พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลานทาร์ฟาสซีอีทิส
ชื่ออื่นโรครองช้ำ, Plantar fasciosis, plantar fasciopathy, jogger's heel, heel spur syndrome[1]
บริเวณที่พบอาการปวดบ่อยที่สุดในพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ
สาขาวิชาออร์โธพีดิกส์, แพทยศาสตร์การกีฬา, ศัลยศาสตร์พลาสติก, พอเดียทริกส์
อาการอาการเจ็บปวดในส้นเท้าและใต้เท้า[2]
การตั้งต้นค่อยเป็นค่อยไป[3]
สาเหตุไม่ทราบชัดเจน[2]
ปัจจัยเสี่ยงการใช้งานมากเกิน (เช่นยืนนาน), โรคอ้วน, การโพรเนทเท้า[2][4]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ, อัลตราซาวด์[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคข้อกระดูกอักเสบ, ankylosing spondylitis, heel pad syndrome, reactive arthritis[5][6]
การรักษาจัดการแบบอนุรักษ์[4][7]
ความชุก~4%[2][5]

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือ พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า[8](อังกฤษ: plantar fasciitis) หรือ โรครองช้ำ เป็นโรคที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดที่ส้นเท้าและฝ่าเท้า[2] ส่วนใหญ่จะเจ็บมากที่สุดในการลงน้ำหนักที่เท้าครั้งแรกของวันหลังตื่นนอนหรือหลังจากการได้พักเป็นระยะเวลาหนึ่ง[4] อาการเจ็บอาจถูกกระตุ้นได้โดยการกระดกเท้าขึ้น และอาจเจ็บมากขึ้นกรณีที่ผู้ป่วยมีเอ็นร้อยหวายที่แข็งตึง[4][3] อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะค่อยๆ เป็น[3] ผู้ป่วยหนึ่งในสามจะเป็นที่เท้าทั้งสองข้าง[2] ส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ทำให้มีไข้และไม่ทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืน[3]

สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเช่นการยืนนานๆ การออกกำลังกายมาก และความอ้วน[2] นอกจากนี้ยังพบว่าสัมพันธ์กับการมีเท้าบิดเข้าใน และพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย[2][4] แม้จะมีการพบปุ่มงอกกระดูกส้นเท้าร่วมกับภาวะนี้บ่อยครั้งแต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าปุ่มงอกนี้มีบทบาทในการทำให้เกิดภาวะนี้หรือไม่ ภาวะพังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้านี้ถือเป็นโรคของจุดเกาะเส้นเอ็นที่มีการฉีกขาดขนาดเล็ก คอลลาเจนเสื่อมสภาพ และเกิดแผลเป็น[2] ดังนั้นการอักเสบจึงมีบทบาทน้อยในการเกิดภาวะนี้ จึงมีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อภาวะนี้จาก plantar fasciitis เป็น plantar fasciosis ("โรคของพังผืดที่ฝ่าเท้า")[2][9] การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย บางครั้งอาจทำอัลตราซาวนด์ช่วยในการวินิจฉัย[2] ภาวะอื่นๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกันได้เช่น โรคข้อเสื่อม กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด กลุ่มอาการแผ่นไขมันฝ่าเท้า โรคข้อแบบปฏิกิริยา เป็นต้น[5][6]

ภาวะนี้ส่วนใหญ่หายได้โดยใช้เวลาและการรักษาแบบอนุรักษ์[4][7] ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยพักการใช้เท้า เปลี่ยนกิจกรรม ใช้ยาแก้ปวดเมื่อจำเป็น และยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น หากยังบรรเทาอาการไม่ได้อาจพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น กายภาพบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ การดาม หรือการฉีดสเตียรอยด์ เป็นต้น หากยังไม่ได้ผลอีก อาจจำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก[4]


อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Toronto
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Beeson P (September 2014). "Plantar fasciopathy: revisiting the risk factors". Foot and ankle surgery: official journal of the European Society of Foot and Ankle Surgeons. 20 (3): 160–5. doi:10.1016/j.fas.2014.03.003. PMID 25103701.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Rosenbaum AJ, DiPreta JA, Misener D (March 2014). "Plantar Heel Pain". Med Clin North Am. 98 (2): 339–52. doi:10.1016/j.mcna.2013.10.009. PMID 24559879.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Goff JD, Crawford R (September 2011). "Diagnosis and treatment of plantar fasciitis". Am Fam Physician. 84 (6): 676–82. PMID 21916393.
  5. 5.0 5.1 5.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Cutts2012
  6. 6.0 6.1 Tu P, Bytomski JR (October 2011). "Diagnosis of heel pain". Am Fam Physician. 84 (8): 909–16. PMID 22010770.
  7. 7.0 7.1 Tahririan MA, Motififard M, Tahmasebi MN, Siavashi B (August 2012). "Plantar fasciitis". J Res Med Sci. 17 (8): 799–804. PMC 3687890. PMID 23798950.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
  9. Lareau CR, Sawyer GA, Wang JH, DiGiovanni CW (June 2014). "Plantar and Medial Heel Pain: Diagnosis and Management". The Journal of the American Academy of Orthopaedic Surgeons. 22 (6): 372–80. doi:10.5435/JAAOS-22-06-372. PMID 24860133.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก