ข้ามไปเนื้อหา

นางนอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางนอน
ใบปิดประชาสัมพันธ์
กำกับทอม วอลเลอร์
บทภาพยนตร์ทอม วอลเลอร์
เนื้อเรื่อง
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพเวด มึลเลอร์
ตัดต่อลี ชาตะเมธีกุล
บริษัทผู้สร้าง
เดอ วอร์เรน พิคเจอร์ส
วันฉาย
    • 5 ตุลาคม ค.ศ. 2019 (2019-10-05)
    (ปูซาน)[1]
    • 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 (2019-11-21)
    (ประเทศไทย)
ประเทศไทย
ภาษา
  • ไทย
  • อังกฤษ
  • จีน

นางนอน (อังกฤษ: The Cave) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวแอกชัน-ดรามาในปี พ.ศ. 2562 มีเนื้อหาว่าด้วยปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงที่จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2561 ทอม วอลเลอร์ เขียนบทและกำกับ และอำนวยการสร้างร่วมกับอัลเลน หลิว เนื้อเรื่องเขียนขึ้นจากมุมมองของบุคคลหลายคนที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการในครั้งนั้น โดยมีจิม วอร์นี นักประดาน้ำในถ้ำ และคนอื่น ๆ แสดงเป็นตนเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายรอบปฐมทัศน์ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน พ.ศ. 2562 และเข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน

เรื่องย่อ

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ครอบคลุมเหตุการณ์การกู้ภัยที่ถ้ำหลวงในปี พ.ศ. 2561 โดยมุ่งเน้นบุคคลหลายคนที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการนั้น ซึ่งรวมถึงนพดล นิยมค้า ผู้ผลิตเครื่องสูบน้ำ สมาน กุนัน อดีตสมาชิกหน่วยซีลของไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิม วอร์นี นักประดาน้ำในถ้ำจากไอร์แลนด์

นักแสดง

[แก้]

งานสร้าง

[แก้]

De Warrenne Pictures บริษัทของวอลเลอร์ในกรุงเทพฯ ผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ วอลเลอร์เริ่มดำเนินงานภาพยนตร์นี้ไม่นานหลังจากเหตุการณ์จริงในเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และกำหนดเนื้อเรื่องหลังได้พบจิม วอร์นี ในไอร์แลนด์ วอลเลอร์ร่วมเขียนบทกับดอน ลินเดอร์ และคทรีน่า กลอส ภรรยาของวอลเลอร์เอง ภาพยนตร์นี้ได้บุคคลหลายคนที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติกู้ภัยมารับบทเป็นตนเอง ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ถ่ายทำในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 แต่กว่าจะได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำที่ถ้ำหลวงนั้น ต้องรอจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ฉากถ้ำส่วนใหญ่ถ่ายทำในถ้ำแห่งอื่นในประเทศไทยและในเซ็ตที่สร้างขึ้นบนสระน้ำ ภาพยนตร์นี้เป็นภาพยนตร์การกู้ภัยเรื่องแรกที่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ส่วนเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็ก ๆ ที่ติดถ้ำนั้น เน็ตฟลิกซ์ได้สิทธิแต่ผู้เดียวไปแล้ว[2][3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Thai cave film makes world premiere at Busan festival". The Jakarta Post. Busan, South Korea: PT Niskala Media Tenggara. Agence France-Presse. 6 October 2019. สืบค้นเมื่อ 23 October 2019.
  2. Shackleton, Liz (6 October 2019). "Tom Waller on the challenges of making the first film about the Thai cave rescue". Screen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
  3. Chenery, Susan (9 October 2019). "'It was almost impossible': Thai cave rescue finally gets its first film". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
  4. Frater, Patrick (11 July 2019). "Real-Life Heroes Head Cast of Thai Rescue Film 'The Cave' (EXCLUSIVE)". Variety. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.