นาม-1975

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาม-1975
ผู้พัฒนาเอสเอ็นเค
ผู้จัดจำหน่ายเอสเอ็นเค
อำนวยการผลิตเอกิจิ คาวาซากิ
แต่งเพลงโยโกะ โอซากะ
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
ค.ศ. 1990
แนวสนามยิงปืน
รูปแบบ
ระบบอาร์เคดนีโอจีโอ เอ็มวีเอส

นาม-1975[a] (อักษรโรมัน: NAM-1975) เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดแนวสนามยิงปืนสงคราม ที่แต่เดิมพัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทเอสเอ็นเคเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1990[1] โดยเป็นหนึ่งในเกมที่เปิดตัวสำหรับทั้งแพลตฟอร์มนีโอจีโอ เอ็มวีเอส (อาร์เคด) และนีโอจีโอ เออีเอส (ภายในครัวเรือน) นอกเหนือจากการเป็นเกมเดียวในระบบดังกล่าวที่ไม่มีหน้าจอบูตนีโอจีโอในโหมดการแสดง เช่นเดียวกับหนึ่งในเกมแพ็ก-อิน สำหรับนีโอจีโอ เออีเอส[2]

เกมนี้ตั้งอยู่ในเรื่องราวสมมติ ณ ช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามเวียดนาม เรื่องราวดังกล่าวเดินตามทหารที่ชื่อซิลเวอร์และบราวน์เมื่อพวกเขาเข้าสู่สงครามอีกครั้งเพื่อช่วยเหลืออดีตนักวิทยาศาสตร์กองทัพบกสหรัฐที่ชื่อ ดร. อาร์ มักลี และลูกสาวของเขาที่ชื่อแนนซี ผู้ถูกลักพาตัวและสันนิษฐานว่าถูกคุมขังภายในประเทศเวียดนามโดยผู้ก่อการร้ายฝั่งเหนือ (ซึ่งบอกเป็นนัยว่าเป็นเวียดกง) ขณะเดียวกันก็พยายามรู้เกี่ยวกับผู้มีอำนาจที่ตัดสินใจในการกระทำดังกล่าว โดยเริ่มแรกเกมนี้ได้รับการเปิดตัวสำหรับนีโอจีโอ เอ็มวีเอส ต่อมา นาม-1975ได้รับการเปิดตัวสำหรับทั้งนีโอจีโอ เออีเอส และนีโอจีโอ ซีดี ใน ค.ศ. 1991 และ 1994 ตามลำดับ รวมถึงตั้งแต่นั้นมาก็ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งผ่านบริการดาวน์โหลดสำหรับเครื่องเล่นต่าง ๆ รวมถึงวิธีการเล่นอื่น ๆ

นาม-1975 ได้รับการตอบรับเชิงบวกจากเหล่านักวิจารณ์เมื่อวางจำหน่าย โดยได้รับคำชมด้านกราฟิกและตัวอย่างเสียงพูดดิจิทัล แต่หลายคนก็มีความเห็นต่างกันในเรื่องรูปแบบการเล่น ในขณะที่เกมนี้ถูกติเตียนด้านดนตรีและความยาก ส่วนบทวิจารณ์ย้อนหลังสำหรับเกมนี้ได้รับเชิงบวกพอ ๆ กันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยบรรดานักวิจารณ์ชื่นชมรูปแบบการเล่น แต่ติเตียนต่อความสั้นของเกม

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพจับหน้าจอรูปแบบการเล่นที่แสดงด่านแรกในโหมดผู้เล่นเดี่ยว ซึ่งจากบนถึงตรงกลาง ส่วนต่อประสานของเกมนี้จะแสดงคะแนนรวมของผู้เล่น, จำนวนชีวิตที่เหลืออยู่, คะแนนสูงสุด และอาวุธเสริมที่ติดตั้งในปัจจุบัน

นาม-1975 เป็นเกมแนวสนามยิงปืนที่คล้ายคลึงกับเกมคาบาลและไดนาไมต์ดุ๊ก ซึ่งผู้เล่นจะได้ควบคุมทหารชื่อซิลเวอร์ (ผู้เล่นคนที่ 1) และบราวน์ (ผู้เล่นคนที่ 2) ในหกด่านที่เกิดขึ้นในเวียดนามในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามเวียดนาม และกำจัดบอสในแต่ละด่านเพื่อที่จะผ่านเกม นอกเหนือจากโหมดผู้เล่นเดี่ยวแล้ว เกมนี้ยังมีโหมดหลายผู้เล่นแบบร่วมมือกันสำหรับผู้เล่นสองคน[3]

ก้านควบคุมจะเคลื่อนทั้งทหารและเส้นกากบาทไปทางซ้ายและขวาของพื้นที่ ปุ่มเอ (A) ใช้สำหรับการยิงอาวุธหลักโดยวางตำแหน่งเส้นกากบาทไว้ และเมื่อกดค้างไว้ ผู้เล่นจะสามารถเคลื่อนเส้นกากบาทดังกล่าวในขณะที่รักษาทหารให้อยู่ที่จุดเดิม ส่วนปุ่มบี (B) ใช้เพื่อขว้างระเบิดมือไปยังตำแหน่งของเส้นกากบาท ในขณะที่ปุ่มซี (C) ช่วยให้ผู้เล่นเคลื่อนทหารได้เร็วขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการยิงของศัตรูเมื่อกดค้างไว้ หากก้านควบคุมถูกดึงในแนวทแยงมุมขณะวิ่ง ทหารจะทำการม้วนหลบเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาถูกสังหาร นอกเหนือจากการหลบการยิงของศัตรูด้วยเช่นกัน[3] เมื่อเสียทุกชีวิต เกมจะจบลงเว้นแต่ว่าผู้เล่นจะใส่เครดิตเพิ่มเติมลงในเครื่องอาร์เคดเพื่อเล่นต่อ นอกจากนี้ หากมีการ์ดหน่วยความจำ ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตให้เซฟความคืบหน้าและกลับสู่ด่านสุดท้ายที่เกมบันทึกไว้[3]

เช่นเดียวกับเกมก่อนหน้านี้หลายเกมที่เปิดตัวโดยบริษัทเอสเอ็นเค เกมนี้เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความยากสูง โดยบอสตัวสุดท้ายนั้นมีชื่อเสียงในหมู่ผู้เล่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการปิดการใช้งานคันทินิวหลังจากไปถึงจุดสิ้นสุดของด่านสุดท้าย และหากผู้เล่นถูกสังหารระหว่างการต่อสู้นี้ จะทำให้เกิดฉากจบแบบไม่สมหวังโดยอัตโนมัติ[4][5][6] จึงบังคับให้เริ่มเกมใหม่ตั้งแต่ต้นเพื่อให้ได้ฉากจบที่ดี[7]

ผู้เล่นทั้งสองเริ่มเกมด้วยปืนกลพร้อมกระสุนไม่จำกัดและระเบิดมือสิบลูก เมื่อศัตรูบางตัวถูกสังหารหรือโค่นโครงสร้างอาคารบางอย่างลง พวกเขาจะทำปืน, ระเบิดมือ หรือสิ่งของอื่น ๆ ตก ที่สามารถเก็บรวบรวมได้ เช่น คะแนนหรือเพิ่มชีวิต ปืนที่หยิบขึ้นมาได้ระหว่างการเล่นเกมประกอบด้วยบอลแคน (ปืนกลที่ทรงพลังกว่า), เครื่องพ่นไฟที่สามารถกำจัดยูนิตภาคพื้นดินและเครื่องยิงมิสไซล์ ในขณะที่อาวุธประเภทระเบิดมืออื่น ๆ ที่สามารถรวบรวมได้คือประกายไฟ และระเบิดเนปาล์ม นอกจากนี้ หากผู้เล่นช่วยตัวประกันหญิงจากศัตรู ตัวประกันดังกล่าว (ชื่อคริส) จะช่วยผู้เล่นด้วยการยิงใส่ศัตรู จนกว่าผู้เล่นที่ช่วยเหลือเธอจะถูกสังหารหรือไปถึงจุดสิ้นสุดของแอเรีย[3] และในบางครั้ง ผู้เล่นจะถูกส่งเข้าสู่การปะทะบอสที่เกิดขึ้นระหว่างด่าน

หมายเหตุ[แก้]

  1. ナム1975 Namu-Ichikyūnanago

อ้างอิง[แก้]

  1. "極楽VGブラザーズ: SNK - NAM-1975". Beep! Mega Drive (ภาษาญี่ปุ่น). No. 7. SoftBank Creative. April 1990. p. 100.
  2. McFerran, Damien (September 2015). "Arcade Perfect: A Neo-Geo Retrospective". Retro Gamer. No. 146. Imagine Publishing. pp. 16–27.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 NAM-1975 user's manual (Neo Geo AES, US)
  4. "NAM-1975 [Model NGM-001] (MVS)". arcade-history.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-26. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  5. GunstarHero (May 2, 2002). "Nam 1975 end boss". neo-geo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-26. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  6. "Ending for Nam-1975 - Bad End (Neo Geo)". vgmuseum.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-24. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  7. "Ending for Nam-1975 - Good End (Neo Geo)". vgmuseum.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-06. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]