ผู้ใช้:Blassry

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เล่าขานตำนานเมือง |เล่าขานตำนานเมือง

นครสวรรค์ เป็นเมืองโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อในศิลาจารึก เรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามมาทุกสมัย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ บริเวณเชิงเขาขาด(พระฤาษี) จรดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็นแนวปรากฏอยู่ เมืองพระบาง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองชอนตะวัน เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และหันนหน้าไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกทำให้ แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นชื่อ เมืองนครสวรรค์ เพื่อเป็นศุภนิมิตอันดี

จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในอดีตและทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน จนทำให้ผู้คนรู้จักจังหวัดนครสวรรค์ตามสมญาณนามต่างๆ อาทิ “เมืองสี่แคว” บ้าง “ปากน้ำโพ” บ้าง หรือ “ประตูสู่ภาคเหนือ” บ้างในทางประวัติศาสตร์นครสวรรค์ มีชื่อเรียกที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า ปากน้ำโพ โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรง ยกทัพตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพไปรับทัพข้าศึกที่ปากน้ำโพแต่ต้านทัพข้าศึกไม่ไหวจึงล่าถอยกลับไป

ที่มาของคำว่า “ปากน้ำโพ” สันนิษฐานได้ 2 ประการคือ อาจมาจากคำว่า ปากน้ำโผล่ เพราะเป็นที่มาของปากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และมาโผล่รวมกันเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา หรืออีกประการหนี่งคือ มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่ตรงปากน้ำในบริเวณ วัดโพธิ์ ก็อาจเป็นได้ ในสมัยยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงนำพระพุทธรูปชื่อ พระบาง ไปคืนให้เมืองเวียงจันทร์ แต่ติดศึกพม่าต้องเอาพระพุทธรูปพระบางมาค้างไว้ที่เมืองนี้ ต่อมาไทยรบทัพจับศึกกับพม่าและปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือที่แข็งเมืองมายกตีกรุงศรีอยุธยา และตอนต้นกรุงเทพฯ กองทัพไทยได้ยกเคลื่อนที่ขึ้นมาเลือกเมืองนครสวรรค์ (ที่เคยเป็นโรงทหารเก่าโรงเหล้าในปัจจุบัน) เป็นที่ตั้งทัพหลวงแล้วดัดแปลงขุดประตูหอรบจากตะวันตกตลาดดำไปบ้านสันคู ไปถึงทุ่งสันคู เดี๋ยวนี้ยังปรากฏคูแนวคูอยู่ เมื่อข้าศึกยกลงมาจากทุ่งหนองเบน หนองสังข์ สลกบาตร และตะวันออกเฉียงใต้ของลาดยาว มาเหนือทุ่งสันคู เมื่อฤดูเป็นที่ดอนขาดน้ำ ถ้าฝนตกน้ำก็จะหลากเข้ามาอย่างแรงท่วมข้าศึก ไทยยกทัพตีตลบหลังพม่าวิ่งหนีผ่านช่องเขานี้จึงได้ชื่อว่า ช่องเขาขาด มาจนบัดนี้

ตามหลักฐานทางโบราณคดี จังหวัดนครสวรรค์เป็นดินแดนที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยอดีตกาล มีประวัติความเป็นมายาวนานผ่านพัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย เริ่มตั้งแต่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เรื่อยมาถึงสมัยทวารวดี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ จนถึงยุคปัจจุบัน จังหวัดนครสวรรค์จึงเป็นแหล่งวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดยจะดูได้จากโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรมตำนาน หรือวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นมรดกตกทอดมาจากสมัยบรรพบุรุษ

จังหวัดนครสวรรค์ยังมีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งแหล่งทางธรรมชาติที่สวยงาม โบราณสถานและงานประเพณีประจำปีที่ขึ้นชื่อ ซึ่งเป็นที่รูจักกันดี นั้นก็คืองานประเพณีเชิดสิงโต แห่มังกรในเทศกาลตรุษจีนซึ่งเป็นประเพณีที่โดดเด่นของจังหวัดนครสวรรค์ที่ใครๆก็กล่าวถึง ดังคำขวัญของจังหวัดที่กล่าวว่า “เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบีงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ”

ต้นกำเนิดประเพณีการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ

ประเพณีตรุษจีน ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ตามปฏิทินจีน เป็นประเพณีเกี่ยวกับการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ ของคนไทยเชื้อสายจีน ที่อยู่ในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีกิจกรรมการแสดงหลายอย่าง เช่น การแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ แห่มังกร เชิดสิงโต

การแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ เป็นประเพณีที่กลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดดนครสวรรค์ ซึ่งปฏิบัติสืบเนื่องติดต่อกันมา การแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพเริ่มครั้งแรกเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสของชาวไหนนำ คุณเตียงตุ่น แซ่ภู่ ว่าการแห่เจ้ามีมาก่อนที่จะเกิดโรคระบาดโดยสมัยก่อนแห่ทางน้ำ ใช้เวลาในการแห่ 2 วัน โดยอัญเชิญรูป จำลองเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าพ่อกวนอู-เจ้าแม่ทับทิม ประทับบนเกี้ยว แล้วนำลงเรือบรรทุกข้าวหรือบรรทุกไม้ ล่องไปทางตลาดใต้ บ้านตากุ๋ย แล้วอัญเชิญกลับศาล วันที่สองจะมีการทำการแห่ขึ้น ไปทางเหนือทางสถานีรถไฟ ขบวนแห่จะมีแต่เฉพาะองค์เจ้าและพะโหล่ว ต่อมาเมื่อมีการคมนาคมทางบกสะดวก จึงได้อัญเชิญแห่รอบตลาดปากน้ำโพ และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของชาวไหนนำ คือการเชิดเสือ พะโหล่ว สาวงามถือโบ้ยโบ้ (อาวุธเจ้า) ไซกี่ (ธง) มาร่วมในขบวน

จวบจนกระทั่งปี พ.ศ.2460-2462 เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดทำให้ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุเพราะการแพทย์ การสาธารณสุขสมัยนั้นยังไม่เจริญเท่าที่ควร ชาวบ้านต้องพึ่งพาหมอตามบ้าน หรือซินแสจีน แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งโรคระบาดได้ ส่วนใหญ่หันไปพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในครั้งนั้นเจ้าพ่อแควใหญ่ (เจ้าพ่อเทพารักษ์) ได้ประทับทรง ทำพิธีรักษาโรคด้วยการเขียน “ยันต์กระดาษ” หรือเรียกว่า “ฮู้” ให้ติดตัวหรือปิดไว้หน้าบ้าน และได้นำฮู้เผาไฟเพื่อทำน้ำมนต์ให้ประชาชนได้ดื่มกินและประพรมรอบตลาด บริเวณใดที่ได้ ทำพิธีแล้วก็จะใช้ผ้าแดงกั้นไว้ให้ประชาชนผ่านไปผ่านมาเส้นนี้ได้ เป็นผลให้การระบาดของโรคหมดไป ความศักดิ์สิทธิ์จากปากต่อปากที่เล่าขานและแรงศรัทธา จึงทำให้มีผู้คนศรัทธา มากราบไหว้เพิ่มขึ้นทุกปี

ซึ่งจากแรงศรัทธานี้ทำให้ทั้งชาวไทย,จีน,กวางตุ้ง,จีนแคระ,จีนแต้จิ๋ว ได้เข้ามาร่วมในขวนแห่ โดยนำเอาศิลปะของตนเข้าร่วมขวนแห่ เช่น ขบวนสิงโต ขบวนมังกร ขบวนเอ็งกอ ขบวนล่อโก๊ว ฯลฯ และในปี พ.ศ.2510 ชาวไหนนำได้นำเอาศิลปะการรำถ้วยเข้ามาร่วมในขวนแห่ และได้จัดเป็นประเพณีที่ได้ถือปฏิบัตินับแต่นั้นมา และตามบริษัท,ห้าง,ร้านต่างๆ ได้จัดโต๊ะรับเจ้าทั่วตลาดปากน้ำโพ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อกิจการและครอบครัว

สำหรับวันที่ใช้แห่ในช่วงที่มีแต่ชาวไหหนำนั้นขึ้นอยู่กับองค์เจ้าพ่อกำหนด แต่เมื่อมีหลายกลุ่มหลายภาษามาร่วมในขบวนแห่ คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม แควใหญ่จึงขอต่อเจ้าพ่อเทพารักษ์ กำหนดวันที่แน่นอน ซึ่งในครั้งนั้นได้กำหนดวันขึ้น 4 ค่ำเดือนอ้ายของชาวจีน (ก็คือวันที่ 4 โดยให้เริ่มนับวันที่กำหนดเป็นวันตรุษจีนตามปฏิทิน เป็นวันที่ 1) โดยถือเป็นประเพณีที่ได้สืบทอดและสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครสวรรค์นับแต่นั้นมาจนทุกวันนี้

ปัจจุบันประเพณีการแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ เทศกาลตรุษจีนได้สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครสวรรค์เป็นอย่างมาก ซึ่งรูปแบบการจัดงานได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย โดยได้คัดเลือกชาวตลาดปากน้ำโพเข้ามาเป็นคณะกรรมการจัดงาน หรือที่เรียกว่าคณะกรรมการกลาง โดยการจัดงานในปัจจุบันจะจัดงานในภาคกลางคืนถึง 12 คืน โดยในงานจะจัดให้มีการอุปรากรจีนทั้งไหหนำและแต้จิ๋ว การจัดขบวนแห่กลางคืนมีแสงสีที่สวยงาม ซึ่งการแห่กลางคืนนี้ถือได้ว่าเป็นการแห่ล้างตลาดก่อนที่วันรุ่งขึ้นจะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ออกแห่

ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ของชาวจังหวัดนครสวรรค์ ในปัจจุบันจะจัดขบวนแห่อย่างใหญ่โตและสวยงาม มีการใช้เทคนิค อุปกรณ์และสีสันต่างๆมากมาย รวมทั้งการเพิ่มลีลาการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้ชมได้อย่างมาก การแห่จะมีสองรอบคือ รอบกลางคืน วันซิวซา (วันที่ 3 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน) ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. และรอบกลางวัน วันซิวซี่ (วันที่ 4 เดือน 1) ซึ่งเป็นรอบสำคัญเพราะมีขบวนเกี้ยวเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ร่วมในขบวนด้วย เริ่มแห่ตั้งแต่เวลา 07.00 นาฬิกา ไปตามถนนสายต่างๆในเมืองไปสิ้นสุดที่บริเวณริม แม่น้ำเจ้าพระยาเวลาประมาณ 18.00 นาฬิกา แล้วจึงอัญเชิญเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าชั่วคราวริมเขื่อนเป็นเวลา 1 คืน และอัญเชิญกลับศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ในวันรุ่งขึ้น

ประวัติศาลเจ้า ปากน้ำโพ[แก้]

นครสวรรค์ เป็นเมืองโบราณในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี จารึกของพ่อขุนรามคำแหงเรียกชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองพระบาง” สภาพทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกึ่งกลางหัวเมืองและหัวเมืองต่างๆ ทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจึงเป็นเมืองชุมทางการค้าเมืองศูนย์กลางคมนาคมรวมทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญที่มีบทบาทในการทำศึกสงครามมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ ณ บริเวณเชิงที่ราบเขาขาดหรือเขาฤษีมาจรดหัวเมืองหรือ “วัดนครสวรรค์” จังหวัดนครสวรรค์ยังเป็นจุดเริ่มต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา และ ณ ที่นี้มีศาลเจ้าฯที่ชาวจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเคารพยึดเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจและเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์อยู่ ณ ตรงข้ามตลาดปากน้ำโพ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสายนครสวรรค์-ชุมแสง ตัวศาลตั้งหันหน้าลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนทั่วไปเรียกศาลเจ้าแห่งนี้ว่า “ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม” หรือ “ศาลเจ้าพ่อแควใหญ่” ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าฯแห่งนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างมาแต่สมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง จะมีก็เพียงระฆังโบราณ 1 ใบ ที่มีอายุกว่า 130 ปี โดยนายหงเปียว แซ่ภู่ แห่งหมู่บ้านเคอเจี้ยซัน อำเภอวุ๋นอี้ (ปัจจุบันคืออวุ๋นซัง) ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของเกาะไหนหนำ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นำมาถวายในปี ค.ศ.1870 (พ.ศ.2413) ซึ่งอยู่ปลายสมัยราชวงศ์ชิงตรงกับต้นราชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ดังนั้นอาจพอสรุปได้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้จะต้องมีมาก่อนปี ค.ศ.1870 (พ.ศ.2413) แน่นอน แต่จะก่อนสักกี่ปีนั้นก็ยากที่จะหาหลักฐานมายืนยันได้

จากคำบอกเล่าและภาพถ่ายที่พอรวบรวมได้นั้นเชื่อว่า แต่เดิมเป็นศาลไม้ตั้งอยู่ริมตลิ่งบริเวณต้นน้ำเจ้าพระยา ซึ่งในอดีตเป็นแหลมยื่นออกไปบริเวณหน้าศาลเป็นน้ำวน ตลิ่งถูกกัดเซาะพังทลาย ทีละน้อย สภาพศาลเจ้าทรุดโทรม ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา จึงร่วมกันสร้างศาลขึ้นใหม่ ซึ่งจากป้ายกลางศาลเขียนเป็นภาษาจีนไว้ว่า โควกงเมี้ยว บอกว่าสร้างศาลใหม่ระบุ ค.ศ.1999 ตรงกับ พ.ศ.2452 โดยการสร้างศาลใหม่ครั้งนั้นได้รวมเอาศาลเจ้าพ่อกวนอู ที่ตั้งอยู่ตอนใต้บริเวณใกล้เคียง มาไว้เสียแห่งเดียว

 ปัจจุบันศาลเจ้าเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม แห่งนี่จึงกว้างขวาง มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่เห็นในปัจจุบันนี้ คือ เป็นตัวอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ชั้นล่างเป็นที่เก็บของ ส่วนด้านหน้าของศาลเป็นบันได      ทางขึ้นสู่ตัวศาล และเมื่อเดินขึ้นบันไดมาระเบียงด้านขวาจะเป็นสถานที่ตั้งโต๊ะสักการะเทพยดาฟ้าดิน ส่วนกลางเป็นอาคารไม้หลังเดิม และส่วนด้านในสุดเป็นส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งยอดของอาคาร    หลังนี้จะสูงสุด สันหลังคาประดับด้วยมังกรคู่ชูลูกแก้ว ปลายหลังคาที่ทอดยาวลงมาจะทำเป็นหัวมังกรหงาย ภายในเป็นที่ประดิษฐานองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ และเทพที่เคารพสักการะอยู่หลายองค์

แต่ที่ปรากฏเป็นที่รู้จักเลื่องชื่อของชาวจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียงได้แก่ เจ้าพ่อเทพารักษ์ ประดิษฐานอยู่ตรงกลาง เจ้าพ่อกวนอูประดิษฐานอยู่ทางขวา เจ้าแม่ทับทิมเจ้าแม่สวรรค์ ประดิษฐานอยู่ทางด้านซ้าย เจ้าพ่อสามตา ประดิษฐานอยู่ด้านข้างที่ประดิษฐานเจ้าแม่ และภายในศาลเจ้าฯยังจัดเก็บ กงเกียว (เกี้ยว) ที่ใช้สำหรับอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ประทับและยังมีเก้าอี้ตะปู ซึ่งทั้งสองสิ่งล้วนทำมาจากประเทศจีน ตลอดจนยังจัดโชว์อาวุธ (โบ้ยโบ้) ที่ใช้สำหรับออกแห่ในเทศกาลตรุษจีนทุกปี และยังประกอบด้วยห้องจัดโชว์ระฆังเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 130 ปี ที่เป็นหลักฐานสำคัญของศาลเจ้าฯ

ตำนานมังกรทอง

มังกรทองเป็นสัตว์ในจินตนาการของคนจีนโบราณ ที่มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อครั้งก่อนพุทธกาล ในยุคก่อตั้งประเทศจีนขึ้น ดินแดนแถบนี้จะมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆมีการปกครองในเผ่า ของตนเองมีวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต่างกัน แต่ละเผ่าจะมีการใช้สัญลักษณ์ประจำเผ่าที่เป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น นก ปลา วัว หมี กวาง และอื่นๆ

ต่อมาได้มีนักรบผู้เก่งกาจผู้หนึ่งเป็นหัวหน้าเผ่า ซึ่งมีสัญลักษณ์ประจำเผ่าเป็นรูปหมี ชื่อ กงซุนซวนหยวน ได้รบชนะเผ่าต่างๆ และรวบรวมดินแดนบริเวณแห่งนี้ขึ้นเป็นปึกแผ่น จัดการปกครองให้อยู่ภายใต้อาณัติการปกครองของเขาได้สำเร็จ การรบพุ่งกินดินแดนตั้งแต่บริเวณลุ่มแม่น้ำห่วงโห และบริเวณใกล้เคียง ถึงแถบบริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง “นักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นการก่อตั้งประเทศจีนครั้งแรก และยกย่องให้กุนซวยหยวนเป็นบรมปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จีน ขนานนามว่า อึ้งตี่ แปลว่า จักรพรรดิเหลือง

ในการปกครองเผ่าต่างๆทั้งหลายเพื่อให้ทุกเผ่า เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรใหม่นี้ จักพรรดิจึงดำริให้มีการสร้างสัญลักษณ์ของอาณาจักรใหม่แห่งนี้ขึ้นโดยการนำสัญลักษณ์ประจำเผ่าต่างๆหลายๆเผ่ามารวมกัน

สัญลักษณ์ที่นำมาผสมกันเข้าด้วยกันแล้วสร้างเป็นรูปสัตว์ใหม่ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์การรวมเผ่านั้น ได้รับการขนานนามว่า “เส้ง หรือมังกร ” ซึ่งแต่ละส่วนรูปสัญลักษณ์ประจำเผ่าต่างๆที่นำมารวมกัน ได้แก่ เขากวาง หัววัว ตัวงู เกล็ดปลา และเท้าเหยี่ยว หลังจากนั้นมีการปรับปรุงรูปแบบของมังกรจนเป็นลายที่สวยงามและลงตัวอย่างทุกวันนี้

นอกจากนั้น สัญลักษณ์มังกรยังมีความหมายแตกต่างกันไป ในลายละเอียดบางจุก เช่น ถ้าเป็นมังกร 4 เล็บ แสดงว่าเป็นมังกรธรรมดา แต่ถ้ามังกร 5 เล็บ แสดงว่าเป็นมังกรจักพรรดิ ใช้เป็น เครื่องหมายของพระราชวงค์ ที่เป็นเจ้าชั้นสูงสุดเท่านั้น มังกร 5 เล็บ นั้นกล่าวกันว่า เล็บทั้งห้า ไม่ได้เรียงกันแบบธรรมดา เล็บที่ 5 จะวางอยู่ตรงกลางบริเวณฝ่าเท้า ส่วนการประดับประดาตกแต่ง มักใช้มังกรชนิด 3 เล็บมากกว่าอย่างอื่น

ยังมีตำนานเกี่ยวกับมังกรที่เล่าขานมานานอีกมากมาย อาทิ บางตำนานกล่าวว่า มังกรจะอาศัยอยู่ตามทะเลลึก ซึ่งอุดมไปด้วยไข่มุกและพลอย มังกรจะชอบเล่นน้ำมาก เวลาหายใจมักจะพ่นไฟออกมา ด้วย บ้างตำนานกล่าวว่ามังกรเป็นเทพเคียงข้างพระโพธิสัตว์ มีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหิน ลุยน้ำ ลุยไฟได้และเป้นอมตะด้วยอิทธิฤทธิ์แห่งลูกแก้วที่คาบไว้ จนวันหนึ่งลูกแก้วได้หลุดออกจากปากมังกรไปมังกรจึงตามหาลูกแก้วกลับคืนมา เพื่อรักษาความเป็นอมตะไว้ ซึ่งเป็นที่มาของการแสดงเชิดมังกรพร้อมการล่อแก้วในทุกวันนี้

มังกรของจีนนอกจากจะมีเขาแล้วตัวผู้จะมีหนวดมีเคราอีกด้วยบ้างท่านเล่าว่า เขาของมังกรงอกช้ามากต้องใช้เวลาถึง 500 ปี เขาจึงจะงอก เมื่องอกแล้วก็ใช่ว่าจะยาวเกะกะเหมือนเขากวางหรือก็ไม่งอกเป็นเขายาวยื่นออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านี้ และถ้ามีอายุเจริญมากขึ้นอีก 500 ปี เป็น 1000ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง

   พวกแรกเป็นมังกรที่อยู่บนฟ้า เรียกว่า มังกรกลางหาว มีหน้าที่ รักษาวิมานเทวดา และ ค้ำจุนวิมานเหล่านี้ไว้
   พวกที่สอง เรียกว่า  มังกรสวรรค์ มีหน้าที่ ให้ลมให้ฝน
   พวกที่สาม เรียกว่า  มังกรพิภพหรือโลกบาดาล พวกนี้จะรักษาแม่น้ำ ลำธาร
   พวกที่สี่ เรียกว่า  มังกรเฝ้าทรัพย์ มีหน้าที่เฝ้าทรัพย์ ขุนทรัพย์ของแผ่นดิน

มังกรทองนครสวรรค์ (เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ)

มังกรทองนคสวรรค์ เป็นการละเล่นพื้นบ้านจีนที่ชาวนคสวรรค์นำเข้ามาแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2506 ในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพเทศกาลตรุษจีน นับเป็นคณะมังกรทองคณะแรกของประเทศไทย มีชื่อเรียกว่า “คณะมังกรทองเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ” เดิมในงานแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ ในอดีตมีเพียงขบวนเชิดสิงโต เอ็งกอ พะบู๊ ล่อโก๊ว และสาวงามถือธงเท่านั้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2506 คณะกรรมการจัดงานแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพได้เพิ่มขบวนเชิดมังกรทองขึ้นอีก 1 ขบวน เพราะนอกจากจะเพิ่มความสนุกสนานแล้ว ยังถือว่ามังกรเป็นสัตว์ชั้นสูงในนิยาย เป็นสัญลักษณ์ของจักพรรดิจีนในอดีต แล้วชาวจีนได้ให้ความสำคัญและนับถือบูชาเสมอเทพเจ้า เพราะมังกรเป็นเทพแห่งลมและฝนเป็นผู้กำหนดให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ยังความอุดมสมบูรณ์ต่อพืชพัณธุ์ธัญญาหาร ทั้งยังเป็นสัตว์สิริมงคลที่ชาวจีนนับถือมาช้านานโดยเฉพาะในพิธีขอฝนทำการเซ่นไหว้มังกรด้วย ชาวจีนบ้างกลุ่มยังเชื่อว่า มังกรเป็นเทพที่สามารถบันดาลให้หญิงมีบุตรและสามารถรักษาโรคได้อีกด้วย โดยนำหนวดมังกรที่ทำด้วยปอมาเผาแล้วใช้รักษาโรคได้สารผัดชนิด ดังนั้นการเชิดมังกรจึงกลายเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงความเกี่ยวพันกับพิธีกรรมทางศาสนาในการเซ่นไหว้ และความเคารพในตัวมังกรเพื่อขอให้สมปรารถนาในสิ่งที่บนบาน

การแห่มังกรของชาวปากน้ำโพได้เริ่มขึ้นในสมัย นายหม่งแจ๋ แซ่เล้า เป็นประธานจัดงาน ในปี พ.ศ. 2406-2407 ได้มีความคิดที่จะจัดขบวนแห่ให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม โดยที่ปรึกษา นายเป็งไฮ้ แซ่ตั้ง และนายติ้งลิ้ม แซ่เอ็ง ไปติดต่อให้อาจารย์ เหล่งจุ้ย แซ่ลิ้ม เป็นครูสอน และมีนายตงฮั่ง แซ่ตั้ง เป็นผู้ทำหัวมังกรผู้แรก ซึ่งสร้างจากสัตว์ 7 ชนิด ได้แก่ หัวเป็นม้า ตัวเป็นงู ขาเป็นเหี่ยว เขาเป็นกวาง จมูกเป็นไก่ หางเป็นปลา แก้มเป็นสิงโต ตัวมังกรทำด้วยตรงไม้หุ้มด้วยผ้าสีทองมีลายสีแดงและสีเขียวเกล็ดเป็นสีแดง ส่วนหัวใช้หวายและไม้ไผ่ทำเป็นโครงแล้วใช้ประดาษปะหัวมังกรหนัก ประมาณ 20-30 กิโลกรัม ตัวมังกรยาว 20 เมตร ซึ่งได้ใช้จนถึงปี 2535 ปัจจุบันได้จำลองแบบออกมาเป็นหัวมังกรที่มี ความงดงามมาก

อาจารย์ เหล่งจุ้ย แซ่ลิ้ม ซึ่งเคยเชิดมังกรที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้อพยพมาอยู่ที่กรุงเทพ มาเป็นครูฝึกสอนและได้สอนอยู่ 3 ปี หลังจากนั้นคณะมังกรทองเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพก็ได้ปรับปรุงลีลาการแสดงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เช่น มังกรพลิกตัว พันเสา พ่นน้ำ พ่นไฟ มังกรเล่นน้ำ มังกรเหินฟ้า มังกรเล่นลูกแก้วฯลฯและมีการประดับประดาไฟตามมังกร เพื่อให้สามารถแสดงในตอนกลางคืนได้ด้วย นอกจากนี้ยังได้เพิ่มขนาดความยาวของมังกรขึ้นทุกปี จนกระทั่งมีความยาว 56 เมตร ในปัจจุบัน และต้องใช้ผู้เชิด 170 คน ซึ่งเป็นลูกหลานชาวปากน้ำโพเกือบทั้งสิ้น

การเชิดมังกรทองในงานประเพณีเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพมันจัดแสดงตามตำนานดั้งเดิม ตอนมังกรปรากฏตัวขึ้นท่องทะเลอย่างคึกคะนอง แผ่นดินไหว น้ำท่วม ผู้คนเดือดร้อนอย่าง แสนสาหัส ร้อนถึงเจ้าแม่กวนอิมต้องเสด็จจากสรวงสวรรค์ลงมาระงับความเดือดร้อน ยังผลให้มังกรต้องยอมเก็บตัวจำศีลภาวนาเป็นเวลา 3000 ปีสวรรค์ จนมีบารมียิ่งใหญ่เป็นสัตว์ขั้นเทพประจำสรวงสวรรค์ ทำหน้าที่เฝ้าลูกแก้ววิเศษ

ตำนาน "เอ็งกอ - พ๊ะบู๊"

เมื่อแปดร้อยปีมาแล้ว ราชอาณาจักรจีน ในรัชสมัยพระเจ้าซ้องยินจงฮ่องเต้เกิด โรคระบาดพรากชีวิตผู้คนไปเป็นอันมาก พระเจ้าซ้องยินหยินจงฮ่องเต้โปรด ให้อังซินขุนนางตำแหน่งไทอวยเดินทาง ไปอัญเชิญนักพรวิเศษเตียฮีเจ็งเชียนชือ ณ สำนักวัดเขาเกาเล่งซัวมาช่วยหลังจาก บรรจุหน้าที่แล้วระหว่างทางขากลับอังซิน ผ่านตำแหน่ง เก๋ง แห่งหนึ่ง สลักชื่อไว้ว่า ตำหนักขังปิศาจ ด้วยความกระหายใคร่รู้ จึงแกะยันต์ที่ติดอยู่หน้าเก๋งทิ้งและ เปิด เข้าไปโดยพลการทันใดนั้นเองก็มีควันดำ พวยพุ่งออกมาทางประตูลอยขึ้นไปอยู่บน อากาศแล้วแตกกระจายแปดทิศที่แท้ใน เก๋งขังดวงจิตดาวทหารที่ดุร้ายถึงร้อย แปดคนชื่อดาว"เทียมกังแซ"36ชื่อดาว "ตีลัว" 72 รวม 108 ดวง ถูกขังมิ ให้ไปเกิด จากกลัวรบกวนไพร่ฟ้าประชาชนพลเมือง ให้ได้รับความ เดือดร้อน วิญญาณดุร้ายทั้งร้อยแปดดวงจึงได้โอกาสไปจุติ เป็น"ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน"หลังจากพระ เจ้าซ้องยินจงสวรรคตแล้วการเมืองการปกครอง เริ่มเสื่อมทรามลงทุกทีในราชสำนักและวงการ ขุนนางมีแต่ขุนนางฉ้ออำมาตย์มารกดขี่ข่มเหง ราษฎรสังคมก็ปั่นป่วนวุ่นวายมือใครยาวสาวได้ สาวเอาเหล่านักบู๊เทอดทูนคุณธรรมยิ่งชีวิตต่าง ถูกบีบคั้นถูกกลั่นแกล้งเหลืออดเหลือทนในที่สุด จึงรวมตัวกันรวบรวมเอาเหล่านักบู๊ผู้เลิศวิทยา ยุทธทั้ง 108 คน เป็นผู้ใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน ทำการก่อกบฏปล้นขุนนางขี้ฉ้อปล้นคหบดีนำมา แจกจ่ายคนจนคนตกทุกข์ได้ยากความขัดแย้งรุน แรงขึ้นเรื่อยๆจนขยายตัวเป็นสงครามระหว่าง กองโจรกับกอง ทหารหลวง

ตำนาน "ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน" ใช้เค้าโครงจากวรรณคดีจีนเรื่อง"ซ้องกั๋ง" ซึ่งเป็นวรรณคดีร้อยแก้วมีลักษณะเป็นการ เล่าได้เรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องราวยืดยาวมี รสมีชาติยิ่งนักแต่ซือไน่อาน เขียนไว้เพียง เจ็ดสิบบทมา"หลังกว้านจง"ลูกศิษย์ของซือ ไน่อานจึเรียงเขียนต่อจนจบสมบูรณ์หลัง กว้านจงคือผู้รจนานิยายเรื่องสามก๊กอันลือ ชื่อนั่นเองซ้องกั๋งเรื่องนี้จึงถือว่าเป็นฝีมือ ครูเป็นแบบอย่างของ สามก๊กอีกทีหนึ่ง

เอ็งกอ เป็นการพูดตามสำเนียงแต้จิ๋ว ความโดยรูปศัพท์หมายถึง เพลงเกี่ยวข้าวการร้อง เอ็งกอจะร้องเป็นจังหวะ เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงในการก้มเกี่ยว ส่วนเอ็งกอ ที่หลายท่านพูดถึง นั้นเป็นเอ็งกอประยุกต์ใช้ในกระบวนแห่เฉลิมฉลอง ซึ่งนิยมแต่งหน้าทาปากและตีเราะเคาะไม้ ถือเป็นพัฒนาการไปในระดับหนี่ง ตัวที่แต่งอ้างเกี่ยวกับนักรบกองโจรในวรรณกรรมจีน แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ที่รักษาการเคาะจังหวะเพื่อความพร้อมเพรียงไว้

การแสดง "เอ็งกอ - พะบู๊" การละเล่นเอ็งกอ เป็นตอนที่ขบวนนักรบ 108 คน ที่ต่างมีวิชาความสามารถเก่งกาจกันคนละอย่าง สองอย่าง ทั้งการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ไม้พลอง มีด การดำน้ำ การเดินป่าทางไกล การรักษาโรค ฯลฯ แต่งหน้าอำพลางตนเป็นนักแสดงขี่ม้าเข้าเมือง เพื่อไปช่วยซ้องกั๋งหัวหน้าของพวกตนการเขียนหน้าเพื่อปกปิดหน้าตาและทำให้ดูน่า เกรงขามของ เอ็งกอมีการเขียนลวดลายเฉพาะคนเหมือนการสวม หน้ากากทั้ง108 คนเหมือนกับการสวมหัวโขนของคน ไทยในการแสดงไม่ว่าขบวนแห่เอ็งกอจะผ่านไปทาง ไหนจะสร้างความตื่นเต้นและความประทับใจในการ แสดงนี้ไปทั่วอันเกิดจากความเร้าใจจากเสียงตีไม้ คู่ของขบวน ผู้แสดงที่วิ่ง ผ่าน ไปอย่างรวดเร็ว ส่วน "พ๊ะบู๊" เป็นการแสดงการต่อสู้ด้วยอาวุธจีนโบราณ มักจะเป็นขบวนคู่แฝดของเอ็งกอในการแห่เจ้า ขบวนเอ็งกอ-พ๊ะบู๊ของนครสวรรค์ริเริ่มเล่นโดยนาย คอซัวแซ่เตีย เมื่อ พ.ศ.2490 และได้รับความนิยม เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ตำนาน เจ้าแม่กวนอิม

เจ้าแม่กวนอิมเดิมกำเนิดเป็นเจ้าหญิงชื่อ เจ้าหญิงเมี่ยวซัน แห่งอาณาจักรซิงหลิน ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ทะเลใต้แต่โบราณซึ่งปัจจุบันได้จมหายอยู่ใต้ทะเลลึกแล้ว เจ้าหญิงเมี่ยวซันมีจิตใจเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายตั้งแต่เด็ก มีพระทัยใฝ่ใจที่จะออกบวชเพื่อให้พ้นทุกข์ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่บิดาคือกษัตริย์เมี่ยวจง ผู้มีจิตใจโหดร้ายชอบการเข่นฆ่าและการทำสงคราม ไม่ยินยอม กลับบังคับให้เจ้าหญิงเมี่ยวซันเลือกคู่ครอง เจ้าหญิงเมี่ยวซันก็ยืนกรานที่จะออกบวช ไม่ว่าพระบิดาจะใช้อุบายต่างๆนานามาหลอกล่อเกลี้ยกล่อมอย่างไรก็ไม่สำเร็จ จึงเกิดพิโรธที่มีผู้มาขัดต่ออำนาจของตนจึงได้ประหารเจ้าหญิงเมี่ยวซันด้วยการตัดคอ ทันทีที่เจ้าหญิงเมี่ยวซันสิ้นลม พระภูมิเจ้าที่ได้แปลงร่างเป็นเสือมารับเจ้าหญิงเมี่ยวซันไปอยู่ที่เกาะศักดิ์สิทธิ์แห่งทะเลตะวันออก ที่นั้นเจ้าหญิงเมี่ยวซันได้บำเพ็ญภาวนาจนบรรลุโพธิญาณรู้แจ้งในสัจจะธรรม ต่อมากษัตริย์เมี่ยวจวงได้เกิดเป็นโรคผิวหนังเกิดแผลเน่าทั้งร่างกายรักษาอย่างไรก็ไม่หาย เจ้าหญิงเมี่ยวซันได้ทราบด้วยญาณว่าพระบิดาป่วย ด้วยผลแห่งกรรมที่ทำมาและเห็นหนทางที่จะนำพระบิดาให้ก้าวพ้นทุกข์ได้ จึงได้ให้หลวงจีนซันไฉ่ ไปอาสารักษาโรคโดยสละดวงตาและแขนทั้งสองข้างของตนเองเพื่อปรุงยา เมื่อกษัตริย์เมียวจงได้หายจากโรคจึงสำนึกในบาปกรรมที่ตนได้ทำไว้ เลิกทำบาปหันมาสร้างกุศล ต่อมาได้สละราชสมบัติดั้นด้นเดินทางมาหาเซียนผู้เสียสละดวงตาและแขนเพื่อปรุงยา โดยไม่รู้ว่าเซียนผู้นั้นคือใคร เมื่อรู้ว่าเซียนผู้ที่อุทิศแขนและดวงตามารักษาตนนั้นคือเจ้าหญิงเมี่ยวซัน ธิดาผู้ที่ตนสั่งให้ประหารชีวิตก็สะเทือนใจเกิดสำนึกในบาป บุญ คุณโทษ เกิดดวงตาเห็นธรรมด้วยบุญกุศลที่เจ้าหญิงเมี่ยวซันได้บำเพ็ญเพียรบันดาลให้ดวงตาและแขนทั้งสองที่สละไปแล้วกลับงอกขึ้นมาดังเดิม และนับแต่นั้นมาเจ้าหญิงเมี่ยวซันก็ได้เป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม พระผู้ช่วยให้สัตว์รอดพ้นความทุกข์เดือดร้อน เป็นผู้ได้ปริเวทนาแห่งสัตว์โลก (อวโลกิเตศวร) และเป็นที่เคารพกราบไหว้ สืบต่อมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

การคัดเลือกองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม

ในสมัยก่อนการคัดเลือกองค์สมมุติฯเป็นประเพณีที่จัดต่อกันมานานหลายปีแล้ว สมัยก่อนการเลือกองค์สมมุติใช้วิธีให้ผู้หลักผู้ใหญ่ (อาม่า) ที่ชาวบ้านนับถือ(คนเดียวหรือหลายๆคน)เป็นผู้นำส้มไปเชิญลูกหลานชาวตลาดปากน้ำโพเป็นหญิงสาวที่ท่านเหล่านั้นรู้จักกันดี รู้ประวัติ ภูมิหลัง การศึกษา ครอบครัว อุปนิสัยใจคอ

กาลต่อมาก็เริ่มให้มีพิธีการเสี่ยงทาย(ปัวะปวย)เกิดขึ้นเพื่อให้พิธีการนั้นมีความน่าเชื่อถือ บริสุทธิ์ ยุติธรรม และผู้ที่ได้รับการคัดเลือก งานตรุษจีนปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ถือว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ คนในตลาดปากน้ำโพส่วนใหญ่มีความเคารพนับถือเจ้าแม่กวนอิม ดังนั้นในงานประเพณีแห่เจ้าในทุกปีจะมีการคัดเลือกองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมด้วย เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมประเพณีดั้งเดิมอันดีงาม สร้างความเชื่อมั่น ศักดิ์สิทธิ์ และศรัทธาในพิธีให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมและเกิดความภาคภูมิใจ และเพื่อเป็นการเปิดฉากงานเทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพที่ยิ่งใหญ่

กำหนดการประจำปีของพิธีการคัดเลือกองค์สมมตินั้นจะถูกจัดให้อยู่ในวันไหว้พระจันทร์ ซึ่งตรงกับเดือนตุลาคมของทุกๆปี การคัดเลือกองค์เจ้าแม่สมมติเจ้าแม่กวนอิม ถือเป็นการสืบสานประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์ ที่เหล่าลูกหลานชาวปากน้ำโพ เชื้อสายจีน อายุตั้งแต่ 16-25 ปี ต่างตั้งตารอเข้าร่วมการคัดเลือก เพราะถ้าหากได้เป็นองค์สมมติเจ้าแม่ ก็จะถือเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และสิ่งที่ทำให้เวทีการประกวดครั้งนี้แตกต่างไปจากเวทีอื่นคือ ผู้ที่เข้าคัดเลือกจะต้องเป็นสาวพรหมจรรย์ และต้องกินเจตั้งแต่วันที่สมัคร และถ้าหากได้รับคัดเลือกก็จะต้องกินเจต่อไปจนถึงวันงานตรุษจีน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างความบริสุทธิ์ให้แก่ร่างกาย เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมนั่นเอง

ในส่วนของการคัดเลือกนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ภาคมนุษย์ 2. ภาคสวรรค์

ซึ่งในส่วนภาคมนุษย์นั้นในแต่ละปีนี้จะลูกหลานชาวจีน ในตลาดปากน้ำโพเข้าร่วมคัดเลือกองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ในวันไหว้พระจันทร์ตามปฏิทินจันทรคติจีน และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากซึ่งในแต่ละปีนั้น จะมีหญิงสาวสมัครเข้าการคัดเลือกถึงปีละ 40 คน ซึ่งกรรมการจะคัดเลือกให้เหลือ 5 คนสุดท้าย จากนั้นจะแห่สาวงามทั้ง 5 คน ไปรอบเมือง ก่อนนำเข้าพิธีเสี่ยงทายที่ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่หน้าผา และผู้เข้ารับการคัดเลือกทุกคนจะได้เป็นทูตประชาสัมพันธ์งานตรุษจีนของชาวจังหวัดนครสวรรค์

ส่วนที่ 2 ภาคสวรรค์ หลังจากที่คณะกรรมการได้คัดเลือกสาวงาม ทั้งหมดจนเหลือ 5 คนแล้ว ก็จะเคลื่อนย้ายส่วนพิธีการไปยังศาลเจ้าแม่หน้าผา สำหรับพิธีเสี่ยงทายมีขั้นตอนโดยให้สาวงามจับสลากว่าจะได้อันดับที่เท่าใด โดยการโยนไม้สามครั้ง เรียกว่า การปัวะปวย ไม้ที่ใช้เสี่ยงทายจะต้องคว่ำอัน หงายอัน (เซ่งปวย) เป็นจำนวนสองครั้ง เสี่ยงทายครั้งสุดท้าย ไม้ที่ใช้เสี่ยงทายจะต้องคว่ำทั้งสองอัน(อุ้งปวย)เป็นจำนวนหนึ่งครั้ง ภาษาจีนเรียกว่า 'หน่อเส่งเจ็กอุ้ง' ถึงจะเป็นองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมโดยสมบูรณ์และถูกต้อง