ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว
東京都知事
ธงของมหานครโตเกียว
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ยูริโกะ โคอิเกะ
ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2016
องค์การปกครองมหานครโตเกียว
ผู้แต่งตั้งเลือกตั้งโดยตรง
วาระ4 ปี, ไม่จำกัดวาระ
ตำแหน่งก่อนหน้าผู้ว่าราชการจังหวัดเอโดะ
ผู้ว่าราชการจังหวัดโตเกียว
นายกเทศมนตรีนครโตเกียว
สถาปนา3 พฤษภาคม 1947; 77 ปีก่อน (1947-05-03)
คนแรกเซอิจิโร ยาซูอิ

ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京都知事โรมาจิTōkyō-To Chiji) เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของมหานครโตเกียว ตำแหน่งนี้จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1943 ในครั้งที่มีการรวมการบริหารของนครโตเกียวกับจังหวัดโตเกียวเข้าด้วยกัน ตำแหน่งผู้ว่าราชการมหานครโตเกียวที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1947 ตามพระราชบัญญัติการปกครองตนเองท้องถิ่น

ภาพรวม

[แก้]

ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียวเป็นหัวหน้าขององค์การปกครองมหานครโตเกียว และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในมหานครโตเกียวทุก ๆ สี่ปี ครั้งล่าสุดคือ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว ค.ศ. 2024

เนื่องจากโตเกียวมีขนาดเศรษฐกิจและจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศ นโยบายขององค์การปกครองมหานครโตเกียวจึงสามารถส่งผลกระทบต่อกิจการของประเทศได้อย่างมาก ทำให้ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียวมีอิทธิพลต่อประเทศอย่างมาก และมีเสียงที่ดังในสมาคมผู้ว่าราชการแห่งชาติ

งบประมาณประจำปีของมหานครโตเกียวอยู่ที่ประมาณ 13 ล้านล้านเยน มากกว่าจังหวัดอื่น ๆ ถึง 10 เท่า และเทียบเท่ากับงบประมาณแผ่นดินของประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นผู้ว่าราชการมหานครโตเกียวจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นอีกด้วย[1] องค์การปกครองมหานครโตเกียวมีพนักงานมากกว่า 160,000 คน ถือได้ว่าเป็นผู้ว่าจ้างที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น[2]

คุณสมบัติ

[แก้]

ผู้สมัครจะต้องเป็นพลเมืองญี่ปุ่นและอาศัยอยู่ในโตเกียวมาเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน และต้องมีอายุมากกว่า 30 ปี ผู้สมัครจะต้องนำเงิน 3 ล้านเยนไปยื่นให้กับองค์การปกครองมหานครโตเกียว ซึ่งจะคืนให้เฉพาะในกรณีที่ได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อยร้อยละ 10 เท่านั้น[3]

รายชื่อ

[แก้]

ผู้ว่าราชการจังหวัดโตเกียวจากการแต่งตั้ง (ค.ศ. 1869–1943)

[แก้]
  • คาราซูมารุ มิตสึเอะ (1868)
  • โอกิ ทากาโต (1868–1869)
  • มิบุ โมโตโอซะ (1869–1871)
  • ยูริ คิมิมาซะ (1871–1872)
  • โอกูโบะ อิจิโอ (1872–1875)
  • คูซูโมโตะ มาซาตากะ (1875–1879)
  • มัตสึดะ มิจิยูกิ (1879–1882)
  • โยชิกาวะ อากิมาซะ (1882–1885)
  • วาตานาเบะ ฮิโรโมโตะ (1885–1886)
  • ทากาซากิ โกโรกุ (1886–1890)
  • มาร์ควิส ฮาจิซูกะ โมจิอากิ (1890–1891)
  • โทมิตะ เท็ตสึโนซูเกะ (1891–1893)
  • มิอูระ ยาซูชิ (1893–1896)
  • มาร์ควิส โคงะ มิจิตสึเนะ (1896–1897)
  • ไวเคานต์ โอกาเบะ นางาโมโตะ (1897–1898)
  • โคอิซูกะ รีว (1898)
  • บารอน เซ็งเงะ ทากาโตมิ (1898–1908)
  • ฮิโรชิ อาเบะ (1908–1912, ครั้งที่ 1)
  • ฮิโรชิ อาเบะ (1919–1921, ครั้งที่ 2)
  • อูซามิ คัตสึโอะ (1921–1925)

ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียวจากการแต่งตั้ง (ค.ศ. 1943–1947)

[แก้]
  • ชิเงโอะ โอดาจิ (1943–1944)
  • โทชิโซ นิชิโอะ (1944–1945)
  • ฮิซาตาดะ ฮิโรเซะ (1945–1946)
  • โชเฮ ฟูจินูมะ (1946)
  • ฮารูโอะ มัตสึอิ (1946)
  • เซอิจิโร ยาซูอิ (1946–1947)
  • คาซูมิ อีนูมะ (1947)

ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียวจากการเลือกตั้ง (ค.ศ. 1947–ปัจจุบัน)

[แก้]
ลำดับ รูป ชื่อ
(เกิด – เสียชีวิต)
วาระดำรงตำแหน่ง พรรค การเลือกตั้ง
1 เซอิจิโร ยาซูอิ
(1881–1962)
3 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 18 เมษายน ค.ศ. 1959 เสรีประชาธิปไตย (LDP) 1947

1951


1955

2 เรียวตาโร อาซูมะ
(1893–1983)
27 เมษายน ค.ศ. 1959 22 เมษายน ค.ศ. 1967 อิสระ[a] 1959

1963

3 เรียวกิจิ มิโนเบะ
(1904–1984)
23 เมษายน ค.ศ. 1967 22 เมษายน ค.ศ. 1979 อิสระ[b] 1967

1971


1975

4 ชุนอิจิ ซูซูกิ
(1910–2010)
23 เมษายน ค.ศ. 1979 22 เมษายน ค.ศ. 1995 อิสระ 1979

1983


1987


1991

5 ยูกิโอะ อาโอชิมะ
(1932–2006)
23 เมษายน ค.ศ. 1995 22 เมษายน ค.ศ. 1999 อิสระ 1995
6 ชินตาโร อิชิฮาระ
(1932–2022)
23 เมษายน ค.ศ. 1999 31 ตุลาคม ค.ศ. 2012 อิสระ[c] 1999

2003


2007


2011

7 นาโอกิ อิโนเซะ
(1946–)
18 ธันวาคม ค.ศ. 2012 24 ธันวาคม ค.ศ. 2013 อิสระ[d] 2012
8 โยอิจิ มาซูโซเอะ
(1948–)
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 21 มิถุนายน ค.ศ. 2016 อิสระ[c] 2014
9 ยูริโกะ โคอิเกะ
(1952–)
2 สิงหาคม ค.ศ. 2016 อยู่ในตำแหน่ง อิสระ[e] 2016

2020

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ได้รับการสนับสนุนจากพรรค LDP
  2. ได้รับการเลือกตั้งครั้งแรกโดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่นและพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น
  3. 3.0 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากพรรค LDP และพรรคโคเมใหม่
  4. ได้รับการสนับสนุนจากพรรค LDP, พรรคโคเมใหม่ และพรรค Restoration
  5. ได้รับการสนับสนุนจากพรรคโทมินเฟิสต์ใน ค.ศ. 2020

อ้างอิง

[แก้]
  1. "GDP by Country - Worldometer". www.worldometers.info.
  2. "予算13兆円、職員16万人…東京都知事の権力と影響力(THE PAGE)". Yahoo!ニュース.
  3. Fukada, Takahiro (February 8, 2011). "The second-most powerful job". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2016. สืบค้นเมื่อ November 12, 2022.