ผู้ใช้:Kiang2001/รหัสเที่ยวบิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รหัสเที่ยวบินบน ป้ายแสดงผลแบบพับ ภายในสนามบินแฟรงเฟิร์ต

รหัสเที่ยวบิน (อังกฤษ: flight number) ประกอบไปด้วยรหัสของสายการบินและเลขเที่ยวบิน เพื่อที่จะแสดงถึงเที่ยวบินนั้นโดยเฉพาะ รหัสเที่ยวบินไม่ควรที่จะเกี่ยวข้องกับ รหัสประจำเครื่องบินใช้เป็นสัญญาณเรียกขานในการบิน ในรหัสเที่ยวบินหนึ่งอาจบินหลายเที่ยวบินในหนึ่งวัน และรหัสเที่ยวบินหนึ่งอาจใช้กับเครื่องบินหลายลำ

หลักการในการตั้งรหัสเที่ยวบิน[แก้]

ในการตั้งรหัสเที่ยวบินมีใช้หลายรูปแบบ ในบางสายการบิน เส้นทางที่เดินทางไปทิศตะวันออกและทิศเหนือตั้งรหัสเที่ยวบินเป็นเลขคู่ และเส้นทางไปทิศตะวันตกและทิศใต้ตั้งรหัสเที่ยวบินเป็นเลขคี่ ในขณะที่บางสายการบินใช้เลขคี่สำหรับเส้นทางที่ออกจากศูนย์กลางการบิน และเลขคู่ถัดไปสำหรับเส้นทางที่บินกลับในเส้นทางเดียวกัน ในเส้นทางที่มีการบินหลายเที่ยวบินต่อวัน เลขเที่ยวบินจะเพิ่มขึ้นเฉพาะในวันเดียวกัน เช่น เที่ยวบินจากจุด ก ไป จุด ข ใช้รหัสเที่ยวบิน 101 เส้นทางจาก จุด ข ไป จุด ก จะใช้รหัสเที่ยวบิน 102 เที่ยวบินไป-กลับ ถัดไปที่บินในเส้นทางเดียวกัน จะใช้รหัสเที่ยวบิน 103 และ 104

จำนวนหลักของรหัสเที่ยวบิน[แก้]

รหัสเที่ยวบินที่น้อยกว่า 3 หลัก ส่วนใหญ่จะเป็นเที่ยวบินระยะไกลหรือเที่ยวบินพิเศษ เที่ยวบินที่ 1 โดยมากจะเป็น "เรือธง" ของการให้บริการ เช่น บริติชแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ BA 1 เป็นเที่ยวบิน ที่ออกในตอนเช้า ในเส้นทาง ลอนดอน (ท่าอากาศยานลอนดอนซิตี)-แชนนอน (ท่าอากาศยานแชนนอน)-นครนิวยอร์ก (ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีแอร์นิวซีแลนด์ เที่ยวบินที่ NZ 1 เป็นเที่ยวบินที่ให้บริการจาก ลอนดอน (ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์) สู่ ออกแลนด์ (ท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์) ผ่าน ลอสแอนเจลิส (ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส) ควอนตัส เที่ยวบินที่ QF 1 เรียกว่า Kangaroo Route บินจาก ซิดนีย์ (ท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ) ผ่าน ดูไบ (ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ) สู่ ลอนดอน (ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์อเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ AA 1 บินทุกวันจาก นครนิวยอร์ก (ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี) สู่ ลอสแอนเจลิส (ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส) และ แอล อัล อิสราเอลแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ LY 1 บินทุกวันจาก เทลอาวีฟ (ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน ) สู่ นครนิวยอร์ก (ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี) รหัสเที่ยวบินสี่หลัก ในช่วง 3000 ถึง 5999 โดยมากจะเป็นเที่ยวบินพันธมิตรในระดับภูมิภาค และ รหัสเที่ยวบินที่มากกว่า 6000 ปกติจะเป็นเที่ยวบินที่มีข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน รวมถึงในรถไฟความเร็วสูงด้วย

เช่นเดียวกันเที่ยวบินที่ใช้รหัสเที่ยวบินมากกว่า 9000 มักจะเป็นเที่ยวบินที่บินโดยไม่มีผู้โดยสาร เที่ยวบินที่อยู่ระหว่างการนำไปซ่อมบำรุง เที่ยวบินที่เดินทางจากสนามบินหนึ่งไปอีกสนามบินหนึ่งเพื่อเริ่มต้นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ต่อไป และเที่ยวบินที่รหัสเที่ยวบินขึ้นต้นด้วย 8 มักเป็นเที่ยวบินเหมาลำ แต่โดยมากจะขึ้นอยู่กับสายการบิน

[[หมวดหมู่:การบินพลเรือน]]