พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์)
พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) | |
---|---|
ข้าหลวงใหญ่ประจำฟิลิปปินส์ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2482 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2485 | |
ประธานาธิบดี | แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ |
ก่อนหน้า | เวลดอน โจนส์ (รักษาการ) |
ถัดไป | แฮโรลด์ แอล. อิกเกส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2428 เบธเลเฮม รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา |
เสียชีวิต | 29 มีนาคม พ.ศ. 2515 (86 ปี) วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา |
คู่สมรส | เจสซี่ วิลสัน |
บุตร | 3 คน |
พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) (อังกฤษ: Francis Bowes Sayre; 30 เมษายน พ.ศ. 2428 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2515) เป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นบุตรเขยของวูดโรว์ วิลสัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ฟรานซิสเป็นนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ต่อมา เดินทางมายังประเทศสยาม (ต่อมาคือประเทศไทย) ในฐานะเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสยาม เมื่อ พ.ศ. 2468 แล้วกลับสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2475 ที่บ้านเกิดเมืองนอน ได้รับแต่งตั้งจาก แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดี ให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ ต่อมาจึงได้เป็นข้าหลวงใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำประเทศฟิลิปปินส์ใน พ.ศ. 2482 แล้วดำรงตำแหน่งผู้แทนของสหรัฐประจำสหประชาชาติ และเป็นประธานคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ พร้อม ๆ กันในปี พ.ศ. 2490 [1]
ขณะดำรงตำแหน่งในประเทศไทย ได้ช่วยงานด้านการต่างประเทศของไทย โดยเป็นที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2466 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในด้านสนธิสัญญา[2]และร่วมร่างเค้าโครงรัฐธรรมนูญฉบับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย ในชื่อ "Outline of Preliminary Draft" ในปี พ.ศ. 2469 แต่ทว่าเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ขึ้นเสียก่อน จึงไม่ได้ออกใช้[3] เป็นผู้แทนรัฐบาลสยามเจรจาสนธิสัญญาไทย-สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2468 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี มีตำแหน่งราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ถือศักดินา 1,000[4] นับเป็นคนที่สองต่อจากพระยากัลยาณไมตรี (เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด)
ด้านครอบครัว ฟรานซิสสมรสกับเจสซี วิลสัน บุตรสาวของวูดโรว์ วิลสัน พิธีมงคลสมรสมีขึ้นที่ทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ทั้งคู่มีบุตรชื่อ ฟรานซิส บี. แซร์ จูเนียร์, เอเลนอร์ แซร์ และ วูดโรว์ วิลสัน แซร์ ตามลำดับ[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5][6]
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Biographical Chronology of Francis B. Sayre (1885-1972)
- ↑ "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, เล่ม 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ 2009-09-08.
- ↑ 2475: สองฝั่งประชาธิปไตย, สารคดีทางทีวีไทย วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานบรรดาศักดิ์, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ง, ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๒๐๐
- ↑ Oblas, Peter (1972). "Treaty Revision and the Role of the American Foreign Affairs Adviser 1909-1925" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. JSS Vol. 60.1 (digital): image 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (free)เมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ March 17, 2013.
In the course of his service, Sayre was awarded the Grand Cross of the Crown of Siam. The title of Phya Kalyanamaitri was also bestowed upon him. 13) Francis B. Sayre, Glad Adventure (New York: MacMillan, 1957), p. 105.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ง, ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๑๘๔๖-๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐, ตอน ๘๐ ง, ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖, หน้า ๕๔๓๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2428
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2515
- ชาวอเมริกันในประเทศไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- นักการทูตชาวอเมริกัน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- ข้าหลวงใหญ่ฟิลิปปินส์
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์