด อัตตาและอภิอัตตา ===
{{บทความหลัก|อิด อัตตาและอภิอัตตา}}

"ไอดี" (ID: ย่อมาจาก Identity) เป็นส่วนของจิตใจที่ไร้สำนึก หุนหันพลันแล่นและเหมือนเด็กซึ่งปฏิบัติการบน "หลักความพึงพอใจ" และเป็นแหล่งที่มาของแรงกระตุ้นและแรงขับพื้นฐาน อิดแสวงความต้องการและความพึงพอใจทันที<ref name="Hothersall, D 2004. p. 290"/> ส่วนอภิอัตตา (superego) เป็นองค์ประกอบทางศีลธรรมของจิตใจ ซึ่งพิจารณาว่า ไม่มีกรณีแวดล้อมพิเศษใดที่สิ่งที่ถูกต้องทางศีลธรรมอาจไม่ถูกต้องต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น อัตตา (ego) ที่ปฏิบัติการอย่างเป็นเหตุเป็นผล พยายามรักษาสมดุลระหว่างการแสวงความพึงพอใจของอิดและการเน้นศีลธรรมของอภิอัตตาซึ่งปฏิบัติไม่ได้จริง อัตตาเป็นส่วนของจิตใจที่โดยปกติสะท้อนโดยตรงในการแสดงออกของบุคคลมากที่สุด เมื่อรับภาระหนักเกินไปหรือถูกคุกคามจากหน้าที่ของอัตตา มันจะใช้กลไกป้องกันตนเอง ซึ่งรวมถึงการปฏิเสธ การกดเก็บและการย้ายที่ มโนทัศน์นี้โดยปกติแสดงภาพโดย "แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง"<ref>{{cite web|last=Heffner|first=Christopher|title=Freud's Structural and Topographical Models of Personality|url=http://allpsych.com/psychology101/ego.html|work=Psychology 101|accessdate=5 September 2011}}</ref> แบบจำลองนี้แสดงบทบาทของอิด อัตตาและอภิอัตตาตามความคิดเกี่ยวกับ ภาวะรู้สำนึกและไม่รู้สำนึก

ฟรอยด์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตตากับอิดว่าเหมือนสารถีกับม้า โดยม้าเป็นพลังงานและแรงขับ ส่วนสารถีคอยชี้นำ<ref name="Hothersall, D 2004. p. 290"/>

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

== บรรณานุกรม ==
* Ford, Donald H. & Urban, Hugh B. ''Systems of Psychotherapy: A Comparative Study''. John Wiley & Sons, Inc, 1965.
* Kovel, Joel. ''A Complete Guide to Therapy: From Psychoanalysis to Behaviour Modification''. Penguin Books, 1991 (first published 1976).
* Mitchell, Juliet. ''Psychoanalysis and Feminism: A Radical Reassessment of Freudian Psychoanalysis''. Penguin Books, 2000.
* Sadock, Benjamin J. and Sadock, Virginia A. ''Kaplan and Sadock's Synopsis of Psychiatry''. 10th ed. Lippincott Williams & Wilkins, 2007.
* Webster, Richard. ''Why Freud Was Wrong: Sin, Science and Psychoanalysis.'' HarperCollins, 1995.


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:14, 20 ธันวาคม 2559

ซิกมันด์ ฟรอยด์
Sigmund Freud, by Max Halberstadt, 1914
เกิดSigismund Schlomo Freud
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856(1856-05-06)
Freiberg, โมราเวีย ออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็ก)
เสียชีวิต23 กันยายน ค.ศ. 1939(1939-09-23) (83 ปี)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
สัญชาติออสเตรีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเวียนนา
มีชื่อเสียงจากจิตวิเคราะห์
รางวัลรางวัลเกอเธ
วุฒิบัณฑิตราชสมาคมแห่งลอนดอน
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาประสาทวิทยา
ปรัชญา
จิตเวชศาสตร์
จิตวิทยา (สำนักคิดจิตวิเคราะห์)
จิตบำบัด
วรรณกรรม
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยเวียนนา
มีอิทธิพลต่อJohn Bowlby
Viktor Frankl
Anna Freud
Ernest Jones
คาร์ล ยุง
Melanie Klein
Jacques Lacan
Fritz Perls
Otto Rank
Wilhelm Reich
ได้รับอิทธิพลจากArthur Schopenhauer
Friedrich Nietzsche
Jean-Martin Charcot
Josef Breuer

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (เยอรมัน: Sigmund Freud, IPA: [ˈziːkmʊnt ˈfrɔʏ̯t]; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์

บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์[1] แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง[2] แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์

ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม

จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์[3] และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลก[4]และกีดกันทางเพศ[5] การศึกษาเมื่อ ค.ศ. 2008 เสนอว่า จิตวิเคราะห์ถูกลดความสำคัญในสาขาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัย[6] แม้ว่าทฤษฎีของฟรอยด์จะมีเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์อยู่ก็ตาม แต่ผลงานของเขาได้รับการตีแผ่ในความคิดเชิงปัญญาและวัฒนธรรมสมัยนิยม

ความคิด

จิตไร้สำนึก

มโนทัศน์จิตไร้สำนึกเป็นศูนย์กลางการบรรยายจิตของฟรอยด์ ฟรอยด์เชื่อว่า กวีและนักคิดผิวขาวรู้ถึงการมีอยู่ของจิตไร้สำนึกมานานแล้ว เขามั่นใจว่า จิตไร้สำนึกได้รับการรับรองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในสาขาจิตวิทยา อย่างไรก็ดี มโนทัศน์ดังกล่าวปรากฏขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในงานเขียนของฟรอยด์ ครั้งแรกถูกเสนอมาเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์การกดเก็บ เพื่ออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นต่อความคิดซึ่งถูกกดเก็บ ฟรอยด์ระบุชัดเจนว่า มโนทัศน์จิตไร้สำนึกอาศัยทฤษฎีการกดเก็บ เขาตั้งสมมุติฐานวัฏจักรที่ความคิดถูกกดเก็บ แต่ยังคงอยู่ในจิต โดยนำออกจากความรู้สึกตัวแต่ยังเกิดผลอยู่ แล้วกลับมาปรากฏในความรู้สึกตัวอีกครั้งภายใต้กรณีแวดล้อมบางประการ สมมุติฐานดังกล่าวอาศัยการสืบค้นผู้รับการรักษา traumatic hysteria ซึ่งเปิดเผยผู้รับการรักษาที่พฤติกรรมของผู้ป่วยไม่สามารถอธิบายได้โดยไม่อ้างอิงถึงความคิดที่พวกเขาไม่มีสติ ข้อเท็จจริงนี้ ประกอบกับการสังเกตว่า พฤติกรรมเช่นนั้น มนุษย์อาจชักนำให้เกิดได้โดยการสะกดจิต ซึ่งความคิดจะถูกใส่เข้าไปในจิตของบุคคล แนะนัยว่า แนวคิดเกิดผลอยู่ในผู้รับการรักษาดั้งเดิม แม้ว่าผู้รับการทดลองจะไม่ทราบถึงความคิดนั้นก็ตาม

ฝัน

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. Ford & Urban 1965, p. 109
  2. Kovel 1991, p. 96.
  3. Michels, undated
    Sadock and Sadock 2007, p. 190: "Certain basic tenets of Freud's thinking have remained central to psychiatric and psychotherapeutic practice."
  4. Webster 1995, p. 12.
  5. Mitchell 2000, pp. xxix, 303–356.
  6. Cohen, 25 November 2007.