ผู้ใช้:Sasiwimol chaopratchayakul/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พัฒนาการของกฎหมายปกครอง[แก้]

เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน โดยกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่รวบรวมหลักเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐ (les pouvoirs publics) หรือระหว่างนิติบุคคลในกฎหมายหมาชน (les personal publics) กับเอกชน สามารถแบ่งกฎหมายมหาชนได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองโดยรัฐธรรมนูญ มีวัตถุประสงค์คือ วางระเบียบการปกครอง, การรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงต้องมรการแบ่งแยกอำนาจซึ่งแบ่งได้ดังนี้ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ สามอำนาจนี้เรียกว่าอำนาจอธิปไตย
สาเหตุที่ต้องมีกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้กับฝ่ายปกครอง ก็เพราะว่าฝ่ายปกครองดำเนินการโดยไม่หวังผลประโยชน์แต่ในขณะเดียวกันเอกชนนั้นดำเนินการโดยหวังผลตอบแทน เพราะฉะนั้นเพื่อความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
พัฒนาการของกฎหมายปกครองในประเทศไทย เริ่มต้นในสมัยกรุงสุโขทัย(พ.ศ.1781-1893) ไม่มีกฎเกณฑ์และกฎหมายเนื่องจากมีประชากรน้อย มีขนาดเล็กจึงใช้หลักการปกครองแบบบิดากับบุตร ด้านกฎหมายได้นำเอาหลักพระธรรมศาสตร์มาใช้กับหลักพระราชศาสตร์ กฎหมายที่ค้นพบในสมัยกรุงสุโขทัย ได้แก่กฎหมายเกี่ยวกับภาษี กฎหมายเกี่ยวกบการจับจองทรัพย์สิน กฎหมายเกี่ยวกับมรดก เป็นต้น ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.1893-1912) ทีการตรากฎหมาย 8 ฉบับ กฎหมายฉบับหนึ่งคือ พระอัยการอาญาหลวง พ.ศ.1895ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะความผิดและโทษของข้าราชการที่กระทำผิดต่อหน้าที่และวินัย กฎหมายลักาณะพยาน กฎหมายลักษณะลักพา กฎหมายลักษณะผัวเมีย ในส่วนของสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.2310-2325)มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปีจึงไม่ปรากฏการปรับปรุงกฎหมาย ในส่วนสุดท้ายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปีพ.ศ.2348 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการจัดหมวดหมู่และปรับปรุงงกฎหมายให้สอดคล้องกับความยุติธรรม พระราชกำหนด กฎหมายที่ชำระสะสางเสร็จแล้วนี้เรียกกันว่ากฎหมายตราสามดวง จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฎิรูปกฎหมายให้เป็นแบบตะวันตกเพื่อที่จะปรับปรุงสัมพันธ์กับปรเทศตะวันตก[1]

ที่มาของกฎหมายปกครอง[แก้]

รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มาสูงสุดของกฎหมายปกครองท้องถิ่น รัฐธรรมนูญมีเนื้อหาสำคัญคือ มีการวางระเบียบการปกครอง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนจึงไม่ได้บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐแต่ก็เป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพราะการปกครองท้องถิ่นต้องมาจากกระบวนการเลือกตั้งไม่ใช่การแต่งตั้ง ซึ่งแตกต่างจากการปกครองส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเหมือนกับการปกครองในระดับประเทศ
ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมักจะกำหนดกำหนดหลักการปกครองตนเองของท้องถิ่นเอาไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญของแต่ประเทศ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศลักเซมเบิร์ก ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเบลเยียม, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศฟินแลนด์

เหตุผลที่บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ[แก้]

เหตุผลที่บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ เราจะแบ่งเป็นสองสาเหตุ คือ เหตุผลของประเทศสหพันธรัฐ (เป็นการสร้างรัฐขึ้นมาใหม่โดยที่รัฐต่างๆ สละอำนาจอธิปไตยของตนให้กับรัฐที่สร้างขึ้นมาใหม่ เช่น สหพันธรัฐอเมริกา มีรัฐ 2 ระดับคือรัฐระดับบนที่สร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งมักจะเรียกกันว่ารัฐบาลหรือสหพันธรัฐ และรัฐระดับล่างได้แก่รัฐสมาชิกต่างๆ ที่เราเรียกกันว่ามลรัฐหรือรัฐ การปกครองถิ่นในรัฐรวมเป็นการบริหารจัดการกันเองภายในรัฐมากกว่าจะมาเกี่ยวข้องกับรัฐบาลกลางทำให้เห็นได้ชัดว่าโครงสร้างของสหพันธรัฐไม่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาลกลางเลย)มาจากเว็บระบบรัฐรวม (การปกครองท้องถิ่นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาลมลรัฐซึ่งแต่ละมลรัฐก็มีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของแต่ละท้องที่ ซึ่งทำให้การปกครองท้องถิ่นในสหพันธรัฐมีหลากหลายรูปแบบแต่หลักการสำคัญก็คือ รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐกำหนดหลักการปกครองไว้อย่างไรแต่ละมลรัฐก็จะต้องสอดคล้องไปกับรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐ ดังนั้นการปกครองท้องถิ่นในประเทศรัฐรวมจึงเป็นไปตามบทบัญญัติของมลรัฐนั้นๆซึ่งต้องสอดคล้องและอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ)มาจากนส.น.89 รัฐธรรมนูญของแต่ละมลรัฐมีหลักการ Home Rule ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลมลรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นตลอดจนกฎหมายของท้องถิ่นต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของมลรัฐนั้นๆ
[2] ลักษณะของ Home Rule มี 4 ประการ
1.หลักการของ Home Rule จะช่วยลดภาระการแทรกแซงจากฝ่ายนิติบัญญัติของมลรัฐ
2.เป็นการมอบอำนาจของมลรัฐนั้นๆให้แก่ประชาชนในการที่จะกำหนดรูปแบบการปกครองตนเอง
3.เป็นหลักการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระในการปกครองของมลรัฐ เป็นการกระจายอำนาจและยังช่วยลดปัญหาให้กับรัฐบาลมลรัฐ
4.ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโบายในส่วนการปกครองท้องถิ่นนั้นๆ และยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นต่อประโยชน์ของท้องถิ่นอีกด้วย
เหตุผลของประเทศรัฐเดี่ยว คือ การปกครองที่มีศูนย์รวมอำนาจอธิปไตยอยู่ที่เดียวมีรัฐบาล สภานิติบัญญัติ และศาลในระดับปรเทศเท่านั้นไม่มีการแบ่งแยกออกเป็น "รัฐ" หลายรัฐๆ ประเทศรัฐเดี่ยวมีการปกครองในรูปแบบรวมอำนาจไปสู่การกระจายอำนาจโดยที่รัฐบาลกลางได้มอบอำนาจการปกครองบางส่วนให้กับท้องถิ่นไปปกครองกันเอง เพื่อแบ่งเบาหน้าที่ของรัฐบาลกลางและเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น[3]

ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

มี 2 แบบก็คือ 1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ้่นที่มีลักษณะหรือองค์ประกอบเหมือนกันทั่วประเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปอาจจะมีหลายประเภทก็ได้ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปของประเทศไทยจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล(นคร/เมือง/ตำบล)และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งในแต่ละประเภทจะมีการกำหนดลักษณะหรือองค์ประกอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ คือจะมีกฎหมายกำหนดวิธีการในการจัดตั้ง รูปแบบการบริหารจัดการ อำนาจหน้าที่ วิธีการในการจัดทำบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การคลังและงบประมาณเป็นแบบแผนเดียวกันทั่วประเทศ
2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะหรือองค์ประกอบบางประการแตกต่างไปจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่ว ๆ ไป ความแตกต่างนี้สืบเนื่องมาจากลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ เอง เช่น เป็นท้องถิ่นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก เป็นท้องถิ่นที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หรือเป็นท้องถิ่นที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เป็นต้น ตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
สาระสำคัญของการปกครองท้องถิ่น มีดังนี้
1.มีรูปแบบหน่วยการปกครองตามความแตกต่างของความเจริญ ประชากร ขนาดพื้นที่ และวัฒนธรรม
2.มีอำนาจอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสม
3.มีสิทธิในการตรากฎหมายหรือข้อระเบียบบังคับในเขตพื้นที่ของตนและมีสิทธิในการกำหนดงบประมาณ
4.มีองค์ฝ่ายบริหารและองค์กรนิติบัญญัติ
5.ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของตน
[4]

กฎหมายปกครองท้องถิ่นที่ตราโดยรัฐสภา[แก้]

รัฐสภามีอำนาจในการตรากฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นในเรื่องที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ตัวอย่างของกฎหมายเกี่ยกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่
-กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของเทศบาล จังหวัด และภาค หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายกลางเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
-กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
-กฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งสรรอำนาจระหว่างเทศบาล จังหวัด ภาคและรัฐ
-กฎหมายเกี่ยวกับสถานะของข้าราชการส่วนท้องถิ่น การจัดการทำกฎหมายในรูปแบบประมวลกฎหมายท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์จัดขึ้นเพื่อรวบรวมพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพื้นฐานได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์บริหารส่วนตำบล, เทศบาล, กฎหมายการกระจายอำนาจหน้าที่และกฎหมายรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการรวบรวมจะช่วยให้การอ้างอิงข้อกฎหมายทำได้ง่ายขึ้นและเนื้อหาของกฎหมายมีความสอดคล้องกัน ในประเทศต่างๆก็มีกฎหมายที่ใกล้เคียงกับประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยโดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเทศฟิลิปปินส์มีกฎหมายที่ชื่อว่า "ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งฟิลิปปินส์ (The Local Goverment Code of The Philippines)" ประมวลกฎหมายฉบับบนี้ทำให้เกิดกระบวนการกระจายอำนาจขึ้น และอีกประเทศนึงก็คือ ประเทศญี่ปุ่น "กฎหมายว่าด้วยความเป็นอิสระของท้องถิ่น ค.ศ.1947(Local Autonomy Law Of 1947)" และประเทศสหราชอาณาจักร "พระราชบัญญัติว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค.ศ.2000(Local Goverment Act Of 2000)" มีสาระสำคัญที่เหมือนของประเทศไทยคือ รูปแบบการบริหารงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเงิน อำนาจหน้าที่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็คือ การรวมเอากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาไว้ในฉบับบเดียวกัน[5]

ที่มาของกฎหมายปกครองท้องถิ่นไทย[แก้]

ที่มาของกฎหมายปกครองท้องถิ่นมาจากหลายๆปัจจัย เช่น จารีตประเพณี, คำพิพากษาของศาล, หลักกฎหมายทั่วไป, หลักและทฤษฎีของนักกฎหมาย สำหรับกฎหมายปกครองจารีตประเพณีมีความสำคัญน้อยกว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายปกครองอาจจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ปัจจุบันกฎหมายปกครองท้องถิ่นมีที่มาจากกฎหมายที่ตราเป็นลายลักษณ์อักษร
กฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นที่มาที่สำคัญที่สุดของกฎหมายปกครองท้องถิ่นแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ 1.รัฐธรรมนูญ 2.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตราโดยรัฐสภา 3.กฎหมายลำดับรอง
วิวัฒนาการของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น การปกครองท้องถิ่นของไทยเกิดขึ้นก่อนมีรัฐธรรมนูญโดยความคิดริเริ่มในการให้ประชาชนปกครองตนเองในรูปของการปกครองท้องถิ่นปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาภายหลังการปฏิวัติ 2475 ประเทศไทยเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 หลังจากนั้นไทยมีรัฐธรรมนูยอีก 15 ฉบับ รวมจำนวนทั้งสิ้น 16 ฉบับ ในจำนวนดังกล่าวข้างต้นรัฐธรรมนูญบางฉบับก็มีบทบัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่น บางฉบับก็ไม่มีบทบัญญัติเรื่องนี้เลย รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย บัญญัติไว้ในมาตรา 36 ว่า"บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าของพลเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่ากฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรบตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ"
กลุ่มที่ 2 บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในท้องถิ่น ได้แก่ มาตรา 64 บัญญัติว่า"การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเทศบาลจะต้องไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงต้องช่วยเหลือให้ได้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามควร" มาตรา 72 บัญญัติว่า"รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงยอมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลรัฐ" มาตรา 73 บัญญัติ"การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่นจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างงๆ ในการศึกษาอบรมทุกระดับตามสมควร"
กลุ่มที่ 3 บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ในหมวดเอกเทศว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น 1.รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ปี พ.ศ.2540 มาตรา 282 ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชากรในท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกับการปกครองท้องถิ่น มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา สามารถจำแนกได้ดังนี้
1.กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496, พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542, พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537, พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528, พระราชบัญญัติเมืองพัทยา พ.ศ.2542
2.กฎหมายเกี่ยวกับการคลังและรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กฎหมายที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษี
3.กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542, พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพใหานคร พ.ศ.2538, พระราชบัญญัติบำเน็จบำนาญราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500(ฉบับแก้ไข), พระราชบัญญัติบำเน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหาคร พ.ศ.2516
4.กฎหมายที่ใช้ให้อำนาจประชาชนในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.กฎหมายที่ให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการต่างๆ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542, พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543, พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดจักรยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503, พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493, พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478, พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534, พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2505, พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526, พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528, พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2495, พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติการโรงแรม พุทธศักราช 2478
6.กฎหมายเกี่ยวกับการเลิือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบด้วย พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482, พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ.2482, พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531[6]

  1. ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์, กฎหมายการปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 3(กรุงเทพฯ:วิญญูชน, 2555), 30-42.
  2. สถาบันพระปกเกล้า/ผู้โพสต์/ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์/ระบบรัฐรวม ที่มา : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1 (สืบค้นวันที่ 8 เมษายน 2559)
  3. ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายการปกครองท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 1(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี, 2547), 89-91.
  4. สถาบันพระปกเกล้า/ผู้โพสต์/ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์/ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มา : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99 (สืบค้นวันที่ 8 เมษายน 2559)
  5. ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายการปกครองท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 1(กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท, 2550), 207
  6. ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายการปกครองท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 1(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี, 2547), 265-321.