ผู้ใช้:Pakawan kaewpratum/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองท้องถิ่นก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 (โดยย่อ)[แก้]

ในยุคของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีอำนาจสูงสุดในประเทศหรืออาณาจักรนั้นๆ จากหลักการแล้วจะต้องให้พระมหากษัตริย์ที่เป็นผู้กำหนดรูปแบบและกำหนดรูปแบบวิธีการปกครองเองรวมไปถึงการแบ่งอำนาจการปกครองอีกด้วยแต่ในความจริงนั้นเนื่องจากการที่ในสมัยก่อนการคมนาคม ยังพัฒนาไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่สามารถเข้าไปดูแลได้อย่างทั่วถึงทุกเมือง จึงต้องให้แต่ละเมืองปกครองตนเอง[1]


สมัยของสุโขทัย[แก้]

ซึ่งในส่วนของเมืองหลวงไม่ได้มีการการกระจายอำนาจโดยสมบูรณ์หรือจะเรียกว่าไม่มีการกระจายอำนาจเลยก็ได้แต่ส่วนของการกระจายอำนาจนั้นในสมัยของสุโขทัยนี้จะเป็นการที่ มีเมืองลูกหลวงเมืองหน้าด้านชั้นนอกและชั้นใน การมีเมืองประเทศราช ซึ่งเมืองต่างๆเหล่านี้จะเป็นเมืองที่มีการปกครองเป็นของตนเองบริหารราชการโดยตัวเองมีการพัฒนาด้วยตนเองเมืองหลวงไม่มีส่วนในการปกครองมากนัก ถึงแม้ว่าจะมีอำนาจในการปกครองตนเองได้ แต่ก็ต้องส่งส่วยอากรไปให้แก่เมืองหลวงอีก แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นได้โดยสมบูรณ์[2]

ในสมัยสุโขทัยนั้น การปกครองในสมัยสุโขทัยจึงมีลักษณะการปกครองที่เจ้าเมืองหรือพระราชาจะอยู่เหนือไพร่ฟ้าประชาชนโดยจะเรียกพระราชาว่า“พ่อขุน”เพราะว่าพ่อขุนมีหน้าที่ในการคุ้มครองให้คำสั่งสอนดูแลประชานชนจนเป็นคำเรียกเฉพาะของการปกครองลักษณะนี้ว่า “การปกครองแบบพ่อปกครองลูก”(paternalism) แต่ถึงจะมีอำนาจเหนือกว่าประชาชนเพียงใด สมเด็จพระยากรมดำรงราชานุภาพ ได้ทรงมีปาฐกถาเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะของการปกครองของสยามในสมัยโบราณว่า “การปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น ยกย่องนับถือพระราชาหรือพระเจ้าแผ่นดินของตนดังเช่นบิดาของบวงชนทั้งปวง วิธีการปกครองนั้นนำเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติเป็นต้น บิดาปกครองหลายๆครัวเรือนจึงเป็นบ้าน ซึ่งอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน และผู้ถูกปกครองหรืออยู่ภายใต้การปกครองจะเรียกว่าลูกบ้าน หลายๆบ้านจะอยู่ภายใต้การปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นเจ้าเมืองของประเทศราช[3] ในยุคนี้ถึงจะมีการกระจายอำนาจแต่ก็ไม่ใช่การปกครองท้องถิ่นอยู่ดี

สมัยอยุธยา[แก้]

ในสมัยอยุธยา มีรูปแบบการปกครองที่รวมอำนาจสู่ส่วนกลางมากขึ้น แต่หน่วยการปกครองอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ตำบล แขวง หรือเมือง ก็ยังมีอิสระในการทำกิจกรรมอยู่เช่นกัน[4] แต่ในสมัยอยุธยาจะแตกต่างจากในสมัยสุโขทัยตรงที่สุโขทัยปกครองนั้นพระราชาจะปกครองเสมือนพ่อปกครองลูกแต่ในสมัยอยุธยานั้นพระราชาจะเปรียบดังสมมุติเทพซึ่งเป็นอิทธิพลด้านการปกครองจากขอมและอินเดียซึ่งจะมีอำนาจเหนือทุกคนในแผ่นดิน ซึ่งการปกครองแบบนี้จะเรียกว่าการปกครองแบบ “สมบูรณาญาสิทธิ- ราชย์”ซึ่งพระราชาจะมีอำนาจเต็มทั้งกฎหมายและการเมืองการปกครอง ได้นำจตุสดมภ์แบบสุโขทัยมาใช้ มีการยกเลิกเมืองหน้าด้านและแบ่งเป็น หัวเมืองชั้นนอกและชั้นใน ซึ่งในส่วนของหัวเมืองชั้นในนั้นพระราชาจะบริหารราชการเอง ผู้ปกครองมีฐานะเป็น “ผู้รั้ง” ต่างจากสุโขทัยที่เป็นเจ้าเมือง และหัวเมืองชั้นนอกในให้เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนมีอำนาจเด็ดขาด แต่ในสมัยนี้ก็ยังไม่ปรากฏการปกครองท้องถิ่นที่ชัดเจน[5]


สมัยธนบุรี[แก้]

การปกครองสมัยธนบุรี ยังมีการใช้รูปแบบการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต่างๆยังคงใช้รูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาเพราะตลอดสมัยของกรุงธนบุรีมีการรบตลอดเกือบทั้งสมัย จึงไม่ได้มีการบำรุงพัฒนาการปกครองหรือพัฒนาประเทศ[6]

ยุครัตนโกสินทร์[แก้]

เมื่อเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศไทยได้จัดรูปแบบการปกครองอย่างมีแบบแผนมากขึ้น โดยได้พึงพาแนวทางในสมัยพระบรมไตรโลกนาถที่ได้เคยวางไว้ด้วย แต่หัวเมืองหรือแคว้นต่างๆก็ยังมีอำนาจในการปกครองตัวเองอยู่ การเปลี่ยน แปลงการปกครองที่สำคัญที่มีผลต่อการปกครองท้องถิ่นได้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ได้เปลี่ยนและจัดการรูปแบบการปกครองใหม่ ที่มีรูปแบบคล้ายกับจัดการระเบียบบริหารราชการในปัจจุบัน คือการแบ่งพื้นที่การปกครองต่างๆออกเป็น มณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หรือเรียกได้ว่าเป็นการจัดระเบียบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล และได้แต่งตั้งให้ข้าราชการชั้นสูงมาปกครองมณฑลต่างๆโดยถือเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการที่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน แต่ก็ยังเป็นการปกครองที่ถูกส่วนกลางควบคุมอยู่ และยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการปกครองท้องถิ่นมากนัก[7]

โดยหลังจากการที่รัชกาลที่ 5 ทรงได้ปรับปรุงรูปแบบการบริหารราชการแล้วนั้น พระองค์ก็ทรงให้ความสนใจและได้เริ่มต้นให้มีการปกครองท้องถิ่นขึ้นในประเทศไทย โดยวิธีการกระจายอำนาจบางส่วนจากส่วนกลางไปให้ท้องถิ่นเพื่อสามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ด้วยตัวเองได้ซึ่งพระองค์ทรงเห็นตัวอย่างรูปแบบการปกครองท้องถิ่นจากแหลมมลายยู ซึ่งตอนนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่[8]

โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯในปี พ.ศ.2440 (ร.ศ. 116)โดยรัชกาลที่ 5ทรงโปรดให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ มีเป้าหมาย คือ การป้องกันการระบาดของโรค และเน้นการบำรุงรักษาบ้านเมืองให้สะอาด และจัดการบ้านเมืองให้มีระเบียบ แต่ในทางปฏิบัติแล้วสุขาภิบาลกรุงเทพฯก็ยังไม่สามารถนับได้ว่าเป็นการปกครองท้องถิ่นที่ชัดเจนมากนัก เพราะขาดสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อมาในปีพ.ศ.2448 ได้มีการจัดตั้งการปกครองท้องถิ่นที่ราษฎรมีส่วนร่วมในการบริหารครั้งแรกในประเทศไทยขึ้นใน ตำบล ท่าฉลอม เนื่องจาก การที่ชาวบ้านต้องเรี่ยไรเงินเพื่อจัดทำถนนในตลาดและหางบประมาณในการกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆในตำบลและเห็นว่าต้องมีการเรี่ยไรต่อไปเรื่อยๆเพราะจำเป็นต้องมีเงินทุน รัชกาลที่ 5 ทรงทราบเรื่องราวต่างๆ ทรงเห็นถึงความสำคัญและได้อนุญาตให้จัดตั้งการปกครองท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อสุขาภิบาลท่าฉลอมดำเนินไปได้อย่างดี พระองค์จึงให้ตราพ.ร.บ.จัดการสุขาภิบาลตำบลหัวเมืองในปี พ.ศ. 2451 เพื่อขยายรูปแบบการปกครองท้องถิ่นให้แพร่หลายมากขึ้น โดยการแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลสำหรับเมือง และสุขาภิบาลสำหรับตำบล สำหรับคณะกรรมการสุขาภิบาลท้องที่ จะประกอบด้วยกำนันนายตำบล เป็นประธาน และผู้ใหญ่บ้านในเขตท้องที่เป็นกรรมการ[9]

ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการครองประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ทรงได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของแผ่นดินให้เป็นแบบเทศบาล และได้จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาระบบเทศบาลต่างประเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2470 และจัดตั้งคณะกรรมการร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งเทศบาลขึ้น แต่ยังไม่ทำการดำเนินการก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองก่อน[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปภาวดี ดุลยจินดา. และคณะ (2528). เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารราชการไทย ชุดที่ 1-8 (หน้า 432).
  2. รังสรรค์ ประเสริฐศรี และ คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการบริหารราชการไทย. (2528). เอกสารการสอนชุดวิชา บริหารราชการไทย. ชุดที่ 9-15 (หน้า 121).
  3. ดร.พิเศศ บรูณะสมบัติ(2547).ประวัติศาสตร์การปกครองของไทย(ตั้งแต่เริ่มแรกถึงเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยพ.ศ.2475) (หน้า37)
  4. ปภาวดี ดุลยจินดา. และคณะ (2528). เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารราชการไทย ชุดที่ 1-8 (หน้า 433).
  5. รังสรรค์ ประเสริฐศรี และ คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการบริหารราชการไทย. (2528). เอกสารการสอนชุดวิชา บริหารราชการไทย. ชุดที่ 9-15 (หน้า 122).
  6. ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. (หน้า 32).
  7. ปภาวดี ดุลยจินดา. และคณะ (2528). เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารราชการไทย ชุดที่ 1-8 (หน้า 433).
  8. ประหยัด หงส์ทองคำ. (2523).การปกครองท้องถิ่นไทย.(หน้า38)
  9. รังสรรค์ ประเสริฐศรี และ คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการบริหารราชการไทย. (2528). เอกสารการสอนชุดวิชา บริหารราชการไทย. ชุดที่ 9- 15 (หน้า 124).
  10. รังสรรค์ ประเสริฐศรี และ คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการบริหารราชการไทย. (2528). เอกสารการสอนชุดวิชา บริหารราชการไทย. ชุดที่ 9- 15 (หน้า 434).