ผู้ใช้:Thanita Butsri/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศบรูไน[แก้]

ข้อมูลทั่วไปของประเทศบรูไน[แก้]

บรูไน (มลายู: Brunei) [1]หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (มลายู: Negara Brunei Darussalam) ประเทศบรูไนตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวทางตะวันตกเฉียงเหนือในทะเลจีนใต้ ซึ่งอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ ประเทศไทย โดยบรูไนมีพื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตทางทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือติดทะเลจีนใต้ มีความยาวชายฝั่ง 161 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีพรมแดนพื้นดินโดยรอบทางทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกติดกับรัฐซาราวะก์ สหพันธรัฐมาเลเซีย มีความยาว 381 กิโลเมตร[2]

ภูมิประเทศบรูไน

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบหุบเขา ดินแดนทางตะวันออกมีลักษณะขรุขระและสูงกว่าตะวันตก มีพื้นที่ราบอยู่ทางเหนือของประเทศ และมีภูเขาที่สูงที่สุด คือ ภูเขาปากอน(Pagon) สูง 1,821 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแม่น้ำที่สำคัญ 4 สาย คือ แม่น้ำเต็มบูรง แม่น้ำเบอไลท์ แม่น้ำบรูไน และแม่น้ำตูตง


สภาพภูมิอากาศ

ประเทศบรูไนยังมีสภาพภูมิอากาศที่เป็นเขตร้อน มีอุณหภูมิและความชื้นสูงและฝนตกเกือบตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 23-32 องศาเซลเซียส ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด[3]

สภาพการเมืองการปกครอง[แก้]

ระบอบการปกครอง[แก้]

ประเทศบรูไนปกครองด้วย 2 ระบบ
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์

สุลต่าน(Sultan) เป็นผู้ปกครองสูงสุด มีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี จึงทรงเป็นประมุขของรัฐ(Head of state) และทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภาที่ปรึกษามี 5 สภา ดังนี้

ก. สภาองมนตรี (Privy Council) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจในการพระราชอภัยโทษภาตใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์และแต่งตั้งตำแหน่งอันทรงเกียรติของประเทศ การแต่งตั้งองคมนตรี นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ในการประกาศแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ และสามารถแก้ไขหรือเพิกถอนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ข. สภาแห่งการสืบสันตติวงศ์ (Council of Succession) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับการสืบทอดพระราชบัลลังก์
ค. สภาศาสนา (Religious Council) หรือสภาศาสนาอิสลามแห่งบรูไน (the Brunei Islamic Religious Council - BIRC) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม และยังมีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องและดำเนินกิจกรรมทางศาสนาอิสลาม
ง. สภานิติบัญญัติ (Legislative Council) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกฎหมาย
ฉ. สภาคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารประเทศ[4]

รูปแบบรัฐ[แก้]

การปกครองของประเทศบรูไนเป็นการปกครองในรูปแบบรัฐเดี่ยว เช่นเดียวกับประเทศไทยและหลายประเทศในประชาคมอาเซียน แตกต่างกันคือเป็นรัฐเดี่ยวแบบรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) ในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน[5] โดยจะมีการสั่งการตามสายบังคับบัญชา หรือเป็นลำดับชั้น

โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน[6]

บรูไนมีการบริหารราชการแผ่นดินที่มีหน่วยการปกครอง 4 ระดับ คือ กระทรวง เขตการปกครอง (Daerah/District) ตำบล (Mukim) และหมู่บ้าน (Kampung)
  • กระทรวง

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ปัจจุบันมีกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน่วยงาน (Department) ดำเนินงานของกระทรวง หน่วยงานราชการมีรวมกันทั้งสิน 98 หน่วยงาน กระทรวงทั้ง 12 กระทรวง ได้แก่

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศและการค้า
  • กระทรวงการพัฒนา
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงวัฒนธรรม เยาวชน และกีฬา
  • กระทรวงศาสนา
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรพื้นฐาน

การบริหารงานกระทรวงต่างๆ แต่ละกระทรวงมีปลัดกระทรวง (Permanent Secretary) และรองปลัดกระทรวง (Deputy Permanent Secretary) เป็นหัวหน้าฝ่ายข้าราชการพลเรือน หน่วยงานในแต่ละกระทรวงก็มีผู้อำนวยการ (Director General) เป็นหัวหน้า

  • เขตการปกครอง (Daerah/District)[7]

ในภาษามาเลย์ เป็นหน่วยงานการปกครองระด่างจากกระทรวง แบ่งเป็น 4 เขตการปกครอง

เขตการปกครองของบรูไน
  1. เขตเบอไลต์ (Belait District)
  2. เขตบรูไน-มัวรา (Brunei-Muara District)
  3. เขตเติมบูรง (Temburong District)
  4. เขตตูตง (Tutong District)
  • ตำบล (Mukim/Ward)

หน่วยการปกครองระดับรองจากล่างสุด ในภาษามาเลย์เรียกว่า Mukim เทียบได้กับตำบลของประเทศไทย ผู้นำตำบล (Mukim) ในภาษามาเลย์เรียกว่า Penghulu Mukim เทียบได้กับกำนัน เป็นหน่วยการปกครองที่เชื่อมโยงเขตการปกครองกับหมู่บ้าน (Kampung)

  • หมู่บ้าน (Kampung/Villange)

หมู่บ้านเป็นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด ในภาษามาเลย์เรียกว่า Kampung หรือ Village ในภาษาอังกฤษ ผู้นำหมู่บ้านที่ของไทยเรียกว่า ผู้ใหญ่บ้าน ในภาษามาเลย์เรียก Ketua Kampung

ปรัชญาในการปกครองประเทศ[แก้]

ปรัชญาในการปกครองประเทศ[8]ที่เรียกว่า MIB: Melayu Islam Beraja หรือ มลายู อิสลาม พระมหากษัตริย์ เป็นแนวความคิดพื้นฐานของบรูไนนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของระบบสุลต่านในนครรัฐประมาณศตวรรษที่ 14 และได้นำมาเกี่ยวพันกับหลักกฎหมายของประเทศภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญครั้งแรกที่ได้มีการร่างขึ้นในปี 1959 โดยการเชื่อมโยงไปถึงภาษามาเลย์ที่ประกาศให้เป็นภาษาประจำชาติ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และการปกครองในระบบสุลต่านนับเป็นแนวทางการปกครองที่สำคัญที่สุดใช้ในการบริหารการจัดการของรัฐ ความสำคัญของ MIB ซึ่งสื่อถึงความหมายดังนี้

  • M: Malayu หรือ มลายู ซึ่งคำว่า "มลายู" ยังสามารถตีความถึงความเป็นชาวมลายูของชาวบรูไน มีสุลต่านชาวมลายูเป็นผู้ปกครองประเทศ มีวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมมลายูที่สืบถอดกันมา จนกลายเป็นอุดมคติของคนบรูไนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งวิถีแห่งคุณค่าวัฒนธรรมที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
-วัฒนธรรมมลายูถือเป็นวัฒนธรรมแห่งชาติและเป็นวิถีชีวิตที่ทรงคุณค่า
-ภาษามลายูเป็นความมั่นคงที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของความเป็นภาษาแห่งชาติ
-ศาสนาอิสลามเป็นวิถีที่ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของมลายูต้องยึดมั่นตั้ง
-ราชประเพณีเป็นระบบที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมมลายู
  • I: Islam หรือ อิสลาม คำว่า "อิสลาม" ในที่นี้หมายถึง ศาสนาที่อัลลอฮ์ได้ประทานให้ชาวมลายูบรูไนได้ยึดถือเป็นแบบแผนในการดำรงชีวิต ซึ่งคำว่า "อิสลาม" ในบริบทของบรูไนพอสรุปได้ดังนี้
-อิสลามเป็นศาสนาที่อัลลอฮ์ประทานให้
-การกระทำแต่ความดีเป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่มั่นคง อันเป็นรากฐานของอิสลาม
-อิสลามเป็นระบบปกครองที่รวมพระราชาและประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียว
  • B: Beraja คือ พระราชา หรือพระมหากษัตริย์ ในที่นี้หมายถึงระบบการปกครองที่มีองค์พระราชาธิบดีทรงเป็นประมุข

มลายู อิสลาม พระมหากษัตริยื หรือ MIB เมื่อถูกวางรากฐานทางความคิดแล้ว รวมทั้งเกิดผลในทางปฏิบัติ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในการปกครองดังนี้

-การปกครองที่มีความมั่นคง เสถียรภาพ
-ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติที่เป็นชาตินิยมมลายู-บรูไน เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน
-สามารถป้องกันประเทศจากอริราชศัตรูภายนอกได้ ซึ่งทำให้สามารถรักษาเอกราชของชาติเอาไว้
-การนำกฎหมายอิสลามมาใช้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทัศน์ของชาวมุสลิม
-การเปิดให้ใช้หลักการอิสลามอย่างเปิดกว้างในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงของชาติ


ระบบการปกครองท้องถิ่นปัจจุบัน[แก้]

รูปแบบการปกครองท้องถิ่น[แก้]

รูปแบบการปกครองท้องถิ่นมี 2 รูปแบบ คือ การปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองหรือชุมชนเมือง และการปกครองท้องถิ่นทั่วไป

การปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองหรือชุมชนเมือง[9] เขตเมืองหรือเขตชุมชนเมืองปกครองโดยเทศบาล มีคณะกรรมการเทศบาลเป็นผู้ดำเนินงาน สายบังคับบัญชาขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการนี้มาจากการแต่งตั้งโดยสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดี และพระองค์มีพระราชวินิจฉัยคัดเลือกข้าราชการหรือประชาชนทั่วไปด้วยพระองค์เอง และนายกเทศมนตรีและคณะกรรมการเทศบาลมีฐานะเป็นข้าราชการ คณะกรรมการเทศบาลมีหน้าที่ดูแลและจัดการบริหารกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เมืองหรือชุมชนเมืองมีสภาพเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม และมีสุขลักษณะที่ดี

โครงสร้างของเทศบาล แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เพื่อดำเนินงานตามภาระกิจที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่

  • ฝ่ายบริหาร
  • ฝ่ายการเงิน
  • ฝ่ายใบอนุญาต
  • ฝ่ายที่จอดรถ
  • ฝ่ายบำรุงรักษาและบริการ
  • ฝ่ายประเมินสภาพบ้านและอาคาร
  • ฝ่ายวางแผนและควบคุมการพัฒนาอาคาร
  • และฝ่ายซ่อมบำรุงและยานพาหนะ

การปกครองท้องถิ่นทั่วไป[10] ส่วนการปกครองท้องถิ่นทั่วไปเป็นการปกครองท้องถิ่นที่มีพัฒนาการมาจากรัฐจารีต มีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านรวมเป็นตำบล และขึ้นกับหน่วยการปกครองที่สูงขึ้นคือ เขตการปกครอง ผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนในหมู่บ้าน แล้วสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดีจะทรงพระราชวินิจฉัยแต่งตั้งเช่นกัน

ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของหน่วยการปกครอง[แก้]

การจัดแบ่งภารกิจและอำนาจหน้าที่ในการปกครองของประเทศบรูไนนั้น กิจกรรมส่วนใหญ่รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการโดยผ่านกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานของรัฐ เช่น การศึกษาดำเนินการโดยผ่านกระทรวงการศึกษาธิการ การสาธารณสุขดำเนินโดยกระทรวงสาธารณสุข สาธารณูปโภคดำเนินการโดยกระทรวงพัฒนาและกระทรวงคมนาคม เป็นต้น มีการกระจายหรือมอบหมายภารกิจที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนให้แก่ท้องถิ่นหรือตำบล (Mukim) และหมู่บ้าน (Kampung) ส่วนที่เป็นเขตชุมชนเมืองก็มอบหมายภารกิจที่เกี่ยวกับสุขอนามัยและการจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนเมืองให้แก่เทศบาล

การบริหารงานบุคคล[แก้]

ทั้งนายกเทศมนตรี คณะกรรมการเทศบาล กำนัน (Penghulu Mukim) คณะกรรมการที่ปรึกษาตำบล (Mukim Consultative Council) ผู้ใหญ่บ้าน (Ketua Kampung) และคณะกรรมการที่ปรึกษาหมู่บ้าน (Kampung Consultative Council) มีฐานะเป็นข้าราชการของรัฐ หรือข้าราชการในสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดี จึงอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้าราชการ และได้รับเงินเดือนตามที่กฏหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเทศบาล ฝ่ายบริหารของเทศบาลมีหน้าที่ดูแล ทั้งการจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนรายวัน การบรรจุบุคคลเข้ารับตำแหน่ง การทำประวัติการทำงานของเจ้าหน้าที่ และการจัดการสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่

ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและท้องถิ่น[แก้]

ระบบการบริหารราชการแผ่นดินของบรูไนเป็นแบบสายบังคับบัญชาตามลำดับขั้นจากบนลงล่าง การดำเนินงานส่วนหนึ่งเป็นการสั่งการตามลำดับชั้นลงมา อีกส่วนหนึ่งเป็นการริเริ่มของท้องถิ่น แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและท้องถิ่น คือ การกำกับดูแลและควบคุม

  • การตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่
  1. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (Public Service Commission)
  2. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (Audit Department)
  3. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต (Anti-Corruption Bureau)[11]

สรุป[แก้]

บรูไนไม่มีแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจการปกครองไปยังท้องถิ่น ในทางกลับกันรัฐก็ให้อิสระในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นมากขึ้น โดยอยู่ในกรอบของกฎหมายและหลักปรัชญา MIB (วิถีชีวิตแบบมาเลย์ ศาสนาอิสลาม และยึดมั่นในระบบกษัตริย์)[12]

บรรณานุกรม[แก้]

  1. [1]
  2. https://www.academia.edu/
  3. [หน้า13-16.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.,ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม,สำนักพิมพ์กรกนกการพิมพ์,47/111 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง นนทบุรี 11000],.
  4. [หน้า19-20.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: เนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210],.
  5. http://www.aseanthai.net/
  6. [หน้า23-28.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: เนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210],.
  7. [2], 2555,ธันวาคม 17.
  8. [[3]
  9. [หน้า33-35.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศเนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,พิมพ์ครั้งที่ 1,2556],.
  10. [หน้า.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศเนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,พิมพ์ครั้งที่ 1,2556],.
  11. [หน้า83-84.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.,ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม,สำนักพิมพ์กรกนกการพิมพ์,47/111 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง นนทบุรี 11000],.
  12. [หน้า79.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: เนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210],.