จิตบำบัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จิตบำบัด (อังกฤษ: psychotherapy) คือการใช้วิธีทางจิตวิทยาเพื่อเยียวยาจิตใจของผู้ป่วยด้วยการสนทนาหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รวมทั้งมีความสุขมากยิ่งขึ้น และสามารถเอาชนะปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยมุ่งหมายเพื่อช่วยทำให้ความอยู่ดีมีสุขและสุขภาพจิตของผู้ป่วยดีขึ้น แก้ไขหรือลดพฤติกรรม ความเชื่อ แรงกดดัน ความคิด หรืออารมณ์ที่เป็นปัญหา และช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์และทักษะทางสังคมให้ดีขึ้น[1] จิตบำบัดแต่ละประเภทต่างถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่ ครอบครัว เด็ก และวัยรุ่นอย่างเฉพาะกลุ่ม จิตบำบัดบางประเภทได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาความผิดปกติทางจิตบางอย่างที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ในขณะที่ประเภทอื่น ๆ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม[2]

จิตบำบัดมีเทคนิคต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไปนับร้อย บางเทคนิคอาจมีรูปแบบต่างกันไปเล็กน้อย ในขณะที่บางเทคนิคก็มีพื้นฐานมาจากความเข้าใจในด้านจิตวิทยาที่แตกต่างกันไปมาก[3] เทคนิคส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการพบปะแบบตัวต่อตัวระหว่างผู้ป่วยและนักบำบัด แต่บางเทคนิคก็ใช้กับคนเป็นกลุ่ม[4] ซึ่งรวมถึงครอบครัวด้วย

นักจิตบำบัดอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลที่ทำงานด้านสุขภาพจิต นักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานในคลินิก นักบำบัดครอบครัวและคู่สมรส หรือผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพก็ได้ และอาจมีภูมิหลังแตกต่างกันไป และในแต่ละเขตอำนาจอาจมีการกำกับดูแลตามกฎหมาย โดยสมัครใจ หรือไม่มีการกำกับดูแลเลยก็ได้ (และอาจได้รับการคุ้มครองหรือไม่ก็ได้)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "What is Psychotherapy?". www.psychiatry.org.
  2. Hupp, Stephen; Santa Maria, Cara L., บ.ก. (2023). Pseudoscience in Therapy: A Skeptical Field Guide. Cambridge, UK; New York: Cambridge University Press. doi:10.1017/9781009000611. ISBN 9781009005104. OCLC 1346351849. For example, Thought Field Therapy has been called a pseudoscience: Lilienfeld, Scott O. (December 2015). "Introduction to special section on pseudoscience in psychiatry". The Canadian Journal of Psychiatry. 60 (12): 531–533. doi:10.1177/070674371506001202. PMC 4679160. PMID 26720820. Although the boundaries separating pseudoscience from science are fuzzy, pseudosciences are characterized by several warning signs—fallible but useful indicators that distinguish them from most scientific disciplines. ... In contrast to most accepted medical interventions, which are prescribed for a circumscribed number of conditions, many pseudoscientific techniques lack boundary conditions of application. For example, some proponents of Thought Field Therapy, an intervention that purports to correct imbalances in unobservable energy fields, using specified bodily tapping algorithms, maintain that it can be used to treat virtually any psychological condition, and that it is helpful not only for adults but also for children, dogs, and horses. See also: Lee, Catherine M.; Hunsley, John (December 2015). "Evidence-based practice: separating science from pseudoscience". The Canadian Journal of Psychiatry. 60 (12): 534–540. doi:10.1177/070674371506001203. PMC 4679161. PMID 26720821. TFT, a treatment applied to mood, anxiety, and trauma-related disorders, is a prime example of practice founded on pseudoscience.
  3. McAleavey, Andrew A.; Castonguay, Louis G. (2015). "The Process of Change in Psychotherapy: Common and Unique Factors". ใน Gelo, Omar C. G.; Pritz, Alfred; Rieken, Bernd (บ.ก.). Psychotherapy Research. Vienna; New York: Springer-Verlag. pp. 293–310 (293). doi:10.1007/978-3-7091-1382-0_15. ISBN 9783709113813. OCLC 899738605. Though there are hundreds if not thousands of different kinds of psychotherapy, in many ways some are quite similar—they share some common factors.
  4. Jeremy Schwartz (14 July 2017). "5 Reasons to Consider Group Therapy". US News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2017.