พระองค์เจ้าดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระองค์เจ้าดำ
พระองค์เจ้า
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2250
วัดโคกพระยา, กรุงศรีอยุธยา
พระชายาพระองค์เจ้าแก้ว
พระราชบุตรกรมขุนสุรินทรสงคราม
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาสมเด็จพระเพทราชา

พระองค์เจ้าดำ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเพทราชาที่ประสูติแต่พระสนม เป็นพระราชอนุชาต่างพระมารดากับสมเด็จพระเจ้าเสือ จึงมีศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

พระองค์ได้พระองค์เจ้าแก้วพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเสือมาเป็นบาทบริจาริกา ต่อมาพระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ซึ่งตามพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม และพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ได้ระบุไว้ตรงกันว่า "มาจากการที่พระองค์ละลาบละล้วงเข้าไปในเขตพระราชฐานซึ่งเป็นเขตต้องห้าม โดยมิได้เกรงกลัวพระราชอาญาอยู่หลายครั้ง" สมเด็จพระเจ้าท้ายสระจึงปรึกษากับเจ้าฟ้าพร พระราชอนุชาที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เห็นเป็นมหันตโทษจึงโปรดให้พันธนาการพระองค์เจ้าดำและสำเร็จโทษเสีย ณ วัดโคกพระยา ส่วนพระองค์เจ้าแก้วก็เสด็จไปทรงผนวชเป็นพระรูป (ชี) อยู่กับกรมพระเทพามาตย์ (กัน) พระอัยยิกาของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระที่วัดดุสิดาราม[1][2]

ส่วนพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) กล่าวแตกต่างออกไปว่า เจ้าพระองค์ดำถูกสำเร็จโทษในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี[3]: 10  เนื่องจากทรงเข้าร่วมคิดก่อกบฏซ่องสุมกำลังคนกับกรมขุนเสนาบริรักษ์ (พระองค์แก้ว) พระบุตรของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) อำมาตย์หลอ พระรักษ์มณเทียรกรมวัง และเจ้าพระองค์แขก หลังจากสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีขึ้นครองราชย์แล้วมีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรกับเจ้าฟ้าพรจับตัวผู้ก่อกบฏทั้งหมดไปสำเร็จโทษแต่ไม่มีกล่าวถึงการฝังศพที่วัดโคกพระยาเหมือนพระราชพงศาวดารฉบับอื่น

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) กล่าวว่า :-

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอสองพระองค์ พระเชษฐา [เจ้าฟ้าเพชร] พระชนม์ได้ ๒๔ พระวสา พระอนุชา [เจ้าฟ้าพร] พระชนม์ได้ ๒๐ พระวสา รับพระบัณฑูรทั้งสองพระองค์แล้ว ให้จับเจ้ากรมขุนเสนาบริรักษ์ว่าคบคิดกันกับอำมาตย์หลอ พระรักษ์มณเทียร จ้าวพระองค์แขก จ้าวพระองค์ดำ ว่าซ่องสุมผู้คนคิดขบถมิได้ถวายเครื่องสาตราวุธ ให้ไปประหารชีวิตเสีย[4]: 222 

หากยึดตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) เจ้าพระองค์ดำจะสิ้นพระชนม์ราว พ.ศ. 2246

พระโอรสธิดา[แก้]

พระองค์เจ้าดำ มีพระบุตรธิดา ดังนี้

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม[แก้]

ในละครพีเรียดอิงประวัติศาสตร์เรื่องพรหมลิขิต ได้มีการกล่าวถึงพระองค์เจ้าดำ ซึ่งผู้ที่รับบทพระองค์เจ้าดำคือ เอ-พศิน เรืองวุฒิ

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. เหตุใด “พระองค์เจ้าดำ” ถูกพระเจ้าท้ายสระสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์?
  2. จุดจบ "พระองค์เจ้าดำ" ตามพงศาวดาร พระเจ้าท้ายสระสั่งให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
  3. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2521). ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. 63 หน้า.
  4. "รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ", พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เล่ม ๒ ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด). ลำดับที่ ๘๑๓ ชุดที่ ๘ จดหมายเหตุและพงศาวดาร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2541. 225 หน้า. ISBN 978-974-0-08139-5
  5. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 558 หน้า. ISBN 978-616-92351-0-1
  6. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2505). พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ พระอธิบายประกอบ. พระนคร: โอเดียนสโตร์. 622 หน้า.
  7. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2553). กรุงแตก พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มติชน. หน้า 104.