ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

บน: ขีปนาวุธของอิสราเอลโจมตีใส่เมืองในฉนวนกาซา; ล่าง: รถถังอิสราเอลยิงกระสุนปืนใหญ่สู่กาซา, ขีปนาวุธของกาซาตกลงในอิสราเอล
วันที่8 กรกฎาคม 2557 – 26 สิงหาคม 2557
สถานที่
ฉนวนกาซา และเมืองใกล้ชายแดนของอิสราเอล
สถานะ

ทั้งสองฝ่ายอ้างชัยชนะ[2]

  • อิสราเอลอ้างว่า ฮะมาสอ่อนแอลงมาก และไม่บรรลุข้อเรียกร้องใด[3]
  • ฮะมาสอ้างว่า อิสราเอลถูกขับออกจากกาซา[4]
คู่สงคราม
อิสราเอล อิสราเอล

รัฐปาเลสไตน์ ฉนวนกาซา

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

เบนจามิน เนทันยาฮู
นายกรัฐมนตรี
Moshe Ya'alon
รัฐมนตรีกลาโหม
Benny Gantz
เสนาธิการกองทัพ
Amir Eshel
ผบ.ทอ.
Sami Turgeman
แม่ทัพภาคใต้

Yoram Cohen
หัวหน้าหน่วยชิน เบท
Khaled Mashal
หัวหน้าฮะมาส
Ismail Haniyeh
รองหัวหน้าฮะมาส
Mohammed Deif
หัวหน้าหน่วย Izz ad-Din al-Qassam Brigades
Ramadan Shalah
หัวหน้ากลุ่ม PIJ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
Israel Ground Forces
Israeli Air Force
Israeli Navy
Shin Bet
Shayetet 13
Izz ad-Din al-Qassam Brigades
al-Aqsa Martyrs' Brigades
Abu Ali Mustapha Brigades
Al-Nasser Salah al-Deen Brigades
Al-Quds Brigades
กำลัง
กองบัญชาการภาคใต้อิสราเอล; กำลังพลสำรองถึง 74,000 นาย[5][6]

Al-Qassam Brigades: 20,000[7]–40,000 นาย[8]

Al-Quds Brigades: 8,000 นาย[9]
ความสูญเสีย
66 ทหารเสียชีวิต
6 พลเรือนเสียชีวิต (1 คนไทย)[10][11][12]
469 ทหารบาดเจ็บ
87 พลเรือนบาดเจ็บ [13][14]
ตัวเลขโดยสหประชาชาติ:
2,220 คนเสียชีวิต[15]
(1,492 พลเรือน)
กระทรวงสาธารณสุขกาซา:
2,310 คนเสียชีวิต[16]
(70% พลเรือน)

วันที่ 8 กรกฎาคม 2557 กองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เปิดฉากปฏิบัติการโพรเทกทิฟเอดจ์ (อังกฤษ: Operation Protective Edge, ฮีบรู: מִבְצָע צוּק אֵיתָן ‎, ปฏิบัติการปกป้องขอบแดน) ในฉนวนกาซาที่ฮะมาสควบคุม จากนั้น การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลและการโจมตีด้วยจรวดของปาเลสไตน์นานเจ็ดสัปดาห์ ตลอดจนการระดมยิงและการต่อสู้ในการบุกครองภาคพื้นดินและการโจมตีผ่านอุโมงค์ข้ามชายแดน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,100 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์[11][12][17][18]

ความมุ่งหมายที่แถลงของปฏิบัติการของอิสราเอลคือหยุดการโจมตีด้วยจรวดจากกาซาสู่อิสราเอล ซึ่งกลุ่มแยกมิใช่ฮะมาสเริ่มต้นหลังการปราบปรามฮะมาสในเวสต์แบงก์ของอิสราเอล อันเนื่องจากการลักพาตัวและฆ่าวัยรุ่นชาวอิสราเอล 3 คนโดยสมาชิกฮะมาส[19] และฮะมาสเองเริ่มหลังการโจมตีทางอากาศในวันที่ 6 กรกฎาคมซึ่งฆ่านักรบฮะมาสเจ็ดคนในข่านยูนิส (Khan Yunis)[19][20][21] ในวันที่ 17 กรกฎาคม ปฏิบัติการขยายผลสู่การบุกครองภาคพื้นดินโดยมีความมุ่งหมายที่แถลงเพื่อทำลายระบบอุโมงค์ของกาซา[22]

ในวันที่ 26 สิงหาคม IDF รายงานว่า ฮะมาส อิสลามญิฮาดและกลุ่มนักรบอื่นยิงจรวดและปืนครก 4,500 ลูกจากกาซาสู่อิสราเอล[23][24] ขณะที่ IDF โจมตีเป้าหมาย 5,263 แห่งในกาซา มีอุโมงค์ที่ทราบถูกทำลายอย่างน้อย 34 แห่ง[23] และสองในสามของคลังจรวด 10,000 แห่งของฮะมาสถูกใช้หมดหรือถูกทำลาย[25][26] กระทรวงมหาดไทยปาเลสไตน์รายงานว่า จนถึงวันที่ 22 สิงหาคม มีระเบิดถูกทิ้งใส่กาซา 20,000 ตัน[27][28] การหยุดยิงหลายครั้งล้มเหลวหรือหมดอายุ[29] ในวันที่ 26 สิงหาคม มีการประกาศหยุดยิงปลายเปิด[30]

ชาวกาซาเสียชีวิตระหว่าง 2,125[31] ถึง 2,310[32] (รวมเด็ก 495–578 คน)[11][12] และได้รับบาดเจ็บระหว่าง 10,895[33] ถึง 11,100 คน[12] ขณะที่ทหาร IDF 66 นาย พลเรือนอิสราเอล 5 คน และพลเรือนไทย 1 คนเสียชีวิต[11] และทหาร IDF 450 นายและพลเรือนอิสราเอล 80 คนได้รับบาดเจ็บ[14] กระทรวงสาธารณสุขกาซา สหประชาชาติและกลุ่มสิทธิมนุษยชนว่า ความสูญเสียของปาเลสไตน์ 70–75% เป็นพลเรือน[11][16][33] อิสราเอลแถลงว่า 50% เป็นพลเรือน[34][35] วันที่ 5 สิงหาคม สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติแถลงว่า ชาวปาเลสไตน์ 520,000 คนในฉนวนกาซา (ประมาณ 30% ของประชากร) อาจพลัดถิ่น ในจำนวนนี้ 485,000 คนต้องการความช่วยเหลืออาหารฉุกเฉิน[36] และ 273,000 คนหลบภัยในโรงเรียนที่สหประชาชาติดำเนินการ 90 แห่ง[37] ที่พักอาศัยในกาซา 17,200 หลังถูกทำลายทั้งหมดหรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก และ 37,500 หลังได้รับความเสียหายแต่ยังอาศัยได้[11] ในอิสราเอลมีพลเรือนประมาณ 5,000[38] ถึง 8,000 คน[39]หนีจากที่พักอาศัยเนื่องจากภัยคุกคามจากการโจมตีด้วยจรวดและปืนครก[38]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ben Solomon, Ariel. "Videos show Lebanese jihadi group active in Gaza". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  2. Israel and Palestinians Reach Open-Ended Cease-Fire Deal
  3. Netanyahu: Hamas suffered its greatest blow since it was founded
  4. Israel-Gaza conflict: Hamas claims 'victory for the resistance' as long-term truce is agreed with Israel
  5. "Israel calls up additional 8,000 reservists for Gaza operation". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
  6. "Israel approves call-up of 18,000 more reservists". Local 12. IAF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-21.
  7. "Rockets, naval commandos boost Hamas arsenal". Maannews.net. 25 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2014. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  8. "Hamas growing in military stature, say analysts". Middleeasteye.net. 17 July 2014. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  9. Ben Gedalyahu, Ben (7 November 2011). "Iran Backs Islamic Jihad's 8,000-Man Army in Gaza". Israel National News. Arutz Sheva. สืบค้นเมื่อ 7 November 2011.
  10. "Operation Protective Edge, Casualties". สืบค้นเมื่อ 28 August 2014.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 "Occupied Palestinian Territory: Gaza Emergency" (PDF). 4 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 4 September 2014.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 "Ministry of Health: "2145 Palestinians, Including 578, Killed In Israel's Aggression"". สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  13. Cease fire in Operation "Protective Edge" is holding MDA sums up 50 days of saving lives เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Magen David Adom, 29 August 2014: 'During the 50 days of Operation "Protective Edge", MDA teams treated 842 civilians, including 6 who were killed by shrapnel of rockets, and another 36 who were injured by shrapnel in varying degrees, including: 10 casualties in serious condition, 6 in a moderate condition and 20 who were slightly wounded. In addition, MDA teams also treated during Operation "Protective Edge" 33 people who were injured by shattered glass and building debris, 18 who were injured in road traffic accidents which occurred when the sirens were heard, including 1 person in a serious condition, and the rest lightly or moderately wounded. 159 people were injured as a result of falling and trauma on the way to the shelters and 581 people suffered anxiety attacks.'
  14. 14.0 14.1 Hartman, Ben (28 August 2014). "50 days of Israel's Gaza operation, Protective Edge – by the numbers". The Jerusalem Post.
  15. Fragmented Lives: Humanitarian Overview, 2014 OCHA March 2015.
  16. 16.0 16.1 "Islamic Jihad: 121 of our fighters killed in Gaza". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  17. Gaza peace deal agreed to end 50 days of fighting The National. Retrieved 27 August 2014.
  18. Gaza ceasefire: Israel and Palestinians agree to halt weeks of fighting The Guardian. Retrieved 27 August 2014.
  19. 19.0 19.1 Nathan Thrall, 'Hamas's Chances.' London Review of Books, volume 36, number 16, 21 August 2014 (1 August), pp. 10–12
  20. "Gaza-Israel conflict: Is the fighting over?". BBC. 26 August 2014. สืบค้นเมื่อ 28 August 2014. On 7 July, Hamas claimed responsibility for firing rockets for the first time in 20 months, after a series of Israeli air strikes in which several members of its armed wing were killed.
  21. "IDF's Operation "Protective Edge" Begins Against Gaza". Jewish Press. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  22. "'Gaza conflict: Israel and Palestinians agree long-term truce'". BBC.
  23. 23.0 23.1 Operation Protective Edge in numbers
  24. Egypt says Gaza truce to begin at 7; Israeli killed in mortar strike By Ricky Ben-David, Haviv Rettig Gur and Yifa Yaakov August 26, 2014, Times of Israel
  25. "Rockets, airstrikes after Gaza war truce collapses". The Washington Times.
  26. "AP ANALYSIS: Hamas enters talks with Israel on Gaza from a point of military weakness". Fox News.
  27. "Gaza bombed with 20,000 tons of explosives". Ministry of Interior, Palestinian National Authority. 22 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 28 August 2014.
  28. Miller, Jonathan (20 August 2014). "Gaza: wife and infant son of Hamas commander killed". Channel 4 News. สืบค้นเมื่อ 28 August 2014.
  29. Daraghmeh, Mohammed (10 August 2014). "Israel accepts Egyptian ceasefire proposal". Globalnews.ca. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 10 August 2014.
  30. Sherwood, Harriet; Balousha, Hazem (27 August 2014). "Gaza ceasefire: Israel and Palestinians agree to halt weeks of fighting". The Guardian UK. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  31. Annex: Palestinian Fatality Figures in the 2014 Gaza Conflict from report The 2014 Gaza Conflict: Factual and Legal Aspects, Israel Ministry of Foreign Affairs, 14 June 2015
  32. 'Ministry: Death toll from Gaza offensive topped 2,310,' เก็บถาวร 11 มกราคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ma'an News Agency 3 January 2015.
  33. 33.0 33.1 "Statistics: Victims of the Israeli Offensive on Gaza since 8 July 2014". Pchrgaza.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 27 August 2014.
  34. Laub, Karin; AlHou, Yousur (8 August 2014). "In Gaza, dispute over civilian vs combatant deaths". Yahoo News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  35. "Examination of the names of Palestinians killed in Operation Protective Edge – Part Ten*" (PDF). Israeli Intelligence & Heritage Commemoration Center. 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  36. Gaza Emergency Situation Report (PDF) (Report). United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs: Occupied Palestinian Territory. 3 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-06. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  37. "Occupied Palestinian Territory: Gaza Emergency" (PDF). 5 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ 12 August 2014.
  38. 38.0 38.1 Nidal al-Mughrabi and Allyn Fisher-Ilan. "Israel, Palestinians launch new three-day truce เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Reuters. 10 August 2014.
  39. Heller, Aron (6 August 2014). "Southern Israelis cautiously prepare to head home". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 31 August 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]