ผู้ใช้:NELLA32/การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2554

← 2553
2555 →

จำนวนทั้งสิ้น 14 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง
  Third party
 
พรรค ไม่สังกัดพรรคใด
จำนวนจังหวัดที่ชนะ 4 1 2

แผนที่แสดงการเลือกตั้งนายก อบจ. ใน พ.ศ. 2554
     มีการเลือกตั้ง      ไม่มีการเลือกตั้ง

ไฟล์:POA 54 with party.svg
แผนที่แสดงพรรคที่ผู้ชนะการเลือกตั้งสังกัด
     ประชาธิปัตย์      เพื่อไทย
     ไม่สังกัดพรรค      ไม่มีการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ที่จัดขึ้นภายในช่วงปี พ.ศ. 2554 จำนวน 14 จังหวัด โดยเป็นการเลือกตั้งแทนนายก อบจ. ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ แม่ฮ่องสอน ระยอง สมุทรปราการ, แทนนายก อบจ. ที่ลาออกก่อนครบวาระ 9 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา นครปฐม พะเยา มหาสารคาม ราชบุรี เลย สมุทรสงคราม สุโขทัย อ่างทอง, และแทนนายก อบจ. ที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง 1 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี

การเลือกตั้ง[แก้]

สมุทรปราการ[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 หลังจากการสิ่นสุดวาระของ อํานวย รัศมิทัต อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ทั้งสิ้น 5 หมายเลข

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 54.96 ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม (1) 157,577 36.92 ใหม่
อิสระ อำนวย รัศมิทัต (2) 148,717 34.84 N/A
อิสระ ภัทรวดี อภิเด่นนภาลัย (4) 114,218 26.76 ใหม่
อิสระ ธนภณ คารมปราชญ์ (3) 4,138 0.97 ใหม่
อิสระ ธนภัท ธัญธนพัต (5) 2,186 0.51 ใหม่
ผลรวม 426,836 100.00
บัตรดี 426,836 91.58
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 28,060 6.02
บัตรเสีย 11,208 2.40
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 466,104 54.96
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 848,111 100.00

ฉะเชิงเทรา[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 หลังจากการลาออกก่อนครบวาระของ กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 54.49 ผู้สมัครหมายเลข 1 กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุด เข้าดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นสมัยที่ 4[1]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ (1) 131,547 54.69 N/A
อิสระ สมศักดิ์ ภู่พนมภูมิ (2) 108,964 45.31 N/A
ผลรวม 240,511 100.00
บัตรดี 240,511 89.70
ไม่ประสงค์ลงคะแนน N/A
บัตรเสีย N/A
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 268,130 54.49
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 492,099 100.00

17 กรกฎาคม: นครปฐม[แก้]

มหาสารคาม[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากการลาออกจากตำแหน่งของ ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เพื่อไปลงสมัครชิงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมหาสารคาม เขต 5 ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 58.60 คมคาย อุดรพิมพ์ ภรรยาของ ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ผู้สมัครสังกัดพรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง[2]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ภูมิใจไทย คมคาย อุดรพิมพ์ (4) 205,918 51.77 ใหม่
เพื่อไทย ชนาวีร์ เจริญศิริ (1) 183,341 46.10 ใหม่
อิสระ มาณิศ พิมพ์ดี (2) 4,410 1.11 ใหม่
ผลรวม 397,738 100.00
บัตรดี 397,738 87.46
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,451 1.58
บัตรเสีย 4,418 1.08
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 408,607 58.60
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 697,237 100.00

ราชบุรี[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากการลาออกก่อนครบวาระของ วันชัย ธีระสัตยกุล อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีคนล่าสุด เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 42.61 วันชัย ธีระสัตยกุล ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีเป็นสมัยที่ 3[3]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ วันชัย ธีระสัตยกุล (2) 151,746 66.84 N/A
อิสระ กล้าหาญ เจริญธรรม (2) 55,927 24.63
อิสระ สมบัติ ปานสุวรรณ (1) 19,355 8.53
ผลรวม 227,028 100.00
บัตรดี 227,028 88.77
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 23,056 8.81
บัตรเสีย 11,568 4.42
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 261,625 42.61
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 614,031 100.00

สุโขทัย[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สืบเนื่องจากการลาออกก่อนครบวาระของ มนู พุกประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งนายก อบจ.สุโขทัย ครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 5 คน ได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 1 สมเกียรติ ลิมปะพันธุ์ อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองสวรรคโลก, ผู้สมัครหมายเลข 2 มานะ รุ่งสว่าง, ผู้สมัครหมายเลข 3 ฐิตินันท์ ทรัพท์เรืองทอง, ผู้สมัครหมายเลข 4 อุทน เพ็ชรปลูก, และผู้สมัครหมายเลข 5 พรรณสิริ กุลนาถศิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในคณะรัฐมนตรีที่ 59 น้องสาวของ สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา พรรคภูมิใจไทย[4][5]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 57.94 พรรณสิริ กุลนาถศิริ ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัยเป็นคนที่ 5[6]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ พรรณสิริ กุลนาถศิริ (5) 143,585 57.82 ใหม่
อิสระ สมเกียรติ ลิมปะพันธุ์ (1) 99,591 40.10 ใหม่
อิสระ มานะ รุ่งสว่าง (2) 2,263 0.91 ใหม่
อิสระ อุทน เพ็ชรปลูก (4) 1,973 0.79 ใหม่
อิสระ ฐิตินันท์ ทรัพท์เรืองทอง (3) 936 0.38 ใหม่
ผลรวม 248,348 100.00
บัตรดี 248,348 94.73
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 8,342 3.18
บัตรเสีย 5,474 2.09
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 262,164 57.94
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 452,475 100.00

สมุทรสงคราม[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากการลาออกก่อนครบวาระของ โยธิน ตันประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 1 กันตินันท์ สิริพนิตนันท์, ผู้สมัครหมายเลข 2 โยธิน ตันประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงครามคนล่าสุด และผู้สมัครหมายเลข 3 พิสิฐ เสือสมิง

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 53 โดยประมาณ ผู้สมัครหมายเลข 3 พิสิฐ เสือสมิง ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด[7]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ พิสิฐ เสือสมิง (3) 39,529 54.98 N/A
อิสระ โยธิน ตันประเสริฐ (2) 30,667 42.65 N/A
อิสระ กันตินันท์ สิริพนิตนันท์ (1) 1,704 2.37 ใหม่
ผลรวม 71,900 100.00
บัตรดี 71,900 93.99
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 2,623 3.43
บัตรเสีย 1,975 2.58
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 76,498 *53.00
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง *144,336 100.00

*เป็นค่าคำนวณโดยประมาณจากแหล่งอ้างอิง

ลพบุรี[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังจากการเสียชีวิตของ สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ที่ถูกฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554[8]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 52.11 อรพิน จิระพันธุ์วาณิช ภรรยาของ สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรีคนถัดไป[9]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ อรพิน จิระพันธุ์วาณิช (5) 209,782 74.36 ใหม่
อิสระ รังสรรค์ เซี๊ยะสกุล (3) 64,029 22.70 ใหม่
อิสระ ชินพัฒน์ ภูมิโพธิ์ทอง (1) 4,056 1.44 ใหม่
อิสระ พิมลวรรณ นารถนรกิจ (2) 4,138 0.52 ใหม่
อิสระ ขาคิต บุญมา (4) 1,425 0.51 ใหม่
อิสระ ชูโชค เจริญผล (6) 1,337 0.47 ใหม่
ผลรวม 282,109 100.00
บัตรดี 282,109 94.44
ไม่ประสงค์ลงคะแนน N/A
บัตรเสีย N/A
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 298,705 52.11
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 573,200 100.00

เลย[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังจากการลาออกก่อนครบวาระของ ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย โดยมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้จำนวน 3 คน

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 65.73 ผู้สมัครหมายเลข 1 ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด[10][11]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ (1) 175,186 61.81
เพื่อไทย ธวัชชัย ศรีภูมิสวัสดิ์ (2) 74,647 26.34 ใหม่
อิสระ จีระศักดิ์ น้อยก่ำ (3) 33,616 11.86 ใหม่
ผลรวม 283,449 100.00
บัตรดี 283,449 94.80
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 7,368 2.46
บัตรเสีย 8,175 2.73
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 298,992 65.73
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 454,846 100.00

ระยอง[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554[12]

ปิยะ ปิตุเตชะ 1 พณาเจือเพ็ชร์ กฤษณะราช 2

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ ปิยะ ปิตุเตชะ (2) ' ' N/A
อิสระ พณาเจือเพ็ชร์ กฤษณะราช (1) ใหม่
ผลรวม 100.00
บัตรดี
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
บัตรเสีย
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 100.00

พะเยา[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สืบเนื่องจากการลาออกก่อนครบวาระของ ไพรัตน์ ตันบรรจง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถึง 2554 การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 3 คน[13][14]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 65.77 วรวิทย์ บุรณศิริ ผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด[15][16]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2554
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย วรวิทย์ บุรณศิริ (1) 136,480 61.73 ใหม่
อิสระ ไพรัตน์ ตันบรรจง (2) 80,909 36.59 N/A
อิสระ จิรโรจน์ กีรติศักดิ์วรกุล (3) 3,711 1.68 ใหม่
ผลรวม 221,100 100.00
บัตรดี 221,100 89.99
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 14,913 6.07
บัตรเสีย 9,687 3.94
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 245,700 65.77
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 373,547 100.00

แม่ฮ่องสอน[แก้]

แพร่[แก้]

อ่างทอง[แก้]

สมุทรปราการ 22 พ.ค. 2554

ฉะเชิงเทรา 12 มิ.ย. 2554

สุโขทัย นครปฐม มหาสารคาม ราชบุรี 17 ก.ค.2554

สมุทรสงคราม 31 ก.ค. 54

เลย ลพบุรี 7 ส.ค. 54

ระยอง 21 สิงหาคม 2554

พะเยา 7 พ.ย. 54

แม่ฮ่องสอน ??

แพร่ 14กย-4 พย ??

อ่างทอง ??

อ้างอิง[แก้]

  1. "'กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์'ชนะนายกอบจ.ฉะเชิงเทรา". www.thairath.co.th. 2011-06-13.
  2. "เด็กภูมิใจไทยคว้าเก้าอี้นายก อบจ.มหาสารคาม". mgronline.com. 2011-07-19.
  3. Ph.d, Suchart Chantrawong (18 กรกฎาคม 2011). "การเมือง การปกครอง จ.ราชบุรี: ผลการเลือกตั้ง นายก อบจ. และ สจ.ราชบุรี วันอาทิตย์ที่ 17 ก.ค.2554". การเมือง การปกครอง จ.ราชบุรี.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ""ลิมปะพันธ์-เทพสุทิน" ส่งคนชิงเก้าอี้นายก อบจ.สุโขทัยคึกคัก". mgronline.com. 2011-06-13.
  5. ""พรรณสิริ" ลาออก รมช.สธ.หวังชิงนายก อบจ.สุโขทัย ปัดปูทางพี่ชายกลับมา". mgronline.com. 2011-06-07.
  6. "น้อง "สมศักดิ์" ยึดนายก อบจ.สุโขทัยต่อหลังพี่เมียลาลง ส.ส." mgronline.com. 2011-07-18.
  7. ปรีชา หยั่งทะเล (31 กรกฎาคม 2011). "'โยธิน'พ่ายเลือกตั้งนายกอบจ.สมุทรสงคราม บทเรียนราคาแพงจากการลาออกก่อนครบวาระ" (PDF). หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "เด็ดหัวนายกเจี๊ยบ เด็กเนวิน การเมืองฆ่าเดือด". www.thairath.co.th. 2011-06-17.
  9. "ผลการเลือกตั้งนายกอบจ.ลพบุรีคนใหม่ - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  10. "ภาพ ผลคะแนนเลือกตั้ง นายก อบจ. จังหวัดเลย". BlogGang.com (ภาษาอังกฤษ).
  11. "พท.หนุนผู้สมัคร อบจ.เลย 2 คน ทำคนงง". kapook.com. 2011-07-16.
  12. "พณาเจือเพ็ชร์ลงชิงเก้าอี้นายก อบจ.ระยอง". mgronline.com. 2011-07-18.
  13. ""แดงชนแดง" ชิงนายก อบจ.พะเยา หลังคนเสื้อแดงหนุน 2 ตัวเต็ง". mgronline.com. 2011-09-26.
  14. "phayaorath77 by phayaorath phayaoforum - Issuu". issuu.com (ภาษาอังกฤษ).
  15. วรวิทย์ บุรณศิริ (9 ธันวาคม 2011). "คำแถลงนโยบาย ของ นายวรวิทย์ บุรณศิริ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา แถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "phayaorath78 by phayaorath phayaoforum - Issuu". issuu.com (ภาษาอังกฤษ).