พระอุบาฬี
พระอุบาฬี | |
---|---|
รูปปั้น พระอุบาฬี ในพิพิธภัณฑ์ มหาเถระ | |
มรณภาพ | พ.ศ. 2298 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบุปผาราม |
พระอุบาฬี เป็นพระราชาคณะในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่โปรดให้เดินทางไปยังประเทศศรีลังกาตามคำร้องของฝ่ายศรีลังกา[1] ในการเป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่สามเณรชาวสิงหล เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาในศรีลังกาขณะนั้น อีกทั้งท่านยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดเทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว (เอสาละ เปราเหรา) ในเมืองกัณฏี ซึ่งเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงและถือเป็นสัญลักษณ์ของศรีลังกา
ท่านเป็นที่จดจำในเรื่องความกล้าหาญที่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังศรีลังกา และได้มรณภาพที่นั่นนับเป็นพระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติ
[แก้]พระอุบาฬี เมื่อแรกได้พานักอยู่ที่วัดธรรมาราม[2] ซึ่งเป็นวัดเล็ก ๆ มีอาณาเขตทิศเหนืออยู่ติดกับวัดท่าการ้อง ทิศใต้อยู่ติดกับวัดกษัตราธิราช ทิศตะวันออกอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกอยู่ติดกับถนนบางบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2295 พระธรรมทูตชุดแรกจากกรุงศรีอยุธยานำโดยพระอุบาลี เดินทางไปยังศรีลังกา โดยจำพรรษาอยู่ที่วัดบุปผาราม ซึ่งปัจจุบันคือ วัดมัลวัตตะ ตั้งอยู่ที่เมืองแคนดี้ คณะพระธรรมทูตของไทย ได้บรรพชา และอุปสมบท สามเณรสรณังกร และคณะเป็นพระกว่า 700 รูปภายในระยะเวลา 3 ปี ทั้งยังร่วมกันฟื้นฟูพุทธศาสนาในศรีลังกา จนนำไปสู่การก่อตั้งคณะสงฆ์นิกายใหญ่ที่สุด และทรงอิทธิพลที่สุดในศรีลังกา ชื่อว่า สยามวงศ์[3]
มรณภาพ
[แก้]พระอุบาฬีมรณภาพด้วยโรคหูอักเสบ ภายในกุฏิวัดบุปผาราม (มัลวัตตวิหาร) เมื่อปี พ.ศ. 2298 พระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาให้จัดพิธีถวายเพลิงศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ โดยจัดขึ้นที่สุสานหลวงนามว่าอาดาหะนะมะลุวะ ปัจจุบันคือวัดอัศคิริยะเคดิเควิหาร เมืองกัณฏี ซึ่งปัจจุบันได้ก่ออิฐล้อมสถานที่เผาศพท่านไว้ หลังเสร็จสิ้นพิธีถวายเพลิงศพแล้ว ทรงรับสั่งให้สร้างเจดีย์บนยอดเขาใกล้วัดอัสคีริยะบรรจุอัฏฐิเพื่อสักการบูชาซึ่งมีปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน กุฏิท่านพระอุบาลีและห้องพักของท่านได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีแม้จะเป็นเพียงห้องเล็ก ๆ มีเพียงเตียงเก่าๆและโต๊ะเก้าอี้อีกหนึ่งชุดเท่านั้น[4] บริขารและสิ่งของที่ท่านเคยใช้สอยที่ยังเหลืออยู่ ชาวศรีลังกาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพเช่นกันและได้เก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2459. 271 หน้า. หน้า 312. [พระยาเทพาธิบดี พิมพ์แจกในงานปลงศพ นายพันตรี หลวงพิทักษ์นฤเบศร์ (จร บุนนาค) ผู้บิดา]
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงษ์ในลังกาทวีป. พระนคร : กรมแผนที่ทหารบก, 2457. 447 หน้า. หน้า 142. [สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์ฯ พิมพ์แจกในงานพระศพ พระสัมพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย]
- ↑ ฉลองครบ 260 ปีความสัมพันธ์ด้านพุทธศาสนาไทย - ศรีลังกา
- ↑ ไซเบอร์วนาราม