ป้อมปราการโก๋ลวา
ป้อมปราการโก๋ลวา (เวียดนาม: Thành Cổ Loa) เป็นป้อมปราการที่มีความสำคัญทางโบราณสถานในปัจจุบันทั้งอยู่บริเวณเขตดงอาน เมืองฮานอย ประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของใจกลางกรุงฮานอย[1] ที่โก๋ลวามีการค้นพบซากโบราณต่างๆในยุคสำริด อันได้แก่ วัฒนธรรมฟุงเหวียนและวัฒนธรรมดงเซิน แม้ว่าภายหลังจะมีการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเอิวหลัก ในช่วง 3 ปีก่อนคริสตกาล[2] นอกจากนี้ป้อมโก๋ลวาได้มีการก่อสร้างบูรณะเพิ่มเติมได้เพิ่มขึ้นในช่วงราชวงศ์ต่อมา ป้อมโก๋ลวา ยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเมืองที่สำคัญของชาวเวียตนามจนถึงศตวรรษที่ 10
ชื่อของป้อม คำว่า "โก๋ลวา" มาจาก คำศัพท์จีน-เวียดนาม คำว่า 古螺, ที่แปลว่า "เกลียวโบราณ", ซึ่งได้มีนักภาษาศาตร์เวียดนามอธิบายคำว่า "โก๋ลวา" ว่าอาจจะสันนิษฐานที่มาของป้อมปราการที่นำมาตั้งชื่อได้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างแบบหลายชั้นของกำแพงคูเมืองและคูน้ำ
ประวัติ
[แก้]ตามที่ตำนานพื้นบ้านที่เล่าขาน, ถุก ฟ้านแม่ทัพเชื้อสายจีนได้ปราบกษัตริย์หุ่งองค์สุดท้ายของราชวงศ์ห่งบ่าง ในช่วง 257 ปีก่อนคริสต์ศักราช และได้ก่อตั้งอาณาจักรเอิวหลักขึ้น โดยได้เลือกบริเวณเมืองโก๋ลวาซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นที่ตั้งราชธานี เมืองหลวงโก๋ลวายังคงมีบทบาทสำคัญในบริเวณที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง และจะต้องใช้แรงงานและทรัพยากรจำนวนมากเพื่อสร้างซึ่งอาน เซือง เวือง เล็งเห็นว่าเมืองโก๋ลวามีความเหมาะสมที่สุด[2]
ตำนานหน้าไม้วิเศษ
[แก้]กษัตริย์แห่งราชวงศ์ถุก พยายามขอเจ้าหญิงจากราชวงศ์ห่งบ่าง ซึ่งปกครองอาณาจักรวันลางแต่งงาน กษัตริย์ทุกข์ระทมเพราะเจ้าหญิงปฏิเสธ เขาจึงสาบานว่าจะทำลายล้างราชวงศ์ห่งบ่างให้ได้ แต่กลับเสียชีวิตไปก่อนโดยมิอาจได้ชำระแค้น จึงมอบภารกิจนี้ให้แก่ผู้สืบบัลลังก์ต่อไป นี่คือจุดกำเนิดของสงครามระหว่างอาณาจักรถุกกับอาณาจักรวันลาง ราชวงศ์ห่งบ่างมีชัยชนะติดต่อกันหลายปี แต่อำนาจและความสำเร็จทำให้บรรดาลูกหลานมั่นใจเกินไป เหล่าราชวงศ์ขาดความรอบคอบ ใช้ชีวิตอย่างเกียจคร้านเฉยเมย ส่วนฝ่ายศัตรูคือ ถุก ฟ้าน ได้เริ่มฝึกทหารอย่างยาวนานและเลือกช่วงเวลาอันเหมาะสมเพื่อรุกรานอาณาจักรวันลางของราชวงศ์ห่งบ่าง กษัตริย์ถุก ฟ้าน รวมสองอาณาจักรคือ ถุกและวันลางเข้าด้วยกันได้ ขึงได้ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่ว่าเอิว หลัก และเรียกตนเองว่า อาน เซือง เวือง พระองค์ได้สร้างนครหลวง และกำแพงแน่นหนาทางด้านเหนือเพื่อป้องกันอาณาจักรจากกองโจร แต่เมื่อสร้างกำแพงเสร็จมีพายุพัดกระหน่ำ ฝนตกไหลจนน้ำเชี่ยว ลมแรงพัดโหมจนกำแพงพังโนเสียงสนั่นหวั่นไหว กษัตริย์อาน เซือง เวือง ได้สร้างกำแพงขึ้นอีกสามครั้ง แต่ก็ถูกทำลายในทำนองเดียวกันทุกครั้ง ในที่สุดพระองค์ก็ได้เรียกบรรดาอำมาตย์เข้าเฝ้า อำมาตย์จึงแนะนำให้ อาจจะเป็นเพราะเทพไม่โปรดปราน และควรตั้งศาลถวายเครื่องเซ่นไหว้เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือจากเทพเจ้า กษัตริย์ อาน เซือง เวือง จึงให้ตั้งศาลขึ้นริมฝั่งแม่น้ำนอกประตูเมืองตะวันออก มีการเซ่นสรวงโค กระบือ และสวดภาวนาหมอบกราบเพื่อขอพรจากเทพเจ้า ในวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนสาม มีภูตแปลงเป็นเต่าสีทองตัวโตมาปรากฏในฝันของกษัตริย์ เต่าได้บอกวิธีสร้างกำแพงที่เหมาะสมว่า "วิญญาณเป็นผู้พังกำแพงของท่าน ซึ่งเป็นวิญญาณที่ชอบหลอกพวกมนุษย์เพื่อแสดงพลังของตน" เมื่อ อาน เซือง เวือง ตื่นเช้าวันรุ่งขึ้น พระองค์ได้จำสิ่งที่เต่าทองบอกได้หมด จึงปฏิบัติตามคำสอนทุกประการและได้สร้างกำแพงป้อมปราการใหญ่เป็นรูปหอยสังข์ ได้เรียกป้อมปราการนี้ว่า ป้อมโก๋ลวา หรือ "ป้อมหอยสังข์" และตั้งชื่อเมืองว่า เมืองโก๋ลวา หรือ นครหอยสังข์[3]
อาน เซือง เวือง คือว่า กำแพงคงป้องกันสิ่งต่างๆในเมืองให้ปลอดภัยได้ แต่ก็ทราบดีว่าหากถูกศัตรูที่มีกำลังกล้าแข็งล้อมรอบก็คงไม่อาจป้องกันเมืองไว้ได้ตลอดไป เต่าสีทองทราบความกังวลของ อาน เซือง เวือง จึงปรากฏให้เห็นในความฝันอีกครั้ง "ความเจริญรุ่งเรืองหรือความเสื่อมสลายขึ้นอยู่กับเจตจำนงของสวรรค์ แต่สวรรค์จะช่วยผู้ที่เหมาะสม บัดนี้ท่านได้แสดงให้เห็นแล้วว่าไว้ใจข้ามาก ข้าจะทำของขวัญจากเล็บของข้ามอบให้ ท่านจงนำไปใช้เป็นหน้าไกของหน้าไม้ มันจะช่วยขับวิญญาณชั่วร้ายออกไปและปราบได้ทั้งกองทัพ แต่ท่านต้องไม่ลืมว่าความมั่นคงของอาณาจักรขึ้นอยู่กับความระมัดระวังของท่านเองด้วย เต่าดึงเล็บข้างหนึ่งออกมามอบให้ อาน เซือง เวือง แล้วกลับคืนลงสู่แม่น้ำ" อาน เซือง เวือง พอใจมากเมื่อตื่นมาพบเล็บวิเศษในมือ จึงสั่งให้ช่างอาวุธทำหน้าไม้ล้ำค่าซึ่งใช้เล็บวิเศษเป็นไกและกล่องผลึกงดงามไว้สำหรับบรรจุลูกศร อาน เซือง เวือง รำลึกถึงพระคุณของเต่าเสมอ พระองค์เชื่อมั่นว่าอาณาจักรของพระองค์จะมีสันติภาพและสงบเรียบร้อยเป็นเวลาหลายปี[4]
ในเวลานั้นประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์ฉิน ซึ่งจิ๋นซีฮ่องเต้ได้ปราบปรามอาณาจักรรอบๆมาเป็นเมืองขึ้นได้ทั้งหมดและยกกองทัพมาถึงทะเลจีนใต้ ในปีเดียวกันกับที่ อาน เซือง เวือง เริ่มสร้างกำแพง จิ๋นซีฮ่องเต้ส่งไพร่พลและทัพม้าขนาดใหญ่ลงมาจากจีนตอนใต้พื่อรุกรานอาณาจักรเอิวหลัก แต่ก็พ่ายแพ้หลายต่อหลายครั้ง และในที่สุดก็ถูกทำลายด้วยธนูวิเศษก่อนที่จะยกทัพมาประชิดพระนครโก๋ลวา สามปีต่อมา จิ๋นซีฮ่องเต้ได้ส่งกองทหารห้าแสนนาย นำโดยนายพลเจี่ยวด่า ทำให้ภาคเหนือของอาณาจักรเอิวหลักตกอยู่ในมือของจีนอย่างง่ายดาย กองทหารจีนยกมาเป็นสามขบวนคือ พลม้า พลเท้า พลเรือ กองทัพนั้นยกมาพร้อมธงปลิวไสวในอากาศ เสียงอาวุธกระทบกันดังสนั่นหวั่นไหว นายพลเจี่ยวด่าสั่งให้ยกทัพไปตั้งบนภูเขา ให้กองเรือเทียบรอในแม่น้ำ ปิดล้อมพระนครไว้ กษัตริย์อาน เซือง เวือง เฝ้าสังเกตการณ์อย่างสุขุมจากหน้าต่างของป้อมปราการ ขณะที่กองทหารทั้งสามขบวนหลั่งไหลเข้าล้อมพระนครโก๋ลวา พระองค์กลับปล่อยให้กองทัพจีนเข้ามาโดยไม่ยกทัพออกไปต้านและไม่สั่งให้เตรียมกำลังป้องกันพระนครแต่อย่างใด เมื่อทหารรายงานว่า ทหารจีนมากันมืดฟ้ามัวดิน พระองค์กลับกล่าวอย่างพอใจว่า "พวกเขาคงจะลืมหน้าไม้วิเศษของข้าแล้วกระมัง" แล้วพระองค์ก็เล่นหมากรุกต่อโดยไม่แยแส เมื่อข้าศึกมาประชิดประตูเมืองโก๋ลวา อาน เซือง เวือง ยืนขึ้นไปหยิบหน้าไม้ แต่หลังจากยิงครั้งแรก ก็ยิงไม่ออก เมื่อยิงอีก ข้าศึกก็ยังคงหลั่งไหลเหมือนกระแสน้ำบ่าท่วมเข้ามา[5]
อาน เซือง เวือง ตัดสินใจหลบหนี เขาแทบไม่มีเวลาเตรียมม้าจึงให้เจ้าหญิงหมิเจิวประทับนั่งซ้อนหลัง ทั้งสองควบม้าไปอย่างรวดเร็วสู่ทิศใต้ ทิ้งเมืองหลวงและอาณาจักรไว้เบื้องหลัง อาน เซือง เวือง ควบม้าผ่านทุ่งนาและหนองบึงหลายแห่ง เมื่อถึงทางแยก เจ้าหญิงหมีเจิว ได้โปรยขนห่านเพื่อให้จ่องถวีตามมาถูก ส่วนที่พพระราชวัง จ่องถวีพบว่ากษัตริย์กับเจ้าหญิงหลบหนีไปแล้วจึงออกติดตามทันที และได้ตามรอยขนห่านที่เจ้าหญิงโปรยไว้เป็นเครื่องนำทาง ม้าของอาน เซือง เวือง วิ่งต่อไปเรื่อยๆพาทั้งสองไกลไปจนถึงทะเลกว้างใหญ่ ที่นั่นไม่มีเรือแม้แต่ลำเดียวและไม่มีวิธีอื่นที่จะข้ามน้ำได้ อาน เซือง เวืองแหงนหน้าขึ้นท้องฟ้าและร้องออกมาด้วยความสิ้นหวัง ทันใดนั้นเต่าสีทองก็โผล่หัวขึ้นมาจากใต้ทะเลสีครามแล้วร้องขึ้นด้วยเสียงอันทางพลังว่า "จงระวังศัตรูทรยศที่นั่งอยู่หลังพระองค์" อาน เซือง เวืองหันไปจับจ้องเจ้าหญิง หมิเจิว เจ้าหญิง หมิเจิวตัวสั่นเทิ้มน้ำตาไหลพราก อาน เซือง เวืองจึงชักดาบออกมาตัดศีรษะของเจ้าหญิงทันที อาน เซือง เวืองหวาดกลัวและละอายในการกระทำของพระองค์ จึงกระโดดลงทะเลตามเต่าสีทองหายไป เมื่อจ่องถวีตามมาถึงพบร่างของเจ้าหญิงหมิเจิว จึงร้องไห้เสียใจเป็นอันมากและนำร่างของเจ้าหญิงกลับไปยังพระนครเพื่อทำพิธีฝัง[6]
ในเวลาต่อมา จ้าวตัว หรือ (เจี่ยวด่า ในภาษาเวียดนาม) หนึ่งในแม่ทัพของราชวงศ์ฉิน ได้ถือโอกาสในช่วงราชวงศ์ฉินล่มสลายและสร้างอาณาจักรอิสระของตนขึ้นบริเวณตอนเหนือของเอิวหลักมีนามว่า น่านเย่ว์
ความสำคัญทางด้านโบราณคดี
[แก้]บริเวณประกอบด้วยกำแพงด้านนอกสองด้านและป้อมปราการในภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า[2] คูเมืองประกอบด้วยลำธารหลายสาย ประกอบไปด้วย แม่น้ำฮองเซียง และเครือข่ายของทะเลสาบที่ให้เอื้อต่อเมืองโก๋ลวาในด้านการป้องกันและการเดินเรือ[7]
ป้อมปราการด้านนอกประกอบด้วยขอบกั้น 8 กิโลเมตรและเรียงรายไปด้วยป้อมยาม กำแพงยังสูงถึง 12 เมตรและมีความกว้าง 25 เมตรที่วัดจากฐาน นอกจากนี้บางส่วนของกำแพงด้านในถูกตัดผ่านเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อจุดประสงค์ในการสืบสวนทางโบราณคดี ซึ่งเป็นทำให้สามารถนับย้อนไปในช่วง 400-350 ปีก่อนคริสตกาล และมีข้อเสนอแนะว่ากำแพงนี้ถูกสร้างขึ้นโดยชาวท้องถิ่นและสังคมชนเผ่าพื้นเมืองก่อนที่จะดินแดนอาณาจักรบริเวณเวียดนามจะตกอยู่ภายใต้การล่าอาณานิคมของราชวงศ์ฮั่นจากจีน[8]
วัฒนธรรมดงเซิน (700 BC - 100 AD)
[แก้]-
เครื่องไถพรวนและหัวขวานสำริด
-
กลองสำริดที่ขุดพบที่โก๋ลวา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ray (2010).
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Higham, p. 122.
- ↑ รศ. ดร.สุนทร โคตรบรรเทา (แปล), จิตพาชื่น มุสิกานนท์ (March 2014). ตำนานและนิทานพื้นบ้านเวียดนาม. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. ISBN 9786160423811.
- ↑ รศ. ดร.สุนทร โคตรบรรเทา (แปล), จิตพาชื่น มุสิกานนท์ (March 2014). ตำนานและนิทานพื้นบ้านเวียดนาม. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. ISBN 9786160423811.
- ↑ รศ. ดร.สุนทร โคตรบรรเทา (แปล), จิตพาชื่น มุสิกานนท์ (March 2014). ตำนานและนิทานพื้นบ้านเวียดนาม. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. ISBN 9786160423811.
- ↑ รศ. ดร.สุนทร โคตรบรรเทา (แปล), จิตพาชื่น มุสิกานนท์ (March 2014). ตำนานและนิทานพื้นบ้านเวียดนาม. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. ISBN 9786160423811.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อl
- ↑ Kim, N. C., Van Toi, L., & Hiep, T. H. (2010). Co Loa: an investigation of Vietnam's ancient capital. [1][ลิงก์เสีย] Antiquity, 84(326).
บรรณานุกรม
[แก้]21°06′48″N 105°52′24″E / 21.113408°N 105.873206°E
- Higham, Charles (1996). The Bronze Age of Southeast Asia. Cambridge World Archaeology. ISBN 0-521-56505-7.
- Ray, Nick; และคณะ (2010), "Co Loa Citadel", Vietnam, Lonely Planet, p. 123, ISBN 9781742203898.