บัตรกดเงินสด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บัตรกดเงินสด เป็นบัตรเครดิตประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ถือบัตรสามารถกดเงินสด ซื้อสินค้าหรือบริการโดยผู้ออกบัตรเงินสดหรือบริษัทการเงินจะเป็นผู้ชำระก่อน ซึ่งผู้ถือบัตรจะกลายเป็นลูกหนี้ของผู้ถือบัตร และมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกบัตรเต็มจำนวนภายในวันที่กำหนด ซึ่งปกติจะเป็นรายเดือน โดยไม่สามารถชำระเงินขั้นต่ำบางส่วน หรือการผ่อนชำระเป็นงวดเหมือนบัตรเครดิตได้ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละบริษัทซึ่งบางบริษัทสามารถผ่อนชำระได้

ประเภทวงเงิน[แก้]

  • แบบวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล ลักษณะการใช้งานคือนำบัตรไปกดเงินสดผ่านตู้ ATM ได้ทันที
  • แบบวงเงินผ่อนชำระสินค้า (สินเชื่อเงินผ่อน / สินเชื่อเช่าซื้อสินค้า) มีลักษณะเน้นการนำบัตรไปผ่อนชำระหรือเช่าซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสดได้

บัตรกดเงินสดในประเทศไทย[แก้]

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกกฏให้สถาบันการเงินต่างๆ สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 28 % สถาบันการเงินบางแห่งอาจจะคิดดอกเบี้ยต่ำกว่านี้แต่สูงสุดต้องไม่เกิน 28 % ต่อปีคำนวณแบบลดต้นลดดอก [1]

ข้อแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด[แก้]

ข้อแตกต่างจากบัตรเครดิตกับบัตรกดเงินสดอยู่ตรงที่ บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อแบบหมุนเวียนโดยที่ไม่ต้องชำระเต็มจำนวนทุกเดือน สามารถผ่อนชำระเป็นงวดๆได้ ซึ่งบัตรกดเงินสดทำได้ได้ ต้องชำระภายในวันที่กำหนด และ โดยทั่วไปแล้วบัตรกดเงินสดจะออกโดยไม่มีวงเงินใช้จ่าย ในขณะที่บัตรเครดิตมักจะมีวงเงินของผู้ถือบัตร[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.thairath.co.th/content/752096
  2. "บัตรเครดิต กับ บัตรกดเงินสด ต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะกับคุณ". เพื่อนแท้เงินด่วน. 2023-03-17.