ผู้ใช้:MaxDutor/การโจมตีท่าเรือซิดนีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2485 ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำแคระของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้ทำการโจมตีเมือง ซิดนีย์ และ นิวคาสเซิล ใน นิวเซาธ์เวลส์ ออสเตรเลีย ระหว่างคืนวันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน เรือดำน้ำชั้นโค-ฮโยเทคิ จำนวน 3 ลำ ซึ่งแต่ละลำมีลูกเรือสองคน เข้าโจมตีท่าเรือซิดนีย์ เป้าหมายเพื่อจมเรือรบพันธมิตรและต่อต้านการสร้างท่าเรือต่อต้านเรือดำน้ำซิดนีย์ โดย 2 ลำถูกตรวจพบและโดนทำลายเสียก่อน โดยลูกเรือเจาะเรือดำน้ำตัวเองและฆ่าตัวตาย ต่อมาเรือดำน้ำเหล่านี้ถูกกู้คืนโดยฝ่ายพันธมิตร เรือดำน้ำลำที่สามพยายามยิงตอร์ปิโดใส่เรือลาดตระเวนหนัก ยูเอสเอส ชิคาโก แต่พลาดเป้าหมายไปถูกเรือข้ามฟากดัดแปลง เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล แทน ทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 21 ราย เรือดำน้ำแคระลำที่สามนี้ได้สาบสูญ จนปี พ.ศ. 2549 นักดำน้ำสคูบาสมัครเล่นได้ค้นพบซากเรือนี้บริเวณชายหาดทางตอนเหนือของซิดนีย์

ทันทีหลังจากการจู่โจม เรือเดินสมุทรของญี่ปุ่น 5 ลำ ได้บรรทุกเรือดำน้ำแคระไปยังออสเตรเลีย ระหว่างนี้กองเรือได้ทำการโจมตีเพื่อขัดขวางการเดินเรือของพ่อค้าในน่านน้ำออสเตรเลียตะวันออกด้วย โดยโจมตีเรือสินค้าอย่างน้อย 7 ลำ จมเรือ 3 ลำ และสังหารลูกเรือ 50 คน ในช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืนถึง 02:30 น. วันที่ 8 มิถุนายน เรือดำน้ำสองลำได้โจมตีท่าเรือของซิดนีย์และนิวคาสเซิล

การโจมตีของเรือดำน้ำแคระ ในภายหลังรู้จักกันดีในนามของกิจกรรมกองทัพเรือฝ่ายอักษะในน่านน้ำออสเตรเลียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่เมืองนี้ถูกโจมตี โดยรวมแล้ว ความเสียหายนั้นมีเล็กน้อย ฝ่ายญี่ปุ่นสามารถจมได้เพียงเรือที่ไม่มีอาวุธ และล้มเหลวในการทำลายเป้าหมายที่สำคัญ แต่ผลกระทบหลักคือจิตวิทยา สร้างความหวาดกลัวต่อการบุกญี่ปุ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งผลให้กองทัพออสเตรเลียยกระดับการป้องกัน รวมถึงการเริ่มปฏิบัติการ คุ้มกัน เพื่อปกป้องการขนส่งทางเรือ

กองกำลัง[แก้]

ลูกเรือของเรือดำน้ำแคระญี่ปุ่นที่โจมตี ซิดนีย์ และ ดิเอโกซัวเรซ

ญี่ปุ่น[แก้]

เดิมที กองทัพเรือญี่ปุ่นนั้น ตั้งใจจะใช้เรือดำน้ำ 6 ลำในการโจมตีท่าเรือซิดนีย์ คือ เรือดำน้ำ ประเภท บี 1 ประกอบด้วย ไอ-21, ไอ-27, ไอ-28 และ ไอ-29 เรือดำน้ำ ประเภท ซี 1 ประกอบด้วย ไอ-22 และ ไอ-24 : 161  เรือดำน้ำทั้ง 6 ลำ เป็นกลุ่มโจมตีทางทิศตะวันออกของ กองเรือดำน้ำที่ 8 ภายใต้คำสั่งของกัปตัน ฮันคิวซาซากิ : 161  : 59 

วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2485 เรือดำน้ำ ไอ-21 และ ไอ-29 นั้นได้บรรทุก โยโกสุกะ อี 14 วาย 1 หรือ "เกลน" เครื่องบินน้ำสำหรับลาดตระเวนทางอากาศ เพื่อสำรวจเป้าหมายสำหรับโจมตีท่าเรือบริเวณออสตราเลเซีย : 61  : 163  ไอ-21 นั้นสำรวจบริเวณ นูเมอาในนิวแคลิโดเนีย, ซูวาในฟิจิ และ โอ๊คแลนด์ในนิวซีแลนด์ ตามลำดับ ส่วน ไอ-29 นั้นไปที่ซิดนีย์, ออสเตรเลีย : 162 

ในวันที่ 11 พฤษภาคม ไอ-22, ไอ-24, ไอ-27 และ ไอ-28 ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปยังฐานทัพเรือญี่ปุ่นที่ ทรัคลากูน ในหมู่เกาะคาโรไลน์ เพื่อรับ เรือดำน้ำแคระ ชั้นโค-ฮโยเทคิ : 61  ไอ-28 ล้มเหลวในการเข้าถึงทรัคเนื่องจากถูกยิงด้วยตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส ทัวทอก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม : 61–2  เรือดำน้ำที่เหลือทั้ง 3 ลำออกจากทรัคราว ๆ 20 พฤษภาคมเพื่อไปทางใต้ของ หมู่เกาะโซโลมอน : 62  ไอ-24 ถูกบังคับกลับมาในวันต่อมา เนื่องจากเกิดระเบิดขึ้นในช่องใส่แบตเตอรี่ของเรือ อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้พลนำทางเสียชีวิตและผู้บัญชาการบาดเจ็บ : 164  เรือสำรองของ ไอ-28 จึงออกปฏิบัติการแทนที่ไปก่อน : 164 

ฝ่ายพันธมิตร[แก้]

ยูเอสเอส ชิคาโก ในอ่าวซิดนีย์เมื่อ 31 พ.ค. พ.ศ. 2485

เจ้าหน้าที่ทหารเรือที่ดูแลท่าเรือซิดนีย์ในช่วงเวลาของการโจมตีคือ พลเรือตรี เจอราร์ดมัวเฮด - โกลด์ : 30  ในคืนที่เกิดการโจมตี มีเรือขนาดใหญ่ 3 ลำเข้าประจำการที่ท่าเรือซิดนีย์ประกอบด้วย เรือลาดตระเวณหนัก ยูเอสเอส ชิคาโก, เอชเอ็มเอเอส แคนเบอร์รา และ เรือลาดตระเวณ เอชเอ็มเอเอส แอดิเลด : 193–4  เรือรบอื่น ๆ ในท่าเรือรวม ประกอบไปด้วย เรือพิฆาต ยูเอสเอส ด็อบบิน, เรือวางทุ่นระเบิด เอชเอ็มเอเอส บังการี, เรือลาดตระเวณ เอชเอ็มเอเอส วายอัลล่า, เอชเอ็มเอเอส กีลอง, เอชเอ็มไอเอส บอมเบย์, เรือลาดตระเวนติดอาวุธ เอลเอ็มเอส คานิมบลา, เอชเอ็มเอเอส เวสทราเลีย, เรือดำน้ำดัตช์ เค-9 : 193–4  และ เรือข้ามฟากดัดแปลง เอชเอ็มเอเอส คัททาบูลอยู่ขนาบข้าง เกาะการ์เดน ทำหน้าที่เป็นค่ายทหารชั่วคราวสำหรับถ่ายโอนลูกเรือ : 143  เรือของโรงพยาบาล โอรานเจ ก็อยู่ในท่าเรือด้วยเช่นกัน แต่ได้ออกไปหนึ่งชั่วโมงก่อนการโจมตี : 190 

การป้องกันท่าเรือ[แก้]

ในช่วงเวลาของการโจมตี ระบบป้องกันท่าเรือซิดนีย์ ประกอบด้วย ตัวตรวจจับเรือดำน้ำ 8 ตัว อีก 6 ตัวในบริเวณด้านนอกท่าเรือ ระหว่าง นอร์ทเฮด และ เซาน์เฮด อีก 1 ตัว ระหว่าง เซาน์เฮด และ มิดเดิลเฮด อีก 1 ตัว เช่นเดียวกับตาข่ายดักเรือดำน้ำซิดนีย์ ที่สร้างไว้บางส่วนบริเวณ จอร์จเฮจ ใน มิดเดิลเฮด และ กรีนพอยน์ ใน เซาน์เฮด : 65  : 192–4  ส่วนกลางของตาข่ายมีความสมบูรณ์พร้อมและมีกองสนับสนุนอยู่ทางตะวันตก แต่ช่วง 400 m (1,300 ft) จากทั้งสองข้างยังมีช่องว่างอยู่ : 65  : 193 เนื่องจากการขาดแคลนวัสดุ ทำให้ตาข่ายบูมสร้างไม่ครอบคลุมก่อนการโจมตี : 194  วันที่มีการโจมตี ตัวบ่งชี้ 6 ตัวบริเวณด้านนอกไม่ทำงาน 2 ตัวในนั้นใช้การไม่ได้และบุคลากรใช้งานไม่เป็น จึงมีปัญหาในการอ่านค่า : 6  : 177  ส่วนตัวตรวจจับเรือดำน้ำบริเวณนอร์ทเฮดและเซาน์เฮดได้ให้สัญญาณผิดพลาดตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2483 เนื่องจากมีการเดินทางพลเรือนผ่านไปเรื่อย ๆ การอ่านค่าต่าง ๆ จึงไม่ได้รับความสนใจ : 190 

ส่วนยานป้องกันทางเรือรวมถึงเรือต่อต้านเรือดำน้ำประกอบไปด้วย เอชเอ็มเอเอส ยานดรา และ บินเกรา, เรือกวาดทุ่นระเบิดผู้ช่วย เอชเอ็มเอเอส Goonambee, Samuel Benbow, เรือเล็กที่ดัดแปลงเป็นเรือลาดตระเวน (เสริมอาวุธด้วยระเบิดน้ำลึก), เอชเอ็มเอเอส Yarroma, Lolita, สเตดี้ เอาร์, ซีมิสต์, Marlean, Toomaree และเรือลาดตระเวนเสริมที่ไม่มีอาวุธสี่ลำ : 66  : 194 

ก่อนการปะทะ[แก้]

โนบุโอะ ฟูจิตะ พร้อมเครื่องบินที่เขาบินไปซิดนีย์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 โดยเครื่องบินน้ำที่จอดบน ไอ-29 และ ไอ-21 เป็นประเภทเดียวกัน

กองทัพเรือญี่ปุ่นใช้เรือดำน้ำแคระ ชั้น Ko-hyotekไอ-5 ลำที่เคยปฏิบัติการไม่ประสบความสำเร็จกับเรือประจัญบานสหรัฐฯในระหว่างการ โจมตีที่ Pearl Harbor กองทัพเรือคาดหวังว่าการอัพเกรดเรือดำน้ำ การฝึกลูกเรืออย่างเขัมข้นและการเลือกโจมตีเป้าหมายที่ได้รับการปกป้องน้อย จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า : 58  ดังนั้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือจึงเริ่มแผนสำหรับการปฏิบัติการเรือดำน้ำขนาดเล็กลำที่สอง : 58 

แผนถูกใช้ในการโจมตีทางทะเล เป็นการปะทะกับฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกใต้ การโจมตีครั้งนี้มีความตั้งใจที่จะก่อกวนการรบบริเวณเกาะมิดเวย์ในตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกของพันธมิตร โดยญี่ปุ่นหวังว่าจะหันเหให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเลื่อนมาโจมตีทางใต้และตะวันตกที่ญี่ปุ่นควบคุมอยู่ เรือดำน้ำ 11 ลำของกองเรือดำน้ำที่ 8 ได้ออกปฏิบัติการโจมตีทั้ง 2 ด้าน โดย 5 ลำออกโจมตีด้านตะวันตกในมหาสมุทรอินเดีย และ 6 ลำออกโจมตีด้านตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้กลุ่มของเรือดำน้ำถูกเลือกตามความเหมาะสมสำหรับการโจมตี โดยอาศัยข้อมูลจากการลาดตระเวน

กลุ่มการโจมตีด้านตะวันตกได้เลือกท่าเรือ ดิเอโก-ซัวเรซ ในมาดากัสการ์เป็นเป้าหมายในการโจมตี การโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงค่ำของวันที่ 30 พฤษภาคมและผลคือสร้างความเสียหายให้แก่ เอชเอ็มเอส Ramillies และจมคลังน้ำมันของอังกฤษ หลังจากอังกฤษยึดท่าเรือจากฝรั่งเศษวีชีได้เพียง 22 วัน ในการรบที่มาดากัสการ์

4 เป้าหมายที่อาจจะถูกโจมตีของการโจมตีด้านตะวันตกได้แก่ นูเมอา, ซูวา, โอ๊คแลนด์ และซิดนีย์ ซึ่งระบุโดยฝูงบินลาดตระเวนซึ่งดำเนินการโดย นาบุโอะ ฟูจิตะจากกองเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่บินจาก ไอ-25 โดยเริ่มทำการตั้งแต่ 17 กุมภาพันธ์เริ่มบินสำรวจเหนือท่าเรือซิดนีย์ และทางตะวันออกของท่าเรือออสเตรเลี่ยนยริเวณเมลเบิร์นและโฮบาร์ต (1 มีนาคม) ตามด้วยท่าเรือนิวซีแลนด์บริเวณมุลเฮด-โกลด์ (8 มีนาคม) และออคแลนด์ (13 มีนาคม) จากนั้น ไอ-21 และ ไอ-29 ก็ได้ถูกส่งไปยังเป้าหมายสุดท้าย โดย ไอ-29 แล่นถึงซิดนีย์ ในช่วงเย็นของวันที่ 16 พฤษภาคม ไอ-29 และได้ทำการโจมตี "เวลเล่น" เรือขนส่งสินค้า 5,135 ลองตัน (5,217 ตัน) ของรัสเซีย ในระยะ 30 ไมล์ (26 ไมล์ทะเล, 24 กิโลเมตร) จากนิวคาสเซิล นิวเซาน์เวล แม้ว่าเรือเวลเล่นจะได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยแต่การเดินเรือระหว่างซิดนีย์ถึงนิวคาสเซิลต้องหยุดชะงักกว่า 24 ชั่วโมง กว่าที่เครื่องบินรบและเรือต่อต้านเรือดำหน้าจะมาถึงจากซิดนีย์ รวมถึงเรือเล็กลาดตระเวนสัญชาติดัตซ์ HNLMS Tromp, เรือพิฆาตสัญชาติออสเตรเลีย เอชเอ็มเอเอส Aruntra และเรือพิฆาต ยูเอสเอส เพอร์คินส์ ได้ทำการค้นหาเรือดำน้ำข้าศึกแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ โดย เจอราร์ด มิวเออร์เฮด-โกลด์ สรุปผลว่าเรือดำน้ำข้าศึกได้ปฏิบัติการเพียงลำเดียวและออกจากพื้นที่โดยทันทีหลังจากโจมตี

เครื่องบินน้ำของ ไอ-29 ได้บินลาดตระเวนเหนือเมืองซิดนีย์ในวันที่ 23 พฤษภาคม : 62  หน่วยเรดาร์ลับที่ติดตั้งใน ไอออนโคฟ ตรวจพบการบิน แต่เจ้าหน้าที่ได้ออกรายงานว่าเป็นความผิดพลาด เนื่องจากไม่มีเครื่องบินพันธมิตรที่ปฏิบัติการในซิดนีย์ : 63–4  เครื่องบินนั้นโดยทำลายหรือได้รับความเสียหายขณะลงจอด โดยลูกเรือทั้งสองรอดชีวิตมาได้ : 64  พวกเขารายงานการปรากฏตัวของ เรือหลวงหลายลำ เรือประจัญบาน 2 ลำหรือเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ เรือรบขนาดใหญ่อีก 5 ลำ และเรือสงครามขนาดเล็กหลายลำ : 170–1  และมีรายงานว่าเครือวิทยุกลุ่มพันธมิตร FRUMEL เครือข่ายหน่วยข่าวกรองอัจฉริยะ ถูกขัดขวางบางส่วน ส่งผลให้กองทัพเรือญี่ปุ่นเลือกซิดนีย์เป็นเป้าหมาย : 170–1  : 192  เรือบรรทุกเรือดำน้ำแคระทั้ง 3 ลำ ได้รวมพลกับ ไอ-29 และ ไอ-21 ในระยะประมาณ 35 ไมล์ (30 ไมล์ทะเล, 56 กิโลเมตร) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซิดนีย์เฮด โดยมีเรือดำน้ำทั้ง 5 ลำเข้าประจำตำแหน่งในวันที่ 29 พฤษภาคม : 64 

การดำเนินงานของเรือดำน้ำแคระ[แก้]

การลาดตระเวนครั้งสุดท้าย[แก้]

ก่อนรุ่งเช้าวันที่ 29 พฤษภาคม เครื่องบินลาดตระเวนน้ำของเรือ ไอ-21 ซึ่งขับโดย ไอโต ซูซูมิ ได้เตรียมเข้าสู่การลาดตระเวนท่าเรือซิดนีย์ครั้งสุดท้าย โดยตำแหน่งของแผนการครั้งนี้อยู่ที่ท่าจอดเรือหลัก และตำแหน่งของตาข่ายดักเรือดำน้ำ ฝ่ายสัมพันธมิตรเองก็มีการสังเกตพบเครื่องบินน้ำหลายครั้ง แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเครื่องบินครูติสส์ของนาวิกโยธินสหรัฐ จึงไม่มีการแจ้งเตือนจนถึงเวลา 05:07 น. เพราะเริ่มตระหนักว่าเครื่องบินครูติสส์ทั้ง 4 ลำมีอยู่บนเรือลาดตระเวน ชิคาโก เท่านั้น และทั้งหมดยังไม่ออกบิน กองทัพอากาศออสเตรเลียจึงได้ให้เครื่องบินขับไล่เวียราเวย์เข้าค้นหาแต่ก็ล้มเหลว แต่ถึงอย่างนั้น ท่าเรือซิดนีย์ก็ไม่ได้มีการเพิ่มการป้องกันใด ๆ เครื่องบินลาดตระเวนได้รับความเสียหายจากการลงจอดและพังลงในเวลาต่อมา โดยนักบินทั้งสองก็สามารรอดมาได้

แผนการโจมตี[แก้]

ญี่ปุ่นวางแผนที่จะปล่อยเรือดำน้ำแคระอีกลำระหว่าง 17:20 ถึง 17:40 จากจุด 5-7 ไมล์ทะเล นอกอ่าวซิดนีย์ : 205  เรือดำน้ำแคระลำได้แรกผ่านบริเวณเฮดหลังจาก 18:30 น. แต่ด้วยสภาพทะเลที่หนักหน่วงทำให้เกิดการล่าช้ากว่าหนึ่งชั่วโมง : 205  โดยอีก 2 ลำ ก็ตามมาในช่วงเวลายี่สิบนาทีซึ่งล่าช้าเหมือนกัน : 205 

โดยเป้าหมายของเรือดำน้ำแคระนั้นขึ้นอยู่กับผู้บัญชาการแต่ละลำโดยมีคำแนะนำว่าควรจะกำหนดเป้าหมายเรือบรรทุกเครื่องบินหรือเรือประจัญบานเป็นหลัก โดยเรือลาดตระเวนเป็นเป้าหมายรอง [1] เรือดำน้ำแคระออกปฏิบัติการไปทางทิศตะวันออกของสะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ หากไม่พบเป้าหมายที่เหมาะสมในบริเวณนี้พวกเขาต้องย้ายไปอยู่ใต้สะพานเพื่อรอโจมตีเรือรบและเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ที่เชื่อว่าอยู่ในท่าเรือ เมื่อเครื่องบินลาดตระเวนพยายามค้าหาเป้าหมายอีกครั้ง โดยคาดหวังว่าจะเจอเรือหลวงวอร์สไปท์ แต่เมื่อไม่มีวี่แวว เรือ ยูเอสเอส ชิคาโก จึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญแทน : 75, 79 

หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ เหล่าเรือดำน้ำแคระก็จะออกจากท่าเรือซิดนีย์และมุ่งหน้าลงใต้ไป 20 ไมล์ทะเล ไปยังจุดกู้ภัยนอกพอร์ตแฮ็ค : 79  โดยมีเรือดำน้ำแม่ 4 ลำกำลังรออยู่ในเล้นทางตะวันออก - ตะวันตกตามยาว 16 กิโลเมตร ส่วนลำที่ 5 นั้นรอไกลออกไปทางใต้ 6 กิโลเมตร : 79 

โจมตี[แก้]

เรือดำน้ำแคระ เอ็ม-14 ถูกปล่อยจาก ไอ-27 เป็นลำแรกที่เข้าสู่ท่าเรือซิดนีย์ : 67  ตัวตรวจจับเรือดำน้ำมิดเดิลเฮด - เซาน์เฮดสามารถตรวจพบได้ในเวลา 20:01 น. แต่บุคลากรไม่สนใจ เนื่องจากคิดว่าเป็นการจราจรที่หนาแน่นของพลเรือน : 206  เมื่อเวลา 20:15 น. ผู้เฝ้าดู Maritime Services Board ได้สังเกตเห็นเรือดำน้ำแคระหลังจากที่มันผ่านช่องว่างทางตะวันตกและได้ชนกับประภาคาร จากนั้นมันพยายามหันกลับจนท้ายลำเรือติดอยู่ในตาข่าย : 105  สันท้องเรือด้านหน้ามีความเสียหายของพื้นผิว ผู้เฝ้าดูพยายามตรวจสอบว่ามันเป็นอะไรแล้วก็พายเรือไปยังเรือลาดตระเวน เอชเอ็มเอเอส Yarroma ที่ อยู่ใกล้เคียงเพื่อรายงานการค้นพบ : 106  : 208  แม้ Yarroma จะพยายามส่งต่อข้อมูลนี้ไปสำนักงานใหญ่ของกองทัพเรือซิดนีย์ แต่ศูนย์ก็ยังไม่ได้รับรายงานจนถึง 21:52 : 208  : 108  เอชเอ็มเอเอส Yarroma และ Lolita ถูกส่งไปสอบสวน : 208  เมื่อยืนยันว่าวัตถุในสุทธิเป็น "เรือดำน้ำทารก" Lolita จึงได้หย่อนระเบิดน้ำลึก ในขณะที่ผู้บัญชาการ Yarroma ขออนุญาตจากกองทัพเรือสำนักงานใหญ่ซิดนีย์เพื่อทำการยิงโจมตี : 115  : 209  ด้วยความลึกที่ไม่เหมาะสมจึงไม่สามารถทำให้ระเบิดน้ำลึกทำงานได้เนื่องจากน้ำตื้นเกินไปสำหรับการตั้งค่าฟิวส์แบบอุทกสถิต : 209  เมื่อ 22:35 ในขณะที่ Yarroma กำลังรอการอนุญาตในการยิงและ โลลิต้ากำลังปล่อยระเบิดน้ำลึกลูกที่ 3 ลูกเรือสองคนใน เอ็ม-14 ได้ทำการระเบิดสละเรือ ฆ่าตัวตาย และทำลายส่วนหน้าของเรือดำน้ำ : 209  : 116–7 

มิวเออร์เฮด-โกลด์ ได้อนุมัติการเตือนภัยพร้อมกับสั่งให้เรือใช้มาตรการต่อต้านเรือดำน้ำเมื่อเวลา 22:27 น. มีการเตือนซ้ำที่เวลา 22:36 พร้อมคำแนะนำสำหรับเรือเพื่อป้องกันการโจมตีเนื่องจากเรือดำน้ำของศัตรูอาจอยู่ในท่าเรือ : 210  : 119  ในช่วงเวลาของการเตือนครั้งแรก ท่าเรือซิดนีย์ปิดการจราจรภายนอก แต่ มิวเออร์เฮด-โกลด์ สั่งให้เรือข้ามฟากและการจราจรภายในเขตอื่น ๆ ยังดำเนินการต่อไป เนื่องจากเขาเชื่อว่าการเดินเรือจะช่วยบังคับให้เรือดำน้ำยังซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำ ไม่กล่าโผล่ออกมา : 119 

เรือดำน้ำแคระ เอ็ม-24 เป็นลำที่สองที่เข้าสู่บริเวณท่าเรือ เรือ เอชเอ็มเอเอส Falie ที่แล่นผ่าน ได้เฉี่ยวชนบริเวณลำเรือของ เอ็ม-24 และรายงานว่าไม่ได้ถูกติดตาม เอ็ม-24 ได้ข้ามตัวตรวจจับเมื่อเวลา 21:48 น. โดยไม่ถูกตรวจพบ และเมื่อเวลาประมาณ 22:00 น. เรือข้ามฟาก Manly ได้ผ่านตาข่ายต่อต้านเรือดำน้ำ : 67  : 210  เวลา 22:52 เอ็ม-24 ได้ถูกพบเห็นโดยไฟค้นหาของเรือ US ชิคาโก ในระยะไม่ถึง 500 m (1,600 ft) ในบริเวณกราบขวาของเรือลาดตะเวณและด้านขนานกับหน้าเรือ : 210  : 123  จากนั้น US ชิคาโก ได้เปิดฉากโจมตึด้วยปืน 5 in (130 mm) และปืนกลติดตั้ง 4 ลำกล้อง แต่สร้างความเสียหายน้อยมากเนื่องจากอาวุธไม่สามารถยิงกดดันได้ไกลพอ : 211  บางส่วนของกระสุน 5 in (130 mm) กะดอนจากน้ำแล้ว พุ่งสู่หอคอย Martello ของ ป้อมประการ Denison และยังพบเศษชิ้นส่วนในชานเมือง Cremorne และ Mosman : 125  เจ้าหน้าที่ระดับสูงสั่งให้ลูกเรือเริ่มเตรียมเดินทางออกจากเรือ ยูเอสเอส ชิคาโก และยูเอส เพอร์กินส์ เพื่อเริ่มการต่อต้านเรือดำน้ำรอบ ๆ เรือลาดตระเวน คำสั่งนี้ถูกยกเลิกโดยกัปตันโฮเวิร์ด ดี บอเดอร์ เมื่อเขามาประจำการบนเรือเวลาประมาณ 23:30 น. : 127, 133 

เอชเอ็มเอเอส วายออลล่า และ Geelong ก็ได้ร่วมยิง เอ็ม-24 ขณะที่พยายามหนีไปทางตะวันตกเพื่อไปยังสะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ ก่อนที่จะมุดตัวลงใต้น้ำและหลบหนีไป : 212  เมื่อ เอ็ม-24 กลับสู่ใต้น้ำ ก็พบว่าตัวเองอยู่ทางตะวันตกของ ป้อมปราการเดนิสัน : 212  เรือได้หันกลับและแล่นไปทางตะวันออกประมาณ 1 ไมล์ทะเล แล้วย้ายตำแหน่งยิงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของ แบรดลีย์เฮด ซึ่งเป็นจุดที่ผู้บังคับบัญชาสามารถเห็นเงาท้ายเรือของ ยูเอสเอส ชิคาโก ที่เกิดจากแสงไฟที่ท่าปล่อยเรือแห่งใหม่ "กัปตันคุก เกรพวิ่ง ด๊อกค์" ในเกาะดาร์เด้น : 212–4 

เรือดำน้ำแคระ เอ็ม-21 ที่ปล่อยจาก ไอ-22 ซึ่งน่าจะเข้ามาในท่าเรือในเวลาเดียวกันกับที่เรือ ยูเอสเอส ชิคาโก เปิดฉากยิง เอ็ม-24 : 68  เรือลาดตระเวนเสริมที่ไม่มีอาวุธ เอชเอ็มเอเอส Lauriana ได้พบเห็น เอ็ม-21 และเปิดใช้งาน หอคอยส่องเรือดำน้ำ ขณะที่กำลังส่งสัญญาณเตือนไปหาสถานีส่งสัญญาณด้านสงครามที่เซาธ์เฮดและเรือต่อต้านเรือดำน้ำ เอชเอ็มเอเอส ยานดรา : 68 เรือ ยานดรา ได้พยายามที่จะชนเรือดำน้ำ และขาดการติดต่อจนกระทั่งติดต่อได้อีกครั้งในเวลา 23:03 จากนั้นได้ปล่อยระเบิดน้ำลึก 6 ลูก : 213  โดยสันนิษฐานว่าะเบิดน้ำลึกได้ทำลายเรือดำน้ำแคระเรียบร้อยแล้ว แต่ เอ็ม-21 ก็ยังรอดมาได้ : 213  นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเรือดำน้ำแคระได้หลบภัยใต้พื้นน้ำและรอจนกระทั่งเรือของพันธมิตรได้ย้ายออกไปก่อนที่มันจะกลับมาโจมตีอีกครั้ง : 213 

เมื่อ 23:14, มุลเฮด-โกลด์ สั่งให้เรือทุกลำปฏิบัติตามเงื่อนไข แบล็คเอาน์ หรือปฏิบัติในความมืด : 213–4  จากนั้นเวลา 23:30 น. เขาได้ขึ้นเรือเล็กไปยังตาข่ายดักเรือเพื่อทำการตรวจสอบ : 135  พลเรือเอกได้นำเรือ โลลิต้า มาถึงประมาณเที่ยงคืน เขาแสดงท่าทีให้ลูกเรือเห็นว่าเขาไม่ได้เชื่อถือรายงานเกี่ยวกับเรือดำน้ำ โดยมีบันทึกคำพูดว่า "นายกำลังเล่นอะไรอยู่? เห็นวิ่งขึ้นวิ่งลงแถวท่าเรือ ปล่อยระเบิดน้ำลึก จ้อเรื่องเรือดำน้ำข้าศึกทั้งที่ไม่มีใครเห็นเนี่ยนะ" : 135  ลูกเรือพยายามย้ำว่าได้พบเห็นเรือดำน้ำ แต่ Muirhead-Gould ยังคงไม่ค่อยเชื่อถือและก่อนที่เขาจะออกไปได้ประชดประชันว่า "ถ้าพวกนายเห็นเรือดำน้ำที่ว่า แล้วเจอกัปตันที่เคราดำ ๆ บอกด้วยว่าชั้นอยากเจอ!." : 136 

เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล หลังจากการโจมตีของญี่ปุ่น

แม้จะมีคำสั่งแบล็คเอาน์ แต่ไฟสปอตไลท์ของเกาะยังถูกใช้งานจนถึง 00:25 น. : 213–4  ประมาณห้านาทีต่อมา เอ็ม-24 ยิงตอร์ปิโดชุดแรกออกไป 2 ลูก การยิงครั้งต่อถัดมาเกิดความล่าช้าเป็นเวลาหลายนาที เนื่องจากเรือดำน้ำขนาดเล็กจะสูญเสียความเสถียรของลำเรือทันทีหลังจากยิงตอร์ปิโด : 214  นักประวัติศาสตร์ไม่แน่ใจว่าตอร์ปิโดต้องการยิงไปทางไหน แม้ทุกคนเห็นด้วยว่าเรือลาดตระเวนสหรัฐนั้นเป็นเป้าหมาย แต่ตอร์ปิโดทั้งคู่ก็พลาดเป้า ในขณะที่ตอร์ปิโดตัวหนึ่งผ่านเข้าใกล้กับกราบขวาของเรือ เพอร์กินส์ : 139  ตอร์ปิโดอีกลูกยังคงแล่นไปหาเรือดำน้ำชาวดัตช์ เค-9 และ เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล จากนั้นก็ปะทะกับเรือ คัททาบูล : 139  การระเบิดครั้งนี้ได้จม คัททาบูล และทำให้ เค-9 เสียหาย : 143  : 215  ทั้งสังหาร กองทัพเรือออสเตรเลีย 19 นาย ลูกเรือราชนาวี 2 นายและบาดเจ็บอีก 10 นาย การระเบิดสั่นสะเทือนที่พักอาศัยในพื้นที่ : 215  ตอร์ปิโดอีกตัวพุ่งขึ้นบนพื้นดินบนชายฝั่งตะวันออกของเกาะการ์เด้นโดยไม่เกิดการระเบิด : 215  จากนั้น เอ็ม-24 ได้ทำการดำน้ำเคลื่อนที่ออกจากท่าเรือ : 216 

ตอร์ปิโดที่ยังไม่ระเบิด ถูกพบที่ เกาะการ์เดน หลายวันหลังจากการโจมตี

ตัวตรวจจับเรือดำน้ำได้รับสัญญาณการข้าม ณ เวลา 01:58 ตอนแรกเชื่อว่าเรือดำน้ำแคระลำอื่นพยายามเข้าท่าเรือ แม้ว่าการวิเคราะห์ในภายหลังระบุว่าเป็นเพียงเรือขาออก จึงมีแนวโน้มว่า เอ็ม-24 ยังไม่ได้ออกไปไหน : 70  เอ็ม-24 ไม่ได้กลับไปยังเรือดำน้ำแม่และไม่ทราบชะตากรรมของมัน จนกระทั่งปี 2006 : 189 

มีคำสั่งให้เรือทำการเปิดทะเล เรือ ยูเอสเอส ชิคาโก ออกจากที่จอดในเวลา 02:14 ด้วยความเร่งรีบ จึงลูกเรือไว้บนทุ่นจอดเรือ : 216  ส่วนเรือ บอมเบย์, วายออลล่า, แคนเบอร์ร่า และ เพอร์คินส์ ได้เริ่มเตรียมการที่จะออกเดินทาง : 153–4 

ก่อนเวลา 03:00 ในขณะที่ US ชิคาโก กำลังออกจากท่าเรือ ยามได้มองเห็นกล้องส่องเรือดำน้ำแล่นผ่านด้านข้างของเรือลาดตะเวณ : 218  เวลา 03:01, ตัวตรวจจับเรือดำน้ำจับสัญญาณขาเข้าได้ ซึ่งนั่นคือเรือดำน้ำแคระ เอ็ม-21 ที่เคลื่อนที่เข้าสู่อ่าวซิดนีย์อีกครั้งหลังจากฟื้นตัวจากการโจมตีสี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ : 218  เอชเอ็มเอส Kanimbla ได้เปิดฉากยิง เอ็ม-21 ใน Neutral Bay เวลา 03:50 และเมื่อเวลา 05:00 เรือลาดตระเวนเสริมสามลำประดอบด้วย เอชเอ็มเอเอส Steady Hour, Sea Mist และ Yarroma ได้สังเกตเห็นหอเรือดำน้ำในอ่าว Taylors : 218  เรือลาดตระเวนได้เตรียมระเบิดน้ำลึกและกำหนดระยะจุดระเบิดเป็น 15 m (49 ft) เมื่อ Sea Mist เคลื่อนที่ผ่านจุดที่เรือดำน้ำอยู่ จึงได้ทำการทิ้งระเบิดน้ำลึก ซึ่งมีเวลาเพียงห้าวินาทีในการหนีจากพื้นที่หลังปล่อยระเบิด : 218  การระเบิดทำให้ เอ็ม-21 เสียหายพลิกคว่ำและลอยลำขึ้นผิวน้ำก่อนที่จะจมลงอีกครั้ง : 219  Sea Mist ทิ้งระเบิดน้ำลึกอีกลูก แต่นั่นก็ทำให้เครื่องยนต์หนึ่งในสองตัวของเรือเสียหายและทำให้ไม่สามารถโจมตีได้อีกต่อไป : 219  Steady Hour และ Yarroma ยังคงโจมตีด้วยการหย่อนระเบิดน้ำลึกอีก 17 ลูก โดยอาศัยการจำลองการเล็งและเครื่องมือติดต่อเรือดำน้ำแคระเป็นเวลาอีกสามชั่วโมงครึ่ง : 219  ต่อมาช่วงกลางดึกลูกเรือของ เอ็ม-21 ได้ฆ่าตัวตาย : 219 

เมื่อเวลา 04:40 น. เอชเอ็มเอเอส แคนเบอร์ร่า มีบันทึกว่าญี่ปุ่นอาจยิงตอร์ปิโดใส่ นี่อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดมากมายที่เกิดตลอดทั้งคืน อย่างไรก็ตาม เอ็ม-21 เคยมีความพยายามที่จะยิงตอร์ปิโดอีก 2 ลูก แต่ก็ล้มเหลวเนื่องจากความเสียหายของสันท้องด้านหน้าจากชนเรือ เอชเอ็มเอเอส ยานดรา , ระเบิดน้ำลึก หรือจากการปะทะกับยูเอสเอส ชิคาโก ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า เอ็ม-21 พยายามที่จะโจมตีเรือลาดตะเวณ ผู้สังเกตการณ์บนเรือ แคนเบอร์รา คาดว่ามีการยิงตอร์ปิโดเกิดขึ้นเนื่องจากสังเกตุเห็นฟองจากอากาศที่มักเกิดจากการยิง

ภารกิจรอง[แก้]

ตามแผนปกติ เรือดำน้ำหลัก 5 ลำได้รอ ณ ท่าจอดเรือแฮ็คกิ้ง ในคืนวันที่ 1 และ 2 มิถุนายน เพื่อให้เรือดำน้ำแคระกลับมา : 225  : 188–9  คลื่นวิทยุกองทัพเรือเมลเบิร์นได้จับสัญญาณระหว่างเรือดำน้ำทั้ง 5 ลำได้ จากนั้นล็อคฮีดฮุดสัน 3 ลำ และบริสตัลโบฟอร์ต 2 ลำ นำโดยกองทัพอากาศออสเตรเลียได้ทำการค้นหาตำแหน่งเรือดำนั้า : 225  แต่ก็ไม่สำเร็จ : 225  ในวันที่ 3 มิถุนายน ซาซากิได้หมดหวังที่จะกู้เรือดำน้ำแคระจากนั้นก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติภารกิจรอง : 189 

การโจมตีเรือสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตร[แก้]

เรือดำน้ำ 4 ลำได้เริ่มปฏิบัติการต่อต้านการเดินเรือสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตร โดย ไอ-21 ลาดตระเวนทางเหนือของซิดนีย์ในขณะที่ ไอ-24 ลาดตระเวนทางใต้ : 239  ไอ-27 เริ่มค้นหาเกาะกาโบ เพื่อหาเรือที่ออกจากเมลเบิร์นและ ไอ-29 เดินทางไปบริสเบน : 239  ไอ-22 แยกออกจากกลุ่มเพื่อดำเนินการลาดตระเวน ณ เวลลิงตันและโอ๊คแลนด์ในนิวซีแลนด์ จากนั้นที่ซูวาในฟิจิ : 239 

ระหว่างวันที่ 1 ถึง 25 มิถุนายน เรือดำน้ำ 4 ลำได้เดินทางถึงควาจาเลน อะทอลล์ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ เพื่อเติมสรรพาวุธอีกครั้งก่อนที่จะไปยังอู่ต่อเรือญี่ปุ่นเพื่อทำการบำรุงรักษา : 254  เรือดำน้ำ 4 ลำได้ทำการโจมตีเรือขนส่งสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวน 7 ลำ โดย 3 ลำในนั้นถูกจม เรือ Iron Chieftain ถูกจมโดย ไอ-24 ในวันที่ 3 มิถุนายน เรือ Iron Crown ถูกจมโดย ไอ-27 ในวันที่ 4 มิถุนายน และเรือ กัวเตมาลา ถูกจมโดย ไอ-21 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน : 241, 244, 253  การโจมตีสองครั้งแรกส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 รายและ 37 รายตามลำดับ การโจมตีครั้งที่สามนั้นไม่มีใครเสียชีวิต : 191, 193, 199  การโจมตีครั้งนี้ส่งผลให้มีเปลี่ยนแปลงการเดินเรือของเรือสินค้า การเดินทางทางเหนือของเมลเบิร์นถูกจำกัด จนกระทั่งมีการจัดตั้งขบวนคุ้มกันเรือสินค้าภายหลัง : 195 

ไอ-21 เป็นเรือดำน้ำลำเดียวที่กลับไปยังน่านน้ำออสเตรเลีย ที่ก่อนหน้านี้ ไอ-21 สามารถจมเรือได้ 3 ลำและสร้างความเสียหายแกเรืออีก 2 ลำในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 1943 : 254, 260–1  ในการปฏบัติการทั้ง 2 ครั้ง ไอ-21 ได้จมสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรไปกว่า 44,000 ลองตัน (45,000 ตัน) นั่นทำให้ ไอ-21 เป็นเรือดำน้ำญี่ปุ่นที่ปฏิบัติการประสบความสำเร็จมากที่สุดในการใช้งานในน่านน้ำออสเตรเลีย

การระดมยิง[แก้]

บ้านในเขตชานเมืองทางตะวันออกของซิดนีย์ ที่ได้รับความเสียหายจากกระสุนปืนของฝ่ายญี่ปุ่น

ในตอนเช้าของวันที่ 8 มิถุนายน ไอ-24 และ ไอ-21 ได้ระดมยิงเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ซิดนีย์และนิวคาสเซิล : 194  หลังเที่ยงคืน ไอ-24 ได้เข้ามาในระยะ 9 mi (14 km) จากทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประภาคารแมคควอรี่ : 247  ผู้บัญชาการของเรือดำน้ำสั่งให้ลูกเรือระดมยิงไปที่สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ : 247  จำนวน 10 นัดในระยะเวลา 4 นาที โดย 9 นัดได้ตกในเขตชานเมืองทางทิศตะวันออก อีก 1 นัดพลาดเป้าตกน้ำ : 248  จากนั้น ไอ-24 ได้ทำการมุดน้ำ เพื่อหลบหนีการตอบโต้จากปืนใหญ่ชายฝั่ง : 248–9  มีเพียงกระสุนนัดเดียวเท่านั้นที่ระเบิดออก นอกนั้นสร้างความเสียหายแค่การชนโดยไม่เกิดการระเบิด : 249  ร้อยโทจอร์จ แคนเทลโล นักบินกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ที่ประจำการ ณ สนามบินแบงก์ส ได้ละเมิดคำสั่งโดยการนำเครื่องออกเพื่อตามหาตำแหน่งการยิง แต่เครื่องบิน Airacobra ที่นำขึ้นบินนั้นได้ขัดข้องจนเครื่องตกบริเวณคอกข้างสนามหญ้าที่ แฮมมอนด์วิลล์ ส่งผลให้ร้อยโทจอร์จเสียชีวิต ในปี 1988 ประชาชนและสถานกงสุลสหรัฐ ฯ ในซิดนีย์ได้ผลักดันให้ เมืองลิเวอร์พูล สร้างสวนสาธารณะและอนุสาวรีย์เพื่อระรึกถึงและเป็นเกียรติแก่เขาด้วย

เวลา 02:15 น. ไอ-21 ได้ทำการระดมยิงใส่นิวคาสเซิล จากระยะ 9 กิโลเมตร (4.9 ไมล์ทะเล, 5.6 ไล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ หาดสต็อกตอน : 250  โดยยิงกระสุน 34 นัดในระยะเวลา 16 นาที รวมถึง กระสุนแสงอีก 8 นัด : 250  เป้าหมายของการโจมตีคือโรงงานเหล็กกล้า บีเอชพี ที่อยู่ในเมือง : 197  อย่างไรก็ตามกระสุนนั้นได้ตกในบริเวณที่กว้างทำให้เกิดความเสียหายน้อยมากและไม่มีการเสียชีวิต มีเพียงกระสุนเพียงนัดเดียวที่ทำให้เกิดการระเบิดเสียหายแก่บ้านเรือนในพาเนลล์ ในขณะที่กระสุนที่ยิงโดนรถรางนั้นไม่เกิดระเบิด : 197  : 251  ป้อมปราการสแครตชี่ย์ ได้ยิงสวนกลับไป ถือเป็นครั้งเดียวที่ป้อมปราการทางบกของออสเตรเลียได้ยิงใส่เรือรบศัตรูในช่วงสงคราม แต่เรือดำน้ำก็ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ : 251 

การวิเคราะห์[แก้]

การโจมตีอ่าวซิดนีย์สิ้นสุดลงด้วยความล้มเหลวทั้งสองฝ่าย เผยให้เห็นข้อบกพร่องทางการป้องกันของฝ่าสัมพันธมิตรและยุทธวิธีการรบญี่ปุ่น ที่ได้สูญเสียเรือดำน้ำ 3 ลำแลกกับการจมเรือลำเพียงเดียว และการปฏิบัติการครั้งต่อมาที่เรือดำน้ำขนาดใหญ่ 5 ลำของญี่ปุ่นจมเรือสินค้าเพียง 3 ลำเท่านั้น ประสิทธิภาพการป้องกันของฝ่ายสัมพันธมิตรก็ไม่ดีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์คนหนึ่งกล่าวว่าการขาดความเสียหายในซิดนีย์ฮาร์เบอร์เกิดจาก "การผสมผสานกันของความดวงดีและการสวนกลับอย่างแข็งกร้าว" [2] : 74 

ผลกระทบหลักของการโจมตีคือด้านจิตวิทยา สั่นคลอนความเชื่อที่ว่าซิดนีย์สามารถต่อต้านการโจมตีของญี่ปุ่นได้และย้ำว่าออสเตรเลียนั้นยังมีส่วนร่วมกับสงครามแปซิฟิก [3] : 225  [2] : 74  ไม่มีการเจาะลึกการโจมตีอย่างจริงจัง แม้ว่าสื่อบางสำนักพยายามจะสอบถาม เนื่องจากมีความกังวลว่าการตีแผ่ข้อมูลจะชักนำประชาชนให้รู้สึกกำลังว่าพ่ายแพ้ และลดความเชื่อมั่นของรัฐบาลของนายจอห์น เคอร์ติน สืบเนื่องจากความเสียหายของระบบการป้องกันของออสเตรเลียจากการ โจมตีทางอากาศของญี่ปุ่นในดาร์วินเมื่อสามเดือนก่อนหน้านี้ [4] : 169, 176 

ความล้มเหลวในการป้องกันของฝ่ายสัมพันธมิตร[แก้]

ฝ่ายสัมพันธมิตรพลาดสัญญาณเตือนหลาย ๆ ครั้งจากกิจกรรมของญี่ปุ่นนอกชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียก่อนการโจมตี โดยมักจะละเลยว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งที่มีการพบสัญญาณว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้โจมตีเรือบรรทุกสินค้า เวลเลน ในวันที่ 16 พฤษภาคม โดยคิดว่ามันหนีออกจากน่านน้ำออสเตรเลียทันทีหลังจากการโจมตี [4] : 174  จากนั้นเที่ยวบินลาดตระเวนแรกไม่ตรวจพบสิ่งผิดปกติใด ๆ และแม้ว่าหน่วยวิทยุกองทัพเรือเมลเบิร์นจะไม่เชื่อในรายงานและกระจายข่าวให้ผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อ 30 พฤษภาคม แต่ มิวเออร์เฮด-โกลด์ ก็ไม่มีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ [3] : 170–1  เจ้าหน้าที่กองทัพเรือ นิวซีแลนด์ ตรวจพบสัญญาณพูดคุยวิทยุของเรือดำน้ำของญี่ปุ่นในวันที่ 26 และ 29 พฤษภาคมแม้ว่าพวกเขาไม่สามารถแปลรหัสสัญญาณได้ แต่เครื่องตรวจจับทิศทางสัญญาณวิทยุ ระบุว่ามีเรือดำน้ำกำลังใกล้เข้ามาที่ซิดนีย์ [4] : 174  ฝ่ายสัมพันธมิตรคิดว่าการอบรมหน่วยต่อต้านเรือดำน้ำยังคงใช้กำหนดการณ์เดิมคือวันที่ 29 พฤษภาคม แต่ก็ไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากยานต่อต้านเรือดำน้ำทั้งหมดได้มุ่งหน้าไปปกป้องขบวนทหารทางตอนเหนือแล้ว [5] : 192  จึงมีแค่เครื่องบินลาดตระเวนขึ้นบินอีกครั้งในวันที่ 29 พฤษภาคม [3] : 193  โดยไม่มีมาตรการป้องกันอื่น ๆ เข้ามาแทนที่ [3] : 193  แม้ว่าจะมีการโจมตีของเรือดำน้ำแคระที่ ดิเอโกซัวเรส ในมาดากัสการ์เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 31 พฤษภาคม (เวลาที่ซิดนีย์) ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยังไม่ได้ส่งสัญญาณเตือนใด ๆ ไปยังพื้นที่บัญชาการเนื่องจากพวกเขาเชื่อว่ากองกำลัง วิชีฝรั่งเศส ได้ทำการโจมตีไม่ใช่ฝั่งญี่ปุ่น [3] : 198 

มิวเออร์เฮด-โกลด์ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484

นักประวัติศาสตร์ได้ตั้งข้อครหาถึงความเหมาะสมของเหล่าเจ้าหน้าที่อาวุโสเนื่องจาก มิวเออร์เฮด-โกลด์ เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารค่ำในคืนที่เกิดการโจมตี โดยแขกหลักคือเจ้าหน้าที่อาวุโส กัปตัน โฮเวิร์ด โบด์ แห่งเรือยูเอสเอสชิคาโกของกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ในอ่าวซิดนีย์ [6] : 87  เมื่อเจ้าหน้าที่ทั้งสองสงสัยว่ามีการโจมตีเกิดขึ้น [6] : 135  มิวเออร์เฮด-โกลด์ ได้เดินทางมาถึงเรือเอชเอ็มเอเอส โลลิต้า ในเวลาประมาณเที่ยงคืน คล้ายพยายามเข้าใจสถานการณ์ ลูกเรือของเรือโลลิต้าอ้างว่าเมื่อ มิวเออร์เฮด-โกลด์ เข้ามาก็ตำหนิผู้บังคับบัญชาและลูกเรือของเรือลาดตระเวนทันทีโดยไม่สนรายงานต่าง ๆ เลย [6] : 135  [4] : 136  เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยใน เรือยูเอสเอสชิคาโก ก็พูดในลักษณะเดียวกันเมื่อกัปตันโบด์มาถึงเรือว่า มิวเออร์เฮด-โกลด์ และกัปตันโบด์มีอาการมึนเมา [6] : 133–5  มีเพียงหลังเหตุการณ์ที่เรือเอชเอ็มเอเอส คัตตาบูล ถูกทำลายเท่านั้นที่เจ้าหน้าที่ทั้งสองจะเริ่มสั่งการสวนกลับอย่างจริงจัง [6] : 142–3 

ในระหว่างเกิดเหตุ มีความล่าช้าหลายอย่างเกิดขึ้น โดยใช้เวลาถึงสองชั่วโมงไปกับการสังเกตการณ์ เอ็ม-14 ที่ติดในตาข่ายดักเรือดำน้ำและรอคำสั่งแรกของ มิวเออร์เฮด-โกลด์ [2] : 72  และเสียอีกสองชั่วโมงกับการระดมเรือลาดตระเวน จากลำที่ถอนสมอช้าไปกว่าหนึ่งชั่วโมง[2] : 72  ความล่าช้าบางส่วนเกิดจากการขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ [2] : 73  เรือลาดตระเวนเสริมไม่มีอุปกรณ์สื่อสารทางวิทยุ มีเพียงการใช้สัญญาณไฟผ่านสถานีสัญญาณสงครามกับเกาะการ์เด้น หรือการสื่อสารผ่านการเปิดฝาครอบ [2] : 73  [4] : 176  ในรายงานเบื้องต้นของ มิวเออร์เฮด-โกลด์ เกี่ยวกับการโจมตี ระบุว่าสถานีสัญญาณสงครามไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสื่อสารช่วงที่มีการโจมตี [7] การสื่อสารทางโทรศัพท์กับเกาะการ์เด้นในช่วงแรกของการโจมตีก็ไม่มีความน่าเชื่อถือ หลังจากนั้นตอร์ปิโดลูกแรกที่ถูกยิงออกมาก็ปิดการสื่อสารอย่างสมบูรณ์ [3] : 211  [2] : 73 

ลำดับความสำคัญของข้อมูลอาจมีส่วนทำให้เกิดความล่าช้าและความสงสัยต่อฝ่ายเดียวกันเอง [8] : 194–5  ลูกเรือหน่วยลาดตระเวนเสริม เจ้าหน้าที่ตรวจตรา และเจ้าหน้าที่ประจำตำแหน่งอื่น ๆ มักไม่ได้รับการแจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์ใด ๆ ก่อนการโจมตี เนื่องจากถูกจัดไว้ในส่วน 'ไม่จำเป็นต้องรู้' ทำให้พวกไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ และไม่คิดว่าช่วงต้นของการโจมตีเป็นเรื่องจริง [8] : 194–5 

ข้อบกพร่องในกลยุทธ์ของญี่ปุ่น[แก้]

เอ็ม-21 กำลังถูกยกขึ้นโดยปั้นจั่นลอยน้ำเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2485
ซากของ เอ็ม-21

ข้อบกพร่องหลักในแผนของญี่ปุ่นคือการใช้เรือดำน้ำขนาดเล็กสำหรับการโจมตีเบื้องต้น เดิมทีเรือดำน้ำแคระตั้งใจจะปฏิบัติการในรูปแบบที่รวดเร็ว คือการปล่อยตัวจาก เรือบรรทุกเครื่องบินน้ำ ที่ดัดแปลงเพื่อให้แล่นทะลวงผ่านแนวข้าศึก [3] : 68  แต่แนวคิดนี้ได้ลดความนิยมไปเพราะจากประสบการณ์ของกองทัพเรือญี่ปุ่นที่รับรู้ว่าการทำสงครามทางทะเลควรจะมุ่งเน้นจัดการเรือบรรทุกเครื่องบิน [3] : 71  ส่งผลให้การโจมตีของเรือดำน้ำแคระเปลี่ยนไปเป็นการแทรกซึมท่าเรือศัตรูเพื่อโจมตีที่จอดไว้ [3] : 71  แนวคิดนี้ล้มเหลวไม่เป็นท่าในช่วงการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เนื่องเรือดำน้ำแคระไม่ค่อยมีผลต่อการรบเลยและต้องผูกประกบติดกับเรือดำน้ำขนาดใหญ่ 11 ลำเป็นเวลาหกสัปดาห์เพื่อสนับสนุนการโจมตีใน ซิดนีย์ และ ดิเอโกซัวเรซ ซึ่งเป็นที่พิสูจน์ว่าวแนวคิดนี้เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ [4] : 58  [3] : 291 

ยิ่งกว่านั้น ความล้มเหลวที่ซิดนีย์ฮาร์เบอร์และดิเอโกซัวเรซแสดงให้เห็นว่าการอัพเกรดเรือดำน้ำขนาดแคระที่มีขึ้นหลังจากเพิร์ลฮาร์เบอร์ ไม่ได้เพิ่มความสามารถโดยรวมของโครงการเรือดำน้ำแคระ [4] : 58  [3] : 291  โดยการอัพเกรดมีผลด้านต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการบังคับและการปล่อยตัวเรือดำน้ำแคระในขณะที่เรือแม่อยู่ในน้ำ ป้องกันไม่ให้เรดาร์ชายฝั่งข้าศึกตรวจจับได้ [8] : 188  อย่างไรก็ตาม เรือดำน้ำแคระยังมีการควบคุมที่ยาก ไม่มั่นคง และมีแนวโน้มที่จะจมและครูดกับพื้นใต้น้ำหรือการบังคับที่ควบคุมไม่ได้ [3] : 70  ปัญหาด้านความความคล่องแคล่วเหล่านี้เอง มีส่วนทำให้ เอ็ม-14 เข้าไปติดตาข่ายต่อต้านเรือดำน้ำและการโดนตรวจเจอของ เอ็ม-21 และ เอ็ม-24

นอกเหนือจากการใช้เรือดำน้ำแคระนี้ นักประวัติศาสตร์ยังได้ระบุถึงพื้นที่แผนการโจมตีของญี่ปุ่นที่สามารถสร้างความเสียหายใหญ่หลวง ถ้าหากเรือดำน้ำแคระทำการโจมตีพร้อมกันสำเร็จก็จะสามารถจัดการแนวป้องกันของข้าศึกได้ [8] : 188  โอกาสที่จะสร้างความเสียหายนั้นมีเพิ่มมากขึ้นหลังการทำลายเรือ คัททาบูล เมื่อเรืออีกหลายลำมุ่งหน้าสู่ออกสู่ทะเลประกอบด้วย ยูเอสเอส ชิคาโก, ยูเอสเอส เพอร์คินส์, เรือดำน้ำดัตช์ เค-9, เอชเอ็มเอเอส วายออลล่า และ เอชเอ็มไอเอส บอมเบย์ [2] : 70  โดยเรือดำน้ำหลักทั้ง 5 ลำของญี่ปุ่นนั้นพร้อมที่จะเดินทางไปยังจุดสำหรับฟื้นฟูเรือ ณ ท่าจอดเรือแฮคกิ้ง และถึงแม้ว่าที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ซาซากิจะเคยเหลือเรือดำน้ำบางลำไว้ที่ท่าจอดเพื่อจัดการเรือข้าศึกที่แตกแถวมา แต่ซาซากิก็ไม่ได้ใช้แผนนี้ในเหตุการณ์นี้เลย [6] : 155 

ยูเอสเอสชิคาโก ที่รอดมาได้[แก้]

มีหลายปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของญี่ปุ่นส่งผลให้เรือยูเอสเอสชิคาโกนั้นอยู่รอดมาได้ ในช่วงที่ เอ็ม-24 โจมตีเรือยูเอสเอสชิคาโก เรือดำน้ำอีกลำก็เตรียมที่จะออกจากท่าเรือซิดนีย์ และถึงแม้เรือยังคงจอดประจำที่ก็ยังสร้างควันสีขาวจากการหม้อไอน้ำอุ่นขึ้น [4] : 137  ควันนี้พุ่งออกไปทางท้ายเรือภายใต้อิทธิพลของลมและตัดกันกับความมืดและเมฆมากต่ำอาจทำให้เกิดความรู้สึกว่า ชิคาโก กำลังเคลื่อนไหวทำให้ เอ็ม-24 เป็น ผู้นำ เมื่อยิงตอร์ปิโด และส่งตอร์ปิโดไปทางโค้ง [4] : 137–9  อีกปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลต่อการอยู่รอดของชิคาโกคือการดับไฟของเกาะการ์เดนในช่วงนาทีก่อน เอ็ม-24 ยิงตอร์ปิโดแรกขัดขวางการกำหนดเป้าหมาย [2] : 73 

ผลของการระดมยิง[แก้]

ฝูงชนมองดูรูกระสุนในเมือง Woollahra เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2485

การระดมยิงนี้สร้างความเสียหายต่อเมืองไม่มาก แต่ส่งผลด้านลบต่อจิตใจประชาชนชาวซิดนีย์และนิวคาสเซิลเป็นอย่างสูง ทั้งความไม่สมบูรณ์ของอุปกรณ์ค้นหาเรือดำน้ำและแท่นยิงต่าง ๆ[3] : 250  การระดมยิงเรือดำน้ำในครั้งนี้จึงประสบความสำเร็จที่ให้ประชากรในพื้นที่เป้าหมายหวาดกลัว [3] : 250 

การที่กระสุนไม่ระเบิดจากการระดมยิงมีสาเหตุหลายประการ ประการแรกอาจเพราะกระสุนเป็นชนิดเจาะเกราะที่มักใช้ยิงลำเรือที่เป็นเหล็ก การนำไปยิงกับกำแพงอิฐที่ค่อนข้างอ่อนกว่าอาจจะมีส่วนให้ฟิวส์กระสุนไม่ทำงาน [3] : 249  ประการถัดมาอาจเนื่องจากปฏิบัติการในทะเลหลายสัปดาห์ น้ำทะเลอาจจะทำความเสียหายต่อชุดกระสุน [3] : 249  ประการสุดท้ายคืออายุของกระสุน เนื่องจากปลอกกระสุนที่เก็บกู้ได้ที่นิวคลาสเซิลพบว่ามีการผลิตในอังกฤษตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง [4] : 197 

ด้วยความกลัวว่ากองทัพญี่ปุ่นจะบุกทำให้ประชาชนในซิดนีย์บางส่วนย้ายไปทางตะวันตก ทำให้ราคาของที่อยู่อาศัยใน ชานเมืองทางทิศตะวันออก ลดลง ในขณะที่บริเวณเทือกเขาบลู กลับเพิ่มขึ้น [3] : 258  และการโจมตีนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของสมาชิกอาสาสมัครขององค์กรป้องกันและการเสริมสร้างการป้องกันในอ่าวซิดนีย์และท่าเรือนิวคาสเซิล

หลังเหตุการณ์[แก้]

หนังสือพิมพ์ไม่ได้ตีพิมพ์ข่าวการโจมตีของเรือดำน้ำจนถึงวันที่ 2 มิถุนายนเนื่องจากการโจมตีส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากที่หนังสือพิมพ์ออกข่าวในเช้าวันที่ 1 มิถุนายน : 225  เช้าวันรุ่งขึ้นหลังการโจมตี ข่าวหน้าหนึ่งตีพิมพ์ ปฏิบัติการมิลเลนเนียม ของกองทัพอากาศ ในการทิ้งระเบิดกว่า 1,000 ครั้ง แม้ว่าหนังสือพิมพ์หลายฉบับจะมีบทความภายในเล็ก ๆ ที่กล่าวถึง สะพานลาดตระเวนขั้นสุดท้าย : 225  แต่รัฐบาลกลางได้เซ็นเซอร์เนื้อหาของเหตุการณ์การโจมตีของเรือดำน้ำทั้งหมดและออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการในช่วงบ่ายของวันที่ 1 มิถุนายนว่า "พันธมิตรได้ทำลายเรือดำน้ำ 3 ลำในท่าเรือซิดนีย์และได้สูญเสียเรือ คัททาบูล มีผู้เสียชีวิต 21 ราย ซึ่งเป็นการสูญเสียของ "เรือเล็กลำหนึ่งที่ไม่มีคุณค่าทางทหาร" : 156, 187  แต่ในที่สุด หนังสือพิมพ์ สมิธส์วีคลี่ ได้เผยแพร่ข่าวเหตุการณ์โจมตีในวันที่ 6 มิถุนายน และเขียนข่าวติดตามประเด็นนี้ไปจนถึง 13 มิถุนายน จนทำให้ กองทัพเรือออสเตรเลีย พยายามเรียกเก็บหนังสือพิมพ์เหล่านี้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง : 212, 223–7 

การทำพิธีฝังศพของลูกเรือชาวออสเตรเลียที่เสียชีวิตระหว่างการโจมตีที่ซิดนีย์

การกู้ซากเรือ คุตทาบู และร่างของผู้เสียชีวิตทั้ง 21 คนนั้นใช้เวลาหลายวัน [4] : 151  วันที่ 3 มิถุนายน มุลเฮด-โกลด์ และเจ้าหน้าที่กองทัพเรือกว่า 200 คนเข้าร่วมพิธีฝังศพ [4] : 151  1 มกราคม ค.ศ. 1943 ฐานทัพเรือที่เกาะการ์เดนได้ทำการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตและเรือ เฮชเอ็มเอเอส คุตทาบูล

ชาวออสเตรเลียกู้ร่างของลูกเรือชาวญี่ปุ่น 4 คน ที่จมอยู่ในอ่าวซิดนีย์และทำการเผาที่ สุสาน รูควูด โดยปักธงญี่ปุ่นเหนือโลงศพแต่ละอันเพื่อให้เกียรติกองทัพเรือญี่ปุ่น [2] : 72  แม้ มุลเฮด-โกลด์ จะถูกหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการรับมือการโจมตีในครั้งนี้ แต่การปฏิบัติต่อศพข้าศึกโดยความเคารพก็เป็นที่น่าชื่นชม [3] : 230  นักการเมืองออสเตรเลียหวังว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะปฏิบัติต่อนักเชลยศึกชาวออสเตรเลียในสถานกักกันดีขึ้น [3] : 231  แต่เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นก็ได้กล่าวว่างานศพนี้จะไม่มีผลใด ๆ ต่อเชลยสงครามของออสเตรเลีย [3] : 231  ทำให้ผู้บัญชาการสูงสุดของออสเตรเลียสั่งห้ามไม่ให้ทำพิธีศพในลักษณะเดียวกันต่อฝ่ายศัตรูอีกในอนาคต [9]

การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่การทูตของออสเตรเลียและญี่ปุ่นเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2485 ซึ่งอนุญาตให้ ทัตสึโอะ คาวาอิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำออสเตรเลียเดินทางกลับประเทศพร้อมกับเถ้าของเรือดำน้ำสี่ลำ [3] : 232–3  เมื่อเรือคามาคุระมารุ มาถึง โยโกฮาม่า มีคนหลายพันคนมาร่วมแสดงความเคารพ [3] : 232–3 

ญาติของลูกเรือชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในเรือดำน้ำแคระในการบุกเข้าไปในอ่าวซิดนีย์ โค้งคำนับเรือคามาคุระมารุ ที่แล่นถึง โยโกฮามา พร้อมกับซากของเรือดำน้ำสี่ลำในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2485

เรือยูเอสเอส ชิคาโก และ เอชเอ็มเอเอส แคนเบอร์ร่า ทั้ง 2 ลำได้จมลงใน 1 ปีให้หลัง โดย แคนเบอร์ร่า ได้ จมลงในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ระหว่างการ สู้รบที่เกาะซาโว และ เรือยูเอสเอส ชิคาโก จมเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1943 จากการต่อสู้ที่เกาะเรนเนลล์ [2] : 61, 150–3, 273  ส่วนเรือดำน้ำญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีถูกทำลายทุกลำ โดย ไอ-21 ถูกจมโดย ยูเอสเอส ชาร์เรทต์ และ แฟร์ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ใน หมู่เกาะมาร์แชล [4] : 216  ไอ-22 ถูกจมโดยเรือตอร์ปิโดของอเมริกา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ที่ เกาะนิวกินี [4] : 216  ไอ-24 ถูกจมโดยเรือลาดตระเวนอเมริกัน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2486 ใกล้กับ หมู่เกาะอลูเทียน [4] : 216  ไอ-27 ถูกจมโดย เอชเอ็มเอส พาราดิน และ เพตาร์ด เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ที่ มัลดีฟส์ [4] : 216  และสุดท้าย ไอ-29 ถูกจมโดย ยูเอสเอส ซอวฟิซ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2487 ใน ฟิลิปปินส์ [4] : 216 

เอ็ม-14 และ เอ็ม-21[แก้]

เรือดำน้ำขนาดเล็กผสมที่ อนุสรณ์สถานสงครามของออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2550

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ค้นหาและกู้ซาก เอ็ม-21 ในวันที่ 3 มิถุนายนและ เอ็ม-14 ในวันที่ 8 มิถุนายน [6] : 209, 219  แม้ทั้งสองจะมีความเสียหาย แต่ก็มีความเป็นไปได้จะซ่อมแซมให้ใช้การได้ในอนาคต [2] : 72  ชิ้นส่วนตรงกลางของลำเรือดำน้ำได้นำไปแสดงแก่ประชาชนโดยการแห่หลังรถบรรทุกเป็นระยะทางกว่า 4,000 km (2,500 mi) โดยเคลื่อนไปทางตอนใต้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์รัฐวิกตอเรียและทางใต้ของประเทศออสเตรเลีย [2] : 72  [6] : 250  โดยจุดประสงค์ของการแห่ครั้งนี้คือ เพื่อให้ชาวออสเตรเลียได้เห็นเรือดำน้ำแคระของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดและเพื่อในการระดมเงิน สำหรับกองทุนบรรเทาทุกข์ทางเรือและองค์กรการกุศลอื่น ๆ เป็นจำนวนกว่า 28,000 ปอนด์[2] : 72  [9] เรือดำน้ำเดินทางถึง อนุสรณ์สถานสงครามออสเตรเลีย ในแคนเบอร์ราในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2486 โดยติดธงเรือไวท์เอนซิงน์ และ ธงเพนแนนท์ไว้ด้วย [2] : 72  เรือดำน้ำถูกจัดแสดงนอกพิพิธภัณฑ์โดยแยกส่วนเป็นสามชิ้น, [6] : 251  แต่ในปี 2523 ก็ต้องย้ายเข้ามาแสดงภายในอาคาร เพื่อป้องกันการกระทำอันคึกคะนองของวัยรุ่นที่เข้ามารับชม เช่นในปี 2509 กลุ่มนักศึกษาได้ระบายสีเหลืองบนเรือดำน้ำเพื่อล้อเลียนถึงเพลง เยลโล่ซัพมารีน ของวง เดอะบีเทิลส์ [6] : 253–5  เรือดำน้ำได้ถูกประกอบและยังคงจัดแสดงอยู่ภายในอนุสรณ์สถานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการถาวรของการโจมตีในครั้งนี้ โดยเรือ เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล ที่ถูกเก็บกู้ขึ้นมาก็จัดแสดงในส่วนถัดไปเช่นเดียวกัน [6] : 253–5  ส่วนหอยื่นของ เอ็ม-21 ถูกจัดแสดงที่ ศูนย์มรดกกองทัพเรือออสเตรเลีย บนเกาะการ์เด้น [6] : 251  เศษที่เหลือจาก เอ็ม-21 ได้ถูกหลอมเป็นของที่ระลึก [6] : 253 

เอ็ม-24[แก้]

หอยื่นของเรือดำน้ำ เอ็ม-21 ที่จัดแสดง ณ RAN Heritage Centre, ซิดนีย์

กว่า 64 ปีที่ เอ็ม-24 หายไป มีทหารเรือราชนาวีออสเตรเลียอ้างว่าเคยเจอเรือดำน้ำแคระมากกว่า 50 คน แต่ล้วนพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง ทฤษฎีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือตัวเรืออาจจะได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายพร้อมกับ เอ็ม-21 รอบ ๆ อ่าว Taylors ตามรายงานจากเรือ Steady Hour และ Yarroma ที่กล่าวว่าพบเรือดำน้ำมันมากกว่า 1 ลำระหว่างที่กำลังโจมตี เอ็ม-21 กว่า 3 ชั่วโมง[2]: 71 [3]: 217  ทฤษฎีที่สองคือเรือดำน้ำอาจจะพยายามย้อนกลับไปที่เรือหลัก แต่แบตเตอรี่ได้หมดก่อนที่จะถึงท่าจอดเรือแฮคกิ้ง จึงต้องออกไปจากบริเวณและใช้เส้นทางมุ่งไปทางใต้ของซิดนี่ย์เฮด[3]: 217  ทฤษฎีที่สามคือลูกเรือดำน้ำอาจจะตัดสินใจไม่กลับไปยังท่าจอดเรือแฮคกิ้ง เพื่อหลักเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดกับเรือดำน้ำหลักจากการโดนติดตาม จึงใช้เส้นทางมุ่งหน้าไปทางเหนือแทน[3]: 184 

กลุ่มนักดำน้ำสมัครเล่นเจ็ดคนได้คลายปริศนานี้ได้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2549 เมื่อพวกเขาพบเรือดำน้ำแคระจมอยู่ก้นทะเลระดับความลึก 55 เมตร (180 ฟุต) และห่างจากบันกานเฮดของหาดซิดนีย์เหนือ 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์/ 2.7 ไมล์ทะเล) ผู้บัญชาการเชนมัวร์ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านมรดกทางการทหารราชนาวีออสเตรเลียยืนยันว่าเศษซากที่พบนั้นเป็นของเรือ เอ็ม-24 หลังผ่านการดูภาพอ้างอิงและตรวจสอบ ซากเรือนั้นมีรูกระสุนหลายรู โดยส่วนใหญ่มาจากป้อมปืนกลของเรือยูเอสเอส ชิคาโก ที่ตั้งที่แน่นอนของซากเรือถูกปิดเป็นความลับด้วยความร่วมมือจากนักดำน้ำ ทหารราชนาวี และการปกป้องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เบรนแดน เนลสัน ที่สัญญาว่าจะปกป้องซากเรือดำน้ำแคระนี้ในฐานะสิ่งรำลึกของสงคราม ข่าวซากเรือดำหน้าถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2549 มีการตั้งเขตหวงห้ามขึ้นรอบ ๆ ซากเรือในระยะ 500 m (1,600 ft) หากเรือลำใดเข้าสู่พื้นที่ อาจจะถูกปรับเงินกว่า 1.1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียตามกฏหมายเขตนิวเซาท์ เวลส์ และอาจถูกปรับเงินและยึดอุปกรณ์เพิ่มเติมตามกฏหมายของเครือจักรภพ [6]: 255  บริเวณชายฝั่งและทุ่นลอยน้ำก็มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและตัวดักคลื่นความถี่เพื่อป้องกันเขตหวงห้ามนี้อีกด้วย.[6]: 255 

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในระหว่างที่พลเรือเอก อิจิ โยชิกาว่า แห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้เยือนออสเตรเลีย โยชิกาว่า และพลเรือเอก รุสส์ ชาลเดอรส์ แห่งเรือ RAN Vice ได้ร่วมในพิธีที่จัดขึ้นที่เรือ เอชเอ็มเอเอส นิวคาสเซิล เพื่อเป็นเกียรติแก่ลูกเรือของ เอ็ม-24 โดยญาติของลูกเรือเรือดำน้ำแคระ ,หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเรือ คัททาบูล ,บุคคลสำคัญและบุคลากรทางทหารของออสเตรเลียและญี่ปุ่น ได้เข้าร่วมพิธีอีกครั้งในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ที่เรือ เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล จากนั้นเรือ เอชเอ็มเอเอส เมลเบิร์น ได้พาญาติ ๆ ของลูกเรือ เอ็ม-24 ไปยังจุดพบซากเรือดำน้ำแคระ พวกเขาได้เทสาเกลงไปในทะเลก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำทรายที่นำมาจากก้นทะเลรอบ ๆ จุดจมให้ญาติได้ดู

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลของรัฐ NSW ประกาศว่า ด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลญี่ปุ่นและครอบครัวของลูกเรือดำน้ำแคระจะได้รับอนุญาตให้สังเกตการณ์ซาก เอ็ม-24 เป็นระยะเวลาสั้น ๆ นักดำน้ำจะใส่บัตรลงคะแนนสำหรับสถานที่ในการดำน้ำควบคุมที่ดำเนินการในหลายวัน หากประสบความสำเร็จการเปิดไซต์จะกลายเป็นเหตุการณ์ประจำปีเพื่อระลึกถึงการโจมตี

ดูสิ่งนี้ด้วย[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ลิงก์ภายนอก[แก้]

  1. Sasaki, Telegraphic Order 3. (Reproduced in Grose, A Very Rude Awakening: 66 )
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 Gill, Royal Australian Navy, 1942–1945.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 3.23 3.24 Jenkins, Battle Surface.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 Carruthers, Japanese Submarine Raiders 1942.
  5. Stevens, A Critical Vulnerability.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 6.14 Grose, A Very Rude Awakening.
  7. Reproduced in Carruthers, Japanese Submarine Raiders 1942: 244 .
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Fullford, We Stood And Waited.
  9. 9.0 9.1 Warner & Seno, The Coffin Boats.