บัมบอชชันตี
บัมบอชชันตี (อิตาลี: Bamboccianti) คือกลุ่มจิตรกรภาพชีวิตประจำวันผู้ทำงานในกรุงโรมราวตั้งแต่ ค.ศ. 1625 ไปจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จิตรกรกลุ่มที่ว่านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวดัตช์และชาวฟลานเดอส์ที่นำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญในการวาดภาพชาวบ้านชาวนามาจากศิลปะการเขียนภาพของเนเธอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 16 เข้ามายังอิตาลีด้วย[1] และมักจะสร้างงานเขียนขนาดเล็กที่เรียกว่า "จิตรกรรมตู้" หรือ งานกัดกรดของภาพชีวิตประจำวันของชนชั้นแรงงานในกรุงโรมหรือนอกเมืองในชนบทออกไป[2] จิตรกรหลายคนเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า "ศิลปินกลุ่มเบนท์วูเกิลส์" ภาพเขียนของจิตรกรกลุ่มนี้ได้รับการตีความหมายว่าเป็นสัจนิยมของ "ภาพสะท้อนของโรมและชีวิตในกรุงโรมที่แท้จริง"[3] "โดยไม่สร้างความแตกต่างหรือทำการเปลี่ยนแปลง" ของสิ่งที่ศิลปินเห็น[4] หัวข้อที่วาดมักจะเป็นภาพคนขายอาหารหรือเครื่องดื่ม, ชาวนา, หญิงกำลังรีดนม, ทหารยามพักผ่อนหรือหาความสำราญ, ขอทาน[2] หรือที่จิตรกรบาโรกชาวอิตาลีซัลวาตอร์ โรซาบรรยายเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็น "หัวเรื่องของคนตามถนน, คนขี้โกง, คนฉวยกระเป๋า, คนขี้เมาและตระกละ, คนสูบยามอมแมม และหัวข้อ 'โสมม' อื่น ๆ"[3] ตรงกันข้ามกับหัวเรื่องที่วาด งานจิตรกรรมเหล่านี้กลับขายกันได้ในราคาสูงให้แก่นักสะสม[5]
ศิลปิน
[แก้]คำว่า "บัมบอชชันตี" เดิมมาจาก "ศิลปินกลุ่มเบนท์วูเกิลส์" ที่ใช้เรียกจิตรกรชาวดัตช์เปียเตอร์ ฟาน เลเออร์ว่า "Il Bamboccio" ผู้ที่มักจะมีศิลปินเกาะกลุ่มกันอยู่ขณะที่พำนักอยู่ในอิตาลี (ค.ศ. 1625-ค.ศ. 1639).[3] ชื่อเล่นที่แปลว่า "เด็กอัปลักษณ์" หรือ "หุ่น" เป็นนัยยะถึงรูปร่างหน้าตาและร่างกายของเปียเตอร์ ฟาน เลเออร์[3] กลุ่มจิตรกรกลุ่มบัมบอชชันตีกลุ่มแรกก็ได้แก่ Andries Both, Jan Both, Karel Dujardin, Jan Miel, Johannes Lingelbach และจิตรกรชาวอิตาลีมีเกลันเจโล แชร์กวอซซี เซบัสเตียง บูร์ดง ก็เป็นสมาชิกของกลุ่มนี้เมื่อเริ่มงานอาชีพ[6] สมาชิกบัมบอชชันตีผู้อื่นก็ได้แก่ Michiel Sweerts, Thomas Wijck, Dirck Helmbreker, Jan Asselyn, Anton Goubou, Willem Reuter และJacob van Staveren[7] งานของจิตรกรกลุ่มบัมบอชชันตีมามีอิทธิพลต่อศิลปินโรโกโกต่อมา เช่น อันโตนีโอ ชีฟรอนดี, ปีเอโตร ลองกี, จูเซปเป มารีอา เกรสปี, จาโกโม เชรูตี และอาเลสซันโดร มัญญัสโก[ต้องการอ้างอิง] และงานเขียนเกี่ยวกับภาพชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในโรมก็ยังดำเนินต่อมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยงานเขียนของบาร์โตโลเมโอ ปีเนลลี และอากิลเล ปีเนลลี, อันเดรอา โลกาเตลลี และปาโอโล โมนัลดี[8]
ลักษณะ
[แก้]นักบันทึกศิลปะของคริสต์ศตวรรษที่ 17 จัมบัตติสตา ปัสเซรี บรรยายงานเขียนของเลเออร์ว่าเป็นการ "เปิดหน้าต่าง" ที่แสดงบรรยากาศของโลกรอบตัวเลเออร์ ที่เป็นคำที่เหมาะสมในการบรรยายลักษณะงานโดยทั่วไปของกลุ่มศิลปินบัมบอชชันตี:
era singular nel represetar la veritá schietta, e pura nell'esser suo, che li suoi quadri parevano una finestra aperta pe le quale fussero veduti quelli suoi successi; senza alcun divario, et alterazione.
ปฏิกิริยา
[แก้]แม้ว่างานจิตรกรรมของกลุ่มบัมบอชชันตีจะประสบกับความสำเร็จ แต่นักทฤษฎีศิลปะและสถาบันศิลปะในกรุงโรมมักจะไม่นิยมงานเขียนประเภทนี้ เพราะถือกันว่าภาพเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเป็นงานศิลปะระดับต่ำที่สุดในบรรดา "ลำดับคุณค่าของศิลปะ"[2] ความนิยมของภาพเขียนที่ขายได้ดีให้กับผู้อุปถัมภ์ผู้มีการศึกษาและเป็นชนชั้นสูงยิ่งทำให้เป็นข้อขัดเคืองของศิลปินผู้นิยมเขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ซึ่งถือกันว่าเป็นศิลปะระดับสูงที่เป็นที่ยอมรับของอักกาเดเมียดีซันลูกาซึ่งเป็นสถาบันศิลปะหลักของอิตาลี[2][11] ตัวอย่างเช่นเมื่อซัลวาตอร์ โรซาผู้เขียนภาพเสียดสี "Pittura" (ราว ค.ศ. 1650) ตัดพ้ออย่างขมขื่นเกี่ยวกับรสนิยมของผู้อุปถัมภ์ผู้ที่ยอมรับศิลปะเกี่ยวกับชีวิตประจำวันว่า:
Quel che aboriscon vivo, aman dipinto. (ไทย: ชิงชังในชีวิตจริงของเขาแต่ก็รักที่จะซื้อภาพเขียนของชีวิตของเขามานั่งชื่นชม)
ปฏิกิริยาโดยทั่วไปแล้ว (เช่น ปฏิกิริยาของซัลวาตอร์ โรซา) เป็นปฏิกิริยาที่มิใช้ปฏิกิริยาต่อศิลปินแต่เป็นปฏิกิริยาต่อผู้ที่ซื้อหาภาพ[13] ตัวศิลปินเองมักได้รับการชื่นชมเช่นฟาน เลเออร์ผู้ที่ขายงานเขียนได้ในราคาสูง และแชร์กวอซซีที่มีโอกาสได้สังสรรค์กับผู้ดีมีตระกูล และเป็นเพื่อนกับศิลปินเช่นปีเอโตร ดา กอร์โตนา[14] นอกจากนั้นแล้วเพราะความที่ศิลปินส่วนใหญ่ในกลุ่มเป็นชาวต่างประเทศที่เขียนงานแบบนอกสถาบัน และมักจะเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า "ศิลปินกลุ่มเบนท์วูเกิลส์" ที่เป็นกลุ่มเชิงกลุ่มศิลปินอาชีพแต่มีชื่อเสียงไปในทางเฮฮาสนุกสนานเสียมากกว่า[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Levine, p. 570.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Haskell, pp. 132–134. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "haskell" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Levine, pp. 569–570. The quotation is from Levine (p. 570).
- ↑ Briganti, p. 2.
- ↑ Haskell, p. 135.
- ↑ Brigstocke
- ↑ Slive, pp. 236–237; Briganti, ix.
- ↑ Briganti, 36.
- ↑ Briganti, pp. 6–12.
- ↑ Haskell, p. 132.
- ↑ 11.0 11.1 Roworth, 611–617.
- ↑ Haskell, p. 134
- ↑ Haskell, p. 142.
- ↑ Haskell, pp. 135–136.
- ↑ Haskell, p. 20.
บรรณานุกรม
[แก้]- Briganti, Giuliano (1983). The bamboccianti the painters of everyday life in seventeenth century Rome. U. Bozzi.
- Brigstocke, Hugh. "Bourdon, Sébastien," Grove Art Online. Oxford University Press, [October 30, 2007].
- Haskell, Francis (1993). "Chapter 8". Patrons and Painters: Art and Society in Baroque Italy. Yale University Press. ISBN 0300025378.
- Levine, David A. (December 1988), "The Roman Limekilns of the Bamboccianti", The Art Bulletin, 70: 569–589, doi:10.2307/3051103
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Roworth, Wendy W. (December 1981), "A Date for Salvator Rosa's Satire on Painting and the Bamboccianti in Rome", The Art Bulletin, 63: 611–617, doi:10.2307/3050166
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Slive, Seymour (1995). "Italianate and Classical Painting". Pelican History of Art, Dutch Painting 1600-1800. Penguin Books Ltd. pp. 225–245.
- Wittkower, Rudolf (1993). "Chapter 4". Pelican History of Art, Art and Architecture Italy, 1600-1750. 1980. Penguin Books Ltd. p. 323.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บัมบอชชันตี