พระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ (เย็นอี่)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์

( เย็นอี่)
ส่วนบุคคล
เกิด10 มิ.ย. 2480 จังหวัดนครปฐม (86 ปี)
นิกายคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโพธิ์แมนคุณาราม กรุงเทพมหานคร
บรรพชาพ.ศ. 2499
อุปสมบท15 พฤษภาคม พ.ศ. 2500
พรรษา66
ตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
รองเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม
เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เย็น

พระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ (เย็นอี่) (จีน: 仁意) เป็นพระภิกษุนิกายมหายาน ชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย รักษาการประธานคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย รักษาการและรองเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เย็น

ประวัติ[แก้]

พระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ มีนามเดิมว่า วรวิทย์ โพธิถวิลเกียรติ ชาติภูมิเดิม แซ่ตั้ง มณฑลกวางตุ้ง พระคุณท่านเป็นบุตรของนายเซียฮั้ว แซ่ตั้ง กับ นางเกียวลั้ง แซ่ล้อ

เมื่อปีพ.ศ.2499 ได้บรรพชาเป็นสามเณร และในวันที่15 พฤษภาคม พ.ศ.2500 ได้อุปสมบท ณ พัทสีมา วัดโพธิ์เย็น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับฉายา เย็นอี่ โดยมี พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกายรูปที่6 เป็นพระอุปัชฌาย์

ตำแหน่งด้านการปกครอง[แก้]

  • พ.ศ. 2511 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม
  • พ.ศ. 2512 เป็นกรรมการสงฆ์จีนนิกาย และเป็นผู้อำนายการกองเลขานุการ
  • พ.ศ. 2518 เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2525 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นรองปลัดซ้ายจีนนิกาย
  • พ.ศ. 2530 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นปลัดซ้ายจีนนิกาย
  • พ.ศ. 2530 เป็นผู้อำนวยการกองธุรการ คณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย
  • พ.ศ. 2539 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายฝ่ายซ้าย
  • พ.ศ. 2542 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เย็น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
  • พ.ศ. 2547 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายฝ่ายขวา
  • พ.ศ. 2562 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ.2513 ได้รับแต่งตั้งเป็น หลวงจีนธรรมธร(เย็นอี่) คณานุกรมในพระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้ง)
  • พ.ศ.2520 ได้รับแต่งตั้งเป็น หลวงจีนปลัดธรรมสมาธิวัตร (เย็นอี่) คณานุกรมในพระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้ง)
  • พ.ศ.2525 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่ หลวงจีนธรรมนันท์จีนประพันธ์ เป็นรองปลัดซ้ายจีนนิกาย[1]
  • พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่ หลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ เป็น พระปลัดซ้ายจีนนิกาย[2]
  • พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่ พระอาจารย์จีนธรรมานุกร สุนทรศาสนกิจ เป็น ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายฝ่ายซ้าย ตั้งคณานุกรมได้ 3 รูป[3] (เทียบพระราชาคณะชั้นสามัญ)
  • พ.ศ. 2542 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่ พระอาจารย์จีนธรรมานุกร สุนทรศาสนกิจ ภาวนานุสิฐไพศาล เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายฝ่ายซ้าย ตั้งคณานุกรมได้ 4 รูป[4] (เทียบพระราชาคณะชั้นราช)
  • พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่ พระอาจารย์จีนวินยานุกร สุนทรธรรมภูษิต ปริยัติกิจโกศล เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายฝ่ายขวา ตั้งคณานุกรมได้ 4 รูป[5] (เทียบพระราชาคณะชั้นราช)
  • พ.ศ. 2562 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่ พระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์ ไพศาลสมณกิจ ประสิทธิ์สิริมงคล คุณาภิวัฒน์ มีคณานุศักดิ์ เป็นรองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ตั้งคณานุกรมได้ ๕ รูป [6] (เทียบพระราชาคณะชั้นเทพ)

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, ฉบับพิเศษ, เล่ม 99 ตอนที่ 184, 17 ธันวาคม 2525, หน้า 37
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, ฉบับพิเศษ, เล่ม 104 ตอนที่ 253, 5 ธันวาคม 2530, หน้า 62
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 113 ตอนที่ 23 ข, 5 ธันวาคม 2539, หน้า 68
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 116 ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 55
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 123 ตอนที่ 25 ข, 29 ธันวาคม 2549, หน้า 73
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 136 ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 58