พิศวาท น้อยมณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิศวาท น้อยมณี
เกิดพิศวาท น้อยมณี
พ.ศ. 2497
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
สัญชาติไทย
พลเมืองไทย
การศึกษาครุศาสตร์มหาบัณฑิต
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพครูภาษาไทย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2557
องค์การสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีชื่อเสียงจากครูแห่งชาติ
ผลงานเด่นเขียนบทความ, หนังสือเรียน, หนังสืออ่านเพิ่มเติม
คู่สมรสนิวัตต์ น้อยมณี

พิศวาท น้อยมณี ครูแห่งชาติสาขาวิชาภาษาไทย เป็นชาวชลบุรี ผู้ทำประโยชน์ต่อการศึกษาท้องถิ่นหลายด้าน นอกจากเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยแล้ว ยังเป็นผู้เขียนบทความทางการศึกษา พัฒนาครูเครือข่าย วิทยากร การจัดทำหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดทำสื่อการเรียนรู้ ทั้งระดับประถม และมัธยมศึกษา ของโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา สพฐ. และมหาวิทยาลัยต่างๆ

ประวัติการทำงาน[แก้]

ครูพิศวาท เริ่มรับราชการครูกรมสามัญศึกษา สอนวิชาภาษาไทย ที่โรงเรียนชลบุรี "สุขบท" จ.ชลบุรี นอกจากการสอนภาษาไทย ยังรับหน้าที่ หัวหน้างานทะเบียนวัดผล จนกะทั่งปีพ.ศ.2531 ได้ย้ายติดตามครอบครัว (ดร.นิวัตต์ น้อยมณี) ไปยังโรงเรียนโรงเรียนสิงห์สมุทร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี สอนวิชาภาษาไทยและปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ ในปีพ.ศ.2532 ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานแผนงาน โรงเรียนศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และในปีพ.ศ.2534 ย้ายไปยังโรงเรียนชลกันยานุกูล อ.เมือง จ.ชลบุรี สอนวิชาภาษาไทย หัวหน้างานสารสนเทศ และเลขานุการศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดชลบุรี

ปีพ.ศ.2538 ครูพิศวาทย้ายติดตามไปยังโรงเรียนนราธิวาส จ.นราธิวาส สอนวิชาภาษาไทย รองหัวหน้าหมวดวิชาภาษาไทย และ เลขานุการศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ปีพ.ศ.2540 โรงเรียนบางจานวิทยา อ.เมือง จ.เพชรบุรี สอนวิชาภาษาไทย

พ.ศ.2542 ย้ายกลับโรงเรียนชลกันยานุกูล อ.เมือง จ.ชลบุรี สอนวิชาภาษาไทย หัวหน้างานแผนงาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

พ.ศ.2553 ปฏิบัติหน้าที่สอนวิชาภาษาไทย หัวหน้างานพัฒนาการเรียนรู้ และผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

ผลงานทางวิชาการ[แก้]

  • พ.ศ.2518 บทวิจารณ์วรรณกรรม เรื่อง กำแพง ของ ลาว คำหอม
  • พ.ศ.2519 บทวิจารณ์วรรณกรรม เรื่อง ไปกับความคับแค้น ของ ประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล
  • พ.ศ.2524 วิจัย เรื่อง การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเรียนการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น บทวิจารณ์วรรณกรรม เรื่อง การศึกษาลูกอีสานเชิงวรรณคดีเปรียบเทียบ
  • พ.ศ.2526 บทร้อยกรอง "ความสำคัญของภาษาไทย" พิมพ์ในวารสารพัฒนา หลักสูตรของกรมวิชาการ และเป็นบทคัดลายมือ ในหนังสือเรียนภาษาไทยชั้น ป.3 และ ป.5
  • พ.ศ.2531 บทความ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในมณฑลปราจีนบุรี พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น บทความ เรื่อง ทิศทางการศึกษา และแผนงานถ้าเห็นก็สำคัญ พิมพ์ในวารสารมิตรครู
  • พ.ศ.2532 วิจัย เรื่อง การใช้แบบทดสอบโคลซ ประเมินความสามารถในการเขียนร้อยกรอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีราชา
  • พ.ศ.2537 บทความ เรื่อง เครื่องจักสาน พิมพ์ในหนังสือปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ.2538 บทความ เรื่อง จุฑาธุชราชสถาน พิมพ์ในสารานุกรมภาคกลาง ของสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.2539 วิจัย เรื่อง การใช้ชุดพัฒนาทักษะการเขียน ประกอบการเรียนรายวิชาการเขียน 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • พ.ศ.2540 นิเทศการสอนวิชาภาษาไทย ให้กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส และกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในจังหวัดนราธิวาส
  • พ.ศ.2541 คู่มือลิลิตตะเลงพ่าย / งานวิจัยชุดโครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย(การพูด) ที่เน้นการปฏิบัติจริง โดยใช้สื่อ “พูดดีมีอนาคต”
  • พ.ศ.2548 หนังสืออ่านเพิ่มเติม ตามโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาภูมิภาค 3 จังวัตชายแดนภาคใตรวม 8 เล่ม (สระเสียงใส, ก.ไก่สวัสดี, หมอน้อยกิ้งก่าบิน, มีนากับมาเรียน, รักของอัยนูน, ว่าวน้อยบุหลัน , กระจงน้อยกับหอยขม และ ภาษาน่าเรียนรู้ )
  • พ.ศ.2551-ปัจจุบัน คณะกรรมการจัดทำหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ของสพฐ. (วิวิธภาษา ม.1-ม.3, หลักภาษาและการใช้ภาษา ม.4-ม.6 วรรณคดีวิจักษณ์ ม.1- ม.6

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

  • พ.ศ.2533 รางวัลครูภาษาไทยนักพัฒนา ของอำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี
  • พ.ศ.2536 รางวัลครูขยันไม่มีวันลา ของโรงเรียนชลกันยานุกูล จ.ชลบุรี รางวัลครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่น ของจังหวัดชลบุรี
  • พ.ศ.2538 ทุนอุดหนุนงานวิจัยประเภททั่วไป กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ.2539 รางวัลครูภาษาไทยดีเด่น ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รางวัลครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา ผู้มีผลงานดีเด่น ของกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ.2540 รางวัลครูดีเด่นของเขตการศึกษา 2
  • พ.ศ.2541 รางวัลครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของจังหวัดนราธิวาส / ศิษย์เก่าดีเด่นราชภัฏสวนสุนันทา / ครูแห่งชาติ
  • พ.ศ.2543 ครูผู้ผลิตสื่อการเรียนการสอนดีเด่น
  • พ.ศ.2544 รางวัลครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่นกรมสามัญศึกษา/ครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่นคุรุสภา
  • พ.ศ.2545 บุคลากรต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ ครูเกียรติยศ สพฐ.
  • พ.ศ.2550 ครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่น สพท.ชบ.1
  • พ.ศ.2551 ครูแกนนำดีเด่นสหวิทยาเขตบางปลาสร้อย
  • พ.ศ.2552 ครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่น สพท.ชบ.1
  • พ.ศ.2553 ครูผู้มีผลงานดีเด่นด้านผลการศึกษาระดับชาติ (O-NET) / ผู้ทำประโยชน์ด้านการศึกษาดีเด่นสก.สค. สพท.ชบ.1

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๙๑, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๐๐, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๓๐, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗