ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคไวรัสอีโบลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
อาการอาจร้ายแรงขึ้น เช่นท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นโลหิต ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า 90/60 ไต ม้ามและตับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง 50% - 90% สาเหตุที่ตายเกิดจากขาดเลือด หรืออวัยวะวาย
อาการอาจร้ายแรงขึ้น เช่นท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นโลหิต ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า 90/60 ไต ม้ามและตับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง 50% - 90% สาเหตุที่ตายเกิดจากขาดเลือด หรืออวัยวะวาย


ไม่มีไรมาก
=== การรักษา ===
[[ไฟล์:Ebola outbreak in Gulu Municipal Hospital.jpg|frame|right|หอผู้ป่วยแยกในโรงพยาบาลที่เมืองกูลู อูกานดา เมื่อคราวการระบาดเมื่อ พ.ศ. 2543]]
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคไวรัสอีโบลา มีแต่เพียงการรักษาประคับประคอง (supportive treatment) ได้แก่ทำหัตถการแบบรุกล้ำให้น้อยที่สุด รักษาสมดุลอิเล็กโตรไลต์และสารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะแรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC) ให้สารช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้มีเลือดออก รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และใช้ยาต้านเชื่อแบคทีเรียหรือยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อซำซ้อน (ถ้ามี)


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:40, 1 สิงหาคม 2557

โรคไวรัสอีโบลา
Ebola virus disease
โครงสร้างเส้นใยของไวรัสอีโบลาถ่ายโดยกล้องจุลทัศน์อีเล็กตรอน
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A98.4
ICD-9065.8
DiseasesDB18043
MedlinePlus001339
eMedicinemed/626
MeSHD019142

โรคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา เริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสกับไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลง เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก[1]

ประชากรรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคได้ทางเพศสัมพันธ์เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออก เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ จากนั้น อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น[1]

ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะโดยความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูง โดยอาจถึง 90% ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แม้จะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีวัคซีน[1]

ศัพท์มูลวิทยา

ไวรัสชนิดนี้ได้ชื่อมาจากพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอีโบลา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทวีปแอฟริกา (ชื่อประเทศเดิมคือ ซาอีร์) ซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่โรคนี้ระบาดครั้งแรก

โครงสร้าง

ขนาดและรูปร่าง

จากการดูไวรัสอีโบลาด้วยกล้องจุลทัศน์อิเล็กตรอนพบว่าตัวมันมีลักษณะเป็นเส้นด้ายในกลุ่มฟิโลไวรัส ไวรัสอีโบลาหรือ EBOV VP30 มีความยาวประมาณ 288 หน่วยกรดอะมิโน ตัวไวรัสมีลักษณะเป็นท่อมีรูปร่างขดตัวต่างกันหลายแบบ เช่นคล้ายตัว "U" หรือเลข "6" แต่อาจเป็นไปได้ที่เครื่องปั่นหนีศูนย์ที่ใช้ในกระบวนการทำบริสุทธิ์อาจทำให้ตัวมันมีลักษณะดังที่เห็นก็เป็นได้ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางของไวรัสนี้จะตกอยู่ประมาณ 80 นาโนเมตร ความยาวผันแปรแตกต่างกันมากกว่าลำตัว ซึ่งอาจยาวได้ถึง 1,400 นาโนเมตร แต่โดยปกติแล้วไวรัสอีโบลาจะยาวประมาณ 1,000 นาโนเมตร

จีโนม

จีโนม ของไวรัสแต่ละตัวจะมีโมเลกุลย่อยที่ยาวเป็นเส้นเดี่ยว และเป็น อาร์เอ็นเอ ประเภทเนกาทีฟ (negative sense RNA) ยาวเป็นจำนวน 18959 ถึง 18961 นิวคลีโอไทด์

โรคไข้เลือดออกอีโบลา

อาการโรคและการติดโรค

ภาพพยาบาลสองคนถ่ายในโรงพยาบาลเมืองคินชาซาเมื่อ พ.ศ. 2519 กำลังยืนอยู่หน้าเตียงคนไข้รายที่ 3 ซึ่งเป็นพยาบาลที่ติดโรค เธอได้รับการรักษาแต่ก็เสียชีวิต

อาการของโรคมีความผันแปรและมักเกิดฉับพลัน อาการแรกเริ่มได้แก่การมีไข้สูง (อย่างต่ำ 38.8°C หรือ 102°F) ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ข้อและช่องท้องรุนแรง อ่อนเพลียอย่างหนักและวิงเวียนศีรษะ ในช่วงแรกๆ ที่เกิดการระบาดและยังไม่เป็นที่รู้จักมากมักวินิจฉัยว่าเป็นไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ ท้องร่วง ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียซึ่งมีอาการคล้ายกันแต่ไม่รุนแรงถึงชีวิต

อาการอาจร้ายแรงขึ้น เช่นท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นโลหิต ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า 90/60 ไต ม้ามและตับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง 50% - 90% สาเหตุที่ตายเกิดจากขาดเลือด หรืออวัยวะวาย

ไม่มีไรมาก

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Ebola virus disease Fact sheet N°103". World Health Organization. March 2014. สืบค้นเมื่อ 12 April 2014.
  1. Death Called a River Jason Socrates Bardi. Scribbs Research Institute. Retrieved 2006-12-08.
  2. a b c d e f g Hans-Dieter K, Feldmann H. Ebola and Marburg Viruses, Molecular and Cellular Biology. 2004, Horizon Bioscience.
  3. http://www.itg.be/ebola/ebola-12.htm Two Belgian nurses died of Ebola
  4. http://virus.stanford.edu/filo/eboci.html
  5. a b c WHO Fact Sheet Ebola haemorrhagic fever
  6. Bray et al. “Ebola virus: the role of macrophages and dendritic cells in the pathogenesis of Ebola haemorrhagic fever.”, Int J Biochem Cell Biol. 2005 Aug, 37 (8) :1560-1566
  7. "Dr. Matthew's Passion", New York Times, 18 February 2001
  8. http://www.usamriid.army.mil/press%20releases/warfield_press_release.pdf
  9. Jones et al. “Live attenuated recombinant vaccine protects nonhuman primates against Ebola and Marburg viruses”, Nat Med. 2005 Jul, 11 (7) :786-790
  10. Hevey et al. "Marburg virus vaccines based upon alphavirus replicons protect guinea pigs and nonhuman primates", Virology, 1998, 251:28-37
  11. Sullivan et al. “Accelerated vaccination for Ebola virus haemorrhagic fever in non-human primates”, Nature 2003 Aug, 424 (6949) :602
  12. NIAID Ebola Vaccine Enters Human Trial, November 18, 2003
  13. a b c Pourrut, X, Kumulungui, B, Wittmann, T et al. (2005). The natural history of Ebola virus in Africa. Microbes and Infection. 7:1005–1014.
  14. Morvan, JM, Deubel, V, Gounon, P et al. (1999). Identification of Ebola virus sequences present as RNA or DNA in organs of terrestrial small mammals of the Central African Republic. Microbes and Infection. 1:1193–1201.
  15. Fruit bats may carry Ebola virus, BBC News, December 1, 2005
  16. Swanepoel, R, Leman, PA, Burt, FJ. (1996). Experimental inoculation of plants and animals with Ebola virus. Emerging Infectious Diseases. 2:321–3215.
  17. Leroy, EM, Kimulugui, B, Pourrut, X et al. (2005). Fruit bats as reservoirs of Ebola virus. Nature. 438:575–576.
  18. Hoenen et al. “Ebola virus: unravelling pathogenesis to combat a deadly disease.”, Trends Mol. Med. 2006 May, 12 (5) :206-215
  19. http://www.medicalnewstoday.com/medicalnews.php?newsid=6042,
  20. http://www.technologyreview.com/read_article.aspx?ch=biotech&sc=&id=16485&pg=4
  21. http://www.zkea.com/archives/archive02006.html
  22. http://cns.miis.edu/pubs/reports/pdfs/aum_chrn.pdf