พรรคประชาชนกัมพูชา
(เปลี่ยนทางจาก พรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา)
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
พรรคประชาชนกัมพูชา គណបក្សប្រជាជនកម្ពុជា Kanakpak Pracheachon Kâmpuchéa | |
---|---|
ประธานพรรค | สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน |
รองประธานพรรค | สมเด็จวิบุลเสนาภักดี สาย ฌุม สมเด็จกลาโหมซอ เค็ง |
คำขวัญพรรค | เอกราช, วิมุตติ, ประชาธิปไตย, ศุภมงคลและสังคมวัฒนาสถาพร แด่พระราชอาณาจักร |
ก่อตั้ง | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2494 (69 ปี) |
ที่ทำการพรรค | ![]() พระราชอาณาจักรกัมพูชา |
จำนวนสมาชิก (ปี 2561) | 5.5 ล้านคน |
อุดมการณ์ | 2494–2534: ● คอมมิวนิสต์ ● ลัทธิมากซ์-ลัทธิเลนิน 2534–ปัจจุบัน: ● กษัตริย์นิยม[1] ● อนุรักษนิยม[2] ● ประชานิยม ● อำนาจนิยม |
จุดยืน | กลาง |
กลุ่มระดับสากล | องค์การประชาธิปไตยสายกลางนานาชาติ |
สี | สีฟ้า และสีส้ม |
ที่นั่งพฤฒสภาในพระราชอาณาจักร | 58 / 62
|
ที่นั่งรัฐสภาในพระราชอาณาจักร | 125 / 125
|
คอมมูน | 1,645 / 1,646
|
สภาท้องถิ่นในพระราชอาณาจักร | 11,510 / 11,572
|
เว็บไซต์ | |
cpp.org.kh | |
การเมืองกัมพูชา รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคประชาชนกัมพูชา (เขมร: គណបក្សប្រជាជនកម្ពុជា คณบกฺสบฺรชาชนกมฺพุชา: KPK; อังกฤษ: Cambodian People’s Party) เป็นพรรคที่สืบทอดมาจากพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชาที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 การเปลี่ยนแปลงมาเป็นพรรคประชาชนกัมพูชาเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยมีการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของพรรค ยกเลิกแนวคิดนิยมคอมมิวนิสต์ก่อนการประชุมสันติภาพที่ปารีส ผู้นำพรรคคือฮุน เซน และ เจีย ซิม พรรคเข้าร่วมการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2536 และได้คะแนนเสียงเป็นลำดับที่สอง ได้เข้าร่วมรัฐบาลผสมกับพรรคฟุนซินเปก โดยฮุน เซนได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สอง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ฮุน เซน เข้ายึดอำนาจและขับไล่สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ออกจากตำแหน่ง และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2541 ซึ่งพรรคได้เสียงมากที่สุดและได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Prak, Chan Thul (2 February 2018). "Cambodian government criminalizes insult of monarchy". Reuters. สืบค้นเมื่อ 21 June 2019.
- ↑ Quackenbush, Casey (7 January 2019). "40 Years After the Fall of the Khmer Rouge, Cambodia Still Grapples With Pol Pot's Brutal Legacy". TIME. สืบค้นเมื่อ 7 December 2019.
- ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กทม. : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.