ผู้ใช้:Wtt.lee/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย! หน้านี้เป็นหน้าทดลอง พื้นที่ให้คุณสามารถทดสอบได้อย่างเต็มที่ มีตัวอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ที่คุณจะพบต่อไปเมื่อเขียนวิกิพีเดีย

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[แก้]

นี่เป็นคำบรรยายภาพ

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ย่อว่า สกมช. อังกฤษ: National Cybersecutiy Agency, NCSA) เป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2562 มีหน้าที่เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการรักษารักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ ประสานการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าในสถานการณ์ทั่วไปหรือสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง อันจะทำให้การป้องกันและการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ประวัติ[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562[1] มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบาย มาตรการ แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ รวมทั้งให้ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบงานตามพระราชบัญญัติ และประสานการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าในสถานการณ์ทั่วไปหรือสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง อันจะทำให้การป้องกันและการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ในวาระเริ่มแรก กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ จนกว่าจะจัดตั้งสำนักงานแล้วเสร็จ และให้ปลัดกระทรวงทำหน้าที่เลขาธิการจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามมาตรา 79 วรรคสอง [2]

การประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันพุธที่ 7 ตุลาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง พลโทปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (เลขาธิการ กมช.) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564

อำนาจหน้าที่[แก้]

(1) เสนอแนะและสนับสนุนในการจัดทำนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และแผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 9 ต่อคณะกรรมการ

(2) จัดทำประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (4) เสนอต่อ กกม. เพื่อให้ความเห็นชอบ

(3) ประสานงานการดำเนินการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศตามมาตรา 53 และมาตรา 54

(4) ประสานงานและให้ความร่วมมือในการตั้งศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ในประเทศและต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และกำหนดมาตรการที่ใช้แก้ปัญหาเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

(5) ดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ

(6) เฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ติดตาม วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์

(7) ปฏิบัติการ ประสานงาน สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือตามคำสั่งของคณะกรรมการ

(8) ดำเนินการและให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเฉพาะภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบหรือเกิดแก่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ

(9) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงการสร้างความตระหนักด้านสถานการณ์เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกันเพื่อให้มีการดำเนินการเชิงปฏิบัติการที่มีลักษณะบูรณาการและเป็นปัจจุบัน

(10) เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและเหตุการณ์ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน

(11) เป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

(12) ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

(13) ศึกษาและวิจัยข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งดำเนินการอบรมและฝึกซ้อมการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ

(14) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนดำเนินการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

(15) รายงานความคืบหน้าและสถานการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด

(16) ปฏิบัติงานอื่นใดอันเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศตามที่คณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตาม (6) ให้สำนักงานจัดตั้งศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสำนักงาน และให้มีหน้าที่และอำนาจตามที่คณะกรรมการกำหนด

ทำเนียบเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (เลขาธิการ กมช.)[แก้]

รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
2. พลเอก ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
3. พลอากาศตรี อมร ชมเชย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.)[แก้]

ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ” เรียกโดยย่อว่า “กมช.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “National Cyber Security Committee” เรียกโดยย่อว่า “NCSC” ประกอบด้วย

  1. นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน (ต่อมานายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน)
  2. กรรมการโดยตำแแหน่ง ประกอบด้วย
    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
    2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    3. ปลัดกระทรวงการคลัง
    4. ปลัดกระทรวงยุติธรรม
    5. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
    6. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    1. นายปริญญา หอมเอนก
    2. นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
    3. พลเอก มโน นุชเกษม
    4. นายวิเชฐ ตันติวานิช
    5. พันตำรวจเอก ญาณพล ยั่งยืน
    6. นายแพทย์บดินทร์ ทรัพย์สมบูรณ์
    7. รองศาสตราจารย์ปณิธาณ วัฒนายากร
  4. เลขาธิการ กมช. เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการกำกับดูแลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.)[แก้]

มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เรียกโดยย่อว่า “กกม.” ประกอบด้วย

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน
  2. กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย
    1. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
    2. ปลัดกระทรวงคมนาคม
    3. ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    4. ปลัดกระทรวงพลังงาน
    5. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
    6. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
    7. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
    8. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
    9. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
    10. ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
    11. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    12. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    13. เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    1. พลตรี ปนิวัธน์ ทรัพย์รุ่งเรือง
    2. นายพันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
    3. นายรอม หิรัญพฤกษ์
    4. พลตำรวจตรี พิสิษฐ์ เปาอินทร์
  4. เลขาธิการ กมช. เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.)[แก้]

มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เรียกโดยย่อว่า “กบส.” เพื่อดูแลงานด้านกิจการบริหารงานทั่วไปของสำนักงาน ประกอบด้วย

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน
  2. กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย
    1. ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    2. อธิบดีกรมบัญชีกลาง
    3. เลขาธิการ กพ.
    4. เลขาธิการ ก.พ.ร.
  3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย
    1. นายชัยชนะ มิตรพันธ์
    2. รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ สงวนพงษ์
    3. รองศาสตราจารย์เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์
    4. พลเอก ภุชพงศ์ พงษ์ศิริ
    5. นางแก้วใจ นาคสกุล

ส่วนอ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=17082306
  2. "สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ". www.ncsa.or.th.
กลับหน้าสอนการใช้งาน