พระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระประยุทธชลธี)
พระประยุทธชลธี
(แป๊ะ วีราสา)
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2476 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
ก่อนหน้าพระวุฒิภาคภักดี
ถัดไปพระศรีพิชัยบริบาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 พฤษภาคม พ.ศ. 2436
ไทย ประเทศไทย
เสียชีวิต10 มกราคม พ.ศ. 2524 (88 ปี)
ไทย ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
บุตรนางเสริมศักดิ์ ศรีเพ็ญ
นางสุรางค์ พรหมสุนทร
พลตรี นาเวศ วีราสา
นางจิตต์จำนง มิตรานนท์
นางสาวจำเนียร วีราสา
นางสาวประนอม วีราสา
นางสมศรี อรัณยภูติ
นางสมทรง คุณวัฒน์
นางสารศรี แสงอรุณ
พลเรือเอกวัฒนพงศ์ วีราสา
นางปราณี สัมพันธรัตน์
บุพการีนายอาจ วีราสา
นางพูน วีราสา
อาชีพทหารเรือ
นักการเมือง

นาวาโท พระประยุทธชลธี นามเดิม แป๊ะ วีราสา เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดตราด และเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ในสมัยนายควง อภัยวงศ์

ประวัติ[แก้]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

พระประยุทธชลธีเดิมมีชื่อว่า แป๊ะ เนื่องมาจากเป็นชาวมอญที่มีผิวขาวคล้ายชาวจีนเป็นบุตรชายของนาย อาจ กับนาง พูน เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ เข้าประจำการกองทัพเรือไทย ทางกองทัพส่งไปศึกษาเครื่องรับส่งวิทยุ นับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้สั่งเครื่องวิทยุมาจากเยอรมัน นำมาติดตั้งที่กรุงเทพมหานคร สงขลา และในเรืออีกสามลำ เพื่อใช้ในการสื่อสารในกองทัพเรือ ภายหลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนายสถานีวิทยุทหารเรือกรุงเทพคนแรก

พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ เป็นตำแหน่งสุดท้ายทางทหารเรือ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเลียบมณฑลปักษ์ใต้ในปี พ.ศ. 2458 ทรงประทับแรมที่สถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือ จังหวัดสงขลา เพื่อทอดพระเนตรการซ้อมรบเสือป่าบริเวณนั้น ร.ท.แป๊ะ(ยศในขณะนั้น)เข้าขอรับพระราชทานนามสกุล ได้รับพระราขทานนามสกุลว่า "วีราสา"[1] โดยเขียนเป็นตัวโรมันว่า Virasa

หลังจากรับราชการในกองทัพเรือ ท่านได้ถูกย้ายสังกัดไปกระทรวงมหาดไทย รับการแต่งตั้งไปเป็นผู้ว่าราชการหรือในสมัยนั้นเรียกว่าข้าหลวง ประจำจังหวัดตราดและสมุทรปราการ[2]

ขณะที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ท่านได้เป็นผู้ตั้งชื่อโรงเรียนวิสุทธิกษัตรี เก็บถาวร 2018-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [3]ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสตรีโรงเรียนแรกในจังหวัดสมุทรปราการ

ด้านครอบครัว[แก้]

พระประยุทธชลธีมีภรรยาทั้งหมด 4 ท่าน มีบุตร-ธิดาทั้งหมดรวม 11 ท่านดังนี้

เกิดแต่คุณ ขลิบ 1 ท่าน

  • คุณ​ เสริมศักดิ์ ศรีเพ็ญ

เกิดแต่คุณ พริ้ง 1 ท่าน

  • คุณ สุรางค์ พรหมสุนทร

เกิดแต่คุณ อนันต์ วีราสา (โรหิตรัตนะ) 4 ท่าน

คุณ อนันต์ วีราสา (โรหิตรัตนะ)
  • พลตรี นาเวศ วีราสา
  • คุณ​ จิตต์จำนง มิตรานนท์
  • คุณ จำเนียร วีราสา
  • คุณ ประนอม วีราสา

เกิดแต่คุณ บัวบุญเกิด วีราสา (จารุจินดา) 5 ท่าน

  • คุณ สมศรี อรัณยภูติ
  • คุณ สมทรง คุณวัฒน์
  • คุณ สารศรี แสงอรุณ
  • พลเรือเอกวัฒนพงศ์ วีราสา
  • คุณ ปราณี สัมพันธรัตน์

ชีวิตด้านการเมือง[แก้]

มีการตราพระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2498 ขึ้นเพื่อให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองแข่งขันกัน พรรคการเมืองสำคัญๆ เช่น พรรคเสรีมนังคศิลา พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเศรษฐกร พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค พรรคชาตินิยม ฯลฯ พ.ศ. 2499 พ.ต.หลวงสรสิทธิ นักการเมือง นายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ได้มาชวนเป็นสมาชิกของพรรค จากนั้น เมื่อรัฐบาลได้จัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ท่านได้รับเลือกให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดพระนคร[4] การเลือกตั้งครั้งนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกด้วย [5]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรุงเทพฯ จำนวน 9 ที่นั่ง นั้น

พรรคเสรีมนังคศิลา ประสบชัยชนะ 7 ที่นั่ง คือ

  1. จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  2. พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
  3. พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษดิ์
  4. พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุทธยา
  5. พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์
  6. พลเอก มังกร พรหมโยธี
  7. พลเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ์

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้ 2 ที่นั่ง คือ

  1. นายควง อภัยวงศ์
  2. นาวาโท พระประยุทธชลธี

บั้นปลายชีวิต[แก้]

เมื่ออายุมากขึ้น ท่านได้สนใจ รวบรวมและศึกษา เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของอาหารในทางยา

ในบั้นปลายชีวิตท่านได้อาศัยที่กรุงเทพย่านซอยองครักษ์ บางกระบือ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2524 ด้วยโรคหัวใจ ในวัย 88 ปี

การศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2451 สอบเข้าร.ร.นายเรือได้คะแนนเป็นลำดับ ที่ 1
  • พ.ศ. 2455 โรงเรียนนายทหารชั้นสูงพรรคนาวิน

หน้าที่การงาน[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-07-23.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-08. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๕, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๘๖, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๙, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑