ผู้ใช้:Worawut pookanok/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองพันทหารม้าที่ 6

กองพันทหารม้าที่ 6 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สามารถสืบค้นประวัติได้ถึงปีพุทธศักราช 2443(ร.ศ.119)

ซึ่งตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) การจัดตั้งสมัยนั้นเป็นหน่วยทหารม้าระดับกองร้อย มีม้าเข้าประจำการเพียง 50 ตัว เป็นม้าไทยพื้นเมือง สูงประมาณ 1.18 เมตร ขึ้นตรงต่อ กรมทหารราบที่ 3 มณฑลทหารบกนครราชสีมา โดยมีพันเอก หม่อมเจ้าศรีไสยเฉลิมศักดิ์ เป็นผู้บัญชาการมณฑลทหารบกนครราชสีมา ในขณะนั้นมีที่ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองนครราชสีมา บริเวณสระวัง(สระพระพิเรนทร์) ทางทิศตะวันออกของวัดบูรณะ

การบรรจุกำลังพล ใช้การเกณฑ์ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพียงแห่งเดียว

โดยเจ้าหน้าที่ที่เรียกว่า "ข้าหลวงทหารบก"(สัสดีจังหวัด) ส่งบัญชีคนที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ตามบัญชีสำมะโนครัวเข้ามารับราชการ

เครื่องแต่งกายใช้เครื่องแบบปกติ หมวกทรงหม้อตาล กระบังหมวกเป็นหนังสีดำ อินทรธนูสีฟ้าหม่น(อินทรธนูใหญ่) ตามแถบอินทรธนูเป็นแถบสักหลาดสีแดงมีเลข 3 ทำด้วยโลหะสีทองติดอยู่ที่ปลายอินทรธนูทั้งสองข้าง เป็นเครื่องหมายบอกกรม กางเกงขายาวและขาสั้นแบบขี่ม้ารองเท้าหุ้มข้อ ประกอบกับสนับแข้งหนังสีดำ มีสายสะพายและกระเป๋ากระสุนเป็นหนัง

เครื่องแบบเต็มยศ สวมหมวกยอด(หมวกเอ็ลเหม็ด) ใช้อาวุธปืนแบบ 48 (ปืนมอลลิเตอร์) และดาบทหารม้า

21 ธันวาคม 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึง นครราชสีมา หลังจากนั้น ได้เสด็จเข้าไปในค่ายทหาร ทอดพระเนตรการแสดงของหน่วยทหารต่าง ๆ

ก่อนการแสดงบนหลังม้า การแปรขบวนกองร้อยทหารม้า ทั้งกองร้อยได้ควบม้าฮ่อเข้ามาหยุดแสดงความเคารพต่อหน้าที่ประทับ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ขอหน่วยทหารม้าหน่วยนี้เป็นหน่วยรักษาพระองค์ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่พระราชทานให้ เนื่องจากยังไม่เคยมีในจารีตประเพณีมาก่อน

การแปรสภาพหน่วย[แก้]

- พ.ศ.2443 "กองร้อยทหารม้า" ขึ้นตรงกรมทหารราบที่ 3 มณฑลทหารบกนครราชสีมา (ชื่อเดิม)

- พ.ศ.2445 ได้จัดตั้งหน่วยขึ้นใหม่ เป็น "กรมทหารม้าที่ 3" มีกำลังเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กองร้อยรวมเป็น 2 กองร้อย ขึ้นตรงต่อมณฑลทหารบกนครราชสีมา

- พ.ศ.2450 กรมยุทธนาธิการได้เปลี่ยนนาม กรมทหารม้าที่ 3 เป็น "กรมทหารม้าที่ 5" ขึ้นตรงต่อมณฑลทหารบกนครราชสีมาเหมือนเดิม

- พ.ศ.2458 เปลี่ยนเป็น "กรมทหารบกม้า ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ" (เป็นหน่วยในพระองค์หน่วยแรกของประเทศไทย) ขึ้นตรงต่อกองพลทหารราบที่ 5 มณฑลทหารบกนครราชสีมา

- พ.ศ.2459 เปลี่ยนเป็น "กรมทหารบกม้านครราชสีมา ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ" ย่อ(ม.น.ร.) ขึ้นตรงกรมทหารม้าที่ 2 (ตามคำสั่งกองทัพบกที่ 40/3777 ลง 29 พ.ค.59)

- พ.ศ.2470 เปลี่ยนเป็น "กองพันทหารม้าที่ 3 ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ" ขึ้นตรงต่อกรมทหารม้าที่ 2

- พ.ศ.2484 เปลี่ยนเป็น "กองพันทหารม้าที่ 3 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ"

- 24 ก.ค. 2495 เปลี่ยนเป็น "กองพันทหารม้าที่ 6 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ"

(ตามคำสั่งกองทัพบกที่ 90/12276)

- พ.ศ.2498 "ใช้ อจย. 95" พิเศษ (ตามคำสั่งกองทัพบกที่ 132/20 ลง 20 พ.ค.95)

- พ.ศ.2505 โอนการบังคับบัญชาจากกองทัพภาคที่ 2 "ไปขึ้นการบังคับบัญชากับกรมทหารม้าที่ 2 กองพลทหารม้า"

- พ.ศ.2520 โอนการบังคับบัญชาจากกรมทหารม้าที่ 2 "ไปขึ้นการบังคับบัญชากับกรมทหารม้าที่ 3" (ตามคำสั่งกองทัพบก(เฉพาะ)ที่ 6/20 ลง 6 ม.ค.20)

- พ.ศ.2522 กระทรวงกลาโหมได้อนุมัติ ให้เปลี่ยนคำย่อนามหน่วยจาก ม.3 พัน.6 เป็น "ม.พัน.6" (ตามคำสั่ง กพ.ทบ.ที่ กห.0315/6796 ลง 10 เม.ย.22)

- พ.ศ.2526 กองทัพบกได้จัดตั้งกรมทหารม้าที่ 6 ขึ้น และได้โอนการบังคับบัญชาจากกรมทหารม้าที่ 3 "มาขึ้นการบังคับบัญชากับกรมทหารม้าที่ 6" พิเศษ (ตามคำสั่งกองทัพบก(เฉพาะ)ที่ 35/26 ลง 3 ก.พ.26)

- พ.ศ.2532 แปรสภาพจากกองพันทหารม้า(อจย.17-25) "เป็นกองพันทหารม้ารถถัง(อจย.17-15)" โดยใช้ยุทโธปกรณ์หลักคือ รถถังเบา 32 (Commando Stingray)

- พ.ศ.2533 รับยุทโธปกรณ์หลัก คือ "รถถังเบา 32 (Commando Stingray)" จำนวน 51 คัน

- 16 ก.พ. 2561 รับยุทโธปกรณ์หลัก คือ "รถถังหลักแบบ 60 (VT4)" จำนวน 13 คัน ซึ่งเป็นรถถังที่ทันสมัยที่สุดของประเทศไทย ในปีนั้น

- 16 ก.พ. 2561 รับยุทโธปกรณ์หลัก คือ "รถถังหลักแบบ 60 (VT4)" จำนวน 13 คัน

- 28 ก.ย. 2561 รับรถถังหลักแบบ 60 (VT4) เพิ่มอีก 10 คัน รวม 20 คัน

- 31 มี.ค. 2563 รับรถถังหลักแบบ 60 (VT4) เพิ่มอีก 7 คัน รวม 30 คัน

การย้ายที่ตั้งหน่วย[แก้]

- พ.ศ.2443 ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองนครราชสีมา บริเวณสระวัง(สระพระพิเรนทร์) จ.นครราชสีมา

- พ.ศ.2446 ย้ายไป ต.โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา

- พ.ศ.2449 ย้ายไป ต.พุทธา อ.เมือง จ.นครราชสีมา (เกิดโรคระบาด ผบ.ร้อย เสียชีวิต)

- พ.ศ.2451 ย้ายกลับไป ต.โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา

- พ.ศ.2478 ย้ายไป จ.อุบลราชธานี แทนกองพันทหารราบที่ 21 และแยกกองทหารม้าที่ 5 ไปอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด

- พ.ศ.2485 ย้ายไป จ.ร้อยเอ็ด เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2

- พ.ศ.2492 ย้ายไป จ.นครราชสีมา(แทน ร.3 พัน.3) มีงานเลี้ยง"กองพันทหารม้าที่ 3 อนุสรณ์" เป็นงานอำลาอาลัยพี่น้องประชาชนชาว จ.ร้อยเอ็ดอย่างใหญ่โต 7 วัน 7 คืน

- 1 มี.ค. 2497 ย้ายเข้าตั้ง บ.ดอนหญ้านาง ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น

- พ.ศ.2499 กองทัพบกจัดตั้งจังหวัดทหารบกขอนแก่นขึ้น เป็นหน่วยสนับสนุนกองพันทหารม้าที่ 6 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ให้ผู้บังคับกองพันเป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอีกตำแหน่งหนึ่ง

- พ.ศ.2511 ได้รับพระราชทานนามที่ตั้งหน่วยว่า "ค่ายศรีพัชรินทร์" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งเคยดำรงพระยศเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกม้านครราชสีมา และให้สมพระเกียรติในฐานะที่หน่วยกองพันทหารม้าที่ 6 เป็นหน่วยในพระองค์(ลง 26 ธ.ค.11)

การก่อสร้างและปรับปรุงอาคารของหน่วย[แก้]

- พ.ศ.2516 ก่อสร้างอาคารโรงนอน ร้อย.บก., ร้อย.ถ.1, ร้อย.ถ.2 (ปัจจุบัน)

- พ.ศ.2518 ก่อสร้างอาคารโรงนอน ร้อย.ถ.3 (ปัจจุบัน)

- พ.ศ.2533 เปิดทำการอาคารกองบังคับการกองพันหลังใหม่

- พ.ศ.2533 ก่อสร้างโรงเก็บรถถังจุ 8 คัน 1 โรง(ร้อย.ถ.1) และโรงเก็บรถถังจุ 16 คัน 1 โรง(ร้อย.ถ.1)

- พ.ศ.2535 ก่อสร้างอาคารโรงรถถังจุ 16 คัน(ร้อย.ถ.2 และ3),โรงรถล้อ,คลัง สป.3 และคลัง สป.5 ขึ้นมารองรับยุทโธปกรณ์ใหม่ รถถังเบา 32 (Commando Stingray)

- 9 มิ.ย. 2538 เปิดทำการอาคารกองบังคับการกองพันหลังใหม่

- พ.ศ.2543 ซ่อมแซมอาคารกองบังคับการกองพันหลังเก่า และจัดทำเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด 100 ปี ม.พัน.6 เนื่องในโอกาสวันสถาปนาหน่วยครบรอบ 100 ปี

- พ.ศ.2543 จัดตั้งสหกรณ์กองพันทหารม้าที่ 6

- 14 ก.พ. 2545 กระทำพิธีเปิดอาคาร 100 ปี และเปิดป้ายสมาคมอดีตกำลังพลและผู้มีอุปการะคุณ ม.พัน.6

- 17 ธ.ค. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด พระราชานุสาวรีย์ "สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ"

- พ.ศ.2561 ก่อสร้างคลับเฮ้าส์ และปรับปรุงอาคาร 100 ปี

รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล[แก้]

- 27 มิ.ย. 2479 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล(รัชกาลที่ 8) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ,เจ้าพระยายมราช และพลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระราชทานธงชัยเฉลิมพลใหม่ ณ ท้องสนามหลวง โดยมี พันตรีหลวงจำรัสโรมรัน ผู้บังคับกองพัน เป็นผู้รับพระราชทาน

- 9 มี.ค. 2497 เชิญธงชัยเฉลิมพลจาก จ.นครราชสีมาเข้า จ.ขอนแก่น

- 8 พ.ย. 2549 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พระราชทานธงชัยเฉลิมพลผืนใหม่ เพื่อทดแทนผืนเดิมที่ชำรุด ณ สนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง โดยมี พันโท ฉกาจพงษ์ หงษ์ทอง ผู้บังคับกองพัน เป็นผู้เข้ารับพระราชทาน

เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหน่วย[แก้]

- 5 พ.ย. 2498 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสร็จเยี่ยมกองพันทหารม้าที่ 6 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ โดยมี พันโท พิศ ยังน้อย ผู้บังคับกองพัน และภริยา เฝ้าฯรับเสด็จ

- 28 ส.ค. 2521 เวลา 12.00 น. เมื่อครั้งยังทรงพระยศ พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเยี่ยมกองพันทหารม้าที่ 6 กรมทหารม้าที่ 3 โดยมี พันโท กมล สากุล ผู้บังคับกองพัน เฝ้ารับเสด็จ ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหน่วยทหาร ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

ตำแหน่งพิเศษ[แก้]

- 6 มี.ค. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารม้าที่ 5 แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระราชชนนี

- พ.ศ.2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณารับตำแหน่ง ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารบกม้านครราชสีมาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ต่อจาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

- พ.ศ.2465 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารบกม้านครราชสีมา 3 พระองค์ คือ จอมพลสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ,พลตรีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา และพันตรีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา(ต่อมาคือรัชกาลที่ 7)

การรับรางวัลที่สำคัญ[แก้]

- พ.ศ.2456 ได้ที่สุดท้าย การแข่งขันยิงปืน ได้รับโล่ทหารโบกธงยอมแพ้

- พ.ศ.2457 ได้ที่ 1 การแข่งขันยิงปืน ได้รับโล่ทหารยิงปืน

- พ.ศ.2458 ได้ที่ 1 การแข่งขันยิงปืน ได้รับโล่ทหารยิงปืน+ถ้วย+500บาท(จากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ)

- พ.ศ.2460 ได้ที่ 1 การแข่งขันยิงปืน ได้รับโล่หลวง+ถ้วย(สผ.)

- พ.ศ.2461 ได้ที่ 1 การแข่งขันยิงปืน ได้รับโล่หลวง+ถ้วย(สผ.)(เก็บไว้ที่วังพญาไท)

- พ.ศ.2462 ได้ที่ 1 การแข่งขันยิงปืน ได้รับโล่หลวง+กล่องหมาก(สผ.)

- พ.ศ.2464 ได้ที่ 1 การแข่งขันยิงปืน ได้รับโล่หลวงมาครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ (เก็บไว้ที่ หน่วย)

- พ.ศ.2479 ได้ที่ 1 การแข่งขันฟุตบอลระดับกองทัพภาคที่ 2

ถ้วยที่ระลึกการแสดงขี่ม้าและออกร้าน จากสถานฑูตฝรั่งเศส

รางวัลที่ 1 การประกวดร้านค้าฉลองรรมนูญมนูญ

- พ.ศ.2480 รางวัลที่ 1 ถ้วยเงินการออกร้าน และโล่ที่ระลึกอีกหนึ่งโล่

- พ.ศ.2481 ได้ที่ 1 การแข่งขันฟุตบอลระดับกองทัพภาคที่ 2

- พ.ศ.2482 โล่ที่ระลึกฉลองรัฐธรรมนูญ

- พ.ศ.2491 ชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลกับประชาชน จ.ร้อยเอ็ด

- พ.ศ.2562 รองชนะเลิศอันดับที่1 การแข่งขันกองทหารเกียรติยศ ระดับกองทัพภาคที่2

การเข้าร่วมพิธีที่สำคัญ[แก้]

- 25 ม.ค. 2534 ซึ่งเป็นวันกองทัพไทย กองพันทหารม้าที่ 6 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้นำรถถังเบา 32 (Commando Stingray) พร้อมด้วยยานยนต์ล้อเข้าร่วมใน "พิธีสวนสนามสาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพล" ณ บริเวณถนนหน้าศาลากลาง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เป็นการสวนสนามด้วยยานยนต์ ในการทำพิธีครั้งนั้น มีการประชาสัมพันธ์จากสื่อต่างๆเป็นอย่างมาก จึงสร้างความสนใจให้แก่ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ที่จะได้ชมการสวนสนามด้วยยานยนต์สายพานเป็นครั้งแรก

- 18 ม.ค. 2563 ซึ่งตรงกับวันกองทัพไทย ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ไปใน "พิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร-ตำรวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และวันกองทัพไทย" ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี โดยทุกเหล่าทัพได้นำยุทโธปกรณ์เกือบทุกแบบที่มีประจำการเข้าร่วม กองพันทหารม้าที่ 6 ในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้นำรถถังหลักแบบ 60(VT4) เข้าร่วมในพิธี จำนวน 8 คัน

รายนามผู้บังคับกองพัน[แก้]

ลำดับ รายพระนามและรายนาม พ.ศ.ที่ดำรงตำแหนง
1. ร.อ.​ขุน​ประยุทธ​อริ​ยั่น​ (วอน)​ 2443-2444​
2. พ.ต.หลวงศัลยวิทปรีชา 2444-2446
3. ร.อ.หลวงอรรคสรกิจ (วอน) 2446-2447
4. ร.อ.หลวงอาสรศิลป์ (ถั่ว) 2447-2450
5. ร.อ.หลวงอาจรรงค์ (ก๊อก ศรีเพ็ญ) 2451-2454
6. ร.อ.หลวงจัดขบวนพล (เลื่อน นัยยะแพทย์) 2455-2456
7. ร.อ.หลวงร่าเริงพล (เปลื่อง ดิสกะโยธิน) 2456-2460
8. พ.ต.พระแก้วกลางณรงค์ 2461-2462
9. พ.ต.หลวงโจมพินาศ (ทองคำ ไทยไชโย) 2463-2464
10. พ.ต.พระอาจณรงค์ 2464-2465
11. พ.ต.หลวงราบรัดสบัดพล (หนุน คฤหานนท์) 2465-2468
12. พ.ต.หลวงโจมพินาส (ทองคำ ไทยไชโย) 2469-2472
13. ร.อ.หลวงรณเร่งรบ (เยื้อ มาเร็ว) 2472-2473
14. พ.ต.หลวงประจนปัจจนึกพินาศ 2473-2474
15. พ.ต.หลวงเรืองฤิทธิ์พิชัย (พาด เรื่องฤทธิ์) 2474-2475
16. พ.ต.หลวงอาจณรงค์ 2476-2477
17. พ.ต.หลวงเรืองศักดิ์พิชัย 2477-2478
18. พ.ต.หลวงจำรัสโรมรัน 2478-2481
19. พ.ต.ขุนเจริญสุรไกร (เจริญ สุวรรณวิสูตร) 2481-2482
20. พ.ต.หลวงชำนาญจักรศิลป์ (อึ่ง คงศิลป์) 2482-2484
21. พ.ต.หลวงพิชิตโยธิน 2484-2485
22. พ.ต.หม่อมสุบรรณเสนีย์ 2485-2486
23. พ.ต.จรัญ เวทยานนท์ 2486-2489
24. พ.ต.ทวน ชื่นม่วง 2489-2490
25. พ.ต.จรูญ นาคหฤทัย 2491-2493
26. พ.ต.กิตติ หวังชนะ 2493-2494
27. พ.ท.ประพนธ์ กุลพิจตร 2500-2504
28. พ.ท.พิศ ยังน้อย 2497-2500
29. พ.ท.จิรศักดิ์์ ภูมิจิตร 2500-2504
30. พ.ท.อุดม อุณหเลขกะ 2504-2506
31. พ.ท.จรัญ ธีระเนตร 2506-2512
32. พ.ท.สาธร สุวรรณภา 2512-2516
33. พ.ท.ภัคดี อาจฤทธิ์ 2516-2518
34. พ.ท.กมล สาคุณ 2518-2524
35. พ.ท.ชัยวัฒน์ ทองปาน 2524-2527
36. พ.ท.ชูชัย สินไชย 2527-2533
37. พ.ท.ศรายุทธ สอนมูลปิ่น 2533-2536
38. พ.ท.จารุเกียรติ ชัยวงษ์ 2536-2538
39. พ.ท.มานพ อิทรแพทย์ 2538-2543
40. พ.ท.สมคิด ทับทิม 2543-2547
41. พ.ท.จุมพล จุมพลภัคดี 2547-2548
42. พ.ท.ฉกาจพงษ์ หงษ์ทอง 2548-2553
43. พ.ท.ณัฎฐาภูมิ นิกร 2553-2556
44. พ.ท.พยัคฆพล คุ้มแสง 2556-2557
45. พ.ท.สิทธิ์ศักดิ์ พรหมดิเรก 2557-2558
46. พ.ท.เอนก พรหมทา 2558-2561
47 พ.ท.บดินทร์ อุปสาร 2561-2561
48. พ.ท.อวยชัย เอกะกุล 2561-2563
49. พ.ท.จตุพงษ์ พลเสน 2563-2566
50. พ.ท.การุณ แจ้งถิ่นป่า 2566-ปัจจุบัน

บรรณานุกรม[แก้]

> กองพันทหารม้าที่ 6 ม.ป.ป. จดหมายเหตุ (2537 - 2546) ขอนแก่น

> กระทรวงกลาโหม 2443,[1]วันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหม 113 ปี

> บุษบงกช สาคุณ 2539 [2]อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ พลตรี กมล สาคุณ ปช.ปม.

> พันเอก ชูชัย สินไชย 2522 เกียรติประวัติการรบดีเด่น ร.อ.กมล สาคุณ ขอนแก่น

> พลตรี บัญชร ชวาลศิลป์ 2541 [3]ครบรอบ 111 ปี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

> พลตรี สาธร สุวรรณภา ม.ป.ป. [4]อนุสรณ์ผู้เสียสละเข้าค้อ

> พระตำหนักจิตรดารโหฐาน 2538 [5]เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับมีพระรูปเล่มที่ 1.

> ม.พัน.6 สผ. ม.ป.ป. รายงานผลการปฏิบัติยุทธการภูขวาง ม.ป.ท.

> เวสีนา เสนีวงศ์ฯ ม.ป.ป. [6]เสาวภาผ่องศรี

> วิลาวัณย์ สถิตย์วงศ์ ม.ป.ป. 72 ปี จอมสุรางค์อุปถัมภ์ ม.ป.ท.

> ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ม.ป.ป. [7]ลูกแก้วเมียขวัญ

> ส.พลายน้อย ม.ป.ป. [8]พระบรมราชินีนาถและเจ้าจอมมารดา

> สมคิด โชติกวณิชย์ 2538 [9]เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม ๒ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)

  1. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ จำกัด
  2. กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์
  3. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท มังกรการพิมพ์ (1994) จำกัด
  4. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์
  5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
  6. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค
  7. กรุงเทพฯ : มติชน
  8. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น
  9. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ