พรชัย ตระกูลวรานนท์
พรชัย ตระกูลวรานนท์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2500 |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
รองศาสตราจารย์ พรชัย ตระกูลวรานนท์ (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2500) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ) อดีตเหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ[1] และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติ
[แก้]พรชัย ตระกูลวรานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท Master of Arts (Social Anthropology) และ Master of Philosophy (Social Anthropology) จาก UNIVERSITY OF KENT AT CANTERBURY สหราชอาณาจักร[2]
การทำงาน
[แก้]พรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นอาจารย์ประจำคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ในปี 2538-2544 และปี 2547-2553 และเป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พรชัย ตระกูลวรานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในปี 2558[3] ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ และได้รับตำแหน่งเหรัญญิกพรรค กระทั่งต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
ในปี 2562 เขาได้เลื่อนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ แทน นฤมล ภิญโญสินวัฒน์[4] แลได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[5]
ในปี 2563 มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค นายพรชัย จึงพ้นจากหน้าที่เหรัญญิกพรรค[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พรชัย ตระกูลวรานนท์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
- พ.ศ. 2556 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "กลุ่มสมคิด" ใน พปชร. หลังไร้พื้นที่ยืนในพรรค
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อสภา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายพรชัย ตระกูลวรานนท์)
- ↑ เลือก"พรชัย"ประธานประธานกมธ.แก้ปัญหาลอบประทุษร้ายประชาชน
- ↑ จับตาไร้ทีม “สี่กุมาร” ร่วม กก.บห.พลังประชารัฐใหม่ ปรับโลโก้-แก้ไขข้อบังคับเพิ่มอำนาจหัวหน้าพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๖๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- อาจารย์คณะสังคมศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคพลังประชารัฐ
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.