ผู้ใช้:Ann65639/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผศ.ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ

ผศ.ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ (谭国安) แซ่ถาน ชื่อ กว๋ออัน (เกิดวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2492) ที่ปรึกษาด้านการศึกษา บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)[1] ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาจีน อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชาภาษาตะวันออก[2] คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน มีผลงานด้านการเขียนและงานแปลจีน-ไทย ไทย-จีน และ ยังเป็นวิทยากรพิเศษในการจัดอบรมวิชาการต่างๆ

ประวัติ เกิด 01 มีนาคม ค.ศ.1949 (อายุ 68 ปี)

การศึกษา ปี1973 -1977 National Taiwan Normal University[3] ( B.A.)

ปี1981-1983 The Chinese University of Hong Kong ( M.A.)

ประสบการณ์ด้านการสอน

(เกษียนอายุราชการ เมื่อ ค.ศ.2004 ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์)

ประสบการด้านอื่น ๆ

    • ปี 1985 - 1987 บรรณาธิการ แผนกซัพพลีเม้นท์ หนังสือพิมพ์ซิงเสียนเยอะเป้า
    • ปี 1993 -1995 บรรณาธิการนิตยสาร Bangkok Info
    • ปี 2000 - 2003 กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
    • ปี 1988 - ปัจจุบัน นักแปลประจำ ศูนย์การแปลเฉลิมพระเกียรติ ฯ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5]
    • ปี 1997 - ปัจจุบัน บรรณาธิการ บริษัทสำนักพิมพ์จีนสยาม จำกัด
    • ปี 2001 - ปัจจุบัน บรรณาธิการบริหาร นิตยสารจีนไทย สองภาษารายเดือน[6]

ผลงานด้านงานเขียน

    • หนังสือหลักการแปลไทย-จีน[7]
    • หนังสือนำเที่ยวเมืองไทย-กรุงเทพฯ [8]
    • บทความต่าง ๆ ในนิตยสารจีนไทย สองภาษารายเดือน โดยใช้นามปากกา " โง่โหย่ว[9] "

ผลงานด้านงานแปล

    • หนังสือจิตใต้สำนึก[10]
    • หนังสือแนวทางสมานฉันท์[11]
    • หนังสืองดมื้อเย็นความหิวบำบัดโรค[12]
    • หนังสือการป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ[13]

ด้านอบรมต่างๆ

    • เป็นวิทยากรใน การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ศาสตร์หน้าด้านใจดำ”(厚黑学) [14]ของอาศรมสยาม - จีนวิทยา
    • เป็นวิทยากรในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ  "ศาสตร์ฮวงจุ้ยที่แท้จริง" [15]ของอาศรมสยาม - จีนวิทยา
    • เป็นวิทยากรในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง"[16]
    • เป็นวิทยากรในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋า ของเหลาจื๊อ[17]
    • เป็นวิทยากรในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "การแปลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (ไทย-จีน)"[18]มหาวิทยาลัยมหิดล

---แหล่งอ้างอิง---

  1. การทำงาน, PIM ร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านการส่งนักศึกษาไปศึกษาที่ประเทศจีน สัมผัสวัฒนธรรมที่แตกต่าง , ย่อหน้า 3
  2. ทำงาน 2,สารพันปัญหาการเรียน "ภาษาจีน" ในไทย ,ย่อหน้า 2
  3. มหาวิทยาลัยไต้หวัน ,National_Taiwan_Normal_University
  4. อาจารย์พิเศษสาขาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ , หัวข้อ 5
  5. รายนาม , ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาตะวันออก , รายชื่อ 2
  6. บรรณาธิการบริหาร, นิตยสารจีนไทย สองภาษารายเดือน
  7. หนังสือหลักการแปลจีนไทย , ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
  8. หนังสือนำเที่ยวเมืองไทย-กรุงเทพฯ , สนพ.จีนสยาม
  9. นามปากกาโง่โหย่ว , นิตยสารจีนไทย ตอนที่มาเทศกาลกินเจ จีนไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 163 (ธ.ค. 2558) หน้า 16-21
  10. หนังสือจิตใต้สำนึก,ข้อมุลจากระบบห้องสมุดโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  11. หนังสือแนวทางสมานฉันท์ ,ข้อมูลจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM
  12. หนังสืองดมื้อเย็นความหิวบำบัดโรค ,ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM Suvarnabhumi Institute of Technology
  13. หนังสือป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ , หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา
  14. ศาสตร์แห่งปรัชญาหน้าด้านใจดำ , เพจผู้จัดการ
  15. ศาสตร์ฮวงจุ้ยที่แท้จริง , สามก๊กวิทยา
  16. Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจอาศรมสยาม-จีนวิทยา
  17. บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋า ของเหลาจื๊อ , Slideshare
  18. ร่วมงานเสวนาวิชาการ เรื่อง "การแปลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (ไทย-จีน)", สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ บรรทัด 3