บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธ์
บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธ์ นักแบดมินตันหญิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นครีม
เกิด22 มีนาคม พ.ศ. 2539 (28 ปี)
อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี[1]
ส่วนสูง1.68 m (5 ft 6 in)
กีฬา
กีฬาแบดมินตัน
สโมสรแบดมินตันบางโพ[1]
จายารายา[2]
พันธมิตรพรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข[3]
ผู้ฝึกสอนโค้ชคนแรก:
ร.ต.ประชิต มาประเสริฐ[4]
แบดมินตันบางโพ:
เมธินี นราวีรวุฒิ[4]
ดร.มรุพงศ์ ตันสัจจา[4]
โสรัจจา จันทร์ศรีสุคต[4]
ทีมชาติ:
สมพล คูเกษมกิจ[1]
อุดม เหลืองเพชราภรณ์[1][3]
ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์[4]
รายการเหรียญรางวัล
ตัวแทนของ  ไทย
แบดมินตัน
เอเชียนเกมส์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 จาการ์ตา-ปาเล็มบัง 2018 ทีมหญิง
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 หางโจว 2022 ทีมหญิง
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ สิงค์โปร์ 2015 หญิงเดี่ยว
เหรียญทอง - ชนะเลิศ สิงค์โปร์ 2015 ทีมหญิง
เหรียญทอง - ชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2017 ทีมหญิง
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ฟิลิปปินส์ 2019 ทีมหญิง
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2013 เนปยีดอ หญิงเดี่ยว
โยเน็กซ์ดัตช์โอเพน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2013 หญิงเดี่ยว
ไทยแลนด์โอเพน
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2013 หญิงเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2013 หญิงคู่
แบดมินตันยุวชนโลก
ชนะเลิศ ครั้งที่ 45 หญิงเดี่ยว
ชนะเลิศ ครั้งที่ 45 หญิงคู่
เยาวชนเอเชีย
อันดับ 3 กิมซอน 2013 -
เวียดนามโอเพนกรังด์ปรีซ์โกลด์
อันดับ 3 2012 หญิงเดี่ยว
อันดับ 3 2012 หญิงคู่
โยเน็กซ์ซันไรท์มาเลเซียโอเพนกรังด์ปรีซ์โกลด์
ชนะเลิศ 2012 หญิงเดี่ยว
มาเก๊ากรังด์ปรีซ์โกลด์
รองชนะเลิศ 2012 -
แบดมินตันเอสซีจีจูเนียร์
ชนะเลิศ 2011 หญิงเดี่ยว
ชนะเลิศ 2011 หญิงคู่
แบดมินตันอาชีพประเทศไทย
ชนะเลิศ 2554 หญิงเดี่ยวทั่วไป

บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธ์ (ชื่อเล่น: ครีม; 22 มีนาคม พ.ศ. 2539 – ) เป็นนักแบดมินตันชาวไทยผู้เข้าแข่งขันรายการโยเน็กซ์โอเพนเจแปน 2012[5] ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก และอันดับ 3 ของโลกในรุ่นเยาวชน[1][6]

พ.ศ. 2555 บุศนันทน์ได้รับการพิจารณาชื่อเข้าชิงรางวัลนักแบดมินตันยอดเยี่ยมแห่งปี 2012 จากสหพันธ์แบดมินตันโลก[7] และในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เธอได้ครองแชมป์การแข่งขันประเภทหญิงเดี่ยวรายการ โยเน็กซ์ดัตช์โอเพน 2013 โดยเป็นฝ่ายชนะกู จวน ซึ่งเป็นนักแบดมินตันจากประเทศสิงคโปร์ ที่ 2-0 เกม ด้วยผลการแข่ง 21-12, 21-12[8]

บุศนันทน์ สำเร็จการศึกษา นิเทศศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่น 50)

ผลงานในระดับอาชีพ[แก้]

โค้ชอุดมกำลังให้คำแนะนำแก่บุศนันทน์

บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธ์ เป็นลูกสาวของบุญลือ กับ จีรนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธ์[1][4] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 บุศนันทน์เข้าแข่งขันรายการโยเน็กซ์ซันไรท์มาเลเซียโอเพนกรังด์ปรีซ์โกลด์ 2012 เธอได้เป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันสำคัญระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก[9] จากนั้น ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกันนี้ บุศนันทน์ได้เข้าแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์เยาวชนโลก 2012 ประเภทหญิงเดี่ยวและสามารถเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศได้สำเร็จ และช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เธอเข้าแข่งขันรายการมาเก๊าโอเพน 2012

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 บุศนันทน์เข้าแข่งขันศึกสวิสโอเพน 2013[10] และในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกันนี้ บุศนันทน์เข้าแข่งขันเอสซีจี ไทยแลนด์ โอเพ่น แบดมินตัน แชมเปี้ยนชิพ 2013 ประเภทหญิงเดี่ยวในฐานะมือวางอันดับ 7 ของรายการ[11] และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ โดยเป็นฝ่ายแพ้ต่อรัชนก อินทนนท์ ที่ 2-1 เกม[12][13] ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เธอสามารถทำได้ถึงรอบ 16 คนสุดท้าย ในการแข่งขันประเภทหญิงเดี่ยว โดยพ่ายแพ้อันเซยัง มือวางอันดับ 8 ของโลก 0-2 เกม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

เกียรติประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2554 - ชนะเลิศหญิงเดี่ยว, หญิงคู่ รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี การแข่งขันแบดมินตันยุวชนโลก ครั้งที่ 45 ประเทศสกอตแลนด์[1]
  • พ.ศ. 2554 - ชนะเลิศหญิงเดี่ยวทั่วไป แบดมินตันอาชีพประเทศไทย 2554 สนามที่ 2 จังหวัดนครปฐม[1]
  • พ.ศ. 2554 - ชนะเลิศหญิงเดี่ยว, หญิงคู่ รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี การแข่งขันแบดมินตันเอสซีจีจูเนียร์[1][14]
  • พ.ศ. 2555 - อันดับ 3 เยาวชนเอเชีย 2013 ที่เมืองกิมซอน ประเทศเกาหลีใต้[1]
  • พ.ศ. 2555 - อันดับ 3 หญิงเดี่ยว, หญิงคู่ ศึกเวียดนามโอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ 2012 ณ โฮจิมินห์ซิตี ประเทศเวียดนาม[1]
  • พ.ศ. 2555 - ชนะเลิศหญิงเดี่ยว โยเน็กซ์ซันไรท์ มาเลเซีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ 2012 ณ โจโฮร์บะฮ์รู ประเทศมาเลเซีย[1][9]
  • พ.ศ. 2555 - รองชนะเลิศ มาเก๊า กรังด์ปรีซ์ โกลด์ 2012[1]
  • พ.ศ. 2556 - รองชนะเลิศหญิงเดี่ยว แบดมินตันไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ 2017
  • พ.ศ. 2560 - ชนะเลิศหญิงเดี่ยว แบดมินตันไทยแลนด์ มาสเตอร์ส กรังด์ปรีซ์ โกลด์ 2017
  • พ.ศ. 2560 - รองชนะเลิศหญิงเดี่ยว แบดมินตันไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ 2016
  • พ.ศ. 2564 - ชนะเลิศหญิงเดี่ยว แบดมินตันออร์เลอ็องมาสเตอร์ส 2021 บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ระดับซูเปอร์ 100 ณ ประเทศฝรั่งเศส[15]
  • พ.ศ. 2564 - ชนะเลิศหญิงเดี่ยว แบดมินตันไฮโล โอเพ่น 2021 ระดับเวิลด์ทัวร์ 500 ณ ประเทศเยอรมนี[16]
  • พ.ศ. 2565 - ชนะเลิศหญิงเดี่ยว แบดมินตันอินเดีย โอเพ่น 2022 ระดับเวิลด์ทัวร์ 500 ณ ประเทศอินเดีย[17]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2557 - รางวัลนักกีฬาดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปี สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8[18][19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 บุศนันท์ อึ้งบำรุงพันธ์ ขนไก่ดาวรุ่งแห่งปี
  2. "น้องครีมขวัญใจแฟนขนไก่อิเหนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
  3. 3.0 3.1 "น้องครีมเจ๋งเป้งซดลอดช่องทะลุชิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 เปิดใจ'น้องครีม' นักตบขนไก่ดาวรุ่ง : ข่าวสดออนไลน์
  5. BWF Tournament
  6. ไทยรัฐ. ปีที่ 64 ฉบับที่ 20233. วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556. ISSN 1686-4921. หน้า 22
  7. ′เมย์′ ลุ้นดาวรุ่งแบดโลก เป้าไทยลิ่ว 4 ทีมสุธีรมาน : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
  8. "Sport - Manager Online - น้องครีม เหนือชั้นซิวแชมป์ โยเน็กซ์ ดัตช์ โอเพน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-10-14.
  9. 9.0 9.1 "ครีม-ปอป้อ+บดินทร์-ภควัฒน์ลิ่วก่อนรอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
  10. "น้องครีมลิ่วรอบแรกขนไก่สวิส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
  11. 'เมย์' ชิง 'ครีม' หญิงเดี่ยวแบดฯเอสซีจี - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  12. น้องเมย์ไร้เทียมทานซิวแชมป์ขนไก่เอสซีจี
  13. "หนังสือพิมพ์บ้านเมือง » เมย์โค่นครีมสุดมันส์ซิวแชมป์ SCG". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-06-11.
  14. ข่าว"บุศนันท์"ดับเบิลแชมป์ขนไก่เอสซีจี - Siamrath.co.th
  15. "ครีม-บุศนันทน์" ฮึดแซงผงาดแชมป์ขนไก่ออร์เลอ็องสุดมันส์
  16. ครีม บุศนันทน์ ไม่พลาดตบ เหยา เจียหมิน ผงาดแชมป์เวิลด์ทัวร์ 500 ครั้งแรก
  17. สยามกีฬา: "ครีม" บุศนันทน์ เฉือน "เมย์"ศุภนิดา สุดสูสีซิวแชมป์แบดอินเดียฯ
  18. "จิระพงศ์-รัชนกซิวนักกีฬายอดเยี่ยมสยามกีฬาฯ - Sport - Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
  19. 'จิระพงศ์-รัชนก' ซิวนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๗๔, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]