พระพุทธไตรรัตนนายก (วัดพนัญเชิง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธไตรรัตนนายก
ชื่อเต็มพระพุทธไตรรัตนนายก
ชื่อสามัญหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง
ซำปอกง
ประเภทพระพุทธรูป
ความกว้าง20 เมตร
ความสูง19 เมตร
วัสดุปูนปั้น
สถานที่ประดิษฐานพระวิหาร วัดพนัญเชิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หมายเหตุเชื่อกันว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 19 เมตร เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนซึ่งขนานนามหลวงพ่อโตองค์นี้ว่า "ซำปอกง" (三寶公/三宝公) หรือ "ซำ​ปอฮุดกง​"

พระพุทธไตรรัตนนายกประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพนัญเชิง ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตรงข้ามกับมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ[แก้]

ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงสร้างขึ้น ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อ จ.ศ. 686 (พ.ศ. 1867) ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 26 ปี

ครั้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีมาโดยตลอด กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่น่าอัศจรรย์

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์และถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก"

ดูเพิ่ม[แก้]