ผู้ใช้:Andreilerawn/วรายุทธ เย็นบำรุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
James Yenbamroong
เกิดVarayuth Yenbamroong (วรายุทธ เย็นบำรุง)[1]
(1984-06-13) มิถุนายน 13, 1984 (39 ปี)
Bangkok, Thailand
การศึกษา
อาชีพEntrepreneur and engineer[1]
ตำแหน่งFounder, CEO and lead design architect of Mu Space[2][3]
บิดามารดา
  • Vilas Yenbamroong (father)[4]
  • Lamaiporn Yenbamroong (mother)
ญาติKris Yenbamroong (cousin)[4][5]

นายวรายุทธ เย็นบำรุง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เจมส์ เย็นบำรุง เป็นผู้ประกอบกิจการธุรกิจด้านอวกาศ และเป็นวิศวกร[1] นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้ง ซีอีโอ และหัวหน้าทีมผู้สร้างสรรงานออกแบบของมิว สเปซ[2][3]

วรายุทธ เกิดในปี พ.ศ. 2527 และเติบโตที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่ออายุครบ 14 ปี เขาได้ย้ายไปที่ไวกาโต้ ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อเข้าศึกษาต่อที่ เคมบริดจ์ ไฮสคูล[6] จนกระทั่งภายหลังได้มาอาศัยอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ เบเวอร์รี่ ฮิลส์ ไฮสคูล[6] เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมการบิน และอากาศยาน ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และปริญญาโทสาขาวิศวกรรมเครื่องกล[1][3]

ในปี 2560 วรายุทธได้ก่อตั้ง มิว สเปซ ขึ้นในกรุงเทพมหานคร เขาเป็นทั้งซีอีโอ และเป็นหัวหน้าทีมออกแบบ[7] โดย มิว สเปซ ให้บริการเกี่ยวกับดาวเทียม และแอปพลิเคชั่นของอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT)

และในอนาคต เขามีแผนที่จะให้บริการการท่องเที่ยวในอวกาศแก่บุคคลทั่วไปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค[8] โดยจะส่งมนุษย์ 100 คนแรกไปยังดวงจันทร์อีกด้วย[9] นอกจากนี้ เป้าหมายของมิว สเปซ ในมุมมองของเขา คือ การมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรบนโลก[9] รวมถึงการลดผลกระทบที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากจากปัจจัยด้านการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ตลอดจนลดความเสี่ยงของการสูญพันธุ์ของมนุษย์ โดยการก่อตั้งที่อยู่อาศัยบนดวงจันทร์[10]

ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

วรายุทธ เย็นบำรุง เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ที่กรุงเทพมหานคร โดยเขาเป็นบุตรลำดับที่สาม ของพล.อ.วิลาศ เย็นบำรุง และคุณละไมพร เย็นบำรุง อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย[4] เขาเป็นญาติกับเชฟคริส เย็นบำรุง เชฟชื่อดังที่ชนะรางวัล[4][5] และได้รับการยกย่องว่าเป็นเชฟใหม่ยอดเยี่ยมปี 2559 บนนิตยสารฟู้ด แอนด์ ไวน์ แมกกาซีน และเป็นผู้เขียนหนังสือทำอาหารไนท์ + มาร์เก็ต อีกด้วย[11]

วรายุทธ เย็นบำรุง มีความสนใจเกี่ยวกับการบินตั้งแต่เด็ก เขาได้วาดผังเครื่องบิน และหุ่นยนต์บนผนังห้องนอน[12] ของเขา ทั้งนี้ คุณพ่อเป็นผู้ที่มีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาเกิดความหลงใหลในด้านการบินและอวกาศ โดยมักจะพาเขาไปชมการแสดงการบิน และพิพิธภัณฑ์ทหาร

วรายุทธได้อ่านอัตชีวประวัติของนักธุรกิจอินเตอร์เน็ตอย่างเซอร์เกย์ บริน และนักธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งทำให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน และวิธีการเริ่มต้นบริษัท[12] เขาเริ่มทำธุรกิจตั้งแต่วัยเด็ก โดยเริ่มจากการขายหนังสือ และวีดีโอเกมส์มือสองให้แก่เพื่อนของเขา[13]

การศึกษา[แก้]

วรายุทธ เย็นบำรุง เข้าศึกษาที่โรงเรียนสารวิทยา[6] ในกรุงเทพมหานคร จนเมื่ออายุ 14 ปี เขาได้เดินทางไปศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่เคมบริดจ์ ไฮสคูล[6][12] อีกด้วย ซึ่งระหว่างการศึกษา เขาได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และจลนศาสตร์[1][6]

อีกด้วย ซึ่งระหว่างการศึกษา เขาได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และจลนศาสตร์[6] ในขณะนั้น เขายังได้เป็นนักฟุตบอลของโรงเรียนอีกด้วย[12] ช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่สหรัฐอเมริกานั้น เป็นช่วงที่การลงทุนด้านอวกาศของเอกชนเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย[14] จึงส่งผลให้เขาเลือกเรียนสาขาวิศวกรรมการบิน และอากาศยานในระดับชั้นอุดมศึกษา[1] เขาจบปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2551 จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และปริญญาโทสาขาวิศวกรรมเครื่องกลในปี พ.ศ. 2553 จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน[3]

การทำงาน[แก้]

ช่วงแรกของการทำงาน[แก้]

ในช่วงแรกที่เขาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาได้ทำงานพาร์ทไทม์ที่ Talesai ร้านอาหารไทยในลอสแอนเจลิส จากนั้นได้ทำงานเป็นผู้ช่วยแล็บฟิสิกส์ที่ วิทยาลัย ซานตา โมนิก้า และฝึกงานที่หน่วยการโยธาสาธารณะของเขตปกครองลอสแอนเจลิส

ขณะที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส เขาทำงานเป็นวิศวกรระบบดาวเทียมในโครงการของนอร์ทธรอป กรัมแมน บริษัทด้านอวกาศและเทคโนโลยีการป้องกัน[1] ต่อมาเขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีมโครงการระบบพาหนะไร้คนขับที่นอร์ทธอรป[3] จนกระทั่งได้ย้ายออกจากสหรัฐอเมริกา และกลับมาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2557[4]

บริษัทดาวเทียม และอวกาศ[แก้]

ในปี 2560 วรายุทธ เย็นบำรุง ได้ก่อตั้ง มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี หรือ มิว สเปซ โดยใช้เงินทุนส่วนตัวของเขา[4] บริษัททำการค้นคว้าและพัฒนาการให้บริการดาวเทียมในพื้นที่เขตเมือง และชนบท[15] ในแรกเริ่ม มิว สเปซ มีพนักงานเพียง 6 คน[12] และเพิ่มขึ้นเป็น 30 คนหลังจากที่บริษัทเพิ่มเงินทุน 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[16]

ในเดือนธันวาคม 2560 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อนุญาตให้ มิว สเปซ ได้รับใบอนุญาตสำหรับการให้บริการดาวเทียมในประเทศ[17] ระยะเวลา 15 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2575  โดยบริษัทใช้ดาวเทียมของบริษัทเอสอีเอส[18] เพื่อให้บริการบรอดแบนด์เป็นการชั่วคราว ในระหว่างรอการส่งดาวเทียมของตนเอง ที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2563[17] ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 150 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[19] ดาวเทียมของมิว สเปซ นี้จะใช้สล็อตตำแหน่งวงโคจรที่ 50.5 องศาตะวันออกสำหรับการให้บริการที่คลอบคลุมพื้นที่ประเทศกัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, เวียดนาม และไทย[20]

ในช่วงเริ่มแรก จะมุ่งเน้นใช้งานโครงการบรอดแบนด์จากดาวเทียมในประเทศไทยก่อน[15] หลังจากนั้น บริษัทภายใต้การนำของวรายุทธ เย็นบำรุง จะเริ่มกิจการที่เกี่ยว-ข้องกับอวกาศ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 มิว สเปซ เป็นบริษัทแรกในเอเชียที่ส่งสัมภาระไปกับจรวดนิวเชพเพิร์ด ของ บลู ออริจิน เพื่อศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อวัสดุสิ่งของในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง[21] สัมภาระที่ส่งไปนั้น ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ซิลิโคนห้ามเลือดที่ใช้ในโรงพยาบาล ท่อนาโนคาร์บอน และอาหารแพ็คสูญญากาศ[3] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 วรายุทธ เย็นบำรุงได้เผยถึงแผนที่มิว สเปซ จะเข้าร่วมกับโครงการของนาซา และปฏิบัติการสำรวจอวกาศอื่นๆ อีกด้วย[22]

กู้ภัยถ้ำถ้ำหลวง[แก้]

Yenbamroong ส่งวิศวกรหลายของหมู่บ้านพื้นที่ที่จะช่วยในการปฏิบัติภารกิจกู้ภัยที่จะบันทึกชาย 12 และโค้ชฟุตบอลของพวกเขาติดอยู่ภายใน ถ้ำหลวง ถ้ำในปี 2018 [23] mu Space ของ บริษัท ของเขายังได้ร่วมมือกับ Google และ Weather Decision Technologies เพื่อจัดหารูปแบบการพยากรณ์อากาศในบริเวณถ้ำ [24]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 {{cite news}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  2. 2.0 2.1 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  5. 5.0 5.1 {{cite book}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  7. {{cite news}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  8. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  9. 9.0 9.1 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  10. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  11. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  13. ptctv (2019-02-02), PTC'19: Center Stage Sessions - Air, Land, Sea, and Space: Moving Beyond the Contemporary, สืบค้นเมื่อ 2019-03-22, In the interview, James mentioned he was selling video games when he was young.
  14. {{cite journal}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  15. 15.0 15.1 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  16. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  17. 17.0 17.1 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  18. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  19. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  20. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  21. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  22. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  23. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  24. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)

[[หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่]] [[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2527]] [[หมวดหมู่:วิศวกรชาวไทย]] [[หมวดหมู่:ชาวไทย]] [[หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร]] [[หมวดหมู่:Pages with unreviewed translations]]