พระครูสุวิชานวรวุฒิ (ปี้ ทินฺโน)
![]() | บทความเชิงชีวประวัตินี้ มีแหล่งอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ไม่น่าเชื่อถือ หรือต้องการเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ความถูกต้อง โปรดช่วยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่ขาดไปและที่เชื่อถือได้ เนื้อหาอันเป็นประเด็นถกเถียง โดยเฉพาะที่เป็นเชิงหมิ่นประมาท ใส่ความ หรือว่าร้าย ซึ่งไม่มีแหล่งอ้างอิงโดยสิ้นเชิง หรือมี แต่เชื่อถือมิได้นั้น ให้นำออกทันที |
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระครูสุวิชานวรวุฒิ (ปี้ ทินฺโน) | |
---|---|
ชื่ออื่น | หลวงพ่อปี้ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2445 วันพุธ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล (72 ปี ปี) |
เสียชีวิต | 11 มกราคม พ.ศ. 2517 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดลานหอย จังหวัดสุโขทัย |
อุปสมบท | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 |
พรรษา | 51 พรรษา พรรษา |
ตำแหน่ง | อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านด่านลานหอย / อดีตเจ้าอาวาสวัดลานหอย |
พระครูสุวิชานวรวุฒิ หรือ หลวงพ่อปี้ ฉายา ทินฺโน 15 ตุลาคม พ.ศ. 2445 - 11 มกราคม พ.ศ. 2517) พระเกจิอาจารย์ชาวสุโขทัย ที่มีวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ มีประวัติการเดินทางธุดงค์เป็นเวลาหลายปี ในหลายจังหวัด คือ เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า ปาดังเบซา ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น เป็นพระที่มีความเพียรสูง เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและมีความมานะอดทนเป็นเลิศ ท่านเป็นศิษย์พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) แห่งวัดราชธานี และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย เคยเข้าร่วมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 9 ในคราวเสด็จประพาสเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแห่ง จังหวัดสุโขทัย เมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2507 และถวายพระซุ้มกอ จำนวน 999 องค์ ดังปรากฏข้อมูลว่า "...เวลาประมาณ 13.30 น. อธิบดีกรมศิลปากรนำเสด็จออกจากบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานฯ ทรงพระราชดำเนินโดยพระบาทไปตามถนนระหว่างพิพิธภัณฑ์สถานฯ ไปยังวัดมหาธาตุ มีประชาชนเฝ้าอยู่เนืองแน่นสองฟากถนน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียน สักการะพระมหาธาตุเสร็จแล้ว พระครูวิชานวรวุฒิ (ปี้) ถวายพระพิมพ์แบบซุ้ม ก. จำนวน 999 องค์ ทรงรับแล้ว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร..."[1]
ประวัติ[แก้]
กำเนิด[แก้]
พระครูสุวิชานวรวุฒิ มีนามเดิมก่อนบวชว่า ปี้ ชูสุข (คำว่า "ปี้" หมายถึง เงินตราสมัยโบราณ) เกิดเมื่อวันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2445 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ณ ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย [2]
การศึกษา[แก้]
การศึกษาแต่เดิมส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในวัด ที่มีพระ หรือฑิตที่ลาสิกขาไปเป็นผู้สอน หลวงพ่อปี้ ทินฺโน ในวัยเยาว์ คือเมื่ออายุประมาณ 12 ปี ทางครอบครัวบิดามารดา ได้นำไปฝากไว้กับพระอธิการหน่าย น้อยผล เจ้าอาวาสวัดเชิงคีรี ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย โดยเริ่มแรกได้เรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจเบื้องต้น ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม หลวงพ่อปี้ ในวัยเยาว์มีความสามารถอ่านเขียนหนังสือไทยและหนังสือขอมได้เป็นอย่างดี จนเป็นที่พอใจของพระผู้สอน และทางครอบครัว ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้กลับบ้านเพื่อไปประกอบอาชีพทางการเกษตรอันเป็นอาชีพของครอบครัว
อุปสมบท[แก้]
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2465 หลวงพ่อปี้ ทินฺโน เมื่ออายุครบบวช 20 ปี จึงเข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดสังฆาราม ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย มีพระครูวินัยสาร (ทิม ยสฺทินโน)[3]วัดราชธานี[4] เจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย เป็นพระอุปัชฌาย์ [5] พระอธิการน้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ทินโน เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงคีรี ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
สมณศักดิ์ การปกครอง[แก้]
- พ.ศ. 2481 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเชิงคีรี
- พ.ศ. 2485 ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดลานหอย และพระกรรมวาจาจารย์
- พ.ศ. 2492 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2496 เจ้าคณะตำบลบ้านด่านลานหอย
- พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท
- พ.ศ. 2510 เป็นเจ้าคณะตำบลกิตติมศักดิ์
มรณภาพ[แก้]
หลวงพ่อปี้ ทินโน ได้เกิดอาพาธ จนต้องนำส่งโรงพยาบาล ประกอบกับชราภาพ ท่านจึงมรณภาพด้วยโรคไตไม่ทำงาน และหัวใจวาย เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2517 ณ โรงพยาบาลสุโขทัย ด้วยอาการสงบ สิริอายุ 71 ปี 2 เดือน 26 วัน
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ประวัติหลวงพ่อปี้ ทินฺโน โดยศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
- ประวัติหลวงพ่อปี้ ทินโน จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ตอน 1 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติหลวงพ่อปี้ ทินโน จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ตอน 2 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลวงพ่อปี้ ทินโน วัดลานหอย จังหวัดสุโขทัย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กรมศิลปากร. งานบูรณโบราณสถาน จังหวัดสุโขทัย พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส 31 พฤษภาคม 2507[1] พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร 2507. หน้า 47
- ↑ www.oknation.net/blog/print.php?id=220458 พระครูสุวิชานวรวุฒิ .
- ↑ http://kanchanapisek.or.th/kp8/skt/skt2.html(สารานุกรมฉบัญกาญจนาภิเษก)[ลิงก์เสีย] .
- ↑ พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) ได้ช่วยเหลือราชการ โดยออกสำรวจโบราณสถานเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ช่วยดูแลปกป้องการลักลอบขุดค้น ทำลายโบราณสถาน รวมทั้งการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานเบื้องต้นหลายแห่งในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย นับเป็นพระเถระผู้มีพระคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญของโลก พระราชประสิทธิคุณถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2513 สิริอายุได้ 89 ปี :ที่มา http://www.traphangthong.org(วัดตระพังทอง).
- ↑ ต่อมาท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย นามสมณะศักดิ์ว่าพระครูวินิจฉัยพุทธบัญญัติและต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย