ผู้ใช้:NATTHANICHA/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองท้องถิ่นสาธารณรัฐประชาชนจีน

ประวัติความเป็นมาของการปกครองท้องถิ่น[แก้]

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีภูมิหลังประวัติศาสตร์อันยาวนานมาหลายพันปี[1] ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียและใหญ่ที่สุดของโลกรองจากประเทศรัสเซีย[2] มีอารยธรรมมาตั้งแต่สมัยอดีตและเต็มไปด้วยจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการเมือง สังคมและวัฒนธรรม การปกครองท้องถิ่นจีน(Chinese Local Government) ได้พัฒนาการมาตั้งแต่ก่อนที่จีนจะเข้าสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อ2,200ปีก่อนแล้ว โดยภายหลังจากนั้นการเมืองการปกครองท้องถิ่นจีนก็ปรับเปลี่ยนไปเป็นระยะแล้วแต่สภาพการเมืองและสังคมของจีนในแต่ละราชวงศ์และแต่ละยุคสมัยนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่แต่ละราชวงศ์ยึดครองว่ามีขนาดกว้างขวางเพียงใด โดยเมื่อเกิดภาวะแตกแยกทางการเมืองในบางยุคสมัยพื้นที่ของความเป็นรัฐก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน ครั้นเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดอำนาจการปกครองท้องถิ่นได้สำเร็จในปี 1949[3] พรรคการเมืองนี้จึงยังคงรูปแบบของหน่วยการปกครองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่เดิมเอาไว้เป็นส่วนใหญ่ จะปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงบ้างเป็นเพียงส่วนน้อย แต่สิ่งที่ถือเป็นเรื่องใหม่ของการเมืองการปกครองท้องถิ่นจีน คือการรับเอารูปแบบการบริหารจัดการจากอดีตสหภาพโซเวียตมาปรับใช้ด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ การที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเปลี่ยนยุทธศาสตร์การปฏิวัติของตนนั้นเหตุผลแรกคือเพื่อความอยู่รอดของตนเอง เหตุผลต่อมา คือเพื่อหวังผลในชัยชนะจากการยึดอำนาจการปกครอง แต่ทว่าผลที่ตามมาอีกประการหนึ่งซึ่งอาจไม่ได้อยู่ในยุทธศาสตร์ที่ว่าเลยก็คือการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการท้องถิ่นไปด้วยและได้เป็นพื้นฐานสำคัญของการเมืองการปกครองท้องถิ่นในเวลาต่อมาอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้ กล่าวคือหลังจากปี 1953 ไปแล้ว พื้นฐานดังกล่าวค่อยๆเกิดขึ้นจากการผ่านเหตุการณ์ประสบการณ์ต่างๆในอดีต เช่น สงครามจีน-ญี่ปุ่น สงครามการเมือง ในสถานการณ์หลังปี 1949 ก่อนที่จีนจะเข้าสู่ยุปฏิรูปและเปิดประเทศหลังปี 1978 อันเป็นผลให้การเมืองการปกครองท้องถิ่นของจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน

โครงสร้างการบริหารระดับท้องถิ่น[แก้]

เขตการปกครองทั่วไป[แก้]

ซึ่งรวมเอาเขตชนบทและเขตเมืองเข้าไว้ด้วยกันปัจจุบันแบ่งหน่วยการปกครองของเขตการปกครองทั่วไปจะเป็นไป ดังนี้

มณฑล[แก้]

ถือเป็นการปกครองระดับที่1เป็นศูนย์กลางอำนาจของท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ มณฑลจะมีรูปแบบที่ต่างไปจากรัฐบาลท้องถิ่นอื่นๆในแง่ที่เป็นหน่วยปกครองเขตแดนพื้นฐานของท้องถิ่นโดยจะมีบทบาทความสัมพันธ์กับชนชาติพันธุ์และการตรวจสอบที่ค่อนข้างน้อยอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้ แต่จะมีหน้าที่กำกับดูแลเขตแดนของตนและชีวิตความเป็นอยู่ในเขตแดนมากกว่า

จังหวัด[แก้]

เป็นหนึ่งในหน่วยปกครองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่การบริหารระดับมณฑล และเป็นหน่วยที่ขึ้นตรงต่อมณฑล

อำเภอ[แก้]

เป็นหน่วยการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดในการปกครองของชนบทจีนโดยตรง

ตำบล(เซียง)[แก้]

เป็นหน่วยปกครองพื้นฐานที่เป็นตัวแทนของรัฐ ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารชนบทและชาวชนบทและเป็นเพียงหน่วยปกครองขนาดเล็กที่ขึ้นต่อรัฐเท่านั้น

ตำบลชนชาติ[แก้]

ตำบลชนชาตินั้นมีฐานะเทียบเท่ากับตำบลแต่แตกต่างตรงที่มีคนชนชาติพันธุ์อื่นอาศัยอยู่

เขตเมือง[แก้]

เป็นหน่วยปกครองซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเมืองโดยแท้ในรูปแบบใหม่ที่สะท้อนความเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมืองและการบริหารจัดการ โดยแบ่งเป็น 6 หน่วยย่อยการปกครอง ดังนี้

มหานคร[แก้]

เป็นหน่วยการปกครองที่ขึ้นต่อรัฐบาลโดยตรง มีขอบเขตการบริหารเฉพาะในพื้นที่ของตน ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐบาลเมืองอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้

เมืองอนุมณฑล[แก้]

เป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การบริหารของมณฑล

เมืองระดับจังหวัด[แก้]

เป็นหน่วยย่อยของการปกครองท้องถิ่นที่ยังขึ้นต่อมลฑลหรือเขตปกครองตนเองอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้ เป็นเขตการปกครองที่มีลักษณะของเขตการปกครองทั่วไปกับเขตเมืองรวมกัน

เมืองระดับอำเภอ[แก้]

เมืองระดับอำเภอมีฐานะเป็นรัฐบาลของตำบล ตำบลชนชาติ เทศบาลตำบล และสำนักงานเขตขนาดเล็กอื่นๆ

เขต[แก้]

เป็นหน่วยหนึ่งของระบบการปกครองเขตเมือง

เทศบาลตำบล[แก้]

เป็นหน่วยการบริหารที่อยู่ภายใต้อำเภอ และจัดเป็นเมืองที่อยู่ในระดับต่ำสุด

เขตการปกครองตนเอง[แก้]

เป็นเขตปกตรองตนเองของชนชาติที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้ให้เป็นพิเศษ มี 3 พื้นที่ดังนี้

เขตปกครองตนเอง[แก้]

เป็นหน่วยปกครองที่มีฐานะเทียบเท่ากับมณฑล

จังหวัดปกครองตนเอง[แก้]

เป็นหน่วยปกครองที่ตั้งอยู่ระหว่างมณฑลและเขตปกครองตนเองกับอำเภอ มีฐานะเทียบเท่าจังหวัดเขตการปกครองทั่วไปอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้

อำเภอปกครองตนเอง[แก้]

มีฐานะเทียบเท่าอำเภอของเขตการปกครองทั่วไป และถือเป็นหน่วยการปกครองตนเองในระดับต่ำสุด

ที่มาของผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น[แก้]

การเลือกตั้งในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแต่ละมณฑล อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน(เซียง) เขตเมือง และเมืองต่างเลือกสมาชิกสภาผู้แทนของตนเข้าเป็นตัวแทนเลือกผู้บริหารประเทศในระดับการปกครองขั้นพื้นฐาน ประชาชนจะทำการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนโดยตรงใช้วิธีลงคะแนนเสียงลับทุกระดับการปกครอง การเลือกตั้งของท้องถิ่นจีนเป็นการเลือกตั้งตามแบบระดับชั้น กล่าวคือ ประชาชนที่อยู่ในระดับต่ำสุดคือ เซียง (Hsiang) เมืองเล็กๆและเขตสุขาภิบาลตำบลจะเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรืออาจเรียกว่า“ผู้แทน”(Deputy) โดยตรง ส่วนสมาชิกผู้แทนระดับอำเภอ (เซี้ยน) สมาชิกผู้แทนในระดับมหานครและมณฑลก็ถูกเลือกตั้งขึ้นมาโดยสมาชิกสภาผู้แทนในระดับที่ต่ำกว่าลงมาหรืออีกนัยหนึ่งสมาชิกสภาในระดับมหานครมณฑล[4] ให้สภาระดับมณฑลมีกำหนดวาระละ 5 ปี สภาระดับอำเภอหรือเทียบเท่ามีกำหนดวาระละ 3 ปี ส่วนสภาที่ตำกว่ากำหนดวาระละ 2 ปี[5] การเมืองและการปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเรียกว่าสมาชิกสภาคองเกรสแห่งชาติ (National People's Congress : NPC) เลือกตั้งขึ้นมาโดยสมาชิกสภาผู้แทนในระดับอำเภอ สมาชิกสภาผู้แทนในระดับอำเภอก็ถูกเลือกขึ้นมาโดยสมาชิกสภาผู้แทนระดับตำบล

นโยบายการปกครองท้องถิ่น[แก้]

ในท้องถิ่นของจีนมีการกำหนดนโยบายที่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของรัฐบาลกลาง นโยบายต้องเกี่ยวกับคนในท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง และอาจเพื่อสร้างเงิน สร้างรายได้ให้คนท้องถิ่นมีความมั่นคงเพื่อเป็นการนำไปสู่การพัฒนาในระดับประเทศ

อำนาจและหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่น[แก้]

รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารในท้องถิ่น รักษากฎหมาย คำสั่งจากระดับเหนือมาปฏิบัติ เตรียมและบริหารตามโครงการเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พัฒนาด้านสาธารณะท้องถิ่น อนุมัติงบประมาณ รักษาสาธารณะสมบัติ รักษาความสงบเรียบร้อย พิทักษ์สิทธิของประชาชนโดยเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายอำนาจจากหน่วยบังคับบัญชาให้ออกคำสั่ง กฎเกณฑ์ต่างๆที่สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้เป็นไปโดยเรียบร้อย มีสิทธิและอำนาจยกเลิกหรือทบทวนการตัดสินของสภาที่ปรึกษาประชาชนในระดับเดียวกันดูแลทุกข์สุขของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองและยังมีหน้าที่อีกอย่างคือการเลือกตั้งที่ปรึกษาสภาท้องถิ่น แต่ในทางปฏิบัติเพียงแต่อนุมัติตามบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่ทางกรรมาธิการพรรคแห่งท้องถิ่นได้ทำการคัดเลือกมาแล้วชั้นหนึ่งอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้

ความสัมพันธ์ของรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง[แก้]

  • คณะกรรมการรัฐบาลกลางมีสิทธิ์ยกเลิกระเบียบข้อบังคับของท้อถิ่นที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ
  • รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นมีการประสานงานกันเพื่อพัฒนาประเทศ
  • รัฐบาลกลางจัดแผนงบประมาณให้รัฐบาลท้องถิ่นนำไปใช่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
  • รัฐบาลกลางมีสิทธิ์ตรวจสอบคณะผู้บริหารหน่วยงานในระดับท้องถิ่น
  • มีอำนาจปฏิรูปการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลท้องถิ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,การเมืองการปกครองของประเทศในเอเชีย,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2549,หน้า7-3,สืบค้นเมื่อ1เมษายน2560.
  2. เสฐียรโกเศศ,ไทย-จีน,2515,หน้า55,สำนักพิมพ์บรรณาคาร,สืบค้นเมื่อ1เมษายน2560.
  3. วรศักดิ์ มหัทธโนบล,ครองแผ่นดินจีน,2554,หน้า271-293,สำนักพิมพ์มติชน,สืบค้นเมื่อ1เมษายน2560.
  4. วิเชษฐ์ เทพเฉลิม,การเมืองในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์,2524,หน้า53-55,สืบค้นเมื่อ1เมษายน2560.
  5. ธีระวิทย์,การเมืองและการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน,2519,หน้า142,สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต,สืบค้นเมื่อ1เมษายน2560.